ปราสาทตาเมือนธม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทตาเมือนธม
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระศิวะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งชายแดนไทย-กัมพูชา
ประเทศไทย
ปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์
ปราสาทตาเมือนธม
ที่ตั้งในจังหวัดสุรินทร์
ปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ในประเทศไทย
ปราสาทตาเมือนธม
ปราสาทตาเมือนธม (ประเทศไทย)
พิกัดภูมิศาสตร์14°20′57″N 103°15′59″E / 14.34917°N 103.26639°E / 14.34917; 103.26639
สถาปัตยกรรม
ประเภทเขมร
ผู้สร้างพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 11[1]

ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลังเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม

ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้

ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ

ข้อมูล[แก้]

กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ตามรายทางสู่เมืองพระนครของขอม ในอดีตยังไม่มีความรับรู้ในเรื่องพรหมแดนต่างประเทศ มีแต่เพียงแนวทิวเขาพนมดงรัก เป็นพรหมแดนธรรมชาติที่กั้นผู้คนสองดินแดนไว้ คนโบราณมีการ ใช้เส้นทางผ่าช่องเขาที่มีอยู่ตลอดแนว ในบางช่องเขามีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก เช่น ช่องไชตะกูมีปราสาทแบแบก แต่สำหรับที่ช่องตาเมือนหรือตาเมียงนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีปราสาทหินสามหลังอยู่ใกล้ๆกัน เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก เรียกว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังมีขนาดและประโยชน์ที่ใช้สอยแตกต่างกันไป

ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม อยู่ใกล้ดินแดนเขมรมากที่สุด ปราสาทแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก คงจะรับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้ ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งแปลตรงกับภาษาเขมรว่า ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน บรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ

เนื่องจากปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดน การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก

ปราสาทตาเมือนโต๊ด อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ประมาณ 750 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ โดยเชื่อว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาล รักษาพยาบาลของชุมชนหรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทตาเมือน(บายกรีม)อย่ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊ด ประมาณ 390 เมตร เป็นปราสาทที่เล็กที่สุด ก่อด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นห้องยาว เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา คือที่พักสำหรับคนเดินทาง

กลุ่มปราสาทตาเมือนนี้นับได้ว่าเป็นกลุ่มปราสาทที่มีความสมบูรณ์ในด้านของการอำนวยประโยชน์ แก่ผู้คนที่ใช้เส้นทางผ่านช่องเขา ซึ่งไม่ปรากฏในถิ่นอื่น การที่มีกลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในบริเวณนี้เป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตเส้นทางช่องเขาตาเมือนนี้คงจะมีชุมชนหรือเป็นเส้นทางผ่านช่องเขาสำคัญของภูมิภาค

การเข้าชม[แก้]

เนื่องจากกลุ่มปราสาทนี้ตั้งอยู่ในเขตชายแดนประเทศไทย ทำให้การเข้าถึงตัวปราสาทเข้าได้เฉพาะฝั่งไทยเท่านั้น ส่วนฝั่งกัมพูชาอาจเข้าถึงได้ยากเพราะทางหลวงเก่าถูกป่าไม้กลืนกินหมดแล้ว ในช่วงกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การถือครองปราสาทพระวิหาร การปะทะริมชายแดนขยายไปถึงตาเมือน ทำให้ต้องหยุดเข้าชมวิหารชั่วคราว หลังจากนั้นแรงกดดันมีมากขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางไปไกลกว่าทางเข้าหลักทางใต้เพียงไม่กี่เมตร โดยมีตำรวจตระเวนชายแดนประจำการตรงนี้[2]

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ทางเข้าปราสาทฝั่งกัมพูชาเริ่มง่ายขึ้นเพราะมีการพัฒนาถนนแล้ว ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2552 แล้วเปิดใช้งานใน พ.ศ. 2553 โดยเป็นถนนลูกรังสีแดงที่มีความยาว 24 กิโลเมตร (แต่ไม่นานมานี้ได้พัฒนาเป็นถนนยางมะตอย) และถนนคอนกรีตขึ้นเขา 500 เมตร ผู้เข้าชมควรจอดรถในบริเวณใกล้เนินเขา เพราะพื้นที่บางส่วนชันเกิน เมื่อถึงยอดเขา นักท่องเที่ยวสามารถชมทิวทัศน์ของทิวเขาพนมดงรักพร้อมกับต้นไม้ใหญ่และดอกไม้ป่า[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Uchida, Etsuo; Ito, K.; Shimizu, N. (2010). "Provenance of the Sandstone Used in the Construction of the Khmer Monuments in Thailand". Archaeometry. 52 (4). doi:10.1111/j.1475-4754.2009.00505.x. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
  2. Panchali, Saikia (August 2012). "The Dispute over Preah Vihear: Seen Problems, Unseen Stakes" (PDF). IPCS Special Report. Institute of Peace and Conflict Studies. 129. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
  3. http://www.camnews.org/2012/08/13/ប្រាសាទតាមាន់ធំ-និង-តាក្របី

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Michael Freeman, A guide to Khmer temples in Thailand & Laos, Rivers Books, 1996 974-8900-76-2
  • Michael Freeman, Palaces of the Gods: Khmer Art & Architecture in Thailand, River Books, 2001 974-8303-19-5
  • Yoshiaki Ishizawa, Along The Royal Roads To Angkor, Weatherhill, 1999 083-4804-72-7
  • Claude Jacques and Philippe Lafond, The Khmer Empire, River Books, 2007 974-9863-30-5
  • Vittorio Roveda, Images of the gods: khmer mythology in Cambodia, Thailand and Laos, River Books, 2005 974-9863-03-8
  • Betty Gosling, Origins of thai art, River Books, 2004 0-8348-0541-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°20′57″N 103°15′59″E / 14.3492776°N 103.2662916°E / 14.3492776; 103.2662916