อธิปัญญาสิกขา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
อธิปัญญาสิกขา แปลว่า การศึกษาในอธิปัญญา คือการปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญาให้สูงขึ้นจนตัดกิเลสได้เด็ดขาด เป็นข้อหนึ่งในไตรสิกขา คืออธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
อธิปัญญาสิกขา คือการที่ภิกษุได้บรรลุจตุตถฌานแล้วนั่งเข้าฌานด้วยจิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เธอมีจิตบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้วก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อญานทัสสนะ จนได้บรรลุวิชชาหรือเห็นประจักษ์ซึ่งสามัญญผลที่สูงขึ้นดียิ่งขึ้นตามลำดับ คือ
วิปัสสนาญาน มโนมยิทธิญาน อิทธิวิธิญาน ทิพพโสตธาตุญาน เจโตปริยญาน ปุพเพนิวาสานุสสติญาน ทิพพจักขุญาน และอาสวักขยญาน
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย นี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิรธิคามินีปฏิปทา นี้คืออาสวะ นี้คือเหตุให้เกิดอาสวะ นี้คือความดับอาสวะ นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ปฏิบัติดังนี้แลที่เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
อธิ- อุปสรรค (สันสกฤต: अधि-) เป็นคำอุปสรรคมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ เช่น อธิปัญญา (บาลี: อธิปญฺญา) แปลว่า ปัญญายิ่ง
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542