การบูชาเทวรูป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาด "โมเสสเกรี้ยวโกรธวัวทองคำ" โดยวิลเลียม เบลก (ค.ศ. 1799–1800)

การบูชาเทวรูป (อังกฤษ: idolatry) เป็นการบูชารูปเสมือนพระเป็นเจ้า[1][2][3][4] ศาสนาอับราฮัม (ศาสนายูดาห์ ศาสนาสะมาริตัน ศาสนาคริสต์ ศาสนาบาไฮและศาสนาอิสลาม) อธิบายการบูชาเทวรูปว่าเป็นการเคารพบางสิ่งในฐานะพระเป็นเจ้า นอกเหนือจากพระเป็นเจ้าสูงสุดในศาสนานั้น[5][6] ศาสนาเอกเทวนิยมเหล่านี้ถือว่าการบูชาเทวรูปเป็น "การนับถือพระเทียมเท็จ" และถูกสั่งห้ามในคัมภีร์อย่างบัญญัติ 10 ประการ[5] ศาสนาเอกเทวนิยมอื่น ๆ มีหลักปฏิบัติที่คล้ายกันนี้[7]

ทั้งนี้พระเทียมเท็จเป็นคำเชิงตำหนิที่ศาสนาอับราฮัมใช้หมายถึงเทวรูปหรือเทพในลัทธินอกศาสนา รวมถึงวัตถุเคารพนอกศาสนาอับราฮัม[8] ในทางกลับกัน วิญญาณนิยมและพหุเทวนิยมอาจถือว่าเทพของเอกเทวนิยมเป็นเทพเทียมเท็จเช่นกัน เนื่องจากผู้นับถือความเชื่อนี้ไม่เชื่อว่ามีเทพที่มีคุณสมบัติเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ด้านอเทวนิยมเลี่ยงการใช้คำว่าเทพเทียมเท็จ แม้จะไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าก็ตาม ดังนั้นคำว่าพระเทียมเท็จจึงมักจำกัดในหมู่เทวนิยมผู้เลือกนับถือเทพบางองค์[5]

ศาสนาแบบอินเดีย (ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธและศาสนาเชน) มองว่าเทวรูปหรือมูรติเป็นสัญลักษณ์ของความสัมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์[9] รูปเคารพทางจิตวิญญาณ[9][10] หรือการแปลงรูปของพระเป็นเจ้า[11] มูรติใช้เป็นสิ่งมุ่งเน้นถึงการแสวงหาและบูชาของศาสนิกชน (ภักติ)[9][12][10] ขณะที่ศาสนาดั้งเดิมของอียิปต์โบราณ กรีซโบราณ โรมโบราณ แอฟริกา เอเชียและอเมริกามีการเคารพเทวรูปมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเทวรูปจะมีความหมายและความสำคัญแตกต่างกันไป[8][1][2]

แนวคิดตรงข้ามกับการบูชาเทวรูปคือ การงดบูชารูปเคารพ (aniconism)[13] คตินี้สามารถพัฒนาเป็นลัทธิทำลายรูปเคารพ (iconoclasm)[14] ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางศาสนาระหว่างผู้ที่มีมุมมองต่อรูปเคารพต่างกัน[15][16] นิยามของการบูชาเทวรูปเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงในหมู่ศาสนาอับราฮัมด้วยกัน ตัวอย่างเช่นชาวมุสลิมและชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ประณามการบูชารูปเคารพพระนางมารีย์พรหมจารีของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[17][18]

การบูชาเทวรูปยังเกี่ยวข้องกับการยอมรับความต่างทางศาสนา เดวิด ฮูม นักปรัชญายุคเรืองปัญญาชาวสกอตบันทึกว่าการบูชาเทพหลายองค์ของลัทธินอกศาสนาเป็นสิ่งยืนยันความเป็นพหุนิยมทางศาสนาและการยอมรับความต่าง ขณะที่ศาสนาอับราฮัมไม่ยอมรับความต่าง และพยายามละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกด้วยการบังคับเปลี่ยนศาสนา[19] ขณะที่เรจินา ชวาตซ์ นักวิชาการด้านวรรณคดีอังกฤษและศาสนาแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นกล่าวว่าการกล่าวหาว่ารูปเคารพเป็นพระเทียมเท็จ ตามด้วยการทำลายรูปเคารพไม่ต่างอะไรกับการไม่ทนความต่างทางศาสนา[20][21]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Moshe Halbertal; Avishai Margalit; Naomi Goldblum (1992). Idolatry. Harvard University Press. pp. 1–8, 85–86, 146–148. ISBN 978-0-674-44313-6.
  2. 2.0 2.1 Smart, Ninian (10 November 2020) [26 July 1999]. "Polytheism". Encyclopædia Britannica. Edinburgh: Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  3. DiBernardo, Sabatino (2008). "American Idol(atry): A Religious Profanation". The Journal of Religion and Popular Culture. 19 (1): 1–2. doi:10.3138/jrpc.19.1.001., Quote: "Idolatry (...) in the first commandment denotes the notion of worship, adoration, or reverence of an image of God."
  4. Poorthuis, Marcel (2007). "6. Idolatry and the Mirror: Iconoclasm as a Prerequisite for Inter-Human Relations". Iconoclasm and Iconoclash, Chapter 6. Idolatry and the Mirror: Iconoclasm As A Prerequisite For Inter-Human Relations. BRILL Academic. pp. 125–140. doi:10.1163/ej.9789004161955.i-538.53. ISBN 9789004161955.
  5. 5.0 5.1 5.2 Angelini, Anna (2021). "Les dieux des autres: entre «démons» et «idoles»". L'imaginaire du démoniaque dans la Septante: Une analyse comparée de la notion de "démon" dans la Septante et dans la Bible Hébraïque. Supplements to the Journal for the Study of Judaism (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 197. Leiden and Boston: Brill Publishers. pp. 184–224. doi:10.1163/9789004468474_008. ISBN 978-90-04-46847-4.
  6. Leone, Massimo (Spring 2016). Asif, Agha (บ.ก.). "Smashing Idols: A Paradoxical Semiotics" (PDF). Signs and Society. Chicago: University of Chicago Press on behalf of the Semiosis Research Center at Hankuk University of Foreign Studies. 4 (1): 30–56. doi:10.1086/684586. eISSN 2326-4497. hdl:2318/1561609. ISSN 2326-4489. S2CID 53408911. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2017. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  7. Wendy Doniger (1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions. Merriam-Webster. p. 497. ISBN 978-0-87779-044-0.
  8. 8.0 8.1 Frohn, Elke Sophie; Lützenkirchen, H.-Georg (2007). "Idol". ใน von Stuckrad, Kocku (บ.ก.). The Brill Dictionary of Religion. Leiden and Boston: Brill Publishers. doi:10.1163/1872-5287_bdr_SIM_00041. ISBN 9789004124332.
  9. 9.0 9.1 9.2 Jeaneane D. Fowler (1996), Hinduism: Beliefs and Practices, Sussex Academic Press, ISBN 978-1-898723-60-8, pages 41–45
  10. 10.0 10.1 Karel Werner (1995), Love Divine: Studies in Bhakti and Devotional Mysticism, Routledge, ISBN 978-0700702350, pages 45-46;
    John Cort (2011), Jains in the World, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-979664-9, pages 80–85
  11. Klaus Klostermaier (2010), A Survey of Hinduism, State University of New York Press, ISBN 978-0-7914-7082-4, pages 264–267
  12. Lindsay Jones, บ.ก. (2005). Gale Encyclopedia of Religion. Vol. 11. Thompson Gale. pp. 7493–7495. ISBN 978-0-02-865980-0.
  13. Aniconism, Encyclopædia Britannica
  14. Marina Prusac; Kristine Kolrud (2014). Iconoclasm from Antiquity to Modernity. Ashgate. pp. 1–3. ISBN 978-1-4094-7033-5.
  15. Willem J. van Asselt; Paul Van Geest; Daniela Muller (2007). Iconoclasm and Iconoclash: Struggle for Religious Identity. BRILL Academic. pp. 8–9, 52–60. ISBN 978-90-04-16195-5.
  16. André Wink (1997). Al-Hind the Making of the Indo-Islamic World. BRILL Academic. pp. 317–324. ISBN 978-90-04-10236-1.
  17. Barbara Roggema (2009). The Legend of Sergius Bahira: Eastern Christian Apologetics and Apocalyptic in Response to Islam. BRILL Academic. pp. 204–205. ISBN 978-90-04-16730-8.
  18. Erich Kolig (2012). Conservative Islam: A Cultural Anthropology. Rowman & Littlefield. pp. 71 with footnote 2. ISBN 978-0-7391-7424-1.
  19. Moshe Halbertal; Donniel Hartman (2007). Monotheism and Violence. Vol. Judaism and the Challenges of Modern Life. Bloomsbury Academic. pp. 105–112. ISBN 978-0-8264-9668-3.
  20. Regina Schwartz (2016). Loving Justice, Living Shakespeare. Oxford University Press. pp. 32–34. ISBN 978-0-19-251460-8.
  21. Josh Ellenbogen; Aaron Tugendhaft (2011). Idol Anxiety. Stanford University Press. pp. 29–35, 60–74. ISBN 978-0-8047-8181-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]