สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา
บนสะพานมิตรภาพ มุ่งหน้ากัมพูชา
พิกัด13°39′41″N 102°32′58″E / 13.6615°N 102.5495°E / 13.6615; 102.5495
เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33
ทางหลวงเอเชียสาย 1
ข้ามคลองลึก
ที่ตั้งไทย บ.คลองลึก ต.อรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ประเทศไทย
กัมพูชา เมืองปอยเปต อ.โอโจรว จ.บันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา
ชื่อทางการสะพานมิตรภาพ
ท้ายน้ำสะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน–สตึงบท)
ข้อมูลจำเพาะ
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
วันสร้างเสร็จ5 สิงหาคม พ.ศ. 2536
วันเปิดพฤศจิกายน พ.ศ. 2536
ได้รับงบประมาณจากสหราชอาณาจักร
ก่อสร้างโดยกรมทหารช่าง กองทัพบกไทย
มอบเป็นของขวัญให้ประชาชนกัมพูชา
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต) (อังกฤษ: Thailand–Cambodia Friendship Bridge (Aranyaprathet – Poipet); เขมร: ស្ពានមិត្តភាព)[1] เป็นสะพานข้ามคลองลึก เชื่อมต่อระหว่างบ้านคลองลึก ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย กับเมืองปอยเปต อำเภอโอโจรว จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา[2] จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างแดนของไทยกับกัมพูชาแห่งแรก

ความเป็นมา[แก้]

สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต) ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร[3] มอบหมายให้กรมทหารช่าง กองทัพบก โดยกองพันทหารช่างเฉพาะกิจที่ 1[4] ซึ่งมีภารกิจในการช่วยฟื้นฟูประเทศกัมพูชาภายหลังสภาวะสงคราม โดยภารกิจหลักคือการฟื้นฟูทางหลวงและกวาดล้างรื้อถอนทุ่นระเบิดตามทางหลวงหมายเลข 5 ของกัมพูชาซึ่งต่อเนื่องมาถึงชายแดนไทย เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความกว้าง 17 เมตร ยาว 50 เมตร ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เสร็จสิ้นในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2536[4] และมอบให้เป็นของขวัญแด่ประชาชนชาวกัมพูชาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536[3][1]

หลังจากนั้น สะพานมิตรภาพจึงกลายเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางข้ามผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชามาจนถึงปัจจุบัน[5] โดยมีการติดตั้งประตูปิดเปิดไว้ในทั้งสองด้านของสะพานเพื่อใช้ควบคุมการเข้าออกระหว่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ[6]

เส้นทางเชื่อมต่อ[แก้]

สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต) เชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ผ่านจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึกในฝั่งประเทศไทย และทางหลวงหมายเลข 5 ผ่านด่านพรมแดนปอยเปตในประเทศกัมพูชา[7] ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jib. "#เที่ยวไม่กลับบ้าน มารพิณ: รีวิววิธีข้ามแดนไทยกัมพูชา โรงเกลือไปปอยเปต". #เที่ยวไม่กลับบ้าน มารพิณ.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน - ตารางจุดผ่านแดนทั่วประเทศ 19 มี.ค. 2561 (ด้านกัมพูชา)". www.fad.moi.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "ภาพถ่ายจารึกบนสะพานมิตรภาพ ไทย - กัมพูชา | Google Maps". Google Maps.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::." www.engrdept.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-16.
  5. "[CR] ปุ๊บปั๊บเสียมเรียบ เที่ยวมหาปราสาทมรดกโลก นครวัด นครธม". Pantip.
  6. "พ่อค้าแม่ค้าเขมร ฮือปิดสะพานด่านอรัญฯ เข้าใจผิดคิดว่าศุลกากรรีดภาษีแพง". www.thairath.co.th. 2017-03-30.
  7. "กมธ.คมนาคม ตรวจดูความคืบหน้าหน้าเขต ศก.พิเศษ อรัญประเทศ-ปอยเปต". www.thairath.co.th. 2016-06-21.