ข้ามไปเนื้อหา

หนี้สาธารณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนี้สาธารณะ (อังกฤษ: Public debt) หรือ หนี้ของรัฐบาล (อังกฤษ: Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ

การกู้เงินของรัฐบาล มีได้หลายช่องทาง รัฐอาจกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (เช่น ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารกลาง), สถาบันการเงินต่างประเทศ, เอกชน, รัฐบาลต่างประเทศ หรือ องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นต้น

คนทั่วไปมักมองว่ารัฐบาลไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ เพราะหนี้สาธารณะนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียเสถียรภาพทางการคลังและการเงินของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศเกิดวิกฤติการทางการเงิน ทัศนคตินี้ไม่เป็นจริงเสมอไปหากรัฐบาลมีการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐให้ดี มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินที่เหมาะสม และรักษาสัดส่วนหนี้ในประเทศและต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากหนี้ในประเทศมีความยืดหยุ่นในการบริหารและความเสี่ยงต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศ เพราะรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งอยู่ใต้อำนาจรัฐได้ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนของค่าเงิน ตลอดจนสถานการณ์ของโลก นอกจากนี้ความสามารถในการบริหารสภาพคล่องและหนี้สาธารณะ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการยกอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถจัดหาแหล่งทุนจากต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง

การผิดนัดชำระหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะต่างประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากอาจนำมาซึ่งการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วแย่ลงไปอีก ดังนั้นเมื่อประเทศเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือบริหารสภาพคล่องไม่ทัน วิธีที่นิยมคือการขอกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อไปใช้หนี้แก่เจ้าหนี้รายเก่า อย่างไรก็ตาม การกู้เงินจากแหล่งใหม่โดยเฉพาะจากต่างประเทศในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ มักจะถูกฝ่ายผู้ให้กู้ตั้งเงื่อนไขที่เป็นพันธสัญญาให้รัฐบาลผู้ขอกู้ต้องปฏิบัติตาม อาทิ มาตรการรัดเข็มขัด (ลดรายจ่าย)

สำหรับหนี้สาธารณะของประเทศไทยนั้น สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซด์สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (http://www.pdmo.go.th/index.php) ซึ่งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุดของไทยอยู่ที่ 173.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 45.34% ของจีดีพี [1]

รายประเทศ

[แก้]
แผนภาพหนี้สาธารณะต่อจีดีพี (ค.ศ. 2007) โดย CIA
แผนภาพหนี้สาธารณะต่อจีดีพี (ค.ศ. 2012) โดย IMF
หนี้สาธารณะของประเทศที่มีสัดส่วนมากกว่า 0.5% ของหนี้สาธารณะทั้งโลก ในปี ค.ศ. 2012
(ประมาณการโดย CIA World Factbook)[2]
ประเทศ หนี้สาธารณะ
(พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
% ของจีดีพี ต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ) % ของหนี้สาธาณะทั้งโลก
โลก 56,308 64% 7,936 100.00%
 สหรัฐ* 17,607 73.60% 55,630 31.27%
 ญี่ปุ่น 9,872 214.30% 77,577 17.53%
 จีน 3,894 31.70% 2,885 6.91%
 เยอรมนี 2,592 81.70% 31,945 4.60%
 อินเดีย 995 51.90% 830 1.75%
 อิตาลี 2,334 126.10% 37,956 4.14%
 ฝรั่งเศส 2,105 89.90% 31,915 3.74%
 สหราชอาณาจักร 2,064 88.70% 32,553 3.67%
 บราซิล 1,324 54.90% 6,588 2.35%
 สเปน 1,228 85.30% 25,931 2.18%
 แคนาดา 1,206 84.10% 34,902 2.14%
 เม็กซิโก 629 35.40% 5,416 1.12%
 เกาหลีใต้ 535 33.70% 10,919 0.95%
 ตุรกี 489 40.40% 6,060 0.87%
 เนเธอร์แลนด์ 488 68.70% 29,060 0.87%
 อียิปต์ 479 85% 5,610 0.85%
 กรีซ 436 161.30% 40,486 0.77%
 โปแลนด์ 434 53.80% 11,298 0.77%
 เบลเยียม 396 99.60% 37,948 0.70%
 สิงคโปร์ 370 111.40% 67,843 0.66%
 ไต้หวัน 323 36% 13,860 0.57%
 อาร์เจนตินา 323 41.60% 7,571 0.57%
 อินโดนีเซีย 311 24.80% 1,240 0.55%
 รัสเซีย 308 12.20% 2,159 0.55%
 โปรตุเกส 297 119.70% 27,531 0.53%
 ไทย 292 43.30% 4,330 0.52%
 ปากีสถาน 283 50.40% 1,462 0.50%

* CIA's World Factbook จัดอันดับเฉพาะตาม % ของจีดีพี, มูลค่าหนี้ทั้งหมดและมูลค่าหนี้ต่อหัวถูกคำนวณมาจากข้อมูลจีดีพี (อำนาจซื้อ) และจำนวนประชากรในรายงานฉบับเดียวกัน

ตารางข้อมูลเก่า
หนี้สาธารณะของประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงสุด 20 อันดับแรก, ประมาณการ ปี 2010 (CIA World Factbook)[3]
ประเทศ หนี้สาธาณะ
(พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
% ของจีดีพี ต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ) หมายเหตุ (ประมาณการ ปี 2008)
(พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
 สหรัฐ $ 9,133   62% $ 29,158 ($ 5,415,   38%)
 ญี่ปุ่น $ 8,512 198% $ 67,303 ($ 7,469, 172%)
 เยอรมนี $ 2,446   83% $ 30,024 ($ 1,931,   66%)
 อิตาลี $ 2,113 119% $ 34,627 ($ 1,933, 106%)
 อินเดีย $ 2,107   52% $   1,489 ($ 1,863,   56%)
 จีน $ 1,907   19% $   1,419 ($ 1,247,   16%)
 ฝรั่งเศส $ 1,767   82% $ 27,062 ($ 1,453,   68%)
 สหราชอาณาจักร $ 1,654   76% $ 26,375 ($ 1,158,   52%)
 บราซิล $ 1,281   59% $   6,299 ($    775,   39%)
 แคนาดา $ 1,117   84% $ 32,829 ($    831,   64%)
 สเปน $    823   60% $ 17,598 ($    571,   41%)
 เม็กซิโก $    577   37% $   5,071 ($    561,   36%)
 กรีซ $    454 143% $ 42,216 ($    335,   97%)
 เนเธอร์แลนด์ $    424   63% $ 25,152 ($    392,   58%)
 ตุรกี $    411   43% $   5,218 ($    362,   40%)
 เบลเยียม $    398 101% $ 38,139 ($    350,   90%)
 อียิปต์ $    398   80% $   4,846 ($    385,   87%)
 โปแลนด์ $    381   53% $   9,907 ($    303,   45%)
 เกาหลีใต้ $    331   23% $   6,793 ($    326,   24%)
 สิงคโปร์ $    309 106% $ 65,144
 ไต้หวัน $    279   34% $ 12,075

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.pdmo.go.th/popup_money_data.php?m=money&ts2_id=1
  2. "Country Comparison :: Public debt". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  3. "Country Comparison :: Public debt". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ November 8, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]