ข้ามไปเนื้อหา

มะไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะไฟ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Phyllanthaceae
สกุล: Baccaurea
สปีชีส์: B.  ramiflora
ชื่อทวินาม
Baccaurea ramiflora
Lour.

มะไฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Baccaurea ramiflora; วงศ์: Phyllanthaceae) ภาคใต้เรียกส้มไฟ เพชรบูรณ์เรียกหัมกัง เป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ต่อมาจึงแพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว รูปไข่ ดอกเป็นช่อสีชมพูอ่อนหรืออมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ผลออกเป็นช่อ ผลอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ พอแก่ผิวเกลี้ยง เปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาวขุ่นหรือขาวใสอมชมพู แล้วแต่พันธุ์ เมล็ดแบนสีน้ำตาล พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่

  • พันธุ์ไข่เด่า ผลกลมรี ก้นแหลม เนื้อสีอมชมพู หวานอมเปรี้ยว มี 3-4 พู
  • พันธุ์เหรียญทอง ผลใหญ่ ก้นเรียบ สีขาวขุ่น มี 2-3 พู ฉ่ำน้ำ หวานน้อยกว่าพันธุ์ไข่เต่า
  • ในสิบสองปันนา ประเทศจีน มีมะไฟสีม่วง โดยเปลือกเป็นสีม่วง

การใช้ประโยชน์

[แก้]

มะไฟกินสุกเป็นผลไม้สด ทำน้ำผลไม้ ผลอ่อนนำไปแกง ผลมะไฟช่วยให้ชุ่มคอ ขับและละลายเสมหะ เปลือกต้มแก้โรคผิวหนัง ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปใส่แกงปลา มีรสเปรี้ยว[1]

อ้างอิง

[แก้]
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะไฟ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 169 – 170
  1. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]