ข้ามไปเนื้อหา

วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด
ประเภทธุรกิจบันเทิง
รูปแบบบริษัทจำกัด
ก่อนหน้าดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
มูเซอร์ เรคคอร์ดส
ก่อตั้ง3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 (30 ปี)
สำนักงานใหญ่88 อาคารเดอะพาร์ก เวิร์กเพลส ชั้น 4 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
บุคลากรหลัก
Karl N. Kongkham (กรรมการผู้จัดการ)
เว็บไซต์warnermusic.co.th

บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด (อังกฤษ: Warner Music (Thailand) Company Limited) เป็นบริษัทประกอบธุรกิจค่ายเพลงในประเทศไทย ภายใต้กลุ่มวอร์เนอร์มิวสิค ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ค่ายเพลงใหญ่ของโลก หรือ บิ๊กโฟร์ (Big Four) เกิดจากกลุ่มวอร์เนอร์มิวสิคเข้าซื้อกิจการค่ายเพลง ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และ มูเซอร์ เรคคอร์ดส มารวมกัน และจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทในสาขาประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยมีศิลปินบางส่วนจาก 2 ค่ายเพลงดังกล่าว ยังคงทำเพลงกับค่ายวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ต่อ โดยเฉพาะวงคาราบาว และ ซูซู อีกทั้งยังได้นำอัลบั้มทั้งหมดของทั้ง 2 ค่ายเพลงมาจำหน่ายใหม่อีกด้วย

ประวัติ

[แก้]
โลโก้ วอร์เนอร์มิวสิค ไทยแลนด์ เก่า

ศิลปินในค่าย

[แก้]

ฝั่งเพื่อชีวิต

[แก้]
  1. คาราบาว
    1. แอ๊ด คาราบาว
    2. เล็ก คาราบาว
    3. เทียรี่ คาราบาว
  2. พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ฝั่งสตริง

[แก้]
  1. Mr. Z
  2. ดอนผีบิน
  3. ตาวัน
  4. กษาปณ์ จำปาดิบ
  5. วิยะดา โกมารกุล ณ นคร
  6. สิบล้อ
  7. ซิลลี่ ฟูลส์ (ปัจจุบันย้ายไปสังกัด Me Records)
  8. อีโบลา(ปัจจุบันย้ายไปสังกัด Me Records)
  9. Link Conner
  10. พีทูวอร์ชิพ
  11. 8th FLOOR
  12. SystemSucker
  13. rylawadee
  14. KHUNPHAN TZ
  15. มาย ไลฟ์ แอส อะลิ โทมัส
  16. เทเลกซ์เทเลกส์ (ปัจจุบันย้ายไปสังกัดเลิฟอีส)
  17. NINEKING.
  18. REVER RHUEM
  19. เป้ ชลญา อาชีวะ (อัลบั้ม pAe’)
  20. SWOODY
  21. อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล
  22. อัญชลี จงคดีกิจ
  23. อาร์ท ศุภวัฒน์
  24. NANTCXP
  25. Zweed N' Roll
  26. คิส-แคส

ข้อวิจารณ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เพจเฟซบุ๊กของค่ายวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ ได้โพสต์ภาพตัดต่อภาพตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขณะวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกลเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม เพื่อโปรโมตเพลงสากล Apple ของ Charli xcx โดยระบุข้อความในภาพว่า "I THINK THE APPLE'S ROTTEN RIGHT TO THE CORE ฉันว่ารูปแอปเปิลลูกนี้มันคงเน่าจนถึงแกนแล้วล่ะ" พร้อมกับตัดต่อภาพแอปเปิลที่มีสภาพเน่าเสียไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน แต่นอกจากนั้น ยังตัดต่อภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรอบรูปบนผนังด้านหลังบัลลังก์ โดยปิดสีเขียวทับ และระบุข้อความภาษาอังกฤษที่มีความหมายในลักษณะที่ไม่บังควร จึงมีประชาชนที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แสดงความคิดเห็นไม่พ่อใจต่อเจตนาของแอดมินเพจดังกล่าว ซึ่งนอกจากอาจละเมิดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ยังส่อเจตนาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย ทำให้แอดมินเพจได้ลบโพสต์ดังกล่าวออกไปเมื่อเวลา 16:00 น. ของวันเดียวกัน แต่ประชาชนบางส่วนยังคงทวงถามความรับผิดชอบจากบริษัท และมีบางส่วนกล่าวว่าจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทในฐานความความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอีกด้วย[1]

ในที่สุด ในวันถัดมาคือเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม เพจเฟซบุ๊กของค่ายวอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ ก็ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษในกรณีการสื่อสารทางการตลาดด้วยภาพดังกล่าว พร้อมระบุว่าทางบริษัทกำลังพิจารณาลงโทษต่อพนักงานที่รับผิดชอบในการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าว เนื่องจากเป็นการกระทําที่ละเมิดกฎและไม่เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทฯ อย่างชัดเจน[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จวกยับค่ายเพลงดังตัดต่อภาพตุลาการศาล รธน. ส่อหมิ่นเบื้องสูง". ผู้จัดการออนไลน์. 11 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยฯ แถลงการณ์ขอโทษ ปมตัดต่อภาพตุลาการศาล รธน. ในการโปรโมตเพลง". ประชาไท. 12 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]