ข้ามไปเนื้อหา

ความรุนแรงต่อสตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่โลกแสดงการฆาตกรรมสตรีต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2562

ความรุนแรงต่อสตรี เป็นลักษณะโดยรวมที่เป็นการกระทำรุนแรงเป็นหลักหรือมุ่งเจาะจงเฉพาะกับผู้หญิง บางครั้งได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมที่มาจากความเกลียด[1][2][3] ชนิดของความรุนแรงนี้มีเป้าหมายเฉพาะเพศภาวะของเหยื่อเป็นแรงจูงใจหลัก โดยชนิดของความรุนแรงได้อิงจากเพศ ซึ่งหมายความถึงการกระทำความรุนแรงมีความมุ่งมั่นต่อผู้หญิงอย่างชัดแจ้งเพราะพวกเขาเป็นผู้หญิง ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ได้ระบุว่า:

"ความรุนแรงต่อสตรี คือการสำแดงของอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันในประวัติศาสตร์ ต่อความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง" และ "ความรุนแรงต่อสตรี เป็นหนึ่งในกลไกทางสังคมที่ร้ายแรง โดยที่ฝ่ายหญิงจะถูกบังคับให้ตกอยู่ในสถานะรองเมื่อเทียบกับฝ่ายชาย"[4]

คำนิยาม

[แก้]

นานาประเทศทั่วโลกมีการใช้เครื่องมือเพื่อวัด และตรวจสอบความรุนแรงต่อสตรี โดยเป็นไปเพื่อการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว ในบันทึกข้อเสนอแนะฉบับที่ 5 (2002) และเอกสารเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรี ของสภายุโรป ได้กล่าวถึงความรุนแรงต่อสตรีว่า รวมถึงแต่ไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อไปนี้[5]

ก. ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในบ้าน ซึ่งรวมถึง การล่วงละเมิดทางร่างกายและจิตใจ การล่วงละเมิดทางอารมณ์และการทำร้ายจิตใจ การข่มขืนและทารุณกรรมทางเพศ การร่วมประเวณีกับญาติสนิท การข่มขืนระหว่างคู่สมรส การอยู่อาศัยด้วยกันโดยมิได้สมรส อาชญากรรมที่กระทำในนามเกียรติยศ การทำร้ายแก่อวัยวะเพศหญิง และการปฏิบัติตามประเพณีที่เป็นอันตรายต่อสตรี เช่น การคลุมถุงชน
ข. ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในสังคม รวมถึงการข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศและการข่มขู่ในที่ทำงาน ในสถาบันหรือที่อื่น ๆ การค้าสตรีเพื่อจุดประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและทางเศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยวทางเพศ
ค. การกระทำความผิดและการอภัยโทษโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
ง. การละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรีในสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจับตัวประกัน การบังคับให้พลัดถิ่น การข่มขืนอย่างเป็นระบบ การเป็นทาสทางเพศ การบังคับตั้งครรภ์ และการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและทางเศรษฐกิจ
การเปรียบเทียบคำจำกัดความในตราสารสิทธิมนุษยชน
เอกสาร โดย วันที่ บทนิยาม
คำแนะนำทั่วไปที่ 19 คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW Committee) 2535 'คำจำกัดความในการแบ่งแยกนั้นรวมถึงความรุนแรงที่มากจากเพศสภาพ กล่าวคือ ความรุนแรงที่มุ่งเป้าไปยังผู้หญิงเพียงเพราะว่าเธอเป็นผู้หญิง'[6]
ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี สหประชาชาติ 20 ธันวาคม 2536 '...คำว่า "ความรุนแรงต่อสตรี" หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่มีต้นเหตุจากเพศสภาพ ซึ่งนำไปสู่อันตรายต่อร่างกาย ทางเพศ หรือจิตใจ หรือความทุกข์ทรมานของสตรี'.[7]
Belém do Pará Convention องค์การนานารัฐอเมริกา 9 มิถุนายน 2537 '...ความรุนแรงต่อสตรีควรได้รับความเข้าใจว่าเป็นการกระทำใด ๆ บนพื้นฐานแห่งเพศ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตหรือทำให้เกิดอันตรายทางร่างกาย ทางเพศ ทางจิตใจ หรือความทุกข์ทรมานต่อสตรี ไม่ว่าจะในที่สาธารณะหรือในพื้นที่ส่วนตัว'[8]
พิธีสารมาปูตู สหภาพแอฟริกา 11 กรกฎาคม 2546 '"ความรุนแรงต่อสตรี" หมายถึง การกระทำในทุกรูปแบบต่อสตรี ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทางเพศ จิตใจ และเศรษฐกิจ รวมถึงการขู่ในการกระทำดังกล่าว หรือดำเนินการตามอำเภอใจเพื่อลิดรอนเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตในยามสงบและในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางอาวุธหรือสงคราม...'[9]
อนุสัญญาอิสตันบูล สภายุโรป 11 พฤษภาคม 2554 '..."ความรุนแรงต่อสตรี" เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และหมายถึงการกระทำความรุนแรงทางเพศทั้งหมดที่ส่งผลหรือมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทางเพศ จิตใจ หรือเศรษฐกิจ หรือความทุกข์ทรมานต่อสตรี รวมทั้ง การคุกคามของการกระทำดังกล่าว การบังคับขู่เข็ญหรือการลิดรอนเสรีภาพตามอำเภอใจไม่ว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะหรือในชีวิตส่วนตัว'[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Angelari, Marguerite (1997). "Hate Crime Statutes: A Promising Tool for Fighting Violence Against Women". ใน Karen J. Maschke (บ.ก.). Pornography, sex work, and hate speech. Taylor & Francis.
  2. Gerstenfeld, Phyllis B. (2013). Hate Crimes: Causes, Controls, and Controversies. Sage.
  3. McPhail, Beverly (2003). "Gender-Bias Hate Crimes: A Review". ใน Barbara Perry (บ.ก.). Hate and bias crime: a reader. Psychology Press.
  4. "A/RES/48/104 - Declaration on the Elimination of Violence against Women". United Nations General Assembly. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.
  5. Recommendation Rec(2002)5 of the Committee of Ministers to member states on the protection of women against violence. คณะรัฐมนตรีของคณะมนตรียุโรป. 30 เมษายน 2545. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565.
  6. CEDAW Committee (1992). "General recommendation No. 19: Violence against women" (PDF). ohchr.org. Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-20. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  7. "A/RES/48/104 – Declaration on the Elimination of Violence against Women – UN Documents: Gathering a body of global agreements". un-documents.net. 20 December 1993. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
  8. "Inter-American Convention on the Prevention, Punishment, and Eradication of Violence against Women (Convention of Belém do Pará)" (PDF). oas.org. Organization of American States. 9 June 1994. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
  9. "Maputo Protocol". Wikisource. African Union. 11 July 2003. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
  10. "Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and domestic violence". coe.int. Council of Europe. 11 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Durham, Meenakshi G. (February 2013). "Vicious assault shakes Texas town: the politics of gender violence in The New York Times' coverage of a schoolgirl's gang rape". Journalism Studies. Taylor & Francis Online. 14 (1): 1–12. doi:10.1080/1461670X.2012.657907. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  • Bellemare, Marc F. New Working Paper: Explaining the Persistence of Female Genital Cutting in The Gambia June 17, 2013.
  • Gerry Mackie, Female Genital Cutting: A harmless Practice? เก็บถาวร 2013-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Medical Anthropology Quarterly. 135-158p.
  • Jacqui True, "The Political Economy of Violence against Women". USA. 2012. ISBN 978-0-19-975591-2
  • James, S.M. (1998), "Shades of Othering: Reflections on Female Circumcision/Genital Mutilation," Signs 23(4): 1031-1048.
  • Jones, H., N. Diop, I. Askew, and I. Kabore (1999), "Female Genital Cutting Practices in Burkina Faso and Mali and Their Negative Health Outcomes," Studies in Family Planning 30(3): 219-230.
  • Jones, W.K., J. Smith, B. Kieke, Jr., and L. Wilcox (1997), "Female Genital Mutilation/Female Circumcision: Who Is at Risk in the US?,” Public Health Reports (1974—), 112(5): 368-377.
  • Kwame Anthony Appiah, Convincing Other Cultures to Change. September 21, 2010, Big Think.
  • Liz Kelly, Inside Outsiders: Mainstreaming violence against women into human rights discourse and practice. International Feminist Journal of Politics. 4–5 December 2005, 451-495.
  • Lori L. Heise, Jacqueline Pitanguy and Adrienne Germain, "Violence against Women (World Bank, 1994):The Hidden Health Burden". World Bank Discussion Paper No. 255. The World Bank Washington, D.C.
  • Nora Almosaed (2004), Violence against women: a cross-cultural perspective. Published online: 23 Jan, 2007. Journal of Muslim Minority Affairs.
  • Shell-Duncan, B., and Y. Hernlund (2006), "Are there ‘Stages of Change’ in the Practice of Female Genital Cutting? Qualitative Research Findings from Senegal and the Gambia," African Journal of Reproductive Health 10(2): 56-71.
  • Skaine, R. (2005), Female Genital Mutilation: Legal, Cultural and Medical Issues, Jefferson, NC: McFarland & Company, Inc.
  • Wagner, N. (2013), "Why Female Genital Cutting Persist?," Working Paper, University of Rotterdam.
  • Wakabi W. (2007), "Africa Battles to Make Female Genital Mutilation History," The Lancet 369(9567):1069-70.
  • Williams, L., and T. Sobieszczyk (1997) "Attitudes Surrounding the Continuation of Female Circumcision in the Sudan: Passing the Tradition to the Next Generation," Journal of Marriage and the Family 59(4):966-981.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]