วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 17

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ก่อกวนหน้าผู้ใช้

ไอพี 61.90.230.xxx ก่อนกวนหน้าผู้ใช้ของกระผมหลายรอบ จนกระทั่งทนไม่ไหวแล้วจริง ๆ มีหลักฐานด้วยนะครับ

โดนเยอะขนาดนี้ชักทนไม่ไหวครับ น้อย ๆ พออภัยได้ พอเยอะ ๆ แล้วชักจะไม่ไหวเหมือนกัน ทำไมทำตัวแบบนี้ละ

บล็อกก็ไม่ได้ เพราะไอพีนี้สาธารณะด้วย (เป็นไอพีโรงเรียนมหิดลฯ ที่เรียนอยู่น่ะครับ) และที่สำคัญ เนื้อหาสามก๊กอย่างดีก็มาจากไอพีนี้ (แต่คนละคนเขียน) เสียด้วย--ดำรง วงศ์ตระกูล 12:41, 1 ตุลาคม 2551 (ICT)

ผมล็อกป้องกัน ip และผู้ใช้ใหม่ให้นะครับ t¸·´ ¯·.¸¸.ღp

วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง/นักการเมือง

มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความของคำว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติครับ

เท่าที่ได้ข้อมูลมาจากการอภิปราย (ที่คล้ายจะเป็นมวย) กับบุคคลสำคัญมาก ทำให้ผมได้ทราบว่า สภานิติบัญญัติ ประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร กับ วุฒิสภา (แต่เดิมตอนแปล เราแปลคำว่า members of a legislature ว่าสมาชิกสภานิติฯ ซึ่งผู้แปลมาแต่ละคน รวมทั้งผมเอง ไม่มีใครที่ชำนาญทางนิติศาสตร์เลยสักคน) ดังนั้น จึงเกิดคำถามในสองประเด็น

  1. สส และ สว คือสมาชิกสภานิติฯหรือไม่?
  2. ถ้าใช่ แล้วเราจะยังนับว่าผู้ที่เป็นสมาชิกสภานิติฯ คือบุคคลสำคัญอยู่หรือไม่?

โดยส่วนตัวแล้ว ประเด็นที่หนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของนักกฎหมายในการตีความจะดีกว่า ผมไม่มีความเห็น แต่ประเด็นที่สอง ถ้าประเด็นที่หนึ่งได้คำตอบว่า ใช่ ประเด็นที่สองก็สมควรจะยอมรับด้วย เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลของผู้แทนทั้งหลาย อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกตั้งต่อไปในภายภาคหน้า (และแน่นอนว่าสมควรจะเป็นผู้ที่ผ่านการรับเลือกตั้งมาแล้วด้วย ไม่งั้น เราคงจะได้ดัชนีบุคคลเต็มไปหมด)

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 04:23, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)

ถ้าระดับประเทศ ก็มี สส กะ สว อต่ถ้าเอาระดับท้องถิ่นด้วย ก็มี สก. สข. ส.อบจ. (aka สจ.) --aquashagreenlatte ไฟล์:WikiBotany tap.png 05:11, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)


  1. ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ที่ประเทศนี้ใช้ ประกอบไปด้วยอำนาจทั้งสามที่ประชาชนใช้ผ่านทางองค์กรต่าง ๆ คือ อำนาจตุลาการ ผ่าน ศาล อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี และอำนาจนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา ดังนั้นเมื่อพิจารณาประกอบแล้วรัฐสภา ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นฝ่ายนิติบัญญัติด้วย โดยทั้งสองสภานี้จะรวมกันเป็นสภาเดียวในหลายกรณี แต่โดยปกติ จะใช้อำนาจเพื่อการคานอำนาจกันเอง
  2. แยกเป็นการมองได้สองมุม
  • มุมแรก ก็น่าจะเป็นบุคคลสำคัญ เพราะมากจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้แทนปวงชน ของประชาชนทั้งประเทศ กล่าวคือ ประเทศนี้จะเป็นตายร้ายดีอย่างไร ก็ขึ้นกับสภานิติบัญญัตินี้

และยังเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติซี่งเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่มากแทนปวงชนด้วย

  • มุมสอง ถ้ามองตามมุมแรก บรรดาตุลาการศาลทั้งหลาย ก็ควรต้องเป็นบุคคลสำคัญเช่นกัน เพราะก็มาจากประชาชนโดยการสอบเข้า (แม้จะไม่ได้เลือกตั้ง) แต่ตุลาการเหล่านั้นก็เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการแทนปวงชนเช่นกัน ดังนั้นเพื่อตัดปัญหาจุดนี้ ก็ไม่ต้องให้เป็นบุคคลสำคัญที่ต้องมีประวัติ เว้นแต่ใส่ประวัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ชื่อสกุล วันที่ได้รับโปรดเกล้า อะไรทำนองนั้น

ด้วยจิตคารวะ --Vasavasti 16:37, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)


ผมขอเท้าความเดิมสักนิดนะครับ เพื่อจะได้ให้คนอื่น ๆ ได้พอเข้าใจเหตุผลของผมบ้าง แล้วจะได้ช่วยตัดสินว่า อะไรเป็นอะไร

ก็คือในหน้า "วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง" นี้ได้กำหนดเงื่อนไขเฉพาะทางสำหรับบุคคลที่มีชื่อเสียงไว้ว่า

"นักการเมืองที่ได้รับตำแหน่งในระดับสากลหรือระดับประเทศ และอยู่ในระดับแนวหน้า รวมไปถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติและตุลาการด้วย"

ซึ่งคุณไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) ก็ได้บอกว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติ เป็นคนละสภากับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ด้วยเหตุผลที่ว่า ในบทความสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 ได้กล่าวว่า "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 เป็นสภาที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ตามมาตรา 5 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549"

แต่ผมมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป เพราะคำว่า "สภานิติบัญญัติ" นั้นถ้าแปลตรงตัวก็คือ "องค์การหรือสถานที่ประชุมที่บัญญัติกฎหมาย" (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) ซึ่งในประเทศไทยนั้นก็คือ รัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ตรากฎหมายและพระราชบัญญัติต่าง ๆ

และในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ได้บัญญัติความหมายของ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไว้ดังนี้ (เว็บไซต์นี้ก็มีเหมือนกัน)

  • สภาผู้แทนราษฎร (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับวุฒิสภาแล้ว ประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) ...
  • วุฒิสภา (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับสภาผู้แทนราษฎรแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) ...

เพราะฉะนั้น สมาชิกสภานิติบัญญัติก็คือสมาชิกสภาที่ออกกฎหมาย ซึ่งก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภานั่นเอง -- V i P 20:03, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)


เอ่อ เห็นที่จะเกิดการผิดพลาดทางเทคนิค และความเข้าใจผิดอย่างมหันต์แล้วล่ะครับ คือ "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" กับ "สภานิติบัญญัติ" ถือเป็นคนละอย่างกันนะครับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตาม รธน. ๔๙ ที่เรารู้จักกันดีในนามของ สนช. นั้น ปัจจุบันไม่มีแล้วครับ คือมันเกิดขึ้นมาเฉพาะกิจ เพื่อ "ทำหน้าที่แทนสภานิติบัญญัติ" อันประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. ครับ คือโดยปกติแล้ว ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติคือ สภานิติบัญญัติ ก็คือ รัฐสภา อันประกอบด้วย ส.ส. กับ ส.ว. แต่หลังเกิดเหตุการณ์ ๑๙ ก.ย. เมื่อรัฐสภาถูกยกเลิก ไม่มี ส.ส. และ ส.ว. จึงไม่มีผู้ใช้อำนาจดังกล่าว อีกทั้ง รธน.๔๙ (ชั่วคราว) ก็ไม่ได้มีการเลือกตั้ง ดังนั้น คมช. จึงจัดให้มี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทน รัฐสภา ในระหว่างที่ใช้ รธน.๔๙ ครับ ดังนั้นกล่าวโดยสรุป "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙" ไม่สามารถนำมาอ้างอิงกับ "สภานิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ" ได้ครับ มันคนละเรื่องกัน

ด้วยจิตสมานฉันท์ --Vasavasti 22:51, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)

ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด อันอาจจะเกิดขึ้นอีกในภายภาคหน้า ผมเห็นว่า เราควรจะมีการเขียนบทความ สภานิติบัญญัติ ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นนิยาม และอ้างอิงต่อไปในภายภาคหน้าครับผม --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 22:58, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)

แฮ่ ๆ ๆ มีแล้วเหรอ หน้าแหกเลย ๕๕๕๕ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 22:59, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)


แต่ทั้งนี้ขออีกนิดนะครับ สำหรับคุณ V i P คือส่วนตัวผมคิดว่า ไม่ควรตีความกฎหมายหรืออะไรตามพจนานุกรมมากเกินไปนะครับ

ด้วยจิตสมานฉันท์ --Vasavasti 23:02, 6 ตุลาคม 2551 (ICT)


ที่เขียนไว้แบบนี้ก็เพราะว่าต้องการให้เป็นเรื่องทั่วไปครับ ไม่ต้องเอาไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายไทย หรือกฎหมายของภูมิภาคอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ทุกคนข้างบนก็มีความเห็นตรงกันอยู่แล้วว่า สส. และ สว. ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสภานิติบัญญัติ ที่จริงคำนี้ผมมองแวบเดียวก็รู้แล้วหมายความว่าอะไร สภานิติบัญญัติ ก็คือ สภาที่บัญญัติอะไรที่เป็นนิติ ความหมายมันมีอยู่แค่นี้ครับ สภากาแฟนะครับไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความกันใหญ่ :D --Octra Dagostino 00:13, 7 ตุลาคม 2551 (ICT)

อ้างอิงบทความจาก hi5!

สวัสดีครับ รบกวนระดมสมองเพื่อน ๆ นิดหน่อยนะครับ ตอนนี้มีผู้ใช้ที่ได้แก้ไขบทความในชื่อ ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน และถ้ำจาม โดยมีส่วนของการอ้างอิงโยงไปยังรูปภาพจาก hi5 เลยอยากถามว่าการอ้างอิงลักษณะแบบนี้จะทำได้ไหม และถ้าไม่ได้จะไปคุยกับผู้ใช้ท่านนี้ยังไงดีครับ ^^ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 20:24, 7 ตุลาคม 2551 (ICT)

ปัญหาคือ ข้าพเจ้าไม่สามารถปิดลิงก์เข้าไปดูได้ ในเมื่อเข้าไปดูไม่ได้ ก็ย่อมถือว่าอ้างอิงไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจริงหรือไม่? ดังนั้น ในกรณีนี้ ควรถือว่าเป็นลิงก์เสียครับ นอกจากนี้ ลิงก์ไฮไฟว์นั้น มีความน่าเชื่อถือขนาดไหนกันครับผม ปกติเขาเอาไว้แปะรูปคุยเล่นกันเฉย ๆ นี่นา --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 20:34, 7 ตุลาคม 2551 (ICT)

ลิงก์จากเครือข่ายสังคมมักจะไม่ใช่ลิงก์ถาวรครับ มันเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ สัญญาอนุญาตก็ไม่ชัดเจน ดังนั้นใช้อ้างอิงไม่ได้ แต่ถ้าแค่เอาภาพมาประกอบ ก็ควรจะแจ้งให้ผู้เขียนรับทราบว่า "อัปโหลดเข้ามาสิ" --Octra Dagostino 20:41, 7 ตุลาคม 2551 (ICT)

โฆษณาแฝง?

รบกวนสอบถาม บทความที่มีลิงก์หรือเนื้อหาในลักษณะโฆษณาแฝง มีนโยบายในการดำเนินการอย่างไร หรือว่าแค่ไหนคะ ตัวอย่างเช่น บทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แต่มีเนื้อหาที่อธิบายวิธีการเดินทาง เวลาเปิด-ปิด ราคาค่าเข้าชม ซึ่งไม่น่าจะเป็นสารานุกรม (เช่น พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์ เป็นต้น) อีกพวกหนึ่งคือบทความทางการแพทย์ ที่ชอบใส่ลิงก์ แหล่งข้อมูลอื่น เป็นลิงก์เว็บโรงพยาบาล (ที่เจอประจำคือ โรงพยาบาลเวชธานี)

ปกติที่ทำคือ ถ้าเจอก็จะลบทิ้ง แต่ก็มีการนำกลับมาอีก คือพยายามจะโชว์ให้ได้

จริง ๆ แล้วการใส่เนื้อหาและลิงก์แบบนี้ ผิดนโยบายของวิกิพีเดีย หรือเปล่าคะ --Tinuviel | พูดคุย 17:15, 8 ตุลาคม 2551 (ICT)

ตราบใดที่ลิงกืนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบทความ หรือไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทความ ให้ลบทิ้งครับ ถ้ามันยังเข้ามาอีก อาจจะพิาจารณาว่าก่อเกรียนได้ และแจ้งผู้ดูแลให้ตบเกรียนต่อไป --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 17:19, 8 ตุลาคม 2551 (ICT)

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ผมว่ารุ่นนี้มันออกจะหมิ่นเหม่ไปนิดนึง เลยย้อนไปก่อน

พวกคุณคิดว่ายังไงหล่ะ

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 18:42, 12 ตุลาคม 2551 (ICT)

หมิ่นจริง แต่ก็เป็นข้อเท็จจริง 555 --V i P 00:54, 14 ตุลาคม 2551 (ICT)

หน้ากามิกาเซ่

คือว่าหน้าของกามิกาเซ่ผมว่า

  1. อาจจะต้องลบออก

หรือ

  1. แปะให้โปรช่วยแก้

เพราะผมอ่านแล้วเหมือนคนคุยในบอร์ดเขียนมากกว่าผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้โดยแท้จริง ซึ่งดูได้ดังนี้

  • เนื้อหาของศิลปินที่น่าจะวางไว้เฉพาะหน้าของศิลปินนั้น
  • มีการต่อเรื่องเป็นปี ซึ่งไม่ค่อยน่ากระทำสำหรับหน้าดังกล่าว
  • เกร็ดน่ารู้ที่น่าจะทำเหมือนเนื้อหาของศิลปิน คือ วางไว้หน้าใครหน้ามัน

ใครมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ

--เมย์ Mayrakis คุยกันได้ 12:29, 17 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

เห็นตอนนี้มีหลายคนร่วมช่วยแก้ไขแล้วครับ เท่าที่ดู ก็ดูดีนะครับ (ตอบช้าไปหน่อย) --Manop | พูดคุย 06:15, 24 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

การอ้างอิง

การอ้างอิงไปยังรูปภาพทำได้ไหมครับ --Octra Dagostino 17:04, 17 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

คงไม่มีปัญหากระมังครับ เพราะถ้าภาพสามารถสื่อความหมายอธิบายตัวบริบทนั้นได้ --Manop | พูดคุย 06:13, 24 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

บทความการบ้าน ?

เหมือนหน้านี้จะเป็นบทความการบ้านนักศึกษา KMUTNB การขับเคลื่อนประสิทธิภาพขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการเขียนที่ไม่ได้สนใจ และมีการลบไปแล้ว ก็ยังมีการสร้างใหม่ --Manop | พูดคุย 02:13, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ความเป็นสากลของบทความ กระทรวง

เท่าที่เปิดดู พบว่าบทความกระทรวงทั้งหมดล้วนเป็นบทความเกี่ยวกับกระทรวงที่อยู่ในประเทศไทยล้วน ๆ ผมว่าบทความกระทรวงไม่ควรจะเจาะจงว่าเป็นกระทรวงในประเทศไทย ส่วนบทความกระทรวงในประเทศไทย ควรสร้างเป็น "กระทรวงXXXXX (ประเทศไทย) " มากกว่า (ตัวอย่าง en:Ministry of Defence) --140.174.9.8 16:05, 2 ธันวาคม 2551 (ICT)

ไม่เห็นด้วย ผมมีความเห็นว่า ผู้ที่รู้ภาษาไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ดังนั้น ความหมายหลักของชื่อของแต่ละกระทรวง ก็จะเป็นกระทรวงนั้นของไทยอยู่แล้ว แต่ถ้าจะมีบทความกระทรวงเดียวกันในประเทศอื่น (เช่น สมมุติ กระทรวงศึกษาธิการของอินเดีย) ก็สร้างหน้าแก้ความกำกวมขึ้นมาได้ครับ เช่น รวบรวมกระทรวงxxxx ของหลาย ๆ ประเทศ เท่าที่จะมีบทความภาษาไทย ลงไปในหน้าแก้ความกำกวมนั้น เป็นต้น --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 23:24, 11 ธันวาคม 2551 (ICT)

ถึงผมจะไม่เห็นด้วย แต่ก็โดนแก้ (ตามที่คนเขาเห็นด้วย) ไปแล้วครับ --lovekrittaya gwperi 11:56, 25 ธันวาคม 2551 (ICT)

เห็นด้วยกับคุณ LoveKrittaya ครับ แต่ผมว่าถ้าเกิดพิมพ์เข้าไปว่าเป็น "กระทรวงXXX" เฉย ๆ ควรจะเป็นแบบรายชื่อไปเลยครับ --Horus 18:30, 26 ธันวาคม 2551 (ICT)

อีกประเด็นนึงที่น่าคิดก็คือว่า แต่ละประเทศนั้น มีการจัดวางอำนาจหน้าที่และการเรียกขานชื่อกระทรวงไม่เหมือนกันครับ ดังนั้น ไม่คิดว่าจำเป็นต้องทำแบบนั้น --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:27, 28 ธันวาคม 2551 (ICT)

ภาพที่สร้างขึ้นเองและกำหนดสัญญาอนุญาตเป็นชอบธรรม

ประเด็นที่หนึ่ง "ภาพที่สร้างขึ้นเองและกำหนดสัญญาอนุญาตเป็นชอบธรรม" สามารถใช้ในวิกิพีเดียได้หรือไม่ครับ เป็นข้อบังคับหรือเปล่า และเป็นข้อบังคับของวิกิพีเดียภาษาอื่นด้วยหรือเปล่า ถ้าเป็นข้อบังคับควรแก้ไขเนื้อหาในนโยบายการใช้ภาพให้รัดกุมมากกว่านี้ เพราะมีปัญหากับ ผู้ใช้:Banlu Kemiyatorn ที่อัปโหลดภาพประเภทนี้ขึ้นมา ใส่คำอธิบายเป็น freeimage แต่เลือกป้ายเป็น fair use (ภาพจากคอม) เพราะยึดตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย (ก่อนผมเปลี่ยนเป็น cc)

ผู้ใช้ octahedron80 ควรจัดการเพื่อลบตามกระบวนการ โดยไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนสัญญาอนุญาตโดยไม่ขอความเห็นจากเจ้าของภาพตามใจชอบ จริง ๆ เรียกว่าทำผิดกม.ด้วยซ้ำ --Banlu Kemiyatorn 12:45, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ก็คุณเป็นคนบอกเองว่าให้เปลี่ยนได้ จะมาว่าผมได้ไง --Octra Dagostino 12:56, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ไม่เคยบอกว่าให้เปลี่ยนไลเซนส์ ใครจะบอกแบบนั้นไม่ได้เป็นเจ้าของลิกขสิทธ์ภาพนั้นถ้าเป็นก็ public domain ไปแล้ว ไม่ทราบใช้วิธีอะไรในการคิด --Banlu Kemiyatorn 13:03, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ผมเปลี่ยนเป็น cc คุณก็ยังเป็นเจ้าของอยู่ คุณก็ยังมีสิทธิ์ในภาพนั้นอยู่ แต่ประเด็นผมอยู่ที่เราไม่อนุญาตให้กำหนดเป็น fair use สำหรับภาพที่สร้างขึ้นเองครับ ผมจึงเปลี่ยนเป็น cc เพื่อยังรักษาสิทธิของคุณเอาไว้ สัญญาอนุญาตไม่ได้มีแค่สองอย่าง copyright หรือ pd นะครับ cc เนี่ยจะอยู่ตรงกลาง ประเด็นที่สองคือตอนนี้ห้ามใช้ภาพ fair use ในหน้าผู้ใช้ เป็นนโยบายใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมก็เคยมียังต้องเอาออกเลย --Octra Dagostino 13:11, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
เข้าใจผิด เจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นที่กำหนดส่วน CC ที่ผู้ใช้ octahedron80 เติมลงไป อาจศึกษากม.เพิ่มเติมในส่วนนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์ใช้ภาพนั้นแม้ว่าจะสร้างเอง (แต่การใช้คำว่าสร้างเองนั้นผู้ใช้ Banlu Kemiyatorn ไม่เข้าใจว่าหมายถึงผู้ใช้เองต้องเป็นเจ้าของลิกขสิทธิ์ภาพนั้นอย่างไร) --Banlu Kemiyatorn
ผมเข้าใจว่าพี่ออกตาเขาเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม เพราะคุณยังถือสิทธิ์นั้นอยู่ และภาพเป็นภาพสร้างต้นฉบับที่ไมน่าจะละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีอยู่แล้วมากกว่า และอีกอย่าง ถ้าผู้ใช้ใช้ภาพไม่ได้ แล้วจะมีภาพไว้เพื่ออะไรครับ ? --Chris Vineyard Chat Contribs 13:23, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ไม่รับฟังประเด็นเรื่องความเหมาะสม แต่ชี้แจงให้ทราบถึงประเด็นทางกฏหมายเท่านั้น ตัวอย่างภาพที่ผู้ใช้สร้างภาพเองแต่ไม่มีลิขสิทธิ์ในภาพเช่น การรับทำภาพให้ผู้จ้างอื่น หรือได้ทำสัญญาให้ลิขสิทธิ์ภาพนั้นกับผู้อื่นไปแล้ว เป็นต้น--Banlu Kemiyatorn 13:28, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)

ประเด็นที่สอง "ภาพที่สร้างขึ้นเองและกำหนดสัญญาอนุญาตเป็นชอบธรรม" ที่ผู้ใช้ท่านนี้อัปโหลดขึ้นมา ได้ถูกใช้เฉพาะในกล่องผู้ใช้ เราได้ข้อสรุปกันหรือยังเกี่ยวกับภาพชอบธรรมในกล่องผู้ใช้และหน้าผู้ใช้ ถึงเปลี่ยนเป็น cc แล้วก็ยังวางใจไม่ได้ว่าใครจะเอาภาพ self fair use มาใส่แทนอีก อันนี้สรุปไปแล้วว่า ห้ามใส่ --Octra Dagostino 13:14, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)

ประเด็นที่สาม ผู้ใช้ท่านนั้นได้ให้เหตุผลอีกด้วยว่า แม่แบบคำอธิบายกับป้ายสัญญาอนุญาตไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่าต้องให้ใช้เข้ากัน (เช่นแม่แบบ freeimage ต้องใช้กับ free license หรือในทางตรงข้าม) ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดจุดนี้ด้วย

ประเด็นที่สี่ ข้อความที่เตือนไปยังผู้ใช้โดย สจห. หรือบอตกุ้งก็ดี ผู้ใช้ท่านนั้นได้บอกว่า ข้อความยาวเกินไปและไม่เป็นมิตร ซึ่งดูเหมือนเป็นการ spam มากกว่าความปรารถนาดีครับ --Octra Dagostino 21:37, 3 ธันวาคม 2551 (ICT)

(อาจจะนอกเรื่องหน่อยครับ) แต่แม่แบบ freeimage อีกซักหน่อยก็จะถูกลบออกจากวิกิพีเดียไทยไปหมดนะครับ ตามที่เขียนไว้ว่าจะย้ายภาพไปคอมมอนส์ในหน้า สภา-โครงการ กะว่าย้ายหมดเมื่อไรก็คงลบไปเมื่อนั้น --Manop | พูดคุย 05:17, 4 ธันวาคม 2551 (ICT)
  • ข้อความเตือนของ บอตกุ้ง กับ สจห. มันเป็นมิตรอยู่แล้วละฮะ แต่ที่เขามองว่าไม่เป็นมิตรเพราะเขาไม่ฟังคำเตือนของพี่ ๆ หรือเปล่า สำหรับเรื่องภาพสร้างเอง ผมไปเดินเล่นที่ นโยบายการใช้ภาพของ EN Wiki แล้วก็เห็นเขียนไว้ว่า

All user-created images must be licensed under a free license such as the GFDL and/or an acceptable Creative Commons license. They may also be released into the public domain.

— นโยบายการใช้ภาพของ WPen หมวดภาพสร้างเอง

ผมเลยคิดว่า WPen ไม่น่าจะอนุญาตภาพสร้างเองที่ติด Fair Use นะฮะ อนุญาตแต่ GFDL, CC และ PD (และผมว่าไม่ใช่แค่ WPen หรอก WP เกือบทั้งหมดก็น่าจะมีนโยบายแบบนี้ทั้งนั้น รวมถึงประเทศไทยเราด้วย) --MaGa NosFeRaTu Chat 17:17, 5 ธันวาคม 2551 (ICT)

การสร้างภาพเองทั้งหมดเป็นการระบุที่มาของภาพ แต่การสร้างภาพเองไม่ได้แปลว่าผู้สร้างภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพนั้น แต่หมายถึงผู้ใช้นั้นรับผิดชอบถึงที่มาของภาพนั้น--Banlu Kemiyatorn 12:45, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)

หน้าไทยก็แปลประโยคนั้นมาตรงตัวเป๊ะเลยครับ ก็ไม่รู้ว่าทำไมผู้ใช้นั้นถึงไม่เข้าใจ ยกเหตุผลเรื่องความเข้ากันของแม่แบบมาอ้าง ยกเรื่องกฎหมายไทยมาอ้าง ผมอธิบายว่าวิกิพีเดียไม่รับภาพประเภทนั้น ก็ไม่ฟัง พอใช้สคริปต์เตือนไป ก็หาว่าสแปมอีก --Octra Dagostino 18:34, 5 ธันวาคม 2551 (ICT)

ก็บอกให้ลบแล้วใช่หรือไม่ การยกกม.มาเพื่อบอกว่าทำไมถึงไม่เปลี่ยนใจ หรือว่าคนอื่นไม่มีสิทธิ์เห็นต่างความเห็นข้าพเจ้าเข้าใจคนเดียว คนอื่นไม่เข้าใจ และจะอ้างโน่นอ้างนี่อย่างไรก็ไม่เคยไปเขียนบทความให้ผู้อื่นเสีย ๆ หาย ๆ โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงแบบที่ผู้ใช้ octahedron80 เคยทำ ไม่เคยทะลึ่งไปเปลี่ยนไลเซนส์ภาพชาวบ้านเหมือนที่ ผู้ใช้ octahedron80 เคยทำ นี่หรือที่เรียกว่ามีความสามารถในการทำความเข้าใจ? --Banlu Kemiyatorn 12:45, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ผมไม่มีสิทธิในการลบครับ ผมไม่ใช่ผู้ดูแล คุณต้องแจ้งลบเองโดยการติดป้ายลบ ผู้ดูแลถึงจะมาเห็น การแจ้งลบโดยผู้อัปโหลดจะได้พิจารณาก่อนคนอื่นแจ้ง หากผมแจ้งลบผมก็ไม่รู้ว่าจะใส่เหตุผลอะไรลงไป --Octra Dagostino 12:59, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ทั้งนี้ทราบดีว่าผู้ใช้ octahedron80 ไม่มีสิทธิ์ลบ แต่ขอเรียนย้ำเพิ่มเติมอีกครั้งว่าไม่ได้ให้เปลี่ยนไลเซนส์ การให้สิทธิ์ใครเปลี่ยน license เป็น "นิติกรรม" ที่ต้องโอนให้กับนิติบุคคลหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ไม่ใช่ ใคร ๆ รวม ๆ ทำไม่ได้ ในส่วนนี้คิดว่าคงเป็นความเข้าใจผิดแต่จะแจ้งให้ทราบเป็นการประดับความรู้ของผู้อ่านทั่วไป --Banlu Kemiyatorn 13:13, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
  • อ้างนู่นนี่ก็เถอะ แต่คนหมู่มากก็ใช้แบบนี้มานานแล้ว อยู่ดี ๆ จะมาทำตามใจชอบ ไม่รับฟังคนอื่นมันก็ไม่สมควร (แต่ช่างเถอะ เตือนอะไรเขาก็ไม่ฟัง)
    เรื่องแม่แบบกับสัญญาอนุญาต มันน่าจะใช้ให้สอดคล้องกันนะฮะ (เช่น Fair use กับ Self Made พอใช้คู่กันมันดูเหมือนกับว่าผู้อัปโหลดไม่ยอมปล่อยภาพมาเป็น PD, GFDL, CC เต็ม ๆ อย่างงี้การเอาไปใช้ก็ลำบาก) --MaGa NosFeRaTu Chat 18:58, 5 ธันวาคม 2551 (ICT)
พวกคนหมู่มากนี้เป็นใครหรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่วิกิพีเดียมาจากไหนทำไมผู้ใช้อื่นต้องเห็นด้วย หรือมีอำนาจอะไรจะกำหนดว่าอะไรสมควรไม่สมควร ใช่กลุ่มเดียวกับที่ไปกร่างนอก wikipedia ช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้จนคนเขาเลิกเขียนกันไปไม่รู้กี่คนหรือไม่ --Banlu Kemiyatorn 12:45, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
  • วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรีที่ผู้ใช้ช่วยกันสร้าง ไม่ใช่ของใครคนหนึ่ง แต่ในกรณีนี้สมมุติว่าถ้าไม่มีการกำหนดมาตรฐานให้ชัดเจน แล้วคนในวิกิพีเดียคิดจะทำอย่างไรก็ได้เหรอ ถ้างั้นมันก็ดีที่ว่า เราไป Copy บทความที่สงวนลิขสิทธิ์มาได้ มาแปะในวิกิพีเดีย เราไม่ผิด เหรอฮะ... แล้วถ้าเขาฟ้องมาจะเป็นยังไง..

วิกิพีเดียไม่ได้เป็นแบบนั้น การกำหนดกฎกติกาเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในระบบและในสังคมส่วนรวม คุณ Banlu อาจไม่พอใจก็ได้ อ่า อันนี้อีกเรื่อง แต่ถ้ากฎกติกาเขาทำมานานแล้ว และเป็นที่ยอมรับของสังคม แต่คุณไปละเมิดกฎกติกา คุณคิดว่าสังคมจะทำอย่างไรกับคุณ (อย่างเช่น กฎหมาย ที่ยอมรับว่าฆ่าคนตายเป็นความผิด แต่คุณไปฆ่าคนตาย แล้วบอกว่าฆ่าคนตายนี้ถูกตามกฎหมาย มันสมควรหรือไม่ที่จะบอกเช่นนั้น)
ส่วนเรื่องภาพ ผมไม่ออกความเห็นมากกว่านี้แล้ว ออกไปมีแต่จะมึน รู้แต่ว่าภาพสร้างเองที่มันสร้างจากสิ่งที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ชัดเจนเป็น Fair Use อันนี้ใช่ --Chris Vineyard Chat Contribs 13:13, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)

ไม่แน่ใจว่าอ่านเข้าใจ กม.ที่ยอมรับว่าฆ่าคนตายเป็นความผิด แล้ว อ้างทีหลังได้อย่างไรว่าไม่ผิด อย่างไรก็ตามผู้ใช้ไม่สนใจกฎกติกาของกลุ่มบุคคลหรือสังคมที่ยกอ้างมาข้างต้น ผู้ใช้ทำตามข้อความในสัญญาที่ผู้ใช้เข้าใจจากเว็บไซต์วิกิพีเดียเท่านั้น --Banlu Kemiyatorn 13:24, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
คุณบอกเองว่าคุณไม่สนใจนโยบายที่เขามีไว้ นโยบายมันเกิดจากผู้ใช้เห็นว่าวิกิพีเดียควรเป็นแบบนี้ เลยช่วยกันร่าง (ทำนองเดียวกับกฏหมายที่เกิดจากการกระทำที่ผู้คนส่วนมากเห็นว่าไม่ดี แล้วผู้คนช่วยกันตราไว้) คุณจึงไม่ควรอ้างว่าคุณไม่สนใจกฏกติกาของบุคคลที่ยกมา เพราะ วิกิพีเดียไม่สามารถร่างนโยบายได้เองโดยไม่มีผู้ใช้ --Chris Vineyard Chat Contribs 13:29, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)
ไม่สนใจ ไม่สมเหตุสมผล และคิดว่าอ่านไม่เข้าใจ เพราะจะอย่างไรกฏหมู่หรือนโยบายอะไรก็ตามย่อมไม่มีสิทธิ์เหนือสิทธิ์พื้นฐานที่ Wikipedia ให้ผู้ใช้มาแต่แรก วิกิพีเดียไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ใช้ใด ด้วยหลักฐานนี้ จึงสรุปว่าไม่รับฟัง ทั้งนี้เรื่องที่จะชี้แจงคิดว่าได้ชี้แจงไปหมดแล้ว และไม่เห็นว่ากระบวนการใด ๆ ผิดพลาดตรงไหน ยกเว้นเรื่องตีไลเซนส์ CC ที่ได้ชี้แจงไปแล้ว จึงเรียนมาเพื่อทราบและจบการสนทนา --Banlu Kemiyatorn 13:47, 30 ธันวาคม 2551 (ICT)

นโยบายและคำชี้แจงก็ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วครับ ตอนแรกคุณบอกว่าภาพที่คุณสร้างมาระบุเป็น freeimage แต่เนื่องจากว่าเป็นภาพจากคอม จึงต้องระบุ tag เป็น ภาพชอบธรรม แต่อย่างที่ได้มีการแจ้งให้คุณทราบ ภาพจากหน้าจอลิขสิทธิ์นั้นขึ้นอยู่กับภาพที่ีคุณจับครับ เพราะว่าภาพที่สร้างนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ที่เจ้าของโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการครับ ขึ้นอยู่กับว่าภาพที่จับเป็นภาพส่วนไหน ซึ่งมีการอธิบายไปแล้ว ดังนั้นปัญหาของคุณนั้น คือการเลือกสัญญาอนุญาตไม่ถูกต้องเองครับ นโยบายรัดกุมอยู่แล้ว --Jutiphan | พูดคุย - 20:34, 2 มกราคม 2552 (ICT)

ป.ล. แม้ว่าวิกิพีเดียเปิดกว้าง และคุณอาจมีไอเดียที่แตกต่างจากนโยบายเรื่องลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดีย อย่างไรก็ตาม นโยบายส่วนนี้มักไม่เปิดรับความแตกต่างหรือไอเดียใหม่ครับ เนื่องจากว่าส่วนใหญ่จำเป็นที่จะต้องอ้างอิงตามนโยบายแม่และของมีเดียวิกิ ซึ่งทางเขานั้นมีนโนบายเรื่องนี้ที่เคร่งครัดมาก ซึ่งมี 2 กรณีที่เราทำได้คือ เปิดกว้างให้แตกต่างด้วยการเคร่งครัดยิ่งขึ้นไป หรือเคร่งครัดเท่าเขาครับ --Jutiphan | พูดคุย - 20:38, 2 มกราคม 2552 (ICT)

สรุปเหรียญ และ อื่น ๆ ของโอลิมปิก

ผมว่ามันยังไง ๆ อยู่นะครับ ที่ว่ามีเลขอ้างอิงแล้วข้อความข้างล่างมันไม่มี ผมว่าคนทำไปดึงมาจากวิกิอังกฤษแน่ ๆ เลยใช่ไหมครับ แล้วอันที่จริงมันน่าจะเรียงตามลำดับตัวอักษรไทย แต่ว่าโปรแกรมนี้ไม่เหมือน Excel ที่เรียงได้เลย ก็เลยลำบากนิดนึง ซึ่งผมก็อยากช่วยครับ แต่ก็ของเคลียร์งานที่โรงเรียนก่อน

--เมย์ Mayrakis คุยกันได้ 12:29, 16 ธันวาคม 2551 (ICT)

แม่แบบ:อธิบายหน้าพูดคุย

คิดว่าควรจะมีการติดแม่แบบ {{อธิบายหน้าพูดคุย}} ในหน้าอภิปรายของทุกบทความเหมือนกับวิกิภาษาอังกฤษดีไหมครับ --Horus 10:34, 28 ธันวาคม 2551 (ICT)

ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ีมีแม่แบบนี้ทุกหน้านะครับ --Manop | พูดคุย 12:57, 28 ธันวาคม 2551 (ICT)