วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 25
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 20 | ← | กรุ 23 | กรุ 24 | กรุ 25 | กรุ 26 | กรุ 27 |
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 |
ชื่อบทความ กับยศหน้าบทความ
เห็น ผู้ใช้:Jerasak ได้เปลี่ยนชื่อบทความบุคคลที่มียศ นำหน้าออก อย่าง หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็น พันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือ ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา เป็น ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา เลยอยากปรึกษาเรื่องเกณฑ์ในการใช้ว่าควรเป็นอย่างไร --Sry85 17:22, 26 มีนาคม 2551 (ICT)
เอาข้อมูลประกอบไปดูก่อน วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#ยศหรือตำแหน่ง --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:35, 26 มีนาคม 2551 (ICT)
ฐานันดรศักดิ์/บรรดาศักดิ์ สมควรที่จะมีคำนำหน้าไว้ ก็คงต้องเปลี่ยนชื่อบทความกลับ ส่วนท่านผู้หญิง น่าจะเป็นยศ ซึ่งยศทางทหารจากข้างต้นไม่ต้องมีคำนำหน้า คิดเห็นอย่างไรครับ --Sry85 17:47, 26 มีนาคม 2551 (ICT)
- เห็นด้วยครับผม ท่านผู้หญิงคงไม่ต้องใส่คำนำหน้า เพราะเป็นยศ -- Portalian 16:45, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- ยศท่านผู้หญิงไม่ต้องใส่คำนำหน้าถ้าคน ๆ นั้นเป็นสามัญชนครับ
- ยกเว้นก็ต่อเมื่อ คน ๆ นั้นมีฐานันดรศักดิ์เป็น "หม่อมราชวงศ์" หรือ "หม่อมหลวง" ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สูงขึ้น จึงทำให้ต้องเปลี่ยนคำนำหน้านาม
- ยกตัวอย่างเช่น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ครับ ! เดิมทีท่านเป็น หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์ แต่ได้รับเครื่องราชฯ จึงทำให้ต้องเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิง
- เพราะฉะนั้นก็ควรตั้งชื่อบทความของท่านเหล่านี้ ให้มีท่านผู้หญิงนำหน้าครับ!
- แต่ผมว่า "ท่านผู้หญิง" ก็ควรนำมาตั้งเป็นชื่อบทความเหมือนกันนะครับ เช่น ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ธิดาเสด็จกรมหลวงฯ น่ะครับ -- V i P 14:58, 18 เมษายน 2551 (ICT)
- คำว่าคุณหญิง กับท่านผู้หญิงนั้น เป็นคำนำหน้านามครับ มิใช่ยศ หรือบรรดาศักดิ์ ดังนั้นจึงแตกต่างจากในคราวที่เลิกบรรดาศักดิ์ (โดยปริยาย คือไม่มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์อีก) ของฝ่ายหน้า คือสมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น ดังนั้นคำว่าคุณหญิง กับท่านผู้หญิงจึงไม่ควรต้องมีใส่ไว้หน้าบทความเช่นกันครับ --Oh~my goDnesS 21:47, 2 พฤษภาคม 2551 (ICT)
การใช้พระนามของกษัตริย์ประเทศอังกฤษและราชวงศ์ยุโรป
เห็นว่าพระนามของพระมหากษัตริย์ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร และราชวงศ์ยุโรปหลายบทความมีที่ใช้ไม่เหมือนกัน บางที่ก็ใช้แค่ พระเจ้า บางที่ก็ใช้ สมเด็จพระเจ้า บางที่ก็เป็น สมเด็จพระราชาธิบดี เลยอยากว่ามีกฎเกณฑ์การเรียกชื่อเป็นภาษาไทยอย่างไร ถ้ายังไม่มี ก็อยากจะขอระดมสมองชาววิกิพีเดียตั้งกฎเกณฑ์กันหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ
ปล. ส่วนตัวผม ใช้คำว่า สมเด็จพระเจ้า... เช่น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6, สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 · Dr.Garden · พูดคุย · 10:30, 3 เมษายน 2551 (ICT)
คำเรียกอย่างเป็นทางการต้องใช้คำว่า สมเด็จพระราชาธิบดี นะครับ แต่ถ้าเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์จะเป็นคำว่า พระเจ้า กษัตริย์ของประเทศที่ไม่มีระบบกษัตริย์แล้วน่าจะใช้เป็นพระเจ้าให้หมด (เพราะส่วนใหญาก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ส่วนประเทศที่ยังใช้ระบบกษํตริย์อยู่ น่าจะลองตกลงกันอีกทีว่าจะทำอย่างไร เพราะถ้าเปลี่ยนไปใช้คำว่าสมเด็จพระราชาธิบดีกับทุกพระองค์ในอดีตคงจะดูแปร่ง ๆ --Cakra 17:58, 3 เมษายน 2551 (ICT)
- เท่าที่ดิฉันแปลมาเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์อังกฤษมาใน (หมวดหมู่:กษัตริย์อังกฤษ) ซึ่งตำแหน่งกษัตริย์ที่ใช้ในหมวดนี้เป็นระเบียบอย่างเดียวกันหมดแล้วยกเว้น กษัตริย์อาเธอร์ หลักกว้างที่ใช้อยู่คือ
- หัวข้อบทความ และ คำแรกที่แนะนำ ของบทความอย่างเป็นทางการจะพระนามเต็มโดยใช้สูตร ตำแหน่ง + ชื่อ + ดินแดนที่ปกครอง ตำแหน่ง เช่น สมเด็จพระเจ้า สำหรับกษัตริย์ และ สมเด็จพระราชินีนาถ สำหรับกษัตรีย์ บวกพระนามเต็มและประเทศหรือบริเวณที่ปกครอง เช่น สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ แห่งบริเตนใหญ่ แต่ถ้าเป็นกษัตริย์ของแคว้นรองที่ไม่ใช่ประเทศจะใช้เพียง พระเจ้า เช่น พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย
- ในบทความ แต่เมื่อกล่าวถึงต่อไปในบทความจะใช้เพียง พระเจ้า เป็นสรรพนามแทนเพื่อความกะทัดรัดและง่ายต่อการอ่าน เช่น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ก็จะกล่าวถึงในบทความว่า พระเจ้าจอร์จที่ 3 หรือถ้ามีพระเจ้าจอร์จที่ 3 อยู่องค์เดียวที่ชื่อจอร์จในบทความก็อาจจะเรียกเพียง พระเจ้าจอร์จ เป็นต้น แต่ถ้ามีหลายจอร์จก็ต้องบ่งว่าเป็นจอร์จไหน แต่สรรพนามใดที่เลือกใช้ก็จะใช้สรรพนามนั้นตลอดเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน แต่เมื่อกล่าวถึงชีวิตก่อนที่จะเป็นกษัตริย์เช่น ดยุคแห่งนอร์มังดี ก่อนที่จะทรงราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ก็ควรจะเรียกดยุคแห่งนอร์มังดีสำหรับสมัยก่อนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์และเมื่อกล่าวถึงการขึ้นครองราชย์ในบทความก็ใช้พระนามเต็มเช่นประโยค “เจ้าหญิงแมรีขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษร่วมกับพระสวามีหลังจากการโค่นราชบัลลังก์ของพระราชบิดาพระเจ้าเจมส์ที่ 2” สรุปคือภายในบทความการจะใช้คำใดเรียกใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหาจะตั้งกฏว่าต้องเรียกชื่อเดียวกันตลอดในบทความก็จะไม่เหมาะสม บางครั้งอาจเรียกชื่อเฉย ๆ เพราะก่อนเป็นกษัตริย์ไม่มีตำแหน่งอะไรหรือเป็นเป็นลูกของเจ้านายชั้นรองหรือคนสามัญ
- ข้อยกเว้นในบางกรณีเช่นตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของอังกฤษโบราณ ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นพระมหากษัตริย์อย่างที่เรารู้จักกันเพราะบางครั้งเป็นเพียงหัวหน้ากลุ่มชน เรียกพระมหากษัตริย์ก็ไม่ค่อยตรงกับความหมายเท่าใดนัก แต่นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
- คิดว่าการเขียนควรพยายามให้ทั้งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่ในขณะเดียวกันก็ควรจะคำนึงถึงความสละสลวยโดยการเลี่ยงใช้คำเดียวกันซ้ำซ้อนโดจการใช้คำสรรพนามช่วย เช่นเดียวกับการเขียนประวัติบุคคลเราไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อผู้ที่เราเขียนถึงอย่างเต็มยศตลอดทั้งบทความแต่จะใช้สรรพนาม เขา บ้าง ท่าน บ้างแทนหรืออื่นตามความเหมาะสม ซึ่งเป็นการทำให้ข้อเขียนสละสลวยขึ้น เช่นเดียวกับเวลาเรากล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราก็เรียก ในหลวง บ้าง พระเจ้าอยู่หัว บ้าง หรืออื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ก็หมายถึงผู้เดียวกัน สิ่งที่สำคัญก็คือหัวข้อบทความที่ควรจะใช้หลักการเรียกตำแหน่งอย่างเดียวกันในการเรียกพระมหากษัตริย์ในประเทศเดียวกันเพื่อความเรียบร้อย ซึ่งจะทำให้การค้นคว้าทำได้ง่ายขึ้นในอนาคต --Mattis 17:05, 8 เมษายน 2551 (ICT)
ชื่อบทความเพลงชาติ
ชื่อบทความเพลงชาติไม่เป็นไปแนวทางเดียวกันเลยครับ มีทั้งที่เขียนเป็นอักษรละติน เขียนทับศัพท์ชื่อเพลงด้วยอักษรไทย และชื่อที่บอกเฉย ๆ ว่าเพลงชาติของประเทศอะไร ควรจะกำหนดให้เป็นแบไหนดีครับ --Cakra 18:02, 3 เมษายน 2551 (ICT)
- น่าจะเขียนทับศัพท์ชื่อเพลงด้วยอักษรไทยครับ เพราะภาษาอื่น ๆ ก็ใช้ระบบนี้กัน ส่วนบทความที่ชื่อขึ้นต้นด้วย "เพลงชาติ..." เพราะว่าชื่อเพลงในภาษานั้น ๆ มีความหมายว่าเพลงชาติจริง ๆ อย่างเช่น เพลง "Дархан манай тусгаар улс" ที่แปลตรงตัวเลยความหมายว่า "เพลงชาติมองโกเลีย" ส่วนบทความที่ชื่อยังเป็นอักษรละตินอยู่ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากไม่ทราบวิธีอ่าน ซึ่งก็ติดป้ายว่าเป็นชื่อภาษาอื่นแล้วก็รอการแก้ไขต่อไปครับ -- Portalian 16:51, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- เห็นด้วยว่าถอดชื่อเพลงด้วยอักษรไทยครับ ถ้าจะคงสโคปของบทความเหมือนเดิม (ซึ่งเหมือนกับภาษาอังกฤษ) ถ้าใช้ว่า "เพลงชาติ..." อาจจะมีสโคปของบทความต่างออกไป เพราะบางเพลงมีมานานก่อนที่จะตั้งขึ้นเป็นเพลงชาติ บางเพลงเป็นเพลงชาติในอดีต ถ้าใช้ว่า "เพลงชาติ..." บทความก็จะเกี่ยวกับความเป็นเพลงชาติมากกว่าตัวเพลงโดยตัวมันเอง ซึ่งก็อาจจะต้องพูดถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงเพลงชาติ ประวัติของเพลงต่าง ๆ ที่เคยเป็นเพลงชาติ
- ขอถามอีกข้อหนึ่งว่า คำว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมี" เป็นสามัญนามที่มีความหมายเหมือน royal anthem ที่ใช้กันจริง ๆ หรือเปล่าครับ หรือเป็นแค่การเทียบเคียงกัน (แต่ก็เห็นว่า มีบทความ เพลงสรรเสริญพระบารมี (ประเภท)) --KINKKUANANAS 18:22, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- น่าจะเขียนทับศัพท์ชื่อเพลงด้วยอักษรไทยครับ เพราะภาษาอื่น ๆ ก็ใช้ระบบนี้กัน ส่วนบทความที่ชื่อขึ้นต้นด้วย "เพลงชาติ..." เพราะว่าชื่อเพลงในภาษานั้น ๆ มีความหมายว่าเพลงชาติจริง ๆ อย่างเช่น เพลง "Дархан манай тусгаар улс" ที่แปลตรงตัวเลยความหมายว่า "เพลงชาติมองโกเลีย" ส่วนบทความที่ชื่อยังเป็นอักษรละตินอยู่ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากไม่ทราบวิธีอ่าน ซึ่งก็ติดป้ายว่าเป็นชื่อภาษาอื่นแล้วก็รอการแก้ไขต่อไปครับ -- Portalian 16:51, 8 เมษายน 2551 (ICT)
- เรื่องชื่อบทความเพลงชาติควรใช้อย่างไรนั้น ตอนนี้ผมได้กำหนดลงไว้ในการร่างนโยบายวิกิสัญลักษณ์ซึ่งจะนำมาใช่ในอนาคตแล้วครับ ส่วนเรื่องการใช้คำว่าเพลงสรรเสริญพระบารมี ในความหมาย royal anthem นั้น ที่จริงคำนี้ก็ยังไม่พบว่าว่ามีการกำหนดไว้อย่างเป็นทางการ แต่ผมเคยอาจพบว่าเคยมีการเรียกเพลงก็อดเซฟเดอะควีน และเพลง Heil dir im Siegerkranz อย่างลำลองในเอกสารที่อ้างถึงประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมีในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า "เพลงสรรเสริญอังกฤษ" และ "เพลงสรรเสริญเยอรมัน" ตามลำดับ (ดูได้ในหนังสือ 99 ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี โดย รศ.สุกรี เจริญสุข) ผมจึงเอาชื่อ "เพลงสรรเสริญพระบารมี" ของไทยเรามาเทียบใส่คำว่า royal anthem ตามหลักดังกล่าวครับ (โปรดสังเกต เพลงสรรเสริญพระบารมีของไทยนั้น ถ้าไม่เรียกโดยการถอดเสียงเป็น Phleng Sanseon Phra Barami ก็เรียกแต่เพียงว่า Thai Royal Anthem ครับ) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 00:38, 17 เมษายน 2551 (ICT)
ข้อคิดเรื่องชื่อภาษาต่างประเทศ
- อ่านเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ#การทับศัพท์ชื่อ และ กรุหลักการตั้งชื่อ
เข้าใจว่าในการเขียนชื่อในภาษาต่างประเทศนั้นเราพยายามเรียกให้ใกล้เคียงภาษาท้องถิ่น และการตามบางครั้งก็เห็นทำกันครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือตั้งแล้วก็ไม่มีคนใช้เพราะมาเลือกใช้ชื่อที่รู้จักกันดีเช่นบทความเกี่ยวกับเมือง ฟีเรนเซ บทความอื่นที่กล่าวถึงเมืองนี้กลับไปใช้ ฟลอเรนซ์ ทั้งหมด!
แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ถ้าเป็นบทความโดด ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่บทความในวิกิสร้างเพื่อใช้ในการอ้างอิงในบทความอื่น ๆ ได้ และส่วนใหญ่แล้วบทความอื่นที่อ้างกันไปมาจะเป็นบทความที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งเรียกชื่อต่าง ๆ แบบอังกฤษ หรือบางบทความเกี่ยวพันหลายประเทศเช่นบทความเกี่ยวกับสงครามในยุโรปเป็นต้น ฉะนั้นการอ้างอิงจึงออกจะลำบากเพราะอ้างอิงกันไปถึงบุคคลที่มาจากประเทศต่าง ๆ ต้นฉบับไม่มีปัญหาเพราะ “ทำเป็นภาษาอังกฤษ” (anglicide) หมด พอเป็นภาษาไทยก็มีผู้เชี่ยวชาญคนละภาษาก็แก้กันคนละอย่างสองอย่างเช่น คนหนึ่งแคว้นนาวาร์ เป็นนาแวร์ตามฝรั่งเศส อีกคนหนึ่งแก้เป็นนาวาร์อีกตามสเปน และบางครั้งแก้ไม่หมดทำให้การสะกดตัวมีหลายอย่างในบทความเดียวกัน
หลักเท่าที่ทำมาก็ใช้ชื่อต่าง ๆ ตามบทความอังกฤษและวิธีการอ่านของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ เพราะเนื้อความเป็นบทความที่เป็นทฤษฏีทั่วไป แปลมาจากภาษาอังกฤษ, และเป็นชื่อที่รู้จักกันเป็นภาษากลาง (ที่บังเอิญเป็นภาษาอังกฤษ) ถ้าเอ่ยถึงชื่อต่าง ๆ ที่ว่าโดยการใช้วิธีอ่านอย่างอังกฤษ ก็จะอาจจะรู้จักกันทั่วโลกมากกว่าที่จะใช้ชื่อท้องถิ่นซึ่งเป็นที่รู้เฉพาะผู้เชื่ยวชาญเฉพาะประเทศเท่านั้น เห็นว่าน่าจะเลือกภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักโดยทั่วไปแล้วก็เรียกชื่อตามภาษากลางเป็นหลัก ซึ่งในกรณีนี้ก็คงเป็นภาษาอังกฤษ และวงเล็บไปภาษาแม่ไว้ในบทความหลักของชื่อ เช่นบทความเรื่อง ฟลอเรนซ์ ก็ควรจะเรียก ฟลอเรนซ์ (เพราะเป็นชื่อที่ใช้เกือบทุกบทความที่เกี่ยวกับศิลปะ) ในบทความก็ให้ชื่อไว้ทั้งสองวิธีอ่านทั้งภาษาแม่ ฟีเรนเซ และที่รู้จักกันในภาษากลาง ฟลอเรนซ์ เพราะเวลาค้นหาโอกาสที่ ใช้คำว่า ฟีเรนเซ หาจะมีน้อยกว่าการใช้คำว่า ฟลอเรนซ์ ..ฮ่ะโยงได้เข้าใจ..เข้าใจ
ออกความคิดไว้ให้เคี้ยวเล่นเท่านั้น เพราะเห็นว่าบทความวิกิของไทยเรามีมากขึ้นทุกวัน และเห็นแก้ชื่อกันไปมาจนออกจะปวดหัว --Mattis 18:28, 31 มีนาคม 2551 (ICT)
ไม่เห็นด้วยนะครับ ว่าการอ่านแบบอังกฤษนั้น มีความนิยมสูงกว่าเสมอ
- ลองกูเกิลเล่น ๆ เจอ ฮับสบูร์ก ไม่น้อยไปกว่า แฮบสเบิร์ก (ผมเองก็เพิ่งเคยเห็นว่ามีสะกดแบบหลังด้วย)
- คนไทยรู้จักบาเยิร์นไม่น้อยไปกว่าบาวาเรีย (เหตุผลหลักมาจากฟุตบอล อย่างเดียวกับที่ทำให้รู้จัก เนิร์นแบร์ก โตริโน ฯลฯ ดังนั้นจะว่าคนไทยไม่รู้จักชื่อท้องถิ่นพวกนี้ ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว)
- วาเลนเซียกับบาเลนเซียมีความนิยมไม่ต่างกัน (อันนี้ซับซ้อน เพราะภาษาสเปนเป็นบาเลนเซีย แต่คาตาลันเป็นวาเลนเซีย)
ถ้าเกิดชื่อที่ไม่ได้มี established use ชัดเจนในภาษาไทย (อย่างปารีส ไม่จำเป็นต้องเถียงว่าเป็นเพ-ริส หรือปารี) และสะกดเหมือนกันทั้งภาษาอังกฤษและท้องถิ่น (หรือต่างกันน้อยมาก) ผมไม่เห็นว่ามีเหตุผลอะไรที่จะต้องเลือกการอ่านที่ "เพี้ยน" มา (การอ่าน Bangkok แบบที่ถูกต้องตามต้นฉบับก็คือ บางกอก เสมอ เช่นเดียวกับที่ Phuket ไม่ได้ออกเสียงเหมือน Fuck it)
ถ้าเกิดชื่อสองภาษาต่างกัน (และไม่มีการใช้ที่ นิ่ง หรือเป็นมาตรฐานเช่นของราชบัณฑิต) ผมเองเลือกแบบท้องถิ่นเพราะเห็นว่า เป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ มากกว่า --KINKKUANANAS 01:47, 4 เมษายน 2551 (ICT)
- ที่ติงมานี้เป็นการอยากให้มองการใช้ในมุมที่กว้างขึ้นหน่อย และเพื่อการขยายตัวในอนาคตของวิกิ และกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างสถานที่หรือชื่อเดียวกันที่ใช้ในหลายประเทศ อย่างที่กล่าวข้างบนว่าถ้าเป็นบทความโดด ๆ เกี่ยวกับชื่อใดชื่อหนึ่งที่เป็นอิสระก็ไม่เป็นไร ไม่หลอกตาแต่ถ้าเป็นบทความลูกผสม คือมีการอ้างไปถึงชื่อหรือเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในหลายประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศเดียวกัน บางชื่ออ่านตามเจ้าของภาษา บางชื่ออ่านตามความเคยชิน บางชื่ออ่านตามที่แปลงเป็นไทย เช่นเห็นอยู่กรณีหนึ่ง ทำนองว่า นาย ก เดินทัพจาก ฝรั่งเศส ไปยัง ซิซิลี จาก มิลาน ผ่าน โรม ฟลอเรนซ์ และนาโปลี ซึ่งมีทั้งไทย อังกฤษ และอิตาเลียน อย่างนี้หัวมงกุฏท้ายมังกร อ่านแล้วไม่กลืนกัน
การแปลบทความบางครั้งก็ควรจะคำนึงถึงว่าแปลจากฐานประเทศใดด้วยเช่นเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษก็ควรจะเรียกชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในบทความนั้นตามที่เจ้าของประเทศเรียก ถ้าเขียนจากมุมมองสเปนก็อาจจะเรียกพระราชวงศ์อังกฤษอย่างชาวสเปนเรียกเพื่อที่อ่านแล้วจะสละสลวยกว่า
ไม่ใช่เชืยร์ภาษาอังกฤษจีงได้ใช้คำว่าบังเอิญ แต่เห็นว่าเป็นภาษาที่เป็นที่รู้จักกันมากกว่าภาษาอื่น (เท่าที่ทราบ) ที่เขียนมาก็เพียงแต่อยากให้มีแนวโน้มทางภาษากลางบ้างเพราะบทความที่แปลอยู่มักจะเป็นบทความที่เกี่ยวโยงไปหลายประเทศ โดนแก้กลับไปกลับมาจากผู้เชี่ยวชาญคนละประเทศ ดิฉันเองไม่ทราบจะเอากันอย่างไรแน่จึงได้ใช้ “ภาษากลาง” กรุณาอย่าคิดว่าหาว่าคนไทยไม่ทราบ คนไทยอย่างดิฉันนี่แหละตัวดีไม่ต้องคนอื่นคนไกล จะหาความรู้หรือเรียนเรื่องวัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ชาติอื่นก็ต้องเรืยนผ่านภาษาอังกฤษเป็นหลัก --Mattis 21:40, 4 เมษายน 2551 (ICT)
- ผมเห็นด้วยกับที่น่าจะสังคายนาอีก เพราะผมเองก็เคยมีปัญหาเวลาเขียนบทความ (ตอนนั้นเขียนบทความชีวประวัติบุคคลต่าง ๆ อยู่ ซึ่งมีชื่อประเทศชื่อเมือง เลยลักลั่นว่าจะทำลิงก์ยังไงดี ตอนนี้แขวนโครงการนั้นอยู่ ว่าจะรื้อมาทำใหม่ถ้ามีโอกาส)
ทีนี้สังคายนาเสร็จ สำคัญต้องใส่ตายกำกับที่หน้า วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ ให้ชัดเจนไปเลย ให้คำใดเป็นคำกลาง คำใดบ้างที่มักเขียนสำเนียงอื่น ให้เขียนและแก้ตามนั้น
ส่วนตัวผมเห็นว่าควรให้เกียรติเจ้าของภาษา ออกเสียงตามเจ้าของภาษาเป็นหลัก แต่ก็ให้ความสำคัญกับ การใช้คำนิยม เพื่อการค้นหาและทำลิงก์ ไม่แพ้กัน จึงเสนอเพิ่ม เพื่อตัดปัญหา ว่าอาจกำกับ ในวงเล็บออกเสียงภาษาที่นิยมเกี่ยวข้อง ไว้ด้วย โดยถ้ากล่าวหลายครั้งให้กำกับไว้ครั้งแรกสุดของหน้า
อันนี้เฉพาะคำในบทความนะครับ กรณีการตั้งชื่อ จะให้ตัวใดเป็นหลักก็โหวตกันมา ผมยินดีปฏิบัติตาม ไม่ออกความเห็น เพราะส่วนตัวยังสองจิตสองใจ เลยยังไงก้ได้
เล่าสู่กันฟัง ผมเคยพยายามเขียน โยนออฟอาร์ก (ให้สมบูรณ์ขึ้น แต่ก็ยังไม่แล้ว ยังค้างข้อมูลที่ทำไว้ไม่เสร็จในเครื่องส่วนหนึ่ง) ทั้งที่ผมไม่รู้ภาษาฝรั่งเศส และเขียนโดยแปลจากภาษาอังกฤษ กระนั้นผมก็พยายามศึกษาการออกเสียงภาษาฝรั่งเศส และชื่อเฉพาะทั้งหลายเป็นฝรั่งเศส เป็นต้น --Sirius (TeeTaweepo) 02:18, 8 เมษายน 2551 (ICT)
โดยปกติที่ตัวผมเขียน ผมก็มักจะยึดตามชื่อบทความนั้นที่โยงไปหา ดังนั้นจะเป็นการอ่านสำเนียงใด ก็ให้ไปเถึยงกันในหน้านั้น ๆ เสร็จแล้วผมค่อยเอาชื่อที่เป็นมติมาใช้ เพราะผมถือว่าการสะกดแบบนั้น เป็นมาตรฐานการสะกดในภาษาไทยแบบวิกิพีเดีย (คือไม่ได้มองแล้วว่า มาจากภาษาดั้งเดิมอะไร) นั่นคือผมไม่คิดว่าจำเป็นต้องใช้ลอนเดรสเพื่อให้เข้าคู่กับบูร์โกสได้ในบทความเดียวกัน ผมไม่รู้ว่ามาตรฐานเรื่อง "ภาษากลาง" ของคุณกว้างขนาดไหน ผมยอมรับว่า ตัวผมเองก็ยอมรับว่าก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นแหล่งข้อมูลหลัก และก็มองภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง (lingua franca) เหมือนกัน เพียงแต่เห็นว่า บางเรื่องที่เป็นท้องถิ่นของที่ใดที่หนึ่งชัดเจน ก็น่าจะยึดอันนั้นเป็นหลักได้ ไม่จำเป็นว่า ศึกษามาจากแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษ ก็ต้องยึดตามเฉพาะภาษาอังกฤษเสมอไป (แต่ถ้าชื่อภูมิศาสตร์นั้นมี established use ในภาษาไทย ก็น่าจะให้ความสำคัญกับอันนั้นได้ ดังนั้น ผมออกจะเห็นด้วยกับคุณในแง่ของ ฟลอเรนซ์ เพียงแต่ว่า หลาย ๆ ชื่ออาจจะสับสนได้ว่า มีชื่อที่เป็นหลักแล้วหรือยัง เพราะหลายวงการก็ใช้ต่างกัน) ส่วนถ้าหัวข้อไหนจะเป็นหลักความรู้กลาง ๆ ไม่ได้เจาะจงไปที่ท้องถิ่นใดเป็นพิเศษ ผมก็คิดว่า ภาษาอังกฤษก็ทำหน้าที่เป็นภาษากลางทางวิชาการได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร ทั้งหมดนี่ก็คงเป็นความเห็นส่วนตัวของผมและเป็นรูปแบบการเขียนที่ผม prefer ในระหว่างนี้ที่แนวทางส่วนกลางไม่ชัดเจนครับ --KINKKUANANAS 18:05, 8 เมษายน 2551 (ICT)
ชื่อ
ขอรบกวนสอบถามว่าชื่อ State University of New York (SUNY) ใช้ชื่อบทความว่าอย่างไรดีครับ จะได้ไม่ชนกับ New York University (มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก) --Manop | พูดคุย 01:41, 5 เมษายน 2551 (ICT)
- มหาวิทยาลัยมลรัฐแห่งนิวยอร์ค? --Mattis 22:23, 5 เมษายน 2551 (ICT)
ลองดูนี่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ไม่แปลคำว่า state เพราะเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:41, 8 เมษายน 2551 (ICT)
ข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาการเรียกพระราชินี
การขนานพระนามพระราชินีในประวัติศาสตร์ยุโรปออกจะมีปัญหาอยู่บ้าง การจะตั้งตามแนวที่ใช้ในการตั้งเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ทำได้ยาก เช่นตัวอย่างข้างล่าง
- Leonora of England ผู้เป็นพระราชินีในพระมหากษัตริย์แห่งคาสตีล ตามระเบียบที่ตั้งกันมาเท่าที่เห็นใน รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ จะเติมหน้าชื่อด้วย “สมเด็จพระราชินี...” เป็น “สมเด็จพระราชินีเลโอโนราแห่งอังกฤษ” ซึ่งอ่านแล้วจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นพระราชินีของอังกฤษ แต่ถ้าจะเรียกว่า “สมเด็จพระราชินีเลโอโนราแห่งคาสตีล” ก็อาจจะไปซ้ำกับ “สมเด็จพระราชินีเลโอโนราแห่งคาสตีล” องค์อื่น ๆ และจะทำให้ไม่ทราบว่าเดิมทรงเป็นเจ้าหญิงจากอังกฤษมาก่อน หรือในกรณี...
- Anne of Denmark ถ้าใช้ “สมเด็จพระราชินีแอนน์แห่งเดนมาร์ก” อย่างที่อยู่ในรายการบนหน้ารายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ ก็จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นพระราชินีของเดนมาร์กเมื่อปรากฏในบทความ และอาจจะไปซ้ำกับพระราชินีแอนน์ของเดนมาร์กองค์อื่นด้วยก็ได้ถ้าเริ่มเขียนประวัติศาสตร์เดนมาร์ก แต่ถ้าจะเรียก “สมเด็จพระราชินีแอนน์แห่งอังกฤษ” ก็จะไปพ้องกับพระราชินีแอนน์ของอังกฤษองค์อื่นอีกหลายองค์
หรือ พระราชินีแมรี พระราชินีอิสซาเบลลา ซึ่งมีซ้ำกันหลายองค์ในประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ก็จะเป็นปัญหาเช่นเดียวกัน
ในภาษาอังกฤษแก้ปัญหาด้วยการใช้พระนามลอย ๆ เพื่อให้ทราบประเทศที่มาเช่น
- Anne of Austria (พระราชินีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส)
- Anne of Bohemia (พระราชินีของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ)
- Anne of Brittany (พระราชินีของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 และ หลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส)
- Anne of Cleves (พระราชินีของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ)
ถ้าให้ง่ายที่สุดก็เรียกพระนามลอย ๆ โดยไม่มีตำแหน่งและมาขยายความเอาในบทความแต่ถ้าอยากจะใช้พระอิสริยยศนำหน้าก็ควรจะเป็นอย่างตัวอย่างข้างล่างเพื่อความชัดเจนว่าทรงมาจากที่ใดและเป็นพระราชินีของราชอาณาจักรใด
- แอนน์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
- แอนน์แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ข้อยกเว้น เอเลเนอร์แห่งอากีแตน ทรงเป็นผู้ครองอากีแตน พระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษ และ พระราชินีนาถแห่งอังกฤษ (ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ) แต่จะทำเช่นใดก็ตามก็ควรจะมีข้อแนะนำเพื่อความมีระเบียบแบบแผนต่อไปในอนาคต --Mattis 17:00, 13 เมษายน 2551 (ICT)
- มาแสดงความเห็นนะครับ เพราะผมเองก็ไม่ค่อยทราบเรื่องนี้เท่าไร อยากฝากว่าถ้าได้ข้อสรุปฝากรบกวนใครซักคนช่วยสรุปแนวทางและเขียนไว้ใน วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ ด้วยครับ เพื่อจะได้เป็นแนวให้คนอื่น (ที่ไม่ได้อ่านหน้านี้และตามมาทีหลัง) ด้วยเช่นกันครับ
- ขอฝากอีกอย่างเรื่อง คำว่า ซาร์ (Tsar) ในรัสเซีย พอดีคุณ V i P ถามผมมาอีกทีว่า "สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ถึงตั้งชื่อบทความว่า "สมเด็จพระเจ้า ..."ทั้ง ๆ ที่คำว่า ซาร์ (Tsar) มันก็แปลว่ากษัตริย์อยู่แล้ว แทนที่จะตั้งชื่อบทความว่า "ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย" ก็พอแล้ว" ส่วนตัวผมแล้วคิดว่าก็ไม่น่าจะใส่ เพราะมันซ้ำซ้อนนะครับ --Manop | พูดคุย 10:21, 14 เมษายน 2551 (ICT)
/y/
ฝากดูหน่อยครับ เสียง /y/ ในภาษาฝรั่งเศส (u) ถอดเป็นเสียง อู ภาษาเยอรมัน (ü) ถอดเป็นเสียง อึ/อือ แล้วภาษาอื่น ๆ ที่ไม่มีหลักระบุไว้ ควรจะถอดเป็นเสียงสระอะไรครับ --KINKKUANANAS 15:04, 1 พฤษภาคม 2551 (ICT)
เสียงนี้ใกล้กับ อือ มากกว่าครับ ตามตารางสระ IPA แต่ที่จริงคือการออกเสียง อี /i/ ที่พยายามห่อปากเหมือน อู ก็จะได้เสียง /y/ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 16:57, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
หาแนวร่วม หลักการทับศัพท์
กำลังจะรวบรวมและพยายามหาข้อมูลมาทับศัพท์จากภาษาอื่นนะครับ โดยคิดว่าอาจรบกวนหลายคน ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาใดก็ได้ครับ ขอแค่ภาษาไทยเป็นหลัก เพราะก่อนหน้านี้อาทิตย์ก่อนก็มีเดือดไปรอบที่ วิกิพีเดีย:สภาไวน์ เกี่ยวกับเรื่องทับศัพท์ฝรั่งเศส ก่อนหน้านู้นก็มีเรื่องภาษาอังกฤษไปหลายรอบ และคิดว่าอีกซักพักคงมีเรื่องภาษาญี่ปุ่น เลยถ้ามีการวางแผนไปในแนวเดียวกัน น่าจะช่วยลดความขัดแย้ง (และขัดข้องใจ) ได้ครับ แล้วอย่างไรจะมารายงานอีกเป็นระยะ ที่อาจต้องรบกวนหลายฝ่าย --Manop | พูดคุย 16:48, 8 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- มาอัปเดตเป็นระยะครับ อยากสอบถาม (แม้ว่าจะยังไม่มีใครตอบ) ว่าทับศัพท์ชื่อญี่ปุ่นตามระบบราชบัณฑิตฯ ที่รู้สึกว่าไม่มีใครใช้กัน ในวิกิพีเดียจะใช้ไหมครับ เผื่อเป็นที่แรกที่ใช้ระบบราชบัณฑิต เพราะเท่าที่ดูในเว็บราชบัณฑิตฯ เองก็ไม่ใช้ครับ ใช้อักษรอังกฤษแทนที่ (ถ้าผิดไป ฝากแย้งด้วย) อย่างเช่น
อย่างไรฝากดูด้วยนะครับ ถ้าไม่มีอะไรเพิ่มเติม เผื่อจะออกนอกกระแสราชบัณฑิตฯ ในส่วนของภาษาญี่ปุ่น --Manop | พูดคุย 16:42, 18 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ทับศัพท์ ถนน
รบกวนถามความเห็นว่าจะทับศัพท์ (หรือแปล) อย่างไรดีครับ สำหรับชื่อถนนเช่น en:Fifth Avenue, en:Lincoln_Way, 42nd Street เพราะแต่ละคำลงท้ายก็แปลว่าถนนหมดเลย แต่เป็นชื่อของถนนคนละเส้น กำลังคิดว่าจะทับศัพท์เลยดี หรือว่าแปลดีอย่าง
- Fifth Avenue
- ถนนแอเวนูที่ 5
- ถนนที่ 5 (แอเวนู)
- ฟิฟท์แอเวนู
- ถนนฟิฟท์แอเวนู - อันนี้เพิ่มคำว่าถนนซ้ำอีกที แต่จะซ้ำซ้อน
ตอนนี้ที่มีในวิกิพีเดียแล้ว Wall Street (วอลล์สตรีต) กับ Broadway บรอดเวย์ --Manop | พูดคุย 07:36, 10 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ถ้าแปลแบบที่เห็นในการ์ตูน คงแปลได้ว่า "ถนนสายที่ 5" --Lv.88 พรรณพฤกษา 2.0 •ไฟล์:WikiBotany tap.png 18:15, 18 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ฟิฟท์แอเวนู ครับผม เพราะยังไงมันก็เป็นชื่อถนน เราไม่แปลชื่อเฉพาะไม่ใช่เรอะ เขียนเลข 5 ก็จริง แต่มันก็ไม่ได้แปลว่า 5 อย่างมีนัยสำคัญ วอลลสตรีตก็ไม่ได้เรียกว่า "ถนนกำแพง" บรอดเวย์ก็ไม่ได้เรียกว่า "ถนนกว้าง" นี่ครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:05, 20 พฤษภาคม 2551 (ICT)
การเรียกชื่อโรค
ปุจฉา
- ปัญหา
มีปัญหาเกี่ยวกับชื่อโรค spinocerebellar ataxia ว่าจะใช้เป็นภาษาไทยอย่างไรดี
- สภาพปัญหา
๑. เค้าเป็นผู้ริเริ่มบทความ แรกเริ่มใช้ว่า "ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุสมองน้อยและไขสันหลังพิการ" มีคำอธิบายดัีงนี้ค่ะ ๑) "ataxia" ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานว่า "ภาวะกล้ามเนื้่อเสียสหการ" ก็เห็นว่าที่อื่นก็ใช้กันนะ ทั้งในบทความทางวิชาการและหลาย ๆ ที่ เป็นต้นว่า ก ข ค ๒) สหการ แปลว่า การประสานกัน การร่วมกัน ความเดียวกันกะสหกรณ์ค่ะ นี้อธิบายเฉย ๆ ๒) spinocerebellarเป็นคำประสมในภาษาละติน = ไขสันหลัง และสมองน้อย ๓) ความหมายโดยรวมของวิสามานยนาม "spinocerebellar ataxia" = ภาวะที่การประสานกันของร่างกายเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความผิดปรกติที่สมองน้่อยและไขสันหลัง ๔) ก็จึงใช้ว่า "ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุสมองน้อยและไขสันหลังพิการ" ค่ะ
๒. คุณ Wonton2ton ซึ่งระบุในประวัติของตนว่าเป็นนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีห้า (พ.ศ. ๒๕๕๑) เห็นว่า ควรทับศัพท์ว่า "สไปโนซีลีเบลล่า ดีเจเนอเีรชั่น" (spinocerebellar degeneration) จึงเปลี่ยนชื่อบทความ
๓. อย่างไรก็ดี คุณ Wonton2ton ทับศัพท์ไม่ถูกตามหลัก ปัจจุบันเค้าแก้เป็น "สไปโนซีลีเบลลาร์ดีเจเนอเรชัน"
- ข้อพึงทราบ
๑. ชื่อโรคดังกล่าวคือ "spinocerebellar ataxia" ไม่ใช่ "spinocerebellar degeneration" ดีเจเนอเรชันนี่ในวิกิฯ ปะกิตว่าเป็นชื่อประเภทหนึ่งของอาแท็กเซีย
๒. คำ "ataxia" อ่านว่า "a·tax·i·a" / "ə-tāk'sē-ə" (อ้างอิง) = อา-แท็ก-ซี-อา -> ทับศัพท์ "อาแท็กเซีย"
- การขอความช่วยเหลือ
ควรใช้ชื่อไหนดีคะสำหรับ "spinocerebellar ataxia" ระหว่างดังต่อไปนี้
- - ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเหตุสมองน้อยและไขสันหลังพิการ
- - สไปโนซีรีเบลลาร์ดีเจเนอเรชัน
- - สไปโนซีรีเบลลาร์อาแท็กเซีย
- - อื่น ๆ......... (โปรดเสนอแนะ)
ตัด "สไปโนซีลีเบลล่า ดีเจเนอเีรชั่น" ออกไปได้เพราะไม่ถูกหลักการทับศัพท์ค่ะ
โปรดช่วยกันแสดงและลงความเห็นโดยทั่วกันค่ะ ขอบคุณค่ะ =^-^=
ป.ล. ตอนนี้ละครทางไทยพีบีเอสกำลังดัง เริ่มมีคนเข้ามาเอาข้อมูลที่ยังไม่เรียบร้อยไปอ้่างอิงกันแล้วอะนะ
——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๒๒:๔๙ นาฬืกา (GMT)
วิสัชนา
- คำตอบของผมสงสัยต้องใช้คำนิยม (ที่ถูกต้องด้วย) และตอบแบบผู้ไม่รู้ว่า "ไม่รู้" ครับ ^_^ ยิ่งอ่านยิ่งงงว่า degen... กับ ataxia... ต่างกันยังไง สงสัยต้องให้คุณ Drgarden กับคุณ Wonton2ton มาคุยกัน เห็นว่าเป็นนักเรียนแพทย์ทั้งคู่ ส่วนเรื่องทับศัพท์คนไทยชอบทับคำสุดท้ายด้วยเสียงโท (-ล่า -ชั่น) เพื่อให้ดูเหมือนสำเนียงภาษาอังกฤษซึ่งภาษาอังกฤษไม่ได้อ่านอย่างนั้นเสมอไปซะหน่อย (อ่านเป็นทิงลิชกันหมด) ถ้าคำตอบที่ได้ระหว่างคำไทยกับคำทับศัพท์ คงต้องสะกดการทับชื่ออังกฤษคงตามที่คุณ YURi ว่าไว้
- ตอนนี้เปลี่ยนชื่อบทความและเนื้อหาเป็น "สไปโนซีรีเบลลาร์อาแท็กเซีย" ไปพลางก่อนนะคะ เพราะ ๑) ว่ากันตามวิกิฯ ปะกิต spinoฯ degenฯ เป็นประเภทหนึ่งของ spinoฯ ataxฯ ค่ะ, กล่าวคือ ataxฯ นี่มีหลายร้อยประเภท และ degenฯ เป็นหนึ่งในนั้น, อะไรประมาณนี้ค่ะ; และ ๒) อย่างน้่อยบทความนั้นก็แปลมาจากบทความชื่อ spinocerebellar ataxia. ไม่รู้นะ เค้าไม่ใช่เด็กแพทย์... แฮ่ ๆ ก็อ้างอิงจากบทความแม่ีไว้ก่อนอะัค่ะ.
- ส่วนตัวของผม ถ้าคำภาษาอังกฤษเป็นคำสั้น ๆ เช่น ataxia ก็น่าจะใช้ชื่อไทยครับ คือ ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ เพื่อคงหลักเกณฑ์ว่าชื่อบทความควรเป็นชื่อภาษาไทย แต่ถ้าภาษาอังกฤษยาว ๆ เช่นบทความ spinocerebellar ataxia ก็น่าจะถอดเสียงอ่านเป็นภาษาไทย แทนการใช้ศัพท์บัญญัติ เพราะว่าถ้าใช้ศัพท์บัญญัติไทยหมด มีข้อเสียคือ เป็นคำที่ไม่ได้ใช้กันโดยทั่วไป (ในการเรียนแพทย์เรามักจะเรียกทับศัพท์ครับ เพราะอธิบายความหมายได้ดีกว่า ไม่ต้องมาแปลไทยเป็นไทย) ทำให้ค้นหาได้ยาก และฟังดูตลก ๆ แถมยังฟังดูน่าจะแปลได้ไม่ถูกต้องอีกต่างหาก ส่วนเรื่องของชื่อบทความนี้ ผมว่า ควรคงเป็น "สไปโนซีรีเบลลาร์ อะแท็กเซีย" (ไม่สนับสนุนให้ใช้สระ -า เพราะจะฟังดูออกเสียงยาวเกินไป) -- ราชบัณฑิตยสถานก็ไม่ได้แปลดีเสมอไปครับ การใช้ศัพท์ในวิกิพีเดียควรยึดทั้งหลักของราชบัณฑิตยสถานและตามความนิยมด้วย ลองดูเพิ่มที่กรุของผมได้ครับ ว่าด้วยเรื่องของการใช้ภาษาสำหรับบทความทางการแพทย์ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 00:33, 30 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- การแปลชื่อเป็นภาษาไทยนั้นดีครับ แต่ผมขอชื่อที่สั้นกว่าแค่การเอามาต่อกันเฉย ๆ ได้ไหมครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 00:35, 30 พฤษภาคม 2551 (ICT)
อังกฤษ
เอาล่ะครับ มาคุยกันต่อเรื่องอังกฤษ เพราะตอนนี้จะเปิดโครงการ และนอกจากนี้ หมวดหมู่ยังไม่ได้ถูกกำหนดเป็นรูปธรรมเลย มีทั้ง หมวดหมู่:ประเทศอังกฤษ และ หมวดหมู่:อังกฤษ และยังมีอีกหลายอย่าง บางบทความใช้ว่า แคว้น บางบทความใช้ว่า อังกฤษ บางบทความใช้ว่า ประเทศอังกฤษ ทีนีัผมเลยสับสนมากครับ จะเลือกอันไหนดี รู้สึกว่าเคยมีอภิปรายมาแล้วรอบนึงมั้งครับ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ไหน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ผมต้องการว่า ตกลงจะใช้อันไหนกัน จะได้กำหนดให้เป็นทางการ ใช้รูปแบบเดียวกันทั่ววิกิพีเดีย ไม่ใช่ใช้ตามรูปแบบของตนเองครับ --Petje Bell • พูดคุย 22:10, 30 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- จริงด้วยครับ มันซ้ำซ้อนกันอยู่ โดยก่อนหน้านี้ก็มี
แต่ที่ไม่ใช้ ประเทศอังกฤษ เพราะอังกฤษไม่เป็นประเทศ และก็ที่ไม่ใช้คำว่าแคว้นนำหน้าในลักษณะเดียวกับ เวลส์ สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์เหนือ --Manop | พูดคุย 02:38, 2 มิถุนายน 2551 (ICT)
England ปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็น sovereign state (รัฐเอกราช) แต่เป็น nation (เช่นเดียวกับ Wales, Scotland, Northern Ireland รักบี้ฟุตบอลมีรายการ Six Nations พวกนี้ก็ไปร่วมแบบแยกทีมไม่เกี่ยวกัน) คำว่า nation นี่ภาษาไทยก็ ชาติ ใช้ "ชาติอังกฤษ" ไหม (ชาติอังกฤษของชนชาติอังกฤษ)
ทั้งสี่ nation นั้น รวมกันเป็น United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland ภาษาไทยคือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ แต่ก็เรียกกันง่าย ๆ ว่า อังกฤษ มานาน คล้าย ๆ เรียก เนเธอร์แลนด์ ว่า ฮอลแลนด์ (จริง ๆ แล้วฮอลแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน)
สำหรับคนไทย น่าจะเป็นลักษณะว่า แม้จะเรียก อังกฤษ แต่จริง ๆ ก็หมายถึง สหราชอาณาจักร แบบนี้จะทำอย่างไรดี ทำเป็น redirect ? อังกฤษ->สหราชอาณาจักร แล้วมีที่หัวว่า "redirect มาจาก อังกฤษ ถ้าจะดู อังกฤษ ที่หมายถึงดินแดนส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้กดลิงก์นี้" อะไรแบบนี้ไหม --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.136.52.139 (พูดคุย | ตรวจ)
คำว่า ประเทศ ถือว่ามีความหมายเหมือนกับ รัฐ (เอกราช) หรือเปล่าครับ แต่รู้สึกว่าคนอังกฤษจะเรียกอังกฤษว่าเป็น country (ดูจาก w:England) จากข้อเสนอข้างบน ผมว่าเอาอังกฤษไว้ที่เดิมน่าจะดีแล้ว แล้วมีข้อความบนสุดโยงไปที่สหราชอาณาจักร (นอกจากหน้าแก้กำกวมในปัจจุบัน) แต่อาจเปลี่ยนทาง ประเทศอังกฤษ ไปที่สหราชอาณาจักรแทน อังกฤษยังเป็นรูปคุณศัพท์ของสหราชอาณาจักร ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน (ไม่ใช่บริติชหรือบริเตน) --KINKKUANANAS 17:59, 16 มิถุนายน 2551 (ICT)
ad hoc
ad hoc หมายความว่าอะไรครับ ผมแปลไม่ออก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:13, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- วิกิอังกฤษ : [สำหรับจุดประสงค์นี้] --Petje Bell • พูดคุย 13:33, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)
แล้ว ad hoc network ที่อยู่ในเครือข่ายไร้สายละครับ --Octra Dagostino 14:33, 2 สิงหาคม 2551 (ICT)
ตัวอย่างคำ ศัพท์บัญญัติ
ต้องการคำที่ ศัพท์บัญญัติมี ใครมีใครรู้ช่วยบอกทีครับ
ไปดูนี้เลยครับ [3] ใส่คำเอาตามสบาย --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 02:25, 2 มิถุนายน 2551 (ICT)
นักโภชนาการ
อันไหนคือนักโภชนาการ อันไหนคือนักชิม (หรือเปล่า) ระหว่าง en:Nutritionist / en:Dietitian / en:Gourmet แล้วที่เหลืออีกอันหนึ่งละจะแทนด้วยอะไร --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:26, 15 มิถุนายน 2551 (ICT)
(Cap)
ภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่น) ที่ไม่ใช่ชื่อเฉพาะซึ่งอยู่ภายในวงเล็บ และเขียนแทรกประปรายในบทความ จำเป็นต้อง capitalize ไหมครับ ผมคิดว่าไม่จำเป็น เพราะสิ่งที่อยู่ในวงเล็บมันเปรียบเสมือนหมายเหตุ ซึ่งหมายเหตุจะต้องไม่เด่นกว่าเนื้อหา --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:39, 17 มิถุนายน 2551 (ICT)
ถ้าไม่ใช่ชื่อเฉพาะ ก็ไม่ต้อง capitalized ครับ 58.136.52.218 00:51, 18 มิถุนายน 2551 (ICT)
สงครามมหาเอเชียบูรพา กับ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาและสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก ควรจะใช้คำไหนดีครับ --Horus 20:17, 18 มิถุนายน 2551 (ICT)
- เท่าที่ไปดูจากวิกิ อังกฤษ สงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นชื่อที่ญี่ปุ่นเรียก ส่วน สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นชื่อที่ทางสัมพันธมิตร เรียก ดังนั้น เรียกชื่อไหนก็ไม่ผิด แต่ผมคิดว่า คนไทยเราน่าจะคุ้นหูกับชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา มากกว่านะครับ อย่างไรก็ตาม มันคืออันเดียวกัน สมควรรวมเนื้อหาเข้าด้วยกันครับผม --ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 20:23, 18 มิถุนายน 2551 (ICT)
สงสัยมานานแล้ว
สภากาแฟภาษา กับปุจฉาภาษา แตกต่างกันอย่างไรครับ --Octra Dagostino 20:10, 17 สิงหาคม 2551 (ICT)
ผมว่าสภากาแฟจะเกี่ยวกับเรื่องของบทความมากกว่าครับ ส่วนปุจฉาจะเป็นการถาม-ตอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับบทความ (มั้งครับ) --Horus 20:29, 17 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ผมเองก็เห็นว่า ทำไมมีแต่คนไปถามในปุจฉา ไม่มาถามในนี้บ้างเลย แสดงว่ามันต้องมีจุดอะไรที่แตกต่างกันซี --Octra Dagostino 19:57, 18 สิงหาคม 2551 (ICT)
สมเด็จ- สมเด็จพระ-
- (สืบเนื่องจากบทความ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1)
ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเติม สมเด็จ- หรือ สมเด็จพระ- เอาไว้ข้างหน้านามหรือพระนามครับ ผมได้ข้อมูลมาอย่างหนึ่งคือคำว่า สมเด็จ- ในพระนามของพระมหากษัตริย์ไทยเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้น ดังนั้นสมัยอื่นหรือประเทศอื่นก็ไม่ควรจะใช้คำดังกล่าวนำหน้า (ขออภัยจำผิด กรณีนั้นคือ พระบาทสมเด็จ-) --Octra Dagostino 12:07, 31 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ผมเห็นบางบทความเขาใช้ สมเด็จพระ- นำหน้า ทั้ง ๆ ที่เป็นสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ --NBALIVE2551 20:11, 31 สิงหาคม 2551 (ICT)
- เคยอ่านหนังสือชื่อ "ราชาศัพท์" ของคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือ "ราชาศัพท์" สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (จำได้ดีเพราะเล่มนี้เปิดบ่อย 55+ ต้องฉบับพิมพ์ครั้งที่สองด้วยนะคะ เพราะครั้งแรกมีข้อผิดพลาดเยอะ เคยเปิดเทียบกันแล้ว) หนังสือนี้มีบอกค่ะว่าใช้อย่างไร สมเด็จ สมเด็จพระ ขุน พ่อขุน หลวง บลา ๆ ๆ เสียดายว่าตอนนี้ไม่มีหนังสือนี้อยู่ในครอบครองอะนะ ใครใกล้ห้องสมุดก็ไปช่วยกันเร็ว
- ลองอ่านบทความของราชบัณฑิตนี้ดู อาจจะได้อะไรอีกบ้างนะคะ แต่เค้าสรุปว่า ไอ้คำ "สมเด็จ" นี้ก็แปลว่า "His/Her Majesty..." ไม่ก็ "His/Her Imperial" หรืออื่น ๆ แล้วแต่กรณี นั่นแหละค่ะ ใส่ไว้ยกย่องอย่างนั้น แต่ยศจริง ๆ ก็อยู่หลังคำนั้น
- เจอข้อความเด็ดแล้ว~!
- "สำหรับคำว่า 'สมเด็จ' นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า คำยกย่อง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ (มักใช้ประกอบหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง) เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี
- ในหนังสือ ราชาศัพท์ ฉบับสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีคำว่า 'สมเด็จพระ' ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ในอดีต และพระราชสมัญญา เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระมหาบุรุษ" จากบทความราชบัณฑิตนั้นแหละ
- ——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑, ๒๑:๒๕ นาฬิกา (GMT+7)
- ผมเข้าใจว่า สมเด็จพระ- เป็นคำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์/พระจักรพรรดิทั้งหมดนะครับ เพราะว่า จาก อาณาจักรอยุธยา#พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ใช้คำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระ- เกือบหมดเลย เว้นแต่ ขุนวรวงศาธิราช ที่ไม่ได้รับการยอมรับ และ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ที่นั่งบัลลังค์ได้เพียง ๓-๔วัน ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะยังไม่ได้ทันเข้าพระราชพิธิราชาธิเศกด้วยซ้ำไป
- ส่วน His/Her Majesty นั้น ใช้กับพระเจ้าอยู่หัวในภาษาอังกฤษทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีบางองค์ที่สถาปนาตัวเป็นพระจักรพรรดิ เช่น พระเจ้าจอร์จที่๔ แห่งอังกฤษ ที่ตั้วตัวเป็นพระจักรพรรดิแห่งอินเดียด้วย ก็ยังทรงใช้ His Majesty อยู่
- ที่ใช้ His/Her Imperial นั้น จะมีก็แต่เพียง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น และ เกาหลี (ล่มสลายไปแล้ว) เท่านั้นแหละ
- --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 11:39, 1 กันยายน 2551 (ICT)
ขออภัย มีจีน ราชวงศ์ชิงด้วย --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 02:18, 4 กันยายน 2551 (ICT)
เครื่องมือถอดอักษรเทวนาครี
เผื่อใครอยากลองสัมผัสภาษาในอินเดีย (อาทิ ภาษาฮินดี) เอาข้อมูลมาทำวิกิไทย อันนี้ผมทำเอง ทำนาน ทดสอบนาน จนคิดว่าไม่น่ามีข้อผิดพลาดนะ
ตัวอย่าง ผมลองถอดอักษรในวิกิสันสกฤต เรื่อง ทวีป sa:महाद्वीपा (ที่จริงควรจะเป็นมหาทวีป แต่เนื้อหามันมีแค่นั้นนี่นา)
- महाद्वीपा
- पृथिवीस्या सप्त महाद्वीपा: सन्ति -- एशिया, यूरोप, अफ्रीका, उत्तर अमेरिका, दक्षिण अमेरिका, आस्ट्रेलिया, अन्टार्क्टिका ।
ถอดได้เป็น
- มหาทฺวีปา
- ปฤถิวีสฺยา สปฺต มหาทฺวีปาห์ สนฺติ -- เอศิยา, ยูโรป, อผฺรีกา, อุตฺตร อเมริกา, ทกฺษิณ อเมริกา, อาสฺฏฺเรลิยา, อนฺฏารฺกฺฏิกา .
- mahādvīpā
- pr̥thivīsyā sapta mahādvīpāḥ santi -- ēśiyā, yūrōpa, aphrīkā, uttara amērikā, dakṣiṇa amērikā, āsṭrēliyā, anṭārkṭikā .
แปลว่า (อันนี้ผมแปลเอง ไม่น่าจะถูกนักหรอก คลำเอา)
- มหาทวีป
- มหาทวีปแบ่งแผ่นดินออกเป็นเจ็ดส่วน -- เอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ออสเตรเลีย, แอนตาร์กติกา.
ลองใช้กันดูครับ
ตัวอย่างวิกิพีเดียที่ใช้อักษรเทวนาครี
--Octra Dagostino 01:51, 16 กันยายน 2551 (ICT)
ทดลองใช้แล้ว เยี่ยมมากครับ ;) --ธวัชชัย 11:03, 18 กันยายน 2551 (ICT)
หมวดหมู่มีปัญหา
ตอนนี้วิกิพีเดียภาษาไทยเรามี หมวดหมู่:ความปลอดภัย แต่หมวดหมู่ในภาษาอังกฤษมี en:หมวดหมู่:Security กับ en:หมวดหมู่:Safety ซึ่ง safety เป็นหมวดหมู่ย่อยของ security ผมดูแล้วเนื้อหาของบทความมันแบ่งเป็นคนละแนวกัน นั่นคือ security เกี่ยวกับพวกความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สิน ข้อมูล การป้องกันโจรกรรม ความมั่นคงของประเทศ (ใหญ่กว่า) ส่วน safety เกี่ยวกับความปลอดภัยของอุปกรณ์ เครื่องมือ ของใช้ แต่ในภาษาไทยทั้งสองคำนี้สามารถแปลว่า "ความปลอดภัย" เหมือนกันทั้งคู่ ผมจึงไม่รู้ว่าจะแบ่งหมวดหมู่นี้ออกเป็นสองหมวดได้ยังไงดี แล้วคนที่จะเอาหมวดหมู่ไปใส่จะงงไหมถ้าแยกแล้ว --Octra Dagostino 00:47, 18 กันยายน 2551 (ICT)
- นั่นไงกำลังจะท้วงอยู่ (ขำ ๆ) พอดี) ผมคิดว่าน่าจะเขียนเป็น ความปลอดภัย (ต่อชีวิต) สำหรับ safety ครับ ส่วน security น่าจะเป็น ความมั่นคง หรือ การรักษาความปลอดภัย มากกว่านะ
- ป.ล. ไร้สาระนุกรม/รู้ไหมว่า รปภ ที่ออสเตรเลียบางคนเป็นนักศึกษาปริญญาโท ๕๕๕ (เอิ้ก! เมา) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 00:55, 18 กันยายน 2551 (ICT)
ได้ข้อมูลมาหนึ่งอัน [4] --Octra Dagostino 16:04, 19 กันยายน 2551 (ICT)
พระบุตร??
เพิ่งสังเกตเห็นว่าในกล่องข้อมูลเจ้านายของไทยใช้คำว่า พระบุตร เรียก พระโอรสพระธิดา รู้สึกแปลก ๆ ครับ เหมือนไม่เคยได้ยินคำว่าพระบุตรในความหมายนี้ไปก่อน คำว่าพระบุตรนึกถึง พระเยซู มากกว่า ควรจะแก้ไขมั้ยครับ? --Cakra 01:33, 29 กันยายน 2551 (ICT)
- มีใช้คำว่า พระราชบุตร แทน พระราชโอรส/พระราชธิดา โดยไม่ระบุเพศ ครับ ในที่นี้คงตัดคำว่า ราช ออก เพราะเทียบเคียงกับ พระโอรส/พระธิดา ของเจ้านายชั้นต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ แต่ความหมายดูแปลก ๆ จริงครับ t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 03:25, 29 กันยายน 2551 (ICT)
แม่แบบ บทความที่มีชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์
ผมได้ลองสร้างแม่แบบ {{บทความชื่อวิทยาศาสตร์}} ขึ้นมา สำหรับไว้ใส่ด้านบนของบทความที่ต้องคงชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ เพราะไม่มีคำเรียกเฉพาะ รบกวนทุกท่านพิจารณาติ-ชมด้วยครับ (หลังจากนั้นผมจะได้จัดการใส่ที่ด้านบนของบทความนั้น ๆ)
ปล. ตอนนี้กำลังคิดทำแม่แบบทำนองนี้ เอาไว้ใส่ในบทความที่ชื่อศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ ที่ยังไม่มีศัพท์บัญญัติ และพวกบทความชื่อยีนกับชื่อโปรตีน (ซึ่งส่วนมากเป็นโค้ด เช่นชื่อยีน p53) รบกวนทุกท่านแสดงความเห็นด้วยครับ ขอบคุณครับ ^^ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 16:20, 29 กันยายน 2551 (ICT)
มีมากเกินไประวังจะใช้ไม่ถูก ที่จริงแล้วแม่แบบกลาง ๆ "ชื่ออังกฤษ" กับ "ชื่อภาษาอื่น" ก็สามารถนำเอาไปใช้ทุกกรณีได้เหมือนกัน เพียงแค่ใส่ "เห็ดผง" ลงไป --Octra Dagostino 16:24, 29 กันยายน 2551 (ICT)
รบกวนผู้รู้ทางภาษา
สวัสดีครับ ผมเพิ่งได้แปลบทความรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เสร็จสิ้น แต่ยังมีปัญหานิดหน่อยตรงการอ่านชื่อนักวิทยาศาสตร์เป็นภาษาต่าง ๆ ซึ่งผมเองได้ถอดความโดยอ้างอิงมาจากวิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ ซึ่งผมเองก็ไม่ได้เป็น guru ด้านนี้โดยตรง ซึ่งต้องมีผิดแน่นอน ^^ ดังนั้นผมเลยขอแรงจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่รู้จักการอ่านชื่อของภาษาต่าง ๆ (โดยเฉพาะฝรั่งเศส เยอรมัน สวีดิช อิตาลี) มาช่วยผมปรับแก้ชื่อนักวิทยาศาสตร์หน่อยครับ ขอบคุณมาก ๆ เลยฮะ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 00:46, 10 ตุลาคม 2551 (ICT)
วิกฤต-วิกฤติ
คำว่า วิกฤต และ วิกฤติ จริงอยู่ที่คำนี้สามารถเขียนถูกได้สองแบบ แต่เวลาใช้ขึ้นต้นหัวเรื่องบทความ บางคนก็ใช้วิกฤตบ้าง วิกฤติบ้าง เวลาค้นหาก็อาจทำให้สับสน ผมจึงอยากให้ใช้คำใดคำหนึ่งให้เป็นเอกภาพครับ --Octra Dagostino 09:03, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๑:๔๐ นาฬิกา (GMT+7)
เอ้อ~! เพิ่งไปอ่านบทความทั้งสอง ไม่ได้ช่วยเลยนี่หว่า... 55+
แต่เค้าเคยอ่านหนังสือของราชบัณฑิตนะ เด็ดดวงเอาการอยู่ 55+ จึงคิดว่าน่าจะช่วยได้ค่ะ ติดแต่ว่าตอนนี้เค้าไม่ได้อยู่ที่ห้องสมุดและที่บ้านเค้าก็ไม่มีหนังสือเล่มมโหฬารขนาดนั้นด้วย อย่างไรก็ดี เค้าค้นบรรณานุกรมมาให้่ละ
๑. กาญจนา นาคสกุล. (๒๕๒๑). การใช้ภาษา. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย. ๒. กาญจนา นาคสกุล. (๒๕๓๘). ภาษาไทยวันละคำ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๑:๕๙ นาฬิกา (GMT+7)
Adelaide
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียกชื่อเมือง ๆ นี้ในบทความอ่ะ
เมืองAdelaide (เมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย) นี้ สามารถอ่านออกเสียงได้ 3 แบบ
- อ่านแบบที่คนไทยส่วนใหญ่และฝรั่งที่ไม่มีพื้นความรู้ภาษาฝรั่งเศสอ่าน จะอ่านว่า แอด-เดอ-เลด (ตามตัวภาษาอังกฤษ)
- อ่านแบบคนที่มีพื้นความรู้ภาษาฝรั่งเศส/เยอรมัน จะอ่านว่า แอด-เดอ-เล (ตามความจริงที่ว่า ชื่อเมือง ๆ นี้ มาจากพระนามของพระนางเจ้าแอดเดเล มเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่๔ ซึ่งแต่เดิม ทรงเป็นเจ้าหญิงจากเยอรมัน และ Adelaide เองก็เป็นชื่อภาษาฝรั่งเศส/เยอรมัน)
- อ่านตามแบบที่คนในพื้นที่และชาวออสเตรเลียทั้งประเทศอ่าน จะอ่านว่า แอด-เลด (เสียงกลางหายไป สัญนิษฐานว่า เนื่องจากเสียง "เดล" ในคำว่า แอด-เดอ-เล นั้น เป็นเสียงซ่อน บวกกับ การเรียกเพี้ยน ๆ ในภาษาอังกฤษ ทำให้เป็นเช่นนี้)
ดังนั้น ควรจะใช้ชื่อไหนในบทความ
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 08:05, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
ถ้าทับศัพท์ภาษาอังกฤษแล้วจะได้ แอเดอเลด --Octra Dagostino 08:16, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
- แปลว่า เราจะเอาตามรากศัพท์ที่ถูกต้องของภาษาต้นฉบับ โดยไม่สนใจว่าคนพื้นเมืองจะเรียกว่าอะไรงั้นเหรอ? --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 08:21, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
สนสิครับ ผมแค่ยกตัวอย่างเพิ่มอีกออปชันนึง ถ้าทับศัพท์แล้วไม่เป็นที่ยอมรับ ก็ต้องคงเอาตามเสียงเดิมละครับ --Octra Dagostino 09:03, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
- ในภาษาฝรั่งเศสถ้าเป็น Adelaide จะอ่านว่า [อัด-แลด] ครับ แต่ถ้าศัพท์ในภาษาฝรั่งเศสจริง ๆ คำว่า Adelaide ในภาษาฝรั่งเศสคือ Adélaïde ซึ่งจะอ่านว่า [อาเดลาอีด] ในปัจจุบันเองก็เรียกเมืองนี้ว่า Adélaïde [อาเดลาอีด] และ Adelaïde [อาเดอลาอีด] แต่โดยส่วนตัวผมว่าน่าจะใช้ "แอด-เลด" น่ะครับ เพราะเป็นเมืองในออสเตรเลีย และคนออสเตรเลียก็อ่านเช่นนั้น -- V i P • En Avance → 11:24, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
๑. ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า สมควรทับศัพท์ชื่อนคร Adelaide ว่าอย่างไร
๒. ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า
- ๒.๑ นคร Adelaide เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
- ๒.๒ คำอ่านและคำทับศัพท์ชื่อนครนี้ในภาษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
- ๒.๒.๑ ฝรั่งเศสอ่านว่า /อา-เดอ-แลด/ หรือ /อาด-แลด/ ตามหลักราชบัณฑิตฯ ทับศัพท์ว่า "อาเดอแลด" หรือ "อาดแลด" ก็ได้
- ๒.๒.๒ เยอรมันอ่านว่า /อา-เด-ไล/ ตามหลักราชบัณฑิตฯ ทับศัพท์ว่า "อาเดไลด์" (พึงทราบว่าเค้าไม่มีความรู้ภาษานี้ เพียงแต่ถอดตามพจนานุกรมภาษานี้เท่านั้น)
- ๒.๒.๓ อังกฤษอ่านว่า /แอด-เดอ-เลด/ ตามหลักราชบัณฑิตฯ ทับศัพท์ว่า "แอเดอเลด" หรือจะใส่พยัญชนะซ้อนเป็น "แอดเดอเลด" ก็ได้
- ๒.๓ ผู้ตั้งปัญหาให้การว่า ชาวพื้นเมืองอ่านชื่อนคร Adelaide ว่า /แอด-เลด/ ซึ่งเป็นการกร่อนเสียจาก /แอด-เดอ-เลด/
๓. พิเคราะห์แล้ว สมควรทับศัพท์ตาม ๒.๒.๓ เนื่องด้วยเหตุผลตาม ๒.๑ และเหตุผลในการกร่อนเสียงตาม ๒.๓ ซึ่ง สำหรับคำแบบนี้ ในการเขียนรุ่นเก่าจะใช้เครื่องหมายยามักการแสดงการกร่อนเสียงหรือออกเสียงกึ่งเสียง เขียนว่า "แอเด๎อเลด" หรือ "แอดเด๎อเลด" อย่างไรก็ดี ในการเขียนปัจจุบันเครื่องหมายยามักการไม่นิยมเสียแล้ว อนุโลมให้ทับศัพท์ว่า "แอเดอเลด" หรือ "แอดเดอเลด" ได้
๔. อาศัยเหตุผลข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า สมควรทับศัพท์ตาม ๒.๒.๓
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๑:๔๒ นาฬิกา (GMT+7)
จะบอกเพิ่มเติมว่า จะ "แอดเลด" ก็ได้ไม่มีปัญหา เพราะอย่างไรก็ต้องถือเสียงอ่านเป็นสำคัญอยู่แล้วอะนะ
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๑:๔๕ นาฬิกา (GMT+7)
งง เต๊ก แต่ ท้าวให้อีกนิดว่า ประวัติศาสตร์ของเซาท์ออสเตรเลีย ออกจะแปลกกว่ารัฐอื่นในออสเตรเลีย คือ ไม่เคยเป็นคุก และ เป็นรัฐที่สรุปได้ว่า อังกฤษตั้ง เยอรมันสร้าง อ่ะ (อันนี้เสริมให้เฉย ๆ แต่สรุปคือ อ่านแล้ว งงว่าจะเอาอันไหนแน่) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 11:57, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
ก็ตามเสียงอ่านนั่นแหละเฮีย ก็ทีแรกเห็นว่ามันกร่อนมาจาก "แอดเดอเ้ลด" แต่ในเมื่อปัจจุบันเขาอ่านกันว่า "แอดเ้ลด" ก็ "แอดเลด" นั้นแล
คำนี้ทราบว่าภาษาไทยไม่มีเรียกมาก่อน และในเมื่อคนท้องที่เขาอ่าน "แอดเลด" ก็ว่าตามเขาเหอะ เพราะถ้าจะว่าไปตามภาษาไหน ๆ แล้วก็อ่านต่างกันทั้งนั้น อย่าง "Paris" อังกฤษว่า "แพรีส", เจ้าตัวอ่าน "ปารี", ยุ่นปี่ว่า "ปาริสึ" เป็นต้น (แต่พอดีคำ ๆ นี้มันอ่านว่า "ปารีส" ในภาษาไทยมานานแล้วไง ก็ว่าไปตามนั้น)
พิพากษาให้กลับคำวินิจฉัย (ก็ด้ะ) 55+ และให้ลงโทษคนถามด้วยการประัหารสามปี ไม่รอลงอาญา 55+
ป.ล. "ท้าว" - พระเจ้าแผ่นดิน, ตำแหน่ง ๆ หนึ่ง; "เท้า" อ้างถึง เช่น เท้าความ
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๒:๐๘ นาฬิกา (GMT+7)
ไปค้นดูเผื่อมีการทับศัพท์มาก่อน ปรากฏว่าไม่มีหน้าไหนทำมาก่อนเลย 55+
อ้อ จะบอกว่าเิจอเว็บโรงแรมหนึ่ง เขาว่า "แอดิเลด"
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๒:๑๕ นาฬิกา (GMT+7)
เอ้า ได้ข้อยุติแล้ว
ท่านปอแห่งศาลไคฟงขอวินิจฉัยว่า ในภาษาไทยให้ทับศัพท์ว่า "แอดิเลด" ค่ะ ดูหน้า ๒๑
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๒:๑๘ นาฬิกา (GMT+7)
เป็นเช่นนี้เอง (หลังจากงง ๆ ว่า นี้คือการว่าความในศาลหรืออะไรแน่)
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:23, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)
ผมแอบไปถามมา ดูนะครับ en:Talk:Adelaide#IPA ก็แพลมมาสองแบบคือ แอ (ด) เดอเลด กับ แอดเลด --Octra Dagostino 21:19, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)
Baltimore
สอบถามคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับเสียง [t] อยู่กลางคำครับ ว่าจะ ท. ทหาร หรือ ต.เต่าดี หรือมีหลักเกณฑ์กันอย่างไรบ้างครับ
รวมไปถึงคำสามัญอย่าง
- star - สตาร์ (สทาร์ มันแปลกไปหน่อย)
- water - วอเตอร์ หรือ วอเทอร์
--Manop | พูดคุย 01:25, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)
แหม เฮียแอบมาถาม 55+
จะว่าตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของทางราชการนะจ๊ะ เขาว่า "ให้ทับศัพท์ตามเสียงอ่านที่พจนานุกรมของภาษานั้น ๆ ว่าไว้" แล้วพจนานุกรมในภาษาอังกฤษเขาให้อ่าน "สทาร์" หรือเปล่าจ๊ะ 55+
ส่วนคำ "Baltimore" ก็ต้องไปว่ากันตรงที่เจ้าของภาษาเขาอ่านอย่างไร ซึ่งปรกติแล้วก็น่าจะทับศัพท์ว่า "บอลทิมอร์" นะคะ (นี่ว่ากันแต่พยางค์กลางนะ)
เพิ่มเติมว่า เว้นแต่คำบางคำที่ใช้มีใช้ในภาษาไทยมาเนิ่นนานจนติดอยู่ในภาษาเราแล้ว อย่าง ice-cream ว่า "ไอศกรีม" ไม่ว่า "ไอซ์-ครีม" เป็นต้น ทั้งนี้ แล้วแต่กรณี
- ——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๑:๓๗ นาฬิกา (GMT+7)
- ก็ประมาณนั้นนะครับ แต่ว่าพวกพจนานุกรมภาษาอังกฤษมันไม่ค่อยจะแยกระหว่างเสียง t นะครับ ระหว่าง [t] กับ [tʰ] ก็เลยไม่รู้จะไปหาอ้างอิงต้นฉบับจากไหน อย่างบางคำตรง t ใน Baltimore มันก็เป็นเสียง ท (เหมือน บอลทิมอร์ - ที่ฟังจากวิทยุ) แต่ t ของ water มันดันเป็น ต.เต่า ก็ไม่รู้ทำไมเหมือนกันครับ
Mozilla
ฝาก Mozilla อีกคำครับ มอซิลลา - โมซิลลา - มอซซิลลา - โมซซิลลา สำหรับอันนี้ฝากตอบใน พูดคุย:มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ จะได้รวมไว้ในนั้นทีเดียว --Manop | พูดคุย 04:13, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)
มลรัฐ กับ รัฐ
- ย้ายไปรวมที่ พูดคุย:มลรัฐ --Manop | พูดคุย 23:27, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)
กระบวน กับ ขบวน
ผมลองอ่านบทความเกี่ยวกับ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แล้วพบความสับสนในการใช้คำว่า กระบวน ขบวน จึงลองค้นหาข้อมูลใน ราชบัณฑิตยสถาน พบข้อมูลดังนี้ครับ
คำว่า กระบวน กับ ขบวน เป็นคำที่มีเสียงใกล้เคียงกันแต่ใช้ต่างกัน คือ กระบวน หมายความถึง แบบแผน วิธีการ ใช้กับการจัดสิ่งต่าง ๆ ตามแบบแผน เช่น คุณจะต้องจัดที่นั่งผู้รับเชิญมาในงานตามกระบวนที่ถือปฏิบัติกันมา การเขียนหนังสือไทยต้องเขียนตามกระบวนที่ถือมาแต่โบราณ กระบวน ยังหมายถึง กลุ่มของสิ่งเดียวกัน เช่น ในกระบวนเด็กด้วยกัน เขาเป็นคนที่ขยันที่สุด ส่วน ขบวน ใช้กับ หมู่คนหรือสิ่งอื่นที่จัดกันเป็นแถวเป็นแนว ซึ่งมักจะมีแบบแผนเดียวกัน เช่น ขบวนแห่ขันหมาก ขบวนทหารสวนสนาม ขบวนรถบุปผชาติ และใช้หมายถึง กลุ่มคนที่เคลื่อนไปพร้อมกัน เช่น พี่น้องพากันมาเป็นขบวน. ชาวบ้านยกขบวนกันไปพัฒนาหมู่บ้าน
ในเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์พระราชพิธีฯ ใช้คำว่า "ริ้วขบวน" ดังนั้น การใช้ศัพท์คำนี้ในบทความก็น่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันครับ --~phenoCALYPSE~ 20:51, 16 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
Polyp นี่ภาษาไทยเรียกว่าอะไรเหรอครับ?
en:Polypน่ะครับ หรือว่าจะทับศัพท์? Kuruni 12:47, 25 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
- เห็นว่ามีบัญญัติที่ [5] ไว้ว่า ติ่งเนื้อเมือก ครับ --Manop | พูดคุย 13:31, 25 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เว็บไซต์สำหรับอ่านออกเสียงชื่อบุคคล
เว็บไซต์น่าสนใจครับ เผื่อจะมีประโยชน์กัน http://www.howtosaythatname.com --Manop | พูดคุย 12:32, 30 พฤศจิกายน 2551 (ICT)