อำเภอดำเนินสะดวก
อำเภอดำเนินสะดวก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Damnoen Saduak |
คำขวัญ: เมืองสองฝั่งคลองประวัติศาสตร์ เสด็จประพาสต้น ร.5 เลื่องลือชาองุ่นหวาน ชาวบ้านน้ำใจงาม ล้นหลามผัก ผลไม้รายได้หลัก เรารักตลาดน้ำดำเนิน | |
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอดำเนินสะดวก | |
พิกัด: 13°31′6″N 99°57′18″E / 13.51833°N 99.95500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ราชบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 210.3 ตร.กม. (81.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 90,968 คน |
• ความหนาแน่น | 432.56 คน/ตร.กม. (1,120.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 70130, 70210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7004 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวก หมู่ที่ 1 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 70130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ดำเนินสะดวก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอดำเนินสะดวกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบางแพ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านแพ้ว (จังหวัดสมุทรสาคร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสงครามและอำเภอบางคนที (จังหวัดสมุทรสงคราม)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองราชบุรี
ประวัติ
[แก้]ดำเนินสะดวก เป็นชื่อของคลองที่ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2409 จากพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ว่าการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสมุทรสาครนั้นเรามีคลองภาษีเจริญ ทำให้การเดินทางไปมาได้สะดวกสบาย แต่ถ้ามีคลองเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรีก็จะยิ่งสะดวกขึ้นอีกมาก โดยมีนัยแห่งจุดประสงค์ของพระราชปรารภที่ต้องการเชื่อมโยงแม่น้ำหลัก 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ด้วยคลองเพื่อความสะดวกในด้านคมนาคมทางน้ำ โดยแต่เดิมมีคลองภาษีเจริญเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร และแม่น้ำท่าจีน ในจังหวัดสมุทรสาครอยู่แล้ว
ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระประสาทสิทธิ์ (เดิมชื่อ ช่วง บุนนาค ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ตามลำดับ เป็นต้นตระกูลบุนนาค) เป็นผู้อำนวยการในขุดคลองเพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองโดยใช้งบประมาณจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จำนวน 400 ชั่ง และทุนทรัพย์ของพระประสาทสิทธิ์ผู้อำนวยการขุดคลองอีก 1,000 ชั่งรวม 1,400 ชั่ง หรือ 112,000 บาท (1 ชั่ง เท่ากับ 80 บาท) ทั้งนี้งบประมาณดังกล่าวไม่ได้นับรวมแรงงานของประชาชนที่เอาแรงมาช่วยขุดด้วย
ในการขุดคลองครั้งนั้นได้ว่าจ้างแรงงานชาวจีนเป็นผู้ขุดคลองเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วิธีขุด 2 วาเว้น 1 วา แล้วปล่อยให้น้ำหลากเซาะให้ทะลุต่อกัน โดยเริ่มต้นขุดจากปากคลองบางยางแม่น้ำท่าจีน ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลดำเนินสะดวก (เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลสวนส้ม) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านเขตจังหวัดราชบุรี ซึ่่งคืออำเภอดำเนินสะดวกในปัจจุบัน สิ้นสุดคลองที่เขตเทศบาลตำบลบางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม (อำเภอบางคนทีในปัจจุบัน) รวมระยะทางทั้งสิ้น 33.6 กม. ใช้เวลาในการขุดรวม 2 ปี เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2411
- วันที่ 27 มีนาคม 2481 ยุบตำบลรางยาว ตำบลตาหลวง ตำบลท่านัด ตำบลหลักหก รวมเข้ากับตำบลดำเนินสะดวก แล้วขนานนามว่า ตำบลดำเนินสะดวก ยุบตำบลดอนข่อย รวมเข้ากับตำบลบัวงาม แล้วขนานนามว่า ตำบลบัวงาม ยุบตำบลปลายสี่หมื่น รวมเข้ากับตำบลสี่หมื่น แล้วขนานนามว่า ตำบลสี่หมื่น ยุบตำบลชาวเหนือ รวมเข้ากับตำบลบ้านไร่ แล้วขนานนามว่า ตำบลบ้านไร่ และยุบตำบลมดตะนอย รวมเข้ากับตำบลแพงพวย แล้วขนานนามว่า ตำบลแพงพวย[1]
- วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 ตั้งตำบลท่านัด แยกออกจากตำบลดำเนินสะดวก ตั้งตำบลตาหลวง แยกออกจากตำบลดำเนินสะดวก กับโอนพื้นที่หมู่ 13,20-21 (ในขณะนั้น) ของตำบลดำเนินสะดวก ไปขึ้นกับตำบลสี่หมื่น กับโอนพื้นที่หมู่ 39-40,49,55,57-58 (ในขณะนั้น) ของตำบลดำเนินสะดวก ไปขึ้นกับตำบลดอนไผ่ กับโอนพื้นที่หมู่ 43 (ในขณะนั้น) ของตำบลดำเนินสะดวก ไปขึ้นกับตำบลขุนพิทักษ์ และโอนพื้นที่หมู่ 54 (ในขณะนั้น) ของตำบลดำเนินสะดวก ไปขึ้นกับตำบลดอนกรวย[2]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2492 ตั้งตำบลศรีสุราษฎร์ แยกออกจากตำบลดำเนินสะดวก[3]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลดำเนินสะดวก ในท้องที่บางส่วนของตำบลดำเนินสะดวก บางส่วนของตำบลสี่หมื่น บางส่วนของตำบลท่านัด บางส่วนของตำบลศรีสุราษฎร์ และบางส่วนของตำบลตาหลวง[4][5]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก[6]
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2508 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก และจัดตั้งสุขาภิบาลศรีดอนไผ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลดอนไผ่ และบางส่วนของตำบลศรีสุราษฎร์[7]
- วันที่ 28 กันยายน 2514 ตั้งตำบลประสาทสิทธิ์ แยกออกจากตำบลดอนไผ่[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลดำเนินสะดวก และสุขาภิบาลศรีดอนไผ่ เป็นเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก และเทศบาลตำบลศรีดอนไผ่ ตามลำดับ[9] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก รวมกับเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก รวมกับเทศบาลตำบลศรีดอนไผ่[10]
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบ้านไร่[11]
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลประสาทสิทธิ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลประสาทสิทธิ์[12]
- วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบัวงาม[13]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอดำเนินสะดวกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 105 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอดำเนินสะดวกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดำเนินสะดวกทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ตำบลศรีสุราษฎร์ (บางส่วนของหมู่ที่ 1, 8) ตำบลตาหลวง (บางส่วนของหมู่ที่ 2) ตำบลสี่หมื่น (บางส่วนของหมู่ที่ 7) และตำบลท่านัด (บางส่วนของหมู่ที่ 4)
- เทศบาลตำบลศรีดอนไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประสาทสิทธิ์ (บางส่วนของหมู่ที่ 3–5) ตำบลศรีสุราษฎร์ (พื้นที่หมู่ที่ 2–7 กับบางส่วนของหมู่ที่ 1, 8) ตำบลขุนพิทักษ์ (บางส่วนของหมู่ที่ 5, 9) และตำบลดอนไผ่ (บางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 4–7)
- เทศบาลตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลประสาทสิทธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประสาทสิทธิ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีดอนไผ่)
- เทศบาลตำบลบัวงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกรวยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนคลังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแพงพวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพงพวยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสี่หมื่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสี่หมื่น (นอกเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่านัด (นอกเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลขุนพิทักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนพิทักษ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีดอนไผ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนไผ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีดอนไผ่)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4308–4312. March 27, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2770–2772. November 12, 1940.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ง): 2697–2700. June 21, 1949.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 108-109. September 17, 1955.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๔ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี หน้า ๑๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (89 ง): 0. October 30, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และจัดตั้งสุขาภิบาลศรีดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (37 ง): 1341–1343. May 4, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (104 ง): 2670–2672. September 28, 1971.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 19–21. July 9, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านไร่ เป็น เทศบาลตำบล". May 31, 2008.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ประสาทสิทธิ์ เป็น เทศบาลตำบล". July 15, 2008.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล บัวงาม เป็น เทศบาลตำบล". July 25, 2008.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)