สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด
ฉายากระรอกขาวจ้าวสนาม
ก่อตั้ง2008; 16 ปีที่แล้ว (2008) ในชื่อ ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด
2020; 4 ปีที่แล้ว (2020) ในชื่อ ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
ความจุ5,000 ที่นั่ง
ประธานไทย เกษตรสุข ศุขหงษ์ทอง
ผู้จัดการไทย อาวุธ เอฟวา
ผู้ฝึกสอนไทย ประมวล ทินกระโทก
ลีกไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
2566ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก อันดับ 1 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประวัติสโมสร[แก้]

สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด ก่อตั้งขึ้นจากการยกระดับชมรมฟุตบอลกู่กาสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนการแข่งขันฟุตบอลรายการต่าง ๆ ในระดับภาคและระดับประเทศ ในนามจังหวัดร้อยเอ็ดและเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ เช่น ไทคัพ, กีฬาแห่งชาติ และโปรวินเชี่ยลลีก และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานฟุตบอลไปสู่ระดับอาชีพชมรมฟุตบอลกู่กาสิงห์ จึงมีมติให้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ในชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด สโมสรฟุตบอลจังหวัดร้อยเอ็ด" เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 อันเป็นการเตรียมพร้อมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพลีกภูมิภาค (ดิวิชั่น 2) ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (FAT) และปฏิบัติตามมาตรฐานการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

ในปี พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น "ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด" โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด และมีมังกร ยนต์ตระกูล นายก อบจ.ร้อยเอ็ด และนายกสมาคมกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานสโมสร

ในปี พ.ศ. 2563 ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น "ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด" โดยมีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสร และผู้จัดการทีม

ฉายาทีม[แก้]

"กระรอกขาวจ้าวสนาม" ได้มาจากกระรอกขาวเป็นสัตว์ในตำนานนิทานพื้นบ้านทางของอีสานเรื่องผาแดงนางไอ่ และกระรอกขาวได้นำมาทำเป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2528 ดังนั้นกระรอกขาวจึงถูกนำมาเป็นชื่อฉายาของทีมร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2565 ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6 3 2 1 13 4 8 รองชนะเลิศ (ตอนล่าง) ไม่ได้เข้าร่วม ไม่สามารถเข้าร่วม ไทย สายชล มักมีสุข
ไทย อภิรัฐ รุ่งเป้า
ไทย อภิสิทธิ์ แทวกระโทก
2
2566 ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6 4 2 0 16 1 14 ชนะเลิศ รอบ 64 ทีมสุดท้าย ไม่สามารถเข้าร่วม ไทย เรวัตร์ คุ้มบุญ 5
2567 ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รอบ 64 ทีมสุดท้าย ไม่สามารถเข้าร่วม ไม่สามารถเข้าร่วม
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
4 DF ไทย วัชรกรณ์ โพธิ์ชัย
5 MF ไทย ศุภกฤต ดงจารย์
6 MF ไทย สุภภรณ์ พรหมพินิจ
7 FW ไทย ศราวุฒิ มาสุข
8 FW ไทย สันติราษฎร์ เวียงอินทร์
9 FW ไทย สายชล มักมีสุข
10 FW ไทย ธงไชย รัฐไชย (กัปตันทีม)
11 MF ไทย สุดเขตต์ พรมด้วง
13 DF ไทย ณัฐปคัลภ์ เพ็งผลา
14 FW ไทย ธีรเทพ วิโนทัย
15 DF ไทย จิตติ คุ้มกุดขมิ้น
16 DF ไทย เรวัตร์ คุ้มบุญ
17 MF ไทย วันวิสข์ เดิมทำรัมย์
18 GK ไทย วรวุฒิ ศรีสุวอ
19 DF ไทย ศุภลาภ ถนอมลาภ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
25 DF ไทย ชลทิตย์ จันทคาม
26 MF ไทย วุฒิชัย ทองแสน
30 GK ไทย เฉลิมเกียรติ ภู่โต๊ะยา
32 FW ไทย วิชิต สิงห์ลอยลม
33 GK ไทย วีระชัย โทวงค์
41 MF ไทย พงศธร จิตพิมพ์
44 FW ไทย ธรรมวัตร เย็นรัมย์
47 DF ไทย คมสัน นิกูลรัมย์
49 DF ไทย ศักดา มั่นชาติ
72 DF ไทย ธนธรณ์ ประชานอก
88 MF ไทย ชุติวัต นีระพจน์
89 FW ไทย ภูวดล บูรณะอุดม
94 FW ไทย สหรัฐ แก้วแสงใส
95 FW ไทย พันกร ร่มเย็น
99 MF ไทย อลงกต ไชยวิเศษ

เกียรติประวัติ[แก้]

ทีมงานผู้ฝึกสอน[แก้]

ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง
อาวุธ เอฟวา ไทย ผู้จัดการทีม
ประมวล ทินกระโทก ไทย หัวหน้าผู้ฝึกสอน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]