ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว2 มกราคม พ.ศ. 2558
ระบบสุดท้ายสลายตัว23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเซาเดโลร์
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด900 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด39 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมดทางการ 27 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก
พายุไต้ฝุ่น18 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น1 ลูก (เป็นทางการ)
10 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
(สถิติสูงสุดเสมอกันกับฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2508)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด350 คน
ความเสียหายทั้งหมด1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2015)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2556, 2557, 2558, 2559, 2560

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2558 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมมากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย โดยมีพายุโซนร้อน 27 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่น 18 ลูก และ 9 ลูกเป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อเป็นชื่อแรกของฤดูกาลนี้คือ เมขลา ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม ส่วนพายุลูกสุดท้ายที่ได้รับชื่อคือ เมอโลร์ สลายตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ในฤดูกาลนี้ ทุกเดือนจะพบพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและได้รับชื่ออย่างน้อยหนึ่งลูก นับเป็นเหตุการณ์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา และฤดูกาลนี้ยังคล้ายกับฤดูกาลที่แล้ว คือมีจำนวนของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) ตลอดปี 2558 นั้นอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยสูงเป็นอันดับที่สองนับจากปี พ.ศ. 2513 และค่า ACE ของปี 2558 นี้ยังถูกบันทึกลงในส่วนของการศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนด้วย[1]

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
ค่าเฉลี่ย (2508–2557) 26 16 8 294 [2]
6 พฤษภาคม 2558 27 17 11 400 [2]
5 สิงหาคม 2558 30 20 13 448 [3]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลา จำนวน
พายุหมุนเขตร้อน
อ้างอิง
มกราคม 2558 PAGASA มกราคม — มีนาคม 1-2 [4]
มกราคม 2558 PAGASA เมษายน — มิถุนายน 1-3 [4]
30 มิถุนายน 2558 CWB 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 28–32 [5]
กรกฎาคม 2558 PAGASA กรกฎาคม — กันยายน 7-10 [6]
กรกฎาคม 2558 PAGASA ตุลาคม — ธันวาคม 3-5 [6]
ศูนย์
พยากรณ์
จำนวน
พายุหมุนเขตร้อน
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 39 27 18
เกิดขึ้นจริง: JTWC 30 28 21
พายุไต้ฝุ่นทั้งสามลูกในวันที่ 9 กรกฎาคม: (จากซ้ายไปขวา) หลิ่นฟ้า, จันหอม และนังกา

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การคาดการณ์ครั้งแรกของปีได้รับการคาดการณ์โดย PAGASA ในช่วงเดือนมกราคม 2558 ภายในแนวโน้มสภาพภูมิอากาศตามฤดูการสำหรับเดือนมกราคม – มิถุนายน[4] มีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 1-2 ลูกเกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม และ 1-3 ลูกเกิดขึ้นและพัฒนาหรือเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4] ต่อมาในเดือนมีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง คาดการณ์ว่าฤดูมรสุมในฮ่องกง จะอยู่ในระดับใกล้เคียงค่าปกติที่ 6 ลูก คือมีพายุหมุนเขตร้อน 4-7 ลูก ผ่านเข้ามาในระยะ 500 กม.[7] แปซิฟิกเอ็นโซ (Pacific ENSO) ออกการปรับปรุงในไตรมาสที่สองของปีโดย NOAA บอกว่ามีการผันผวนของเอลนีโญ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีความเสี่ยงจากพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายในไมโครนีเชียแบบเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากผลกระทบของเอลนีโญ[8] เป็นผลให้พวกเขาคาดการณ์ว่าความเสี่ยงของพายุไต้ฝุ่นกำลังแรงที่จะมีผลกระทบต่อไมโครนีเชียอยู่ในระดับสูง โดยเกาะส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะมีโอกาส 1 ใน 3 ที่จะได้รับผลกระทบจากลมที่รุนแรง คลื่นขนาดใหญ่ และปริมาณน้ำฝนจากพายุไต้ฝุ่น[8] โดยพวกเขายังคาดการณ์อีกว่าจะมีโอกาสเกือบ 100% ของผลกระทบที่รุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นลูกหนึ่งในไมโครนีเชีย[8] ต่อมาวันที่ 6 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ได้ออกการคาดการณ์แรกของฤดูกาล ซึ่งคาดว่าจะมีกิจกรรมในมหาสมุทรมากที่สุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งคาดว่าการมีกิจกรรมจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย[2] โดยหน่วยงานคาดว่าจะมีพายุโซนร้อน 27 ลูก, พายุไต้ฝุ่น 17 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 11 ลูก และดัชนีเอซีอีคาดการณ์ไว้ที่ 400[2]

วันที่ 30 มิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางไต้หวัน คาดการณ์ว่าจะมีพายุโซนร้อนพัฒนาในแอ่งนี้ 28-32 ลูก และคาดว่าจะมีพายุ 2-4 ลูกส่งผลกระทบกับไต้หวัน[5] ส่วน PAGASA ได้คาดการณ์สำหรับช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 7-10 ลูกมีแนวโน้มที่จะพัฒนา และ/หรือเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ในขณะที่อีก 3-5 ลูกจะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม[6] วันที่ 16 กรกฎาคม ศูนย์ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศเอเชีย-แปซิฟิกกาย คาร์เพ็นเตอร์ (GCACIC) และเมืองมหาวิทยาลัยพลังงานแห่งฮ่องกง ออกการณ์คาดการณ์ฤดูกาลในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน - 30 พฤศจิกายน[9] โดยคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 19.9 ลูกที่พัฒนา และ 10.3 จะส่งผลกระทบต่อแผ่นดิน เทียบกับค่าปกติที่ 23.0 และ 17.4 ลูก[9] นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์สำหรับเกาหลี - ภูมิภาคญี่ปุ่นและไต้หวัน และจังหวัดทางตะวันออกของจีนอันประกอบไปด้วยเจียงซู, เซี่ยงไฮ้, เจ้อเจียง และ ฝูเจี้ยน โดยคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากพายุเหล่านี้ 3 ลูกในแต่ละแห่ง[9] ส่วนเวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และจังหวัดทางภาคใต้ของจีนอันประกอบไปด้วยกว่างตง, กวางซี และไหหนาน คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูก[9] ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ครั้งที่สอง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย โดยระบุว่าปีนี้จะเป็นปีที่มีกิจกรรมของพายุมากกว่าปกติ โดยระบุว่าจะมีจำนวนพายุถึง 30 ลูก และในจำนวนนั้น 20 ลูกจะทวีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น และเป็นไปได้ว่า 13 ลูก จะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง และคาดการณ์ดัชนีเอซีอีไว้ว่าอาจจะมากถึง 448[2]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

[แก้]

วันที่ 26 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกการคาดการณ์พายุหมุนเขตร้อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558 โดยคาดการณ์ว่าจะมีพายุ 1-2 ลูกที่พัดผ่านเข้ามา ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน และภาคใต้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน[10]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นอัสนี (พ.ศ. 2558)พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ (พ.ศ. 2558)

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

ฤดูกาลปี พ.ศ. 2558 นี้เริ่มต้นด้วยพายุโซนร้อนชังมีที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซันดากัน, มาเลเซีย ซึ่งเป็นพายุที่ต่อเนื่องมาจากฤดูกาลก่อน ซึ่งส่งผลกระทบกับประเทศมาเลเซียและสลายตัวไปในวันต่อมา วันที่ 2 มกราคม มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของบรูไน แต่ระบบไม่มีการพัฒนาและสลายตัวไปในที่สุด สำหรับพายุโซนร้อนลูกแรกของปีนี้คือพายุโซนร้อนกำลังแรงเมขลา ซึ่งมีผลกระทบกับฟิลิปปินส์ สำหรับพายุไต้ฝุ่นลูกแรกของปีนี้คือพายุฮีโกส ซึ่งกลายเป็นพายุที่แข็งแกร่งที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ แม้ความรุนแรงของมัน จะไม่ส่งผลกระทบใดๆ อย่างมีนัยสำคัญกับทวีปและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ช่วงท้ายของเดือนมีนาคม พายุไต้ฝุ่นไมสักก่อตัว และมีกำลังแรงสูงสุดเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ตามมาตรา SSHW ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในเดือนเมษายน ต่อมาในเดือนพฤษภาคมพายุไต้ฝุ่นโนอึล และ ดอลฟิน ก็ทวีกำลังแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ลูกที่สองและสามของฤดูกาลตามลำดับ นอกจากนี้ชื่อ ดอลฟิน ยังเป็นชื่อพายุที่เก่าแก่ที่สุดในบันทึกของแอ่งนี้ โดยถูกใช้มาทั้งหมด 7 ครั้ง และยังเป็นครั้งแรกที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อตัวในเดือนพฤษภาคม

หลังจากที่แอ่งว่างจากการก่อตัวของพายุเป็นเวลาเกือบ 1 เดือนเต็ม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก และในที่สุดฤดูกาลก็กลับมาเป็นปกติในช่วงปลายเดือนมิถุนายนพร้อมกับการก่อตัวของพายุโซนร้อนคูจิระ จากนั้นช่วงต้นเดือนกรกฎาคม พายุหมุนเขตร้อนเกือบสามลูกได้เกิดขึ้นเกือบจะพร้อมๆ กัน คือ พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา, พายุไต้ฝุ่นจันหอม และพายุไต้ฝุ่นนังกา ส่วนพายุโซนร้อนฮาโลลา จากแอ่งแปซิฟิกได้ข้ามเส้นแบ่งวันสากล และท้ายที่สุดได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และสร้างผลกระทบกับญี่ปุ่น ส่วนพายุเซาเดโลร์เป็นพายุที่รุนแรงที่สุด ขณะที่พายุไต้ฝุ่นสองลูก คือ โคนี และ อัสนี จะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรง ในขณะที่โคนีและอัสนี ใกล้สลายตัว พายุเฮอร์ริเคนกิโลก็ได้ข้ามเส้นแบ่งวันเข้ามา แต่ได้กลายสถานะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน เอตาว และ หว่ามก๋อ ได้พัดเข้าฝั่งแผ่นดินในเดือนกันยายน พายุไต้ฝุ่นกรอวาญได้ก่อตัว และมีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่น และสลายตัวทางตะวันออกของญี่ปุ่น ตู้เจวียน ก่อตัวขึ้นในสิ้นเดือนกันยายน และส่งผลกระทบกับไต้หวันในสถานะพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรง[11]

หลังจากตู้เจวี้ยนก็ตามมาด้วยมูจีแก ซึ่งส่งผลกระทบกับจีนในระดับ 4 ขณะที่ฉอยหวั่นได้เคลื่อนผ่านทางด้านตะวันออกของญี่ปุ่น และส่งผลกระทบอีกครั้งเพียงเล็กน้อย พายุไต้ฝุ่นอีกสองลูกก่อตัวคือคปปุและจำปี และกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นและมีเส้นทางเดินคล้าย ๆ กับโคนีและอัสนี โดยคปปุ (เหมือนโคนี) ส่งผลกระทบกับฟิลิปปินส์ ขณะที่จำปี (เหมือนอัสนี) เคลื่อนผ่านทางด้านตะวันออกของญี่ปุ่น หลังจากเกือบหนึ่งเดือนที่มีไม่พายุก่อตัว พายุยีนฟ้าได้ก่อตัวขึ้น 4 ในเดือนธันวาคม มีพายุก่อตัวหลังจากยีนฟ้าสลายตัว ซึ่งคือพายุเมอโลร์ และทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นเมอโลร์ใกล้กับฟิลิปปินส์

โดยรวมแล้วในปีนี้มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนทั้งหมด 39 ลูก ในจำนวนนี้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและพายุโซนร้อนกำลังแรง 27 ลูก และในจำนวนนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 18 ลูก ซึ่งมีพายุที่มาจากแอ่งแปซิฟิกกลาง จำนวน 3 ลูก คือ ฮาโลลา, กิโล และ แปด-ซี

พายุ

[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมขลา

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 21 มกราคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อามัง
  • วันที่ 9 มกราคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มการติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อน ใกล้กับ แยป
  • วันที่ 10 มกราคม ระบบเริ่มมีการหมุนเวียนลมที่ใกล้ศูนย์กลาง
  • วันที่ 13 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ประกาศทวีกำลังระบบเป็นพายุดีเปรสชัน[12] ในขณะเดียวกัน JTWC ก็ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) ให้กับพายุดีเปรสชันด้วย หลังจากนั้น JTWC ก็ใช้รหัสเรียกขานว่า 01W
  • วันที่ 14 มกราคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรง 01W เป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เมขลา แม้ว่า JTWC จะไม่ได้ประกาศทวีความรุนแรงด้วยเช่นกัน[13]
  • วันที่ 15 มกราคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) รายงานว่าเมขลาได้เคลื่อนเข้ามาพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ (PAR) และได้รับชื่อว่า อามัง (Amang)[14][15][16]
  • วันที่ 16 มกราคม เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการพาความร้อนและสิ่งแวดล้อมที่ดี JMA จึงประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 17 มกราคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่น[17]
  • วันที่ 18 มกราคม ผลกระทบจากแผ่นดินทำให้ทั้ง JMA และ JTWC ปรับลดระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนในขณะที่ระบบเคลื่อนไปทางเหนือเรื่อย ๆ ต่อมาพบลมเฉือนแนวตั้งระดับปานกลางซึ่งมีผลต่อพายุ ทำให้ทั้งสองหน่วยงานประกาศประกาศคำเตือนฉบับสุดท้าย
  • วันที่ 20 มกราคม อย่างไรก็ตาม JMA ยังติดตามการเคลื่อนตัวของพายุจนกระทั่งพายุสลายตัวไป

พายุไต้ฝุ่นฮีโกส

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 12 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มต้นติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่กำลังพัฒนาขึ้น และเคลื่อนตัวต่อไปทางทิศใต้ของเกาะมาร์แชลล์[18]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ต่อมาระบบค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ทวีความรุนแรงหย่อมความกดอากาศต่ำนั้นเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ JMA รายงานว่าพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน และได้ชื่อว่า ฮีโกส[19] ส่วน JTWC ก็ประกาศทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน 02W
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ทั้งสองหน่วยงานประกาศทวีความรุนแรงของ ฮีโกส เป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ฮีโกส ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ตามสเกลของ JTWC
  • หลังจากนั้นไม่นาน ลมเฉือนแนวตั้งที่รุนแรง และอากาศแห้ง ส่งผลให้ฮีโกสอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุดีเปรสชัน

ในขณะที่ฮีโกสมีกำลังแรงที่สุด มันถูกบันทึกว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่แข็งแกร่งที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ นับตั้งแต่การบันทึกปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970)[20]

พายุโซนร้อนบาหวี่

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 21 มีนาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เบตตี
  • วันที่ 8 มีนาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ดีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของควาจาลีน ในหมู่เกาะมาร์แชลล์[21] และเดินทางข้ามเส้นศูนย์สูตรจากพายุไซโคลนแพม[22] สองสามวันถัดมาพัฒนาต่อไปอีก
  • วันที่ 10 มีนาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับระดับเพิ่มความรุนแรงของพายุเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[23][24]
  • วันที่ 11 มีนาคม JTWC ใช้รหัสเรียกขาน 03W กับระบบ ต่อมา JMA ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ บาหวี่ และมีการไหลเวียนลมในระดับต่ำเป็นเวลาสั้น ๆ[25]
  • วันที่ 14 มีนาคม บาหวี่เคลื่อนที่ต่อไปทางทิศตะวันตกจนมีกำลังสูงสุดในสถานะพายุโซนร้อน
  • วันที่ 15 มีนาคม ต่อมา บาหวี่ พบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เนื่องจากมีลมเฉือนระดับปานกลางและสูง
  • วันที่ 17 มีนาคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้รายงานว่า บาหวี่ เคลื่อนที่เข้าสู่เขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และใช้ชื่อว่า เบตตี (Betty)[26][27] ต่อมาทั้งสองหน่วยงานได้ปรับลดระดับความรุนแรงของบาหวี่ลง เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 18 มีนาคม ทั้ง JMA และ JTWC ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้าย
  • วันที่ 19 มีนาคม สุดท้าย PAGASA ได้ปรับลดระดับความรุนแรงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
  • วันที่ 21 มีนาคม อย่างไรก็ตาม JMA ได้ติดตามเส้นทางเดินพายุจนกระทั่งพายุสลายตัวไปทางทิศตะวันตกของกรุงมะนิลา, ฟิลิปปินส์

ในขณะที่บาหวี่เริ่มพัฒนาแรก ๆ ได้เกิดคลื่นขนาดใหญ่และสูงทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในมาจูโร ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ เรือยอชท์ได้ขึ้นมากระแทกแนวปะการังเนื่องจากน้ำทะเล แต่ไม่มีผลกระทบใด ๆ และยังมีฝนตกหนักและลมแรงเป็นบริเวณกว้างของหมู่เกาะมาร์แชลล์[28] คลื่นที่เกิดจากบาหวี่ทำให้เกิดผลกระทบในส่วนหนึ่งของประเทศคิริบาส ซึ่งกำลังฟื้นตัวจากไซโคลนแพม[29] วันที่ 15 มีนาคม บาหวี่ ได้นำพาลมแรงกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (65 ไมล์ต่อชั่วโมง) ไปยังหมู่เกาะมาเรียนา พร้อมกับไซปัน และทีเนียน ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง[30] ต้นไม้จำนวนมากและเสาไฟฟ้าถูกล้มข้ามเกาะ ทำให้ไซปันสูญเสียไฟฟ้าและบริการทั้งหมด[31] คนทั้งหมด 166 คนต้องหาที่หลบภัยบนเกาะ บ้าน 5 หลังบนเกาะมาเรียนา ถูกทำลาย ขณะที่อีก 52 หลังได้รับความเสียหาย ส่วนกาชาดได้ให้เงินช่วยเหลือ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 850,162 บาท) เป็นทุนให้กับ 252 คน[30]

พายุไต้ฝุ่นไมสัก

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 มีนาคม – 7 เมษายน
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เชเดง
  • วันที่ 22 มีนาคม หลังจาก บาหวี่ สลายตัวไป เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ระบบลอยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเป็นระเบียบมากขึ้น[32]
  • วันที่ 26 มีนาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อน[33]
  • วันที่ 27 มีนาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัสเรียกขาน 04W[34] ระบบเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และระบบเริ่มมีการไหลเวียนที่มากขึ้น ต่อมา JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของ 04W เป็นพายุโซนร้อน[35] ต่อมา JMA ได้เพิ่มปรับเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ไมสัก[36]
  • วันที่ 28 มีนาคม ไมสัก ได้มีการพัฒนาของตาพายุ[37] และต่อมา JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[38] จากนั้นมีการพัฒนาในส่วนตาพายุเยอะขึ้น และยังมีส่วนของเมฆครึ้มมากขึ้น[39] ส่วน JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของไมสักเป็นพายุไต้ฝุ่น[40]
  • วันที่ 29 มีนาคม ไมสักทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างรวมเร็วในช่วง 6 ชั่วโมง ซึ่งบรรลุความเร็วลมสูงสุด (ใน 1 นาที) ที่ 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) ซึ่งทำให้มันมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 4 ตามมาตรามาตรา SSHWS[41]
  • วันที่ 30 มีนาคม ไมสัก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (ตามมาตรา SSHWS)
  • วันที่ 1 เมษายน สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มติดตามพายุ และใช้ชื่อ เชเดง (Chedeng)[42]

พายุไต้ฝุ่นไมสักผ่านเข้ารัฐชุก ใน สหพันธรัฐไมโครนีเชีย โดยตรงในวันที่ 29 มีนาคม ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง ลมแรงกว่า 114 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (71 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยการวัดที่สำนักงานสภาพอากาศท้องถิ่น โค้นต้นไม้นานาชนิด เสาไฟฟ้า และทำลายหลังคา ประมาณร้อยละ 80 - 90 ของบ้านเรือนในเกาะชุกได้รับความเสียหาย พลังงานส่วนใหญ่ของเกาะถูกตัดขาดและการสื่อสารเป็นเรื่องยากลำบาก รายงานฉบับแรก ๆ ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 5 คน[43] และไม่กี่วันก่อนที่ ไมสัก จะพัดเข้าถล่มแผ้นดิน PAGASA ระบุว่าฤดูแล้งอย่างเป็นทางการได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์[44]

พายุโซนร้อนไห่เฉิน

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 6 เมษายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 1 เมษายน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหมู่เกาะมาร์แชลล์[45]
  • วันที่ 2 เมษายน ระบบได้เคลื่อนไปทางทิศตะวันตกและเริ่มรุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ได้เพิ่มความรุนแรงระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[46] ขณะเดียวกัน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่ดี[47]
  • วันที่ 3 เมษายน JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน ในขณะเดียวกัน JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของพายุเช่นเดียวกัน และใช้ชื่อ ไห่เฉิน
  • วันที่ 6 เมษายน อย่างไรก็ตามระบบได้อ่อนกำลังลงจนสลายหายไปหมดในวันที่ 6

พายุไต้ฝุ่นโนอึล

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 12 พฤษภาคม
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โดโดง
  • วันที่ 30 เมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำได้พัฒนาขึ้นบริเวณชุก[48]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มจะติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อน[49] ต่อมา JMA ก็ได้เพิ่มความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ โนอึล[50]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม JMA ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ส่วนศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับอ่อน[51]
  • วันที่ 6 พฤษภาคม JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของโนอึล เป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 7 พฤษภาคม โนอึล เข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อ โดดอง (Dodong) โดยสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)[52]
  • วันที่ 8 พฤษภาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และมีการพัฒนาของตาพายุเล็ก ๆ เกิดขึ้น[53] ในขณะเดียวกัน เจฟฟ์ ผู้เชี่ยวชาญจากแวเทอร์ อันเดอร์กราวนด์ (Weather Underground) บอกว่า โนอึนมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน[54]
  • วันที่ 9 พฤษภาคม หกชั่วโมงต่อมา JTWC ได้เพิ่มระดับความรุนแรงของโนอึลเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 อีกครั้ง และมีการพบตาพายุที่ชัดเจนขึ้น
  • วันที่ 10 พฤษภาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของโนอึลเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 และเพิ่มเป็นซูเปอร์พายุไต้ฝุ่นระดับ 5 ในเวลาต่อมา และ JMA ได้ประเมินว่าโนอึลในขณะมีความรุนแรงสูงสุด มีลมหมุนเวียนสูงสุดใน 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุดที่ 920 มิลลิบาร์[55][56]
  • วันที่ 11 พฤษภาคม โนอึล ได้พัดขึ้นแผ่นดินในจุดปานานาแพน, ซานตาอานา, คากายัน[57] หลังจากการโจมตีฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอนโดยตรง โนอึลก็เริ่มอ่อนกำลังลง ต่อมา JTWC ได้ปรับลดความรุนแรงของพายุเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4[58]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม ต่อมาพายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง

พายุไต้ฝุ่นดอลฟิน

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 20 พฤษภาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 3 พฤษภาคม มีหย่อมความกดอากาศต่ำอยู่บริเวณทางใต้ถึงตะวันออกเฉียงใต้ของโปนเป ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำนั้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 6 พฤษภาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้เริ่มติดตามและให้รหัสเรียกขาน 07W
  • วันที่ 9 พฤษภาคม JMA ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า ดอลฟิน
  • วันที่ 12 พฤษภาคม JMA ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบอีกครั้งเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 13 พฤษภาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของดอลฟิน เป็นพายุไต้ฝุ่น ต่อมาอีกหกชั่วโมง JMA ก็ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นเช่นกัน
  • วันที่ 16 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นดอลฟินพัฒนาต่อจนมีความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับที่ 5 ต่อมาอีก 12 ชั่วโมงระบบจึงเริ่มอ่อนกำลังลงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ซึ่งช่วงเวลาที่อ่อนกำลังลงจนเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง
  • วันที่ 19 พฤษภาคม ดอลฟินอ่อนกำลังลงจนเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ต่อมา JTWC ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของระบบลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและออกคำเตือนสุดท้ายเกี่ยวกับระบบ
  • วันที่ 20 พฤษภาคม JMA ได้ออกคำเตือนสุดท้าย ต่อมาทั้ง JMA และ JTWC ได้จัดให้ดอลฟินเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน

พายุโซนร้อนคูจิระ

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 25 มิถุนายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 19 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 20 มิถุนายน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ก็ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบพายุนี้ ต่อมาได้เพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้รหัสเรียกขาน 08W
  • วันที่ 21 มิถุนายน JMA ได้รายงานว่า 08W ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า คูจิระ[59]
  • วันที่ 22 มิถุนายน คูจิระมีความรุนแรงสูงสุด[60]
  • วันที่ 24 มิถุนายน คูจิระเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินเวียดนาม ในขณะเดียวกัน JTWC ก็ได้ออกคำเตือนสุดท้ายกับระบบ
  • วันที่ 25 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) ได้รายงานว่า คูจิระได้อ่อนกำลังจากพายุดีเปรสชันเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[61]

คูจิระทำให้ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น[62] และยังช่วยบรรเทาภัยแล้งในจังหวัดอุบลราชธานี[63]

สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ PAGASA กล่าวว่าภาวะเอลนีโญทีให้เกิดภาวะแห้งแล้ง และเริ่มต้นฤดูฝนล่าช้า อย่างไรก็ตาม คูจิระก็มีผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น และเพิ่มปริมาณน้ำฝนในฟิลิปปินส์ ดังนั้น PAGASA จึงประกาศการเริ่มต้นฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 มิถุนายน 2558[64][65] คูจิระขึ้นฝั่งเกาะไหหลำในวันที่ 20 มิถุนายน ทำให้เกิดฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 102 มิลลิเมตร (4.0 นิ้ว) และมีประมาณฝนสะสมสูงสุดที่ 732 มิลลิเมตร (28.8 นิ้ว) ผลที่ตามมาทำให้เกิดน้ำท่วมกว่า 7,400 เฮคเตอร์ (18,300 เอเคอร์ หรือ 74 ตารางกิโลเมตร) ของพื้นที่เกษตรกรรมและสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 88 ล้านหยวน (14.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 480.5 ล้านบาท)[66] ส่วนน้ำท่วมในเวียดนามตอนเหนือคร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 9 ราย ซึ่งกว่า 8 รายเกิดขึ้นในจังหวัดเซินลา และมีผู้สูญหายอีกอย่างน้อย 6 คน[67] ทั่วประเทศ บ้านเรือน 70 หลังถูกทำลายและอีก 382 หลังได้รับความเสียหาย[68]

พายุไต้ฝุ่นจันหอม

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฟัลโกน
  • วันที่ 27 มิถุนายน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มติดตามการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณพื้นที่ของร่องความกดอากาศต่ำ
  • วันที่ 30 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับเกาะโคชาเอ ต่อมาก็ได้ปรับระดับความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ จันหอม
  • วันที่ 1 กรกฎาคม จันหอมได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น แต่เนื่องจากลมเฉือนทำให้ระบบมีกำลังอ่อนลงกลายเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งบริเวณใกล้กับเกาะกวม
  • วันที่ 6 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม จันหอมได้ทวีกำลังแรงขึ้นกลับเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้ง
  • วันที่ 7 กรกฎาคม จันหอม ได้เคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ PAGASA จึงประกาศใช้ชื่อ ฟัลกอน (Falcon)
  • วันที่ 9 กรกฎาคม จันหอม ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่พายุมีความรุนแรงสูงสุด
  • วันที่ 10 กรกฎาคม จันหอมอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิของน้ำที่ลดลงและมีวงรอบการทดแทนของกำแพงตาพายุ
  • วันที่ 12 กรกฎาคม จันหอม อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 13 กรกฎาคม จันหอม เคลื่อนตัวออกนอกเขตร้อน

ก่อนที่พายุไต้ฝุ่นจะขึ้นฝั่งในภาคตะวันออกของจีน ทางการจีนได้สั่งอพยพผู้คนกว่า 1.1 ล้านคนออกจากพื้นที่ การประมาณการเบื้องต้นจากมณฑลเจ้อเจียง แสดงให้เห็นว่ามีความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 1.9 พันล้านหยวน (305.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.04 หมื่นล้านบาท)[69] แม้ว่าจันหอม จะไม่ส่งผลกระทบกับฟิลิปปินส์ แต่พายุไต้ฝุ่นมีผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีความรุนแรงขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน และมีความเสียหายประมาณ 90 ร้อยดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 3.05 แสนบาท)[70]

พายุโซนร้อนกำลังแรงหลิ่นฟา

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอไก
  • วันที่ 30 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อนได้ก่อตัวขึ้น และพัฒนาใกล้กับปาเลา หลายวันต่อมาระบบได้เคลื่อนเข้าสู่ทะเลฟิลิปปินส์ และในช่วงแรกระบบไม่มีความรุนแรง
  • วันที่ 1 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่มันอยู่ทางตะวันออกของวิซายาส, ฟิลิปปินส์
  • วันที่ 2 กรกฎาคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มติดตามระบบพายุ และใช้ชื่อว่า เอไกย์ (Egay) และไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้เริ่มติดตามระบบ และให้รหัสเรียกขานว่า 10W ต่อมา JMA ได้ใช้ชื่อ หลิ่นฟา กับระบบ
  • วันที่ 3 กรกฎาคม หลิ่นฟาทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 5 กรกฎาคม หลิ่นฟาเคลื่อนที่ไปทางเหนืออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้า ๆ
  • วันที่ 9 กรกฎาคม หลิ่นฟามีกำลังแรงขึ้นจากพายุโซนร้อนกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น (ตามมาตรา SSHS) และมุ่งหน้าเข้าสู่ฮ่องกงอย่างช้าๆ ต่อมาในช่วงเย็นหลิ่นฟาขึ้นฝั่งที่เมืองหลู่เฟิง, มณฑลกว่างตง[71] ขณะที่หอสังเกตการ์ณฮ่องกงใช้สัญญาณการเตือนภัยไต้ฝุ่นในระดับ 8 ก่อนจะลดระดับสัญญาณเตือนภัยเหลือระดับ 3 หลิ่นฟาเคลื่อนที่ไปบนแผ่นดินเรื่อย ๆ และอ่อนกำลังลง ส่งผลให้พายุอ่อนกำลังลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลาเย็น (ตามท้องถิ่น)

ตามการประมาณการเบื้องต้นทางภาคใต้ของประเทศจีน มีความเสียหายทางเศรษฐกิจจากพายุถึง 1.2 พันล้านหยวน (213 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.55 พันล้านบาท) บ้าน 288 หลังทรุดตัวและผู้คน 56,000 คนถูกอพยพ[72] และวัดลมกระโชกได้ 171 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (106 ไมล์/ชม.) โดยการสังเกตที่เจียหยาง[73]

พายุไต้ฝุ่นนังกา

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 3 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนเหนือหมู่เกาะมาร์แชลล์ ต่อมาระบบเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) จึงให้รหัสเรียกขาน 11W ต่อมา JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อ นังกา
  • วันที่ 6 กรกฎาคม สามวันต่อมานังกาค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด หลังจากนั้นไม่นาน นังกา ได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ภายใน 24 ชั่วโมง และมีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • วันที่ 7 กรกฎาคม นังกา ทวีกำลังแรงกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 แม้ว่าจะมีลมเฉือนแนวตั้งบางส่วนหยุดแนวโน้มการทวีกำลังของพายุ
  • วันที่ 9 กรกฎาคม นังกา กลับมาทวีความรุนแรงอีกครั้ง และกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
  • วันที่ 10 กรกฎาคม นังกา เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นประมาณ 24 ชั่วโมง ก็อ่อนกำลังลงไปเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4
  • วันที่ 11 กรกฎาคม นังกา อ่อนกำลังลงอีกจนเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (ตามมาตรา SSHS)
  • วันที่ 12 กรกฎาคม นังกา เริ่มกลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้ง
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ที่เวลาประมาณ 14:00 UTC หรือเวลา 21:00 น. ตามเวลาประเทศไทย นังกาได้เข้าฝั่งที่มุโระโตะ, โคชิ ของญี่ปุ่น[74]

ในมาจูโร ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ ลมแรงจากนังกาสร้างความเสียหายแก่หลังคาบ้านและทำให้ต้นไม้และเสาไฟฟ้าโค้นล้ม ใกล้กับครึ่งหนึ่งของเมืองหลวงต้องอยู่อย่างไร้ไฟฟ้า นายโทนี ดีบรัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของหมู่เกาะมาร์แชลล์ กล่าวว่า "มาจูโรนั้นคล้ายกับเขตสงคราม"[75] เรืออย่างน้อย 25 ลำ ถูกลากออกไป ชายฝั่งบางส่วนมีน้ำท่วม[75]

พายุไต้ฝุ่นฮาโลลา

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 (เข้ามาในแอ่ง) – 26 กรกฎาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โกริง
  • วันที่ 12 กรกฎาคม ศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC) ได้รายงานว่า พายุโซนร้อนฮาโลลา ได้ข้ามผ่านเส้นแบ่งเขตวันสากลเข้ามาในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[76]
  • วันที่ 13 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มติดตามพายุโซนร้อนฮาโลลา ซึ่งมีความรุนแรงเทียบเท่าพายุโซนร้อนกำลังแรงในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
  • วันที่ 14 กรกฎาคม ฮาโลลา ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากนั้นฮาโลลา เริ่มที่จะอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 18 กรกฎาคม ฮาโลลา อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ฮาโลลา ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้ง
  • วันที่ 23 กรกฎาคม PAGASA รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นฮาโลลาได้เข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อว่า โกริง (Goring)[77]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม เวลาประมาณ 09:30 UTC (เวลา 16:30 น. ตามเวลาประเทศไทย) ฮาโลลา ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่ไซไก, นะงะซะกิ ของญี่ปุ่น[78]

พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮันนา
  • วันที่ 28 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวบริเวณทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล[79]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม และมันยังพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง JMA จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[80]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม JTWC จึงเริ่มประกาศเตือนพายุและใช้รหัสเรียกขาน 13W[81] ในขณะที่ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เซาเดโลร์[82] และเซาเดโลร์เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความรุนแรงและเมฆครึ้มหนาแน่นที่บดบังศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำ และยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ลมเฉือนแนวตั้งในระดับต่ำ, อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ 31 - 32°ซ และความร้อนในมหาสมุทรระดับสูง[83]
  • วันที่ 1 สิงหาคม JMA จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่เซาเดโลร์ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 2 สิงหาคม สองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 3 สิงหาคม เซาเดโลร์ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลม 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (โดยการตรวจวัดลมใน 1 นาที) และความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (โดยการตรวจวัดลมใน 10 นาที) โดย JMA และมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลางที่ 900 มิลลิบาร์ ทำให้เซาเดโลร์ เป็นพายุที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2557[84]
  • วันที่ 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์คงระดับความรุนแรงในจุดสูงสุดได้เป็นระยะเวลา 18 ชั่วโมง ก่อนจะค่อยๆ อ่อนกำลังลงในเวลา 15:00 UTC (เวลา 22:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)[85]
  • วันที่ 5 สิงหาคม PAGASA ได้บันทึกว่าพายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์เคลื่อนตัวเข้ามาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และใช้ชื่อ ฮันนา[86]
  • วันที่ 7 สิงหาคม เซาเดโลร์ ทวีกำลังแรงขึ้นใหม่อีกครั้ง เนื่องจากระบบเข้าสู่พื้นที่ที่มีเงื่อนไขที่ดี[87][88]

ในวันที่ 2 สิงหาคม เซาเดโลร์ได้พัดเข้าถล่มแผ่นดินในไซปัน ที่ความรุนแรงพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง โดยการประมาณการความเสียหายในเบื้องต้นอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน ค.ศ. 2015)[89] หรือประมาณ 7.03 ร้อยล้านบาท

พายุโซนร้อนโมลาเบ

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 14 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 6 สิงหาคม JMA เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อน ใกล้กับเกาะกวม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และต่อมา JTWC ได้ออกการใช้การแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[90]
  • วันที่ 7 สิงหาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้รหัสเรียกขาน 15W[91] ส่วน JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อน เป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ โมลาเบ[92] ต่อมา JTWC ได้ปรับโมลาเบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ที่ความเร็วลมรอบศูนย์กลางที่ 25 นอต เนื่องจากการหมุนเวียนของลมที่ไม่ดีนัก[93][94]
  • วันที่ 8 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม JTWC ได้ปรับระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง เนื่องจากมีการหมุนเวียนลมที่ดีขึ้นและมีพลังลมในระดับพายุโซนร้อน ในด้านทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของระบบ[95]
  • วันที่ 9 สิงหาคม โมลาเบเคลื่อนที่ไปในพื้นที่ที่มีเงื่อนไขที่ดีขึ้น ซึ่งมีลมเฉือนแนวตั้งในระดับต่ำ[96] อีกชั่วโมงถัดไป การพาความร้อนในระบบลดลง และ JTWC ได้ปรับลดความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นโคนี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 25 สิงหาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อีเนง
  • วันที่ 12 สิงหาคม JTWC ได้เริ่มติดตามการก่อตัวของพื้นที่แปรปรวนในเขตร้อนใกล้กับจังหวัดอูเจลัง, หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไปทางทิศตะวันตก ที่ระยะ 70 nmi (130 km; 81 mi)
  • วันที่ 13 สิงหาคม JMA ได้ปรับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ JTWC ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนให้กับระบบ[97][98]
  • วันที่ 14 สิงหาคม JTWC ได้จัดระดับระบบเป็นพายุดีเปรสชัน และให้รหัสเรียกขาน 16W[99] และอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาพายุมีการจัดระบบการหมุนเวียนลมที่ดีขึ้น ทั้งสองหน่วยงานจึงปรับเพิ่มความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และ JMA ใช้ชื่อ โคนี[100][101]
  • วันที่ 15 สิงหาคม ในช่วงกลางคืน โคนี ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง พร้อมกับการเริ่มอ่อนกำลังลงของลมเฉือน[102][103]
  • วันที่ 16 สิงหาคม ภาพถ่ายดาวเทียมได้แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาขึ้นของตาพายุพร้อมกับแถบเมฆโค้งที่หนาแน่น ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพอากาศในระดับสูงพบว่าลมเฉือนมีกำลังอ่อนและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม[104] ต่อมาไม่นาน ทั้งสองหน่วยงานได้เพิ่มความรุนแรงของโคนีเป็นพายุไต้ฝุ่น[105][106]
  • วันที่ 17 สิงหาคม ภาพถ่ายดาวเทียมได้แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาของตาในรูปแบบของรูเข็มขนาดเล็ก ซึ่งเป็นลักษณะของการมีกำลังแรงขึ้นของพายุ ทำให้โคนีมีกำลังแรงสูงสุดครั้งแรกเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4[107] ต่อมาการไหลเวียนลมได้ถูกรบกวนโดยลมเฉือนที่มีกำลังแรงขึ้น ทำให้โกนีอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[108] ต่อมา โคนี ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ PAGASA จึงใช้ชื่อ อีเนง[109]
  • วันที่ 19 สิงหาคม โคนี เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ทำให้โคนีดูแลรักษาสภาพการหมุนเวียนลมโดยรวมเข้าสู่ตาพายุขนาด 28 ไมล์ทะเลได้[110]
  • วันที่ 20 สิงหาคม JTWC ได้เพิ่มความรุนแรงของโคนีอีกครั้งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ขณะที่พายุอยู่ใกล้กับชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของฟิลิปปินส์

พายุไต้ฝุ่นอัสนี

[แก้]
1516 (JMA)・17W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 สิงหาคม – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นอัสนี
  • วันที่ 12 สิงหาคม ในเวลาใกล้กับที่พายุโคนีกำลังก่อตัวขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มติดตามบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำที่ห่างจากโวทเจ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 157 กิโลเมตร (100 ไมล์) ในวันเดียวกันห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดหมายเลขหย่อมความกดอากาศต่ำชั่วคราวว่า 98W
  • วันที่ 14 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และเริ่มยกระดับความรุนแรงของพายุให้เป็นระดับสูงเมื่อเวลา 14:00 น. (07:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ความแตกต่างของพายุในระดับสูงนั้นอย่างเห็นได้ชัด การพาความร้อนลึกที่มีแถบก่อตัวล้อมรอบการไหลเวียนของหย่อมความกดอากาศต่ำ จึงทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อน ในเวลาเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และเริ่มออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนเช่นกัน เนื่องจากกระแสลมของชั้นโทรโพสเฟียร์เขตร้อนออกไปในทิศทางขั้วโลก จึงทำให้ลมอ่อนลง หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ตัดสินว่าการพัฒนาของพายุลูกนี้ค่อนข้างที่จะช้าในระยะสั้น ๆ และในเวลาต่อมาก็ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับพายุหมุนกึ่งเขตร้อน พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกที่ละติจูดสูง ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้กำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 17W
  • วันที่ 15 สิงหาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า อัสนี นี่นับเป็นตั้งแต่พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน และพายุโซนร้อนกำลังแรงโพดุลในปี พ.ศ. 2550 ที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกันในเวลาตอนกลางคืน การหมุนเวียนของพายุโซนร้อนอัสนีได้ทวีกำลังแรงขึ้น และพัฒนาเป็นเมฆหนาแน่นตรงกลาง ซึ่งทำให้พายุลูกนี้ค่อย ๆ มีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 16 สิงหาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นเช่นกัน หกชั่วโมงต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่ตาพายุปรากฏขึ้น และการไหลเวียนด้านล่างของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การไหลออกของขั้วโลกมีน้อยนิด และโครงสร้างการพาความร้อนของพายุในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือยังคงอสมมาตร
  • วันที่ 17 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเมินความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นอัสนีเทียบเท่ากับพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในขณะที่พายุกำลังปรับแถบการหมุนเวียน จึงทำให้ตาพายุหายไปในช่วงต้นของวันรุ่งขึ้น และคืนนั้นตาพายุก็กลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง
  • วันที่ 18 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในขณะที่การพาความร้อนที่ลึกขึ้นยังคงเคลื่อนตัวต่อไป
  • วันที่ 19 สิงหาคม ลมเฉือนแนวตั้งต่ำมากทำให้มีการไหลออกในแนวรัศมีแกนสมมาตร และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในเวลาต่อมาของวันนั้น ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีความสมมาตร และตาพายุที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตร (35 ไมล์) ที่ขยายออก ดังนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับพายุไต้ฝุ่นอัสนีให้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 20 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นอัสนีกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4
  • วันที่ 21 สิงหาคม ภาพถ่ายดาวเทียมระบุว่าการพาความร้อนเหนือของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีกำลังแรงลดลง และวงจรการเปลี่ยนผนังตาก็ได้เกิดขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ลมเฉือนแนวตั้งเริ่มมีกำลังแรงขึ้นจนถึงในระดับปานกลาง และอากาศแห้งยังคงอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพายุไต้ฝุ่นอัสนี ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าการพาความร้อนของพายุได้ลดลง แรงเฉือนของลมในแนวดิ่ง อากาศแห้งยังคงสลายโครงสร้างการพาความร้อนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพายุไต้ฝุ่นอัสนี และผนังตาของพายุก็ถูกสลายไปด้วยเช่นกัน
  • วันที่ 22 สิงหาคม อากาศแห้งที่มีนัยสำคัญที่ทำให้พายุไม่มีการเพิ่มความรุนแรงอีก และภาพถ่ายดาวเทียมแบบหลายสเปกตรัมบ่งชี้ว่าความร้อนบนยอดเมฆของพายุไต้ฝุ่นอัสนี จึงทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 23 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นอัสนีมีระดับความรุนแรงนั้นไว้ในขณะที่เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเริ่มสัมผัสกับแรงลมเฉือนในแนวดิ่งที่แรงกว่า ซึ่งสัมพันธ์กับความกดอากาศในละติจูดกลางเมื่อเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 24 สิงหาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และไม่กี่ชั่วโมงต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน
  • วันที่ 25 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 17:00 น. (10:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนอัสนีได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนโดยอยู่ห่างจากโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,650 กิโลเมตร (1,025 ไมล์) และพายุถูกบันทึกไว้เป็นครั้งสุดท้ายในขณะที่สลายหายไปในวันต่อมา
ในข้อมูลดาวเทียมสังเกตการณ์แสดงถึงพื้นที่ที่เมฆ และเม็ดฝนสะท้อนสัญญาณที่แรงที่สุดกลับไปยังเรดาร์ดาวเทียม พื้นที่เหล่านี้มีฝนตกหนักที่สุด และมีพายุฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ข้อมูลดาวเทียมสังเกตการณ์ได้เคลื่อนตัวผ่านตาพายุไปทางทิศตะวันตก ทำให้สามารถมองเห็นผนังตาที่ลาดลงด้านนอกของพายุ การพาความร้อน ปริมาณน้ำฝนที่เข้มข้น และโครงสร้างเมฆได้อย่างดี เมฆของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีความสูงประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) เป็นที่จุดสูงสุด[111]

พายุไต้ฝุ่นกีโล

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 (เข้ามาในแอ่ง) – 11 กันยายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 1 กันยายน พายุเฮอร์ริเคนกิโล ได้เคลื่อนตัวผ่านเข้ามาในแอ่งโดย JMA เริ่มติดตามพายุ โดยให้สถานะพายุไต้ฝุ่น[112] ส่วน JTWC ได้ติดตาม กีโล มาตั้งแต่แรก ในสถานะพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และมีการพัฒนาของตาพายุที่รุ่งริ่ง พร้อมการการหมุนเวียนลมที่ไม่สมดุล[113]
  • วันที่ 2 กันยายน กิโล เริ่มที่จะเผชิญกับลมเฉือนในระดับปานกลาง และเคลื่อนตัวต่อไปทางทิศตะวันตกพร้อมเริ่มอ่อนกำลังลง[114]
  • วันที่ 3 กันยายน JTWC ได้เริ่มยกระดับความรุนแรงของกิโล แม้ว่าโครงสร้างของกิโล จะสูญเสียตาพายุไป และการไหลเวียนลมได้ยืดออก[115] ต่อมากิโลเริ่มที่จะมีกำลังขึ้นอีกครั้งพร้อมการไหลเวียนลึกและเมฆเย็นเหนือพายุ จนถูกจัดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับสองในเวลาสั้นๆ [116][117]
  • วันที่ 4 กันยายน ลมเฉือนปานกลางถึงสูงตะวันตกเฉียงใต้เริ่มส่งผลกับการพัฒนาของพายุอีกครั้ง ซึ่ง JMA ได้ประเมินว่าความรุนแรงของกิโล เหลือเพียงความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นเริ่มต้น[118][119]
  • วันที่ 5 กันยายน กิโล มีการพัฒนาขึ้นของตาพายุอีกครั้ง อย่างไรก็ตามพายุยังคงมีความรุนแรงเท่าเดิม[120]
  • วันที่ 6 กันยายน ต่อมาตาพายุได้เริ่มรุ่งริ่งไป[121]
  • วันที่ 7 กันยายน มีการประมาณการของลมอยู่ที่ 90 นอต ซึ่งทำให้กิโลกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 อีกครั้งในเวลาสั้น ๆ[122]
  • วันที่ 8 กันยายน กิโล เริ่มที่จะอ่อนกำลังลงอีกครั้ง ขณะที่ตาพายุถูกกัดเซาะไปโดยการหมุนเวียนพาความร้อนด้านใต้ของพายุ[123] การหมุนเวียนที่ไหมลึกมาก ทำให้มีรายงานว่าพายุเริ่มสลายตัวโดย JTWC ในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา[124]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเอตาว

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 9 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 กันยายน พื้นที่ความแปรปรวนของอากาศเขตร้อนก่อตัวขึ้นเหนือหมู่เกาะแคโรไลน์ ระบบได้เคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ พร้อมกับพัฒนาขึ้น[125]
  • วันที่ 5 กันยายน กระทั่งมีระดับเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอ่อนๆ โดยการตรวจสอบของ JMA[126]
  • วันที่ 6 กันยายน JTWC ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ เช่นเดียวกับ JMA ที่เริ่มติดตามพายุเช่นกัน[127][128] ต่อมา JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของดีเปรสชันไปเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เอตาว ขณะที่ JTWC ให้รหัสเรียกขานว่า 18W[129][130] ลักษณะแรกของท่อรอบศูนย์กลางการหมุนเวียนไม่ดีนัก[131] ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า เอตาว มีศูนย์กลางการพาความร้อนที่เพิ่มขึ้นอยู่ใกล้กับลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำรอบพายุ[132]

ในจังหวัดโทะชิงิ มีผู้เสียชีวิตอายุ 20 ปีคนหนึ่ง เสียชีวิตจากแผ่นดินถล่มภายในเหมือง ในขณะที่เขาทำงานกับเครื่องจักรหนักอยู่[133]

พายุโซนร้อนหว่ามก๋อ

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 15 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 10 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวอยู่ภายในร่องมรสุม ห่างจากมะนิลา, ฟิลิปปินส์ ไปทางทิศตะวันตก ที่ระยะ 560 กม. (350 ไมล์) เหนือทะเลจีนใต้
  • วันที่ 11 กันยายน และได้รับการจัดระดับโดย JTWC ที่หย่อมความกดอากาศต่ำ[134]
  • วันที่ 13 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำได้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยการจัดระดับของ JMA[135] ต่อมา JTWC ได้เริ่มออกการเตือนภัย และใช้รหัสเรียกขาน 19W[136][137] หลังจากนั้นทั้งสองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ หว่ามก๋อ[138][139]
  • วันที่ 14 กันยายน การหมุนเวียนของลมลดลงเล็กน้อย และย้ายออกจากบริเวณใกล้ศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม พายุยังอยู่ได้จากสภาพแวดล้อมที่ดี[140] อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา JTWC รายงานว่า จากภาพเคลื่อนไหวของพายุ ว่า ศูนย์กลางบางส่วนได้สัมผัสกับลมเฉือน และเกิดการยับยั้งการพัฒนาต่อไปของพายุ พร้อมกับเงื่อนไขที่ดีที่เริ่มหายไป[141]
  • วันที่ 15 กันยายน หลังจากนั้น JTWC ได้ออกประกาศคำเตือนสุดท้ายกับพายุ[142] ส่วน JMA ได้ปรับลดความรุนแรงของหว่ามก๋อ เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และออกคำเตือนสุดท้าย[143]
  • วันที่ 16 กันยายน เศษที่หลงเหลือของหว่ามก๋อยังคงเคลื่อนต่อไปทางตะวันตกบนแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง และข้ามผ่านเส้นเมอริเดียนที่ 100 ตะวันออกในที่สุด

หว่ามก๋อได้พัดขึ้นบนแผ่นดินที่ทางใต้ของดานัง, เวียดนาม พร้อมทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณที่พายุพัดผ่าน[144] ซึ่งจากน้ำท่วมในเวียดนามทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน[145] และสร้างความเสียหายให้กับชาวประมงในอำเภอลี้เซิญ เกิน 1 พันล้านด่ง (44,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท)[146] และยังสร้างความเสียหายให้กับระบบกริดไฟฟ้าในเวียดนามกว่า 4.9 พันล้านด่ง (218,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.8 ล้านบาท)[147] ในจังหวัดกว๋างนาม หว่ามก๋อก่อให้เกิดความเสียหายในระดับปานกลาง ในอำเภอดุ๋ยเซวียน มีความสูญเสียทางการเกษตรกว่า 2 พันล้านด่ง (89,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.2 ล้านบาท) และในอำเภอนองเซิญ ความเสียหายทั้งหมด 1 พันล้านด่ง (44,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท)[148] การประมาณการความเสียหายทั้งหมดอย่างเป็นทางการในจังหวัดทัญฮว้า จากเหตุน้ำท่วมจากพายุมากถึง 287 พันล้านด่ง (12.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.6 ร้อยล้านบาท)[149] น้ำท่วมในกัมพูชา สร้างผลกระทบให้กับประชาชนหลายพันคนและมีการแจ้งอพยพเป็นจำนวนมาก[150] และเศษที่หลงเหลือของหว่ามก๋อ ยังก่อให้เกิดน้ำท่วมใน 15 จังหวัดทั่วประเทศไทย และทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน[151][152] มีบ้านเรือนอย่างน้อย 480 หลังได้รับความเสียหาย และสร้างความเสียหายเกิน 20 ล้านบาท (561,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[152] โดยผู้เสียชีวิต 2 คนเป็นชาวประมง ซึ่งเสียชีวิตจากการที่เรือของพวกเขาล่ม ขณะออกเรือตอนพายุเข้าที่อำเภอบ้านแหลม ขณะที่ยังมีผู้สูญหายอีก 3 ราย[153]

ผลกระทบกับประเทศไทย

    • วันที่ 14 กันยายน ที่จังหวัดระนองได้รับอิทธิพลของพายุ ทำให้เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่อง[154] ในขณะที่จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง กล่าวว่า พายุอาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเขตตัวเมืองนครราชสีมาได้[155]
    • วันที่ 15 กันยายน ที่จังหวัดศรีสะเกษ มีฝนตกหนัก มีต้นไม้หนักโค่นและเกิดน้ำท่วมขัง[156] ขณะที่กรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำได้เริ่มเฝ้าติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งพร่องน้ำในคลองต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือฝนตก[157] ส่วนที่ท่าอากาศยานอุบลราชธานี มีฝนตกหนักและหมอกลงจัด โดยมีสายการบินต่างๆ ยกเลิกเที่ยวบินหรือลงได้อย่างล่าช้า ส่วนในอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีถนนหลายสายถูกน้ำท่วมขัง แต่ในอำเภออื่น ได้รับประโยชน์จากน้ำฝนที่ตกลงมาในนาข้าว[158]
    • วันที่ 16 กันยายน อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศตำที่อ่อนกำลังจากดีเปรสชันทำให้เกิดฝนตกและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่พัทยา และอำเภอบางละมุง และต่อมาในช่วงกลางคืนสถานการณ์จึงเข้าสู่ภาวะปกติ[159]
    • วันที่ 18 กันยายน ที่อำเภอหัวหิน มีฝนตกลงมาอย่างหนักทำให้เกิดน้ำท่วมขังสูง[160]

พายุไต้ฝุ่นกรอวาญ

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 21 กันยายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 13 กันยายน เวลาเดียวกันกับพายุอีกลูก ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนหว่ามก๋อ พายุดีเปรสชันอีกลูกก่อตัว และได้รับการตรวจสอบโดย JMA และ JTWC ห่างจากฐานทัพอากาศแอนเดอร์สัน, กวม ไปทางทิศตะวันออก ที่ระยะ 806 กม. (500 ไมล์)[161][162]
  • วันที่ 14 กันยายน โดยต่อมา JTWC ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[163] และ JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้รหัสเรียกขานว่า 20W[164]
  • วันที่ 15 กันยายน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการหมุนเวียนที่ศูนย์กลาง ทั้งสองหน่วยงานจึงปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ กรอวาญ[165][166]
  • วันที่ 16 กันยายน กรอวาญแสดงให้เห็นว่ามีการหมุนเวียนของระบบลมที่เพิ่มขึ้น และมีการหมุนเวียนหอเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ โดย JMA ได้ปรับความความรุนแรงของกรอวาญ เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[167][168] ภาพจากคลื่นไมโครเวฟแสดงให้เห็นกลุ่มฝนที่โค้งห่อตาที่ดี และอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นในพื้นที่ของกรอวาญ เป็นตัวช่วยที่ทำให้มันมีความรุนแรงมากขึ้น[169] ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้ ทั้งสองหน่วยงานจึงปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่น[170][171] ต่อมากรอวาญ ได้เข้าสู่พื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีที่ลมเฉือนเริ่มลดลง[172]
  • วันที่ 17 กันยายน JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 และพบการพัฒนาของตาพายุที่สมมาตรมากขึ้น หลังจากนั้นกรอวาญได้มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[173]
  • วันที่ 20 กันยายน กรอวาญ เปลี่ยนผ่านเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นตู้เจวียน

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮนนี
  • วันที่ 17 กันยายน JTWC เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายใน 48 ชั่วโมง ห่างจากอูเจลังไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้กึ่งตะวันออก ที่ระยะ 220 กม.[174]
  • วันที่ 20 กันยายน การพัฒนาของพายุนั้นพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดย JMA ได้ปรับระดับของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และ JTWC ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[175]
  • วันที่ 21 กันยายน ระบบค่อย ๆ พัฒนา และเกิดการหมุนเวียนพาความร้อนที่สมมาตร ทั้งสองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และมีรหัสเรียกขานว่า 21W[176][177][178]
  • วันที่ 22 กันยายน ลมเฉือนเป็นผลให้การไหลเวียนของ 21W เริ่มจะที่โล่งขึ้น อย่างไรก็ตามการหมุนเวียนยังมีอยู่ทางตะวันตกของศูนย์การหมุนเวียน[179] แม้จะมีลมเฉือน แต่การหมุนเวียนของพายุยังคงมีต่อไปและ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ ตู้เจวียน[180]
  • วันที่ 23 กันยายน JTWC ปรับความรุนแรงเช่นเดียวกับ JMA[181] ต่อมา ตู้เจวียน ได้เคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า เฮนนี (Jenny)[182] ในขณะเดียวกัน ตู้เจวียน ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้ามาก โดยภาพถ่ายทางดาวเดียวแสดงให้เห็นถึงกระแสลมวนขนาดเล็ก รอบการไหลเวียนขนาดใหญ่[183][184]
  • วันที่ 24 กันยายน ตู้เจวียนเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่ดี และ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของตู้เจวียนเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[185][186] และมีการพีฒนาของโครงสร้างรอบตาพายุที่หนาแน่น ทั้งสองหน่วยงานจึงปรับระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่น[187][188]
  • วันที่ 26 กันยายน แถบตัดโค้งหนาแน่นรอบตาพายุขนาดใหญ่ โดยมีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2[189] การไหลเวียนที่ตัดลึกเข้าไปในตาพายุ ทำให้ตาพายุเกิดการขยายตัวออก[190] JTWC จะปรับระดับความรุนแรงของตู้เจวียนอย่างช้า ๆ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่ามีการไหลเวียนของลมที่ดีขี้นและรุนแรง ด้วยโครงสร้างยอดเยี่ยมขนาด 38 ไมล์ทะเล ระบบจึงมีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[191][192]
  • วันที่ 27 กันยายน ตู้เจวียน เริ่มที่จะอยู่ภาพใต้การระเบิด และ JTWC ได้เริ่มปรับความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4[193]
  • วันที่ 28 กันยายน ตู้เจวียน มีความรุนแรงสูงสุดอย่างรวดเร็วที่ความเร็วลมสูงสุดใน 1 นาที ที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความกดอากาศต่ำสุดที่ 925 มิลลิบาร์ ขณะที่พายุไต้ฝุ่นมีความสมมาตร และมีวงแหวนรอบตากว้าง 43 ไมล์ทะเล[194] อย่างไรก็ตาม ตาที่สมมาตรของพายุเริ่มจะมีเมฆเข้ามาเติมเต็ม เนื่องจากความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาของไต้หวัน และ JTWC ได้เริ่มลมความรุนแรงของมัน และล้มเหลวในการพัฒนาเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น[195] ภาพถ่ายดาวเทียมย่านอินฟราเรดเพิ่มเติม แสดงให้เห็นว่า ต่อมาตู้เจวียนได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในขณะที่พายุกำลังขึ้นฝั่งที่หนานอัว, อี๋หลาน[196][197]
  • วันที่ 29 กันยายน ต่อมาตู้เจวียนได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 พร้อมกับ JTWC ที่ออกคำเตือนสุดท้ายกับระบบ[198][199] ในขณะเดียวกัน พายุได้ขึ้นฝั่งรอบสองที่ซิวหยู, ปู่เถียน ในมณฑลฝูเจี้ยน[200] และ JMA ได้ลดความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[201] และพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา เนื่องจากพายุอยู่บนแผ่นดิน[202] และเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในที่สุด[203]

พายุไต้ฝุ่นมูจีแก

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 กันยายน – 5 ตุลาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาบายัน
  • วันที่ 28 กันยายน กลุ่มของเมฆพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำใกล้กับปาเลา พร้อมกับองค์ประกอบอื่น ๆ
  • วันที่ 30 กันยายน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[204]
  • วันที่ 1 ตุลาคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ปรับระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน และใช้ชื่อ กาบายัน (Kabayan)[205] ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มติดตามระบบ และใช้รหัสเรียกขาน 22W พร้อมออกประกาศเตือนภัย[206]
  • วันที่ 2 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) ได้เริ่มติดตามพายุ[207] ทุกหน่วยงานปรับระดับความรุนแรงของระบบ เป็นพายุโซนร้อน และ JMA ได้ใช้ชื่อทางการว่า มูจีแก[208][209][210] ต่อมา มูจีแก ได้ขึ้นฝั่งที่จังหวัดออโรรา และ JTWC ได้ปรับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[211] ต่อมา มูจีแก ได้เข้าสู่ทะเลจีนใต้ ซึ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลอบอุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของพายุ ซึ่ง JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และ JMA ได้ปรับความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[212][213]
  • วันที่ 3 ตุลาคม ด้วยเงื่อนไขที่ดีทำให้เกิดการพัฒนาของพายุ และการพัฒนาของตาพายุ ซี่งพายุได้รับการจัดระดับเป็นพายุไต้ฝุ่น[214][215]

ในฟิลิปปินส์ ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตาม มีการรายงานมูลค่าความเสียหายที่ 1.12 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (24.05 พันดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.73 แสนบาท)[216] และเมื่อ มูจีแก เข้าฝั่งในประเทศจีนตอนใต้ พายุได้ทำให้เกิดพายุทอร์นาโด ในเมืองฝอซาน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไป 3 คน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 7 ตุลาคม มีรายงานผู้เสียชีวิตทั้งหมดจำนวน 20 ราย[217]

พายุโซนร้อนกำลังแรงฉอยหวั่น

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 7 ตุลาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 1 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้กับเกาะเวก[218]
  • วันที่ 2 ตุลาคม การไหลเวียนลมของระบบขยายตัวขึ้น และ JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของระบบ จากพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ฉอยหวั่น อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ยังคงระดับความรุนแรงอยู่ที่การแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[219][220]
  • วันที่ 3 ตุลาคม ต่อมา JTWC ได้เริ่มออกคำแนะนำสำหรับระบบ พร้อมใช้รหัสเรียกขาน 23W และจัดระดับระบบเป็นพายุโซนร้อน

พายุไต้ฝุ่นคปปุ

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 23 ตุลาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลันโด
  • วันที่ 11 ตุลาคม พื้นที่การหมุนเวียนลมยังอยู่ห่างจากโปห์นเปย์ไปทางเหนือ ที่ระยะ 528 กม. (328 ไมล์) และได้ก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อน โดยการตรวจสอบของศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น[221] อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันอย่างอ่อน[222]
  • วันที่ 12 ตุลาคม JTWC ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และ JMA เริ่มออกประกาศเตือนภัย[223][224]
  • วันที่ 13 ตุลาคม ต่อมา JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้รหัสเรียกขาน 24W[225] ถึงแม้ว่าจะมีลมเฉือน 24W ก็ยังพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ โดยสร้างเมฆหนาปกคลุมบริเวณศูนย์กลางพายุ[226] ดังนั้น จากการที่พายุมีกำลังแรงขึ้น JMA จึงได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ คปปุ[227][228] ขณะที่คปปุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พบว่ามีการไหลเวียนบางส่วนถูกรบกวนจากแรงต่อเนื่อวของลมเฉือน แต่อย่างไรก็ตาม พายุก็ยังคงมีกำลังแรงขึ้นเล็กน้อย[229] ต่อมา PAGASA ได้เริ่มออกคำแนะนำเกี่ยวกับคปปุ และใช้ชื่อลันโด เนื่องจากพายุเคลื่อนเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของตน[230]
  • วันที่ 15 ตุลาคม JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และระบบเริ่มที่จะมีแถบเมฆตัดเข้าสู่ศูนย์กลางการไหลเวียน[231][232] ต่อมา คปปุ ได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น เนื่องจากเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่ดีด้วยลมเฉือนที่น้อยลง และการพาความร้อนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสังเกตเห็นตาพายุได้จากภาพถ่ายในคลื่นไมโครเวฟ[233][234]
  • วันที่ 16 ตุลาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2[235]
  • วันที่ 17 ตุลาคม ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในทะเลฟิลิปปินส์มีอุณหภูมิสูงกว่า 31°ซ ทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดก็เกิดการพัฒนาขึ้นของตาพายุ และถูกจัดอยู่ในประเภทพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[236] ต่อมาก็ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4[237] อีกหกชั่วโมงต่อมา คปปุได้ทวีกำลังแรงถึงจุดสูงสุดเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 พร้อมกับตาพายุขนาด 20 ไมล์ทะเลที่ปรากฏชัดด้วยเงื่อนไขที่ดี และมีความกดอากาศต่ำสุดที่ 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท)[238][239] ซึ่งในขั้นต้น JTWC ได้ประเมินว่า คปปุ จะทวีกำลังถึงระดับ 5 แต่พายุได้เข้ามีปฏิกิริยากับแผ่นดินทางตะวันออกของฟิลิปปินส์เสียก่อน[240]

พายุไต้ฝุ่นจำปี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 25 ตุลาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของกวม และเคลื่อนตัวไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือกึ่งตะวันตก
  • วันที่ 14 ตุลาคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า จำปี
  • วันที่ 16 ตุลาคม ระบบได้เคลื่อนผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และเริ่มโค้งขึ้นไปทางเหนือ และต่อมาระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 18 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ประมาณการความเร็วลมสูงสุดไว้ที่ 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.)
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นเริ่มอ่อนกำลังลงขณะที่เคลื่อนเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามระบบก็ได้กลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง[241] และมีการก่อตัวขึ้นของตาพายุขนาดใหญ่ที่ 110 กิโลเมตร (70 ไมล์)[242]
  • วันที่ 25 ตุลาคม พายุได้อ่อนกำลังลงอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ระบบเร่งเคลื่อนตัวไปในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ซึ่งมีการอ่อนกำลังจนมีแรงต่ำกว่าพายุไต้ฝุ่นก่อนหน้านั้นแล้ว
  • วันที่ 26 ตุลาคม เศษที่หลงเหลือของระบบ ได้เคลื่อนข้ามผ่านเส้นแบ่งวันสากล[241]

พายุไต้ฝุ่นยีนฟ้า

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 27 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มารีลีน
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวเหนือบริเวณของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ต่อมาอีกมากกว่าสองวันศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ระบุว่า ความกดอากาศต่ำนี้มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า[243]
  • วันที่ 17 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่นได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน โดยได้รหัสเรียกขานจาก JTWC ว่า 27W[244][245] อีกหกชั่วโมงต่อมา ความลึกของการพาความร้อนเกิดขึ้นบนพื้นฐานจากภาพถ่ายดาวเทียม โดย JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน[246] และต่อมา JMA ได้เพิ่มความรุนแรงของระบบเช่นกัน และใช้ชื่อ ยีนฟ้า[247]
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน ระบบทวีกำลังแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ JMA ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[248] ต่อมาระบบเริ่มมีการปรับปรุงที่ดีขึ้น และเริ่มแสดงให้เห็นถึงตาพายุที่เต็มไปด้วยเมฆจึงถูก JTWC ปรับเพิ่มความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นกำลังอ่อน[249][250]

พายุไต้ฝุ่นเมอโลร์

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 ธันวาคม – 17 ธันวาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โนนา
  • วันที่ 9 ธันวาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเมอโลร์ มันทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้า ๆ
  • วันที่ 12 ธันวาคม กระทั่งระบบได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น ลักษณะคล้าย ๆ กับมูจีแก ถัดมา 12 ชั่วโมง ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ปรับความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาทีที่ 210 กม./ชม. และสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประมาณกาความกดอากาศต่ำสุดที่ 950 มิลลิบาร์ ในวันนี้เมอโลร์ได้เคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อว่า โนนา มันได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่อิสเทิร์นซามาร์ มุ่งหน้าไปทางภูมิภาคบิชอล และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งที่สอง มันได้เคลื่อนผ่านทะเลซิบูยัน และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งกว่า 4 ครั้ง
  • วันที่ 17 ธันวาคม ระบบเริ่มสลายตัวอยู่ในทะเลจีนใต้

เนื่องจากผลกระทบมหาศาลจากพายุไต้ฝุ่นในจังหวัดของเซาท์เทิร์นลูซอน และ วิซายาส ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3แห่งฟิลิปปินส์ จึงได้ออกประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติแห่งชาติในประเทศ[251]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนชังมี

[แก้]
ชื่อของ PAGASA: เซเนียง
  • วันที่ 1 มกราคม พายุดีเปรสชันชังมี (เซเนียง) มีกำลังอยู่ในทะเลซูลูทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย[252] ในระหว่างวันนั้นระบบก็กำลังเคลื่อนย้ายไปทางทิศใต้ ก่อนที่จะขึ้นบนแผ่นดินมาเลเซีย[252]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 1

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 2 – 4 มกราคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 มกราคม JMA รายงานว่ามีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของบรูไน ซึ่งกำลังเป็นพื้นที่ที่ดีสำหรับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน[253][254]
  • วันที่ 3 มกราคม ระบบได้เคลื่อนเข้ามาในเขตที่มีลมเฉือนแนวตั้งในระดับปานกลาง พร้อมกับการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศได้ย้ายไปทางทิศตะวันตกของการหมุนเวียนระดับต่ำ[255]
  • วันที่ 4 มกราคม JMA ออกคำเตือนสุดท้ายของระบบ ในขณะที่ระบบได้กระจายไปในทะเลจีนใต้ใกล้กับชายแดนประเทศมาเลเซีย-อินโดนีเซีย[256][257][258]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 11

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 1 – 2 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 1 กรกฎาคม JMA เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันกำลังอ่อนเหนือหมู่เกาะคาโลไลน์
  • วันที่ 2 กรกฎาคม ระบบถูกพายุไต้ฝุ่นจันหอมดูดรวมเข้าไป[259]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 15

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 14 – 16 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 14 กรกฎาคม JMA เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันกำลังอ่อนที่อยู่ห่างจากฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือกึ่งตะวันออกเพียงไม่กี่กิโลเมตร[260] อย่างไรก็ตามระบบก็หายไป[261]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ต่อมา JMA ได้จัดอันดับระบบเป็นพายุดีเปรสชันอีกครั้ง[262] และระบบเคลื่อนไปทางเหนือ
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ระบบถูกดูดกลืนไปโดยพายุไต้ฝุ่นนังกา[263]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 16

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 18 – 21 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 18 กรกฎาคม มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกลูกหนึ่งก่อตัวใกล้กับญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ระบบได้สลายตัวไปใกล้กับญี่ปุ่นและทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี[264][265]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 17

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 20 – 21 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

JMA ได้ตรวจพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกลูกหนึ่งในช่วงเวลาสั้น ๆ บริเวณเหนือประเทศจีน บริเวณจังหวัดกว่างตง[266][267]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 14W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 1 สิงหาคม JMA ได้รายงานว่า พบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวอยู่ห่างจากโตเกียว, ญี่ปุ่น ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่ระยะ 940 km (580 mi)[268] ส่วน JTWC ได้ประกาศใช้การแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในวันเดียวกันนั้น[269] ศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำของระบบนั้นอยู่ลึกมากกว่าพายุที่อยู่ทางตะวันออก JTWC จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็น พายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้รหัสเรียกขาน 14W[270]
  • วันที่ 4 สิงหาคม JTWC ออกคำเตือนสุดท้ายของระบบ ขณะที่พายุเคลื่อนตัวอย่างอ้อยอิ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโยะโกะซุกะ, ญี่ปุ่น[271]
  • วันที่ 5 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม JMA ยังคงติดตามพายุจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม

พายุเฮอร์ริเคนโลค

[แก้]
  • วันที่ 26 สิงหาคม พายุเฮอร์ริเคนโลค ได้ข้ามผ่านเส้นแบ่งวันสากลมาจากแอ่งแปซิฟิกกลาง พร้อมกับกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ระบบจึงไม่ได้รับการติดตามต่อทั้งจาก JTWC และ JMA อย่างไรก็ตามศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลางยังคงติดตามระบบไปจนออกคำเตือนครั้งสุดท้าย[272]
  • วันที่ 27 สิงหาคม เศษที่หลงเหลือของระบบพายุถูกดูดกลืนไปโดยพายุอัสนี

พายุดีเปรสชันเขตร้อนแปด-ซี

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 6 (เข้ามาในแอ่ง) – 8 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 6 ตุลาคม เศษที่หลงเหลือของพายุดีเปรสชันเขตร้อน 08ซี ได้เคลื่อนตัวเข้ามาแอ่งจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง และได้รับการจัดอันดับความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[273]
  • วันที่ 8 ตุลาคม JMA ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของระบบเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 34

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 19 – 22 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 19 ตุลาคม JMA ได้เริ่มติดตามการก่อตัวของพายุดีเปรสชันเขตร้อน ใกล้กับเกาะเวกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่ระยะ 375 กม. (235 ไมล์)[274] ระบบตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการพัฒนานัก ซึ่งมีลมเฉือนระดับปานกลางและการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศที่อ่อนแอเกินกว่าที่จะทวีกำลังแรงมากกว่าพายุดีเปรสชัน[275]
  • วันที่ 22 ตุลาคม ระบบได้เคลื่อนตัวอยู่ใกล้กับระบบพายุไต้ฝุ่นจำปี ก่อนจะหายไปจากการบันทึกของ JMA[276][277]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 26W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 22 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 20 ตุลาคม ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วม เริ่มติดตามเส้นทางของหย่อมความกดอากาศต่ำ ห่างจากเกาะเวกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้กึ่งตะวันตกที่ระยะ 410 กม.[278] ในเวลาเดียวกัน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ติดตามระบบในฐานนะพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อน[279] และต่อมา JTWC ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน[280]
  • วันที่ 21 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนมีลักษณะโดยรวมดีขึ้น โดย JMA ได้เริ่มออกคำเตือนกับระบบ[281]
  • วันที่ 22 ตุลาคม JTWC ออกคำเตือนสำหรับระบบ และใช้รหัสเรียกขานว่า 26W[282] ระบบได้คงรักษาความรุนแรงของมันเอง แม้จะมีการรบกวนจากแถบการพาความร้อนอย่างวูบวาบ และศูนย์กลางการหมุนเวียนลมยังตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร่อแร่ ทำให้ระบบเริ่มเปิดออก[283] 26W สามารถสร้างความรุนแรงในระดับพายุโซนร้อนกำลังอ่อนได้ แต่ระบบได้เข้าปะทะกับเส้นอากาศเสถียรและแนวปะทะอากาศเย็นกำลังแรง ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้ออกการเตือนภัยสุดท้าย และระบบได้อ่อนกำลังลง และเปลี่ยนผ่านเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในที่สุด[284]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 29W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 18 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โอนโยก
  • วันที่ 14 ธันวาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังก่อตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไมโครนีเชีย และต่อมาสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้จัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 15 ธันวาคม ระบบได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า โอนโยก (Onyok) อีกทั้งยังได้รับรหัสเรียกขานว่า 29W จากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมอีกด้วย
  • วันที่ 16 ธันวาคม พายุเริ่มมีการหมุนเวียนที่ไม่เป็นระเบียบและเริ่มสลายตัว
  • วันที่ 18 ธันวาคม ในที่สุดสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ออกคำเตือนสุดท้ายกับระบบ ขณะที่ระบบพัดขึ้นฝั่งที่คอมโพสเทลาวัลเลย์ เช่นเดียวกับศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ต่อมาระบบได้สลายตัวลงบริเวณแซมบวนกาเดลซัวร์

ตามการรายงานข่าวระบุว่า พายุก่อให้เกิดลมพัดแรงและฝนตกหนักทั่วเกาะมินดาเนา

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 39

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 20 – 24 ธันวาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[285] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[286] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[285] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[286] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[287] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[288] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2558 คือ เมขลา จากชุดที่ 3 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ เมอโลร์ จากชุดที่ 4 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 25 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2558
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 3 1501 เมขลา
(Mekkhala)
ชุดที่ 3 1508 คูจิระ
(Kujira)
ชุดที่ 3 1516 อัสนี
(Atsani)
ชุดที่ 4 1524 คปปุ
(Koppu)
1502 ฮีโกส
(Higos)
1509 จันหอม
(Chan-hom)
1518 เอตาว
(Etau)
1525 จำปี
(Champi)
1503 บาหวี่
(Bavi)
1510 หลิ่นฟา
(Linfa)
1519 หว่ามก๋อ
(Vamco)
1526 ยีนฟ้า
(In-fa)
1504 ไมสัก
(Maysak)
1511 นังกา
(Nangka)
ชุดที่ 4 1520 กรอวาญ
(Krovanh)
1527 เมอโลร์
(Melor)
1505 ไห่เฉิน
(Haishen)
1513 เซาเดโลร์
(Soudelor)
1521 ตู้เจวียน
(Dujuan)
1506 โนอึล
(Noul)
1514 โมลาเบ
(Molave)
1522 มูจีแก
(Mujigae)
1507 ดอลฟิน
(Dolphin)
1515 โคนี
(Goni)
1523 ฉอยหวั่น
(Choi-wan)

หมายเหตุ: รหัสพายุสากลที่ 1512 และ 1517 ถูกใช้กับพายุโซนร้อนฮาโลลา (Halola) และพายุเฮอร์ริเคนกีโล (Kilo) ตามลำดับ โดยพายุดังกล่าวเข้ามาในแอ่ง กลายเป็นพายุโซนร้อนฮาโลลา (ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นฮาโลลา) และพายุไต้ฝุ่นกีโล ตามลำดับ

ฟิลิปปินส์

[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[289] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ด้วย[289] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น เบตตี (Betty), เจนนี (Jenny), แมริลิน (Marilyn), โนนา (Nona), เปร์ลา (Perla) และ ซาราฮ์ (Sarah) ที่ถูกนำมาแทน เบเบง (Bebeng), ฮัวนิง (Juaning), โนโนย (Nonoy), เปดริง (Pedring) และ เซนโดง (Sendong) ที่ถูกถอนไปตามลำดับ[289] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2558
อามัง (Amang) (1501) ฟัลโกน (Falcon) (1509) กาบายัน (Kabayan) (1522) เปร์ลา (Perla) (ไม่ถูกใช้) อูร์ซูลา (Ursula) (ไม่ถูกใช้)
เบตตี (Betty) (1503) โกริง (Goring) (1512) ลันโด (Lando) (1524) กีเยล (Quiel) (ไม่ถูกใช้) บีริง (Viring) (ไม่ถูกใช้)
เชเดง (Chedeng) (1504) ฮันนา (Hanna) (1513) แมริลิน (Marilyn) (1526) ราโมน (Ramon) (ไม่ถูกใช้) เวง (Weng) (ไม่ถูกใช้)
โดโดง (Dodong) (1506) อีเนง (Ineng) (1515) โนนา (Nona) (1527) ซาราฮ์ (Sarah) (ไม่ถูกใช้) โยโยย (Yoyoy) (ไม่ถูกใช้)
เอไก (Egay) (1510) เจนนี (Jenny) (1521) โอนโยก (Onyok) ตีโซย (Tisoy) (ไม่ถูกใช้) ซิกซัก (Zigzag) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาเบ (Abe) (ไม่ถูกใช้) ชาโร (Charo) (ไม่ถูกใช้) เอสโตย (Estoy) (ไม่ถูกใช้) เฮนิง (Gening) (ไม่ถูกใช้) อีร์มา (Irma) (ไม่ถูกใช้)
เบร์โต (Berto) (ไม่ถูกใช้) ดาโด (Dado) (ไม่ถูกใช้) เฟลีโยน (Felion) (ไม่ถูกใช้) เฮร์มัน (Herman) (ไม่ถูกใช้) ไฮเม (Jaime) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

[แก้]

แต่เติมชื่อ โนโนย (Nonoy) นั้นอยู่ในรายชื่อชุดนี้ด้วย แต่ด้วยเหตุผลทางการเมือง จากการที่ชื่อดังกล่าวออกเสียงคล้ายกับ โนยโนย ซึ่งเป็นชื่อเล่นของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในขณะนั้น ทำให้ชื่อดังกล่าวถูกแก้ไขและเปลี่ยนใหม่ด้วยชื่อ โนนา (Nona) กลางเดือนธันวาคม ในขณะที่พายุโซนร้อนเมโลร์กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์[290][291]

ภายหลังจากฤดูกาล สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ถอนชื่อ ลันโด (Lando) และ โนนา (Nona) ออกจากชุดรายชื่อ เนื่องจากสร้างความเสียหายกับประเทศฟิลิปปินส์รวมกว่า 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์[292] โดยเลือกชื่อ ลีไวไว (Liwayway) และ นิมฟา (Nimfa) ขึ้นมาแทนที่ชื่อที่ถูกถอนไปตามลำดับ[292]

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยชื่อพายุ ความรุนแรง บริเวณที่มีผลกระทบ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหาย ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตจากพายุนั้นรวมไปถึงตั้งแต่ครั้งเมื่อพายุยังเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเปลี่ยนผ่านไปเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
TD 2 – 4 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) เกาะบอร์เนียว &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เมขลา
(อามัง)
13 – 21 มกราคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) รัฐแยป, ฟิลิปปินส์ &00000000089200000000008.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [293][294]
ฮีโกส 6 – 12 กุมภาพันธ์ พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
บาหวี่
(เบตตี)
10 – 21 มีนาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาร์แชลล์,
หมู่เกาะมาเรียนา, ฟิลิปปินส์
&00000000022500000000002.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [295][296]
ไมสัก
(เชเดง)
26 มีนาคม – 7 เมษายน พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 910 hPa (26.87 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย, ฟิลิปปินส์ &00000000085000000000008.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5
ไห่เฉิน 2 – 6 เมษายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ &0000000000200000000000200 พันดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [297]
โนอึล
(โดโดง)
2 – 12 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ไต้หวัน,
ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น
&000000002376600000000023.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2 [298]
ดอลฟิน 6 – 20 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา &000000001350000000000013.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [299]
คูจิระ 19 – 25 มิถุนายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) เวียดนาม, จีน &000000001598000000000016 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [66][67][300]
จันหอม
(ฟัลโกน)
29 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ไต้หวัน,
จีน, เกาหลี, รัสเซีย
&00000015800000000000001.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 18 [301][302]
TD 1 – 2 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
หลิ่นฟา
(เอไก)
1 – 10 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน
จีน, เวียดนาม
&0000000284800000000000285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 [73][303]
นังกา 2 – 18 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 925 hPa (27.31 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาร์แชลล์, หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น
&0000000200000000000000200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2 [304]
ฮาโลลา
(โกริง)
July 13 – 26 พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. (90 mph) 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) เกาะเวก, ญี่ปุ่น, เกาหลี &00000000012400000000001.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [305]
TD 14 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 15 – 16 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 18 – 20 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 20 – 21 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) จีน &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
12W 22 – 25 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 65 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เซาเดโลร์
(ฮันนา)
29 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีนตะวันออก
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000040894680000000004.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 59 [89][306]
[307][308][309]
14W 1 – 5 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
โมลาเบ 6 – 14 สิงหาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
โคนี
(อีเนง)
13 – 25 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ฟิลิ
ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี
จีน, รัสเซีย
&00000010474000000000001.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 74 [310][311]
อัสนี 14 – 25 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
กีโล 1 – 11 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.06 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, รัสเซีย &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เอตาว 6 – 9 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, รัสเซีย &00000024100000000000002.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 8 [312]
หว่ามก๋อ 13 – 15 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) เวียดนาม, ลาว
กัมพูชา, ไทย, อินโดจีน
&000000001406700000000014.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 15 [145][149][151]
[152][153]
กรอวาญ 13 – 21 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ตู้เจวียน
(เจนนี)
19 – 30 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ไต้หวัน, จีน
&0000000406600000000000407 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [313]
มูจีแก
(กาบายัน)
30 กันยายน – 5 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม &00000042610000000000004.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 29 [314][315][309]
ฉอยหวั่น 1 – 7 ตุลาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 965 hPa (28.35 นิ้วปรอท) เกาะเวก, ญี่ปุ่น, รัสเซีย &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
08C 6 – 7 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
คปปุ
(ลันโด)
12 – 21 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมุ่เกาะมาเรียนา, ฟิลิปปินส์
ไต้หวัน, ญี่ปุ่น
&0000000313000000000000313 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 62 [316][317]
จำปี 13 – 25 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาร์แชลล์, หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
TD 19 – 21 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
26W 19 – 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ยีนฟ้า
(มารีลีน)
16 – 27 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย, กวม &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เมอโลร์
(โนนา)
10 – 17 ธันวาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ &0000000148300000000000148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 51 [318]
29W
(โอนโยก)
14 – 19 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ &000000000002330000000023.3 พันดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [319]
TD 20 – 23 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) เกาะบอร์เนียว, มาเลเซีย &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
40 ลูก 2 มกราคม – 23 ธันวาคม   215 กม./ชม. 900 hPa
(26.58 นิ้วปรอท)
  &000001482904830000000014.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 350


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zhang, W.; และคณะ (December 2016). "INFLUENCES OF NATURAL VARIABILITY AND ANTHROPOGENIC FORCING ON THE EXTREME 2015 ACCUMULATED CYCLONE ENERGY IN THE WESTERN NORTH PACIFIC" (PDF).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 6, 2015). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2015 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ May 6, 2015.{{cite report}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Saunders, Mark; Lea, Adam (August 5, 2015). August Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2015 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-08. สืบค้นเมื่อ August 5, 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Malano, Vicente B (January 8, 2015). January — June 2015 (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-31. สืบค้นเมื่อ June 1, 2015.
  5. 5.0 5.1 More Typhoons due to ENSO, While Two to Four Expected to Hit Taiwan in 2015 (Report). Taiwan Central Weather Bureau. June 30, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (doc)เมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ July 19, 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 Malano, Vicente B (July 6, 2015). July — December 2015 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-24. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  7. Chi-ming, Shun (March 17, 2014). "Speech by Mr Shun Chi-ming, Director of the Hong Kong Observatory March 17, 2014" (PDF). Hong Kong Observatory. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-06. สืบค้นเมื่อ April 6, 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 Pacific El Nino-Southern Oscillation (ENSO) Applications Climate Center (May 29, 2015). "2nd Quarter 2015, CURRENT CONDITIONS" (PDF). The Pacific ENSO Update. 21 (2).
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Guy Carpenter Asia-Pacific Climate Impact Center; School of Energy and Environment (July 16, 2015). 2015 Western North Pacific Basin Tropical Cyclone Predictions (PDF) (Report). City University of Hong Kong. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-24. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  10. "คาดการณ์สภาพอากาศฤดูฝน 2558". กรมอุตุนิยมวิทยา.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Padgett, Gary; Boyle, Kevin; Chunliang, Huang (September 2015). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary September 2015". Summaries and Track Data. Australiansevereweather.com. สืบค้นเมื่อ December 29, 2015.
  12. "Tropical Cyclone Advisory for Analysis and Forecast 2015-01-13T21:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
  13. "Guidance – Forecast Track by Numerical Weather Prediction 2015-01-14T06:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ January 14, 2015.
  14. "Tropical storm amang enters PAR, fisher folk in parts of Luzon, Visayas warned". GMA News. January 15, 2015. สืบค้นเมื่อ January 15, 2015.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-17. สืบค้นเมื่อ 2015-03-10.
  16. http://edition.cnn.com/2015/01/16/world/pope-philippines-visit-typhoon/index.html
  17. "Tropical Cyclone Prognostic Reasoning 2015-01-17T00:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-17. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
  18. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans February 5, 2015 00z". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ February 15, 2015.
  19. "Forecast Track by Numerical Weather Prediction 2015-02-07T18:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-08. สืบค้นเมื่อ February 7, 2015.
  20. "Typhoon Higos Makes History in NW Pacific; Heavy Snow, Floods Pummel Southern Europe". สืบค้นเมื่อ February 11, 2015.
  21. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans March 8, 2015 23z". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ March 22, 2015.
  22. http://www.climatecentral.org/news/twin-cyclones-could-jolt-weak-el-nino-18775
  23. "JMA WWJP25 Warning and Summary March 10, 2015 06z". Japan Meteorological Agency. March 10, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-12. สืบค้นเมื่อ March 22, 2015.
  24. "Special Weather Statement March 10, 2015 00z". NWS Guam. March 10, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-12. สืบค้นเมื่อ March 22, 2015.
  25. "Forecast Track by Numerical Weather Prediction 2015-03-11T18:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ March 11, 2015.
  26. "Tropical Storm Bavi enters PAR, codenamed Betty". GMA News. สืบค้นเมื่อ March 17, 2015.
  27. "Severe Weather Bulletin No.1 Tropical Storm BETTY (BAVI)" (PDF). NDRRMC. March 17, 2015. สืบค้นเมื่อ March 17, 2015.
  28. "Marshalls battered by tropical depression". Radio New Zealand International. March 12, 2015. สืบค้นเมื่อ April 4, 2015.
  29. Emergency Plan of Action (EPoA) Kiribati: Tropical Cyclone Pam (PDF). International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies (Report). ReliefWeb. March 16, 2015. สืบค้นเมื่อ March 17, 2015.
  30. 30.0 30.1 "Red Cross provides assistance to families affected by Tropical Storm Bavi". Marianas Variety. March 27, 2015. สืบค้นเมื่อ April 4, 2015.
  31. Ferdie De La Torre (March 16, 2015). "166 seek shelter as Bavi batters NMI". สืบค้นเมื่อ April 4, 2015.[ลิงก์เสีย]
  32. "MEDIUM from ABPW10 2015-03-25". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  33. "Tropical Depression (< 30kts) from JMA 2015-03-26". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  34. "JTWC Warning 001 for TD 04W". JTWC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-27. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  35. "Prognostic Reasoning for Warning 003 on Tropical Storm 04W". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-27. สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  36. "Tropical Storm Maysak from JMA 2015-03-27". JMA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-27. สืบค้นเมื่อ 28 March 2015.
  37. "Prognostic Reasoning for Warning 007 of Tropical Storm Maysak". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 28 March 2015.
  38. "STS Maysak from JMA 281200". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 28 March 2015.
  39. "Prognostic Reasoning for Warning 008 on Typhoon Maysak". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-29. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  40. "Typhoon Maysak from JMA 281800". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-29. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  41. "Prognostic Reasoning for Warning 16 on Typhoon Maysak". JTWC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 31 March 2015.
  42. "NDRRMC Update re Severe Weather Bulletin No. 01 Typhoon Chedeng" (PDF). NDRRMC. สืบค้นเมื่อ April 1, 2015.
  43. Robert Q. Tupaz (March 31, 2015). "Chuuk hit hard by Typhoon Maysak". Marianas Variety. สืบค้นเมื่อ March 31, 2015.
  44. "Dry season arrives ahead of oncoming storm". GMA News. สืบค้นเมื่อ April 1, 2015.
  45. "TROPICAL DEPRESSION 05W (FIVE) WARNING NR 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-07-08.
  46. "WWJP25 RJTD 030000 WARNING AND SUMMARY 030000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-07-08.
  47. "PROGNOSTIC REASONING FOR TROPICAL DEPRESSION 05W (FIVE) WARNING NR 01". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-07-08.
  48. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans Reissued 301400Z Apr 2015-010600Z May 2015". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  49. "Tropical Cyclone Advisory for Analysis and Forecast 2015-05-02T21:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-23. สืบค้นเมื่อ May 2, 2015.
  50. "Forecast Track by Numerical Weather Prediction 2015-05-03T18:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-23. สืบค้นเมื่อ May 3, 2015.
  51. "Forecast Track by Numerical Weather Prediction 2015-05-05T18:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-23. สืบค้นเมื่อ May 5, 2015.
  52. "Severe Weather Bulletin No.01 re TY DODONG (NOUL)" (PDF). NDRRMC. May 7, 2015. สืบค้นเมื่อ May 7, 2015.
  53. "Powerful Typhoon Noul targets northern Philippines this weekend". Jason Samenow. May 7, 2015.
  54. Masters, Jeff (May 8, 2015). "Subtropical Storm Ana More Organized; Philippines' Cat 3 Noul Intensifying". Weather Underground. สืบค้นเมื่อ May 9, 2015.
  55. "RSMC Tropical Cyclone Advisory 100000". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  56. "Prognostic Reasoning for Super Typhoon 06W (Noul) Warning Nr 29". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  57. "Severe Weather Bulletin #15 for: Typhoon "Dodong"" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  58. "Prognostic Reasoning for Super Typhoon 06W (Noul) Warning Nr 28". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  59. "Guidance – Forecast Track by Numerical Weather Prediction 2015-06-21T00:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ June 21, 2015.
  60. "Tropical Cyclone Advisory for Analysis and Forecast 2015-06-22T09:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ June 22, 2015.
  61. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-26.
  62. http://www.dailynews.co.th/regional/329805
  63. http://m.manager.co.th/Home/detail/9580000070229
  64. "Start of rainy season to raise dam water levels, help irrigation". GMA News. June 23, 2015.
  65. "Rainy season in the Philippines begins – PAGASA". Rappler.com. June 23, 2015.
  66. 66.0 66.1 "Typhoon Kujira affects 193,000 in Hainan". Beijing, China: English.news.cn. Xinhua General News. June 24, 2015. สืบค้นเมื่อ June 30, 2015.
  67. 67.0 67.1 Phan Hau-Ngoc Khanh (June 26, 2015). "9 dead, 6 missing in flash floods unleashed by Typhoon Kujira". Thanh Nien News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ June 30, 2015.
  68. "Flash floods kill 9, leave 6 others missing in northern Vietnam". Tuoi Tre News. June 28, 2015. สืบค้นเมื่อ June 30, 2015.
  69. "Typhoon Chan-hom: Extensive damage reported as system loses strength; departs eastern China for Korean peninsula". Australian Broadcasting Corporation. July 11, 2015. สืบค้นเมื่อ July 11, 2015.
  70. SitRep No. 06 re Effects of Enhanced Southwest Monsoon (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Council. July 11, 2015. สืบค้นเมื่อ July 12, 2015.
  71. Hong Kong Observatory lowers storm signal to T3 as Linfa weakens after making landfall in Guangdong
  72. "Typhoon Linfa affects over one million in China". Beijing, China: Zee News. July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ July 10, 2015.
  73. 73.0 73.1 "台风"莲花"登陆 陆丰48万人受灾" (ภาษาจีน). Southcn. July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ July 10, 2015.
  74. "平成27年 台風第11号に関する情報 第45号" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-28. สืบค้นเมื่อ 2015-07-16.
  75. 75.0 75.1 "Chaotic unseasonal storms strike Marshall Islands and Guam as eight systems threaten western Pacific". Australian Broadcasting Corporation. Agence France-Presse. July 4, 2015. สืบค้นเมื่อ July 4, 2015.
  76. Wroe, Derek R. (July 12, 2015). Tropical Storm Halola Public Advisory Number 11 (Report). Honolulu, Hawaii: Central Pacific Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 12, 2015.
  77. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-25. สืบค้นเมื่อ 2015-07-26.
  78. "平成27年 台風第12号に関する情報 第94号" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2015. สืบค้นเมื่อ July 26, 2015.
  79. "SIGNIFICANT TROPICAL WEATHER ADVISORY FOR THE WESTERN AND/SOUTH PACIFIC OCEANS REISSUED/282230Z-290600ZJUL2015". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ July 28, 2015.
  80. "WWJP25 RJTD 291800". Japan Meteorological Agency. July 29, 2015.[ลิงก์เสีย]
  81. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 13W (Thirteen) Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Cener. สืบค้นเมื่อ July 30, 2015.[ลิงก์เสีย]
  82. "TS 1513 SOUDELOR (1513) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ July 30, 2015.
  83. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 13W (Soudelor) Warning Nr 10". Joint Typhoon Warning Center. August 1, 2015. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.[ลิงก์เสีย]
  84. "Tropical Cyclone Advisory for Typhoon Soudelor (040806)". Japan Meteorological Agency. August 4, 2015. สืบค้นเมื่อ August 4, 2015.[ลิงก์เสีย]
  85. "Detailed Track Information for Typhoon Soudelor (201513)". Digital Typhoon. August 5, 2015. สืบค้นเมื่อ August 5, 2015.
  86. Dimacali, TJ (August 5, 2015). "Soudelor enters PAR; Rainy weekend seen in Luzon, Visayas". GMA News. สืบค้นเมื่อ August 5, 2015.
  87. "Prognostic Reasoning for Typhoon 13W (Soudelor) Warning Nr 32". Joint Typhoon Warning Center. August 7, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-07. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
  88. "Tracking Data for Super Typhoon Soudelor". Unisys Weather. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
  89. 89.0 89.1 "CNMI count costs for Soudelor damage". Radio New Zealand International. Radio New Zealand International. สืบค้นเมื่อ 5 August 2015.
  90. "WTPN21 PGTW 060530". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-06. สืบค้นเมื่อ August 6, 2015.
  91. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 15W Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Center. August 7, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-07. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
  92. "Tropical Cyclone Advisory for Analysis and Forecast 2015-08-07T12:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-01. สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
  93. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 15W (Fifteen) Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Center. August 7, 2015.[ลิงก์เสีย]
  94. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 15W (Fifteen) Warning Nr 02". Joint Typhoon Warning Center. August 7, 2015.[ลิงก์เสีย]
  95. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 15W (Molave) Warning Nr 06". Joint Typhoon Warning Center. August 8, 2015.[ลิงก์เสีย]
  96. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 15W (Molave) Warning Nr 10". Joint Typhoon Warning Center. August 10, 2015.[ลิงก์เสีย]
  97. "JMA Tropical Cyclone Advisory August 13, 2015 18z". Japan Meteorological Agency. August 13, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ August 15, 2015.
  98. "WTPN21 PGTW 131730". Joint Typhoon Warning Center. August 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  99. "Tropical Depression 16W (Sixteen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. August 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  100. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 16W (Goni) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  101. "TS 1515 GONI (1515) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. August 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  102. "STS 1515 GONI (1515) UPGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ August 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  103. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 16W (Goni) Warning Nr 05". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  104. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 16W (Goni) Warning Nr 09". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  105. "Prognostic Reasoning for Typhoon 16W (Goni) Warning Nr 11". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  106. "TY 1515 GONI (1515) UPGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ August 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  107. "Prognostic Reasoning for Typhoon 16W (Goni) Warning Nr 13". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-17. สืบค้นเมื่อ August 17, 2015.
  108. "Prognostic Reasoning for Typhoon 16W (Goni) Warning Nr 16". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  109. "Typhoon 'Ineng' enters PAR". Inquirer.net. August 18, 2015.
  110. "Prognostic Reasoning for Typhoon 16W (Goni) Warning Nr 22". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 19, 2015.[ลิงก์เสีย]
  111. "A View Inside Typhoon Atsani". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2015-08-21. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  112. "Tropical Cyclone Advisory for Five-day Track Forecast 2015-09-01T06:00:00Z". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  113. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 47". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-04. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
  114. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 50". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-02. สืบค้นเมื่อ September 2, 2015.
  115. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 55". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.[ลิงก์เสีย]
  116. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 55". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.[ลิงก์เสีย]
  117. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 57". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.[ลิงก์เสีย]
  118. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 59". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.[ลิงก์เสีย]
  119. "TY 1517 KILO (1517)". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 4, 2015.[ลิงก์เสีย]
  120. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 65". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.[ลิงก์เสีย]
  121. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 67". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.[ลิงก์เสีย]
  122. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 70". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-07. สืบค้นเมื่อ September 7, 2015.
  123. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 71". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 7, 2015.[ลิงก์เสีย]
  124. "Prognostic Reasoning for Typhoon 03C (Kilo) Warning Nr 72". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 7, 2015.[ลิงก์เสีย]
  125. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-05.
  126. "WWJP25 RJTD 051200". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.
  127. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
  128. "WTPQ21 RJTD 060600". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ September 6, 2015.
  129. "TS 1518 ETAU (1518) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 6, 2015.[ลิงก์เสีย]
  130. "Tropical Depression 18W (Eighteen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ September 6, 2015.
  131. "Prognostic Reasoning Tropical Depression 18W (Eighteen) Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ September 6, 2015.
  132. "Prognostic Reasoning Tropical Depression 18W (Etau) Warning Nr 03". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ September 7, 2015.
  133. "採石場で土砂崩れ、重機ごと生き埋めの作業員が死亡". TBS News. September 8, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-11. สืบค้นเมื่อ 2015-09-10.
  134. "ABPW10 PGTW 110300". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 11, 2015.[ลิงก์เสีย]
  135. "WTPQ20 RJTD 130600". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  136. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 19W (Nineteen) Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  137. "Tropical Depression 19W (Nineteen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  138. "TS 1519 VAMCO (1519) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  139. "Tropical Storm 19W (Vamco) Warning Nr 002". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  140. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 19W (Vamco) Warning Nr 03". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  141. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 19W (Vamco) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  142. "Tropical Storm 19W (Vamco) Warning Nr 005". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  143. "TD DOWNGRADED FROM TS 1519 VAMCO (1519)". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  144. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-14. สืบค้นเมื่อ 2015-09-18.
  145. 145.0 145.1 Hoàng Phan (September 19, 2015). "11 người chết, 1 người mất tích do bão số 3" (ภาษาเวียดนาม). Thanh Nien Daily. สืบค้นเมื่อ September 20, 2015.
  146. Hồng Long (September 18, 2015). "Đảo Lý Sơn thiệt hại hàng tỷ đồng do bão số 3" (ภาษาเวียดนาม). Dân Trí. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
  147. "Điện lực miền Trung thiệt hại hàng tỷ đồng vì bão số 3" (ภาษาเวียดนาม). VinaNet. September 16, 2015. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
  148. "Bão số 3 gây thiệt hại về nông sản và sạt lở một số địa phương" (ภาษาเวียดนาม). Quảng Nam Online. September 15, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-23. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
  149. 149.0 149.1 Thu Thủy (September 21, 2015). "Thanh Hóa: Mưa lũ làm thiệt hại khoảng 287 tỷ đồng" (ภาษาเวียดนาม). Vietnamese Natural Resources and Environment Newspaper. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015.
  150. "Thousands Affected by Kampot Floods". Khmer Times. Phnom Penh, Cambodia. September 17, 2015. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
  151. 151.0 151.1 "Vamco readies parting shot at 9 provinces". Bangkok Post. September 18, 2015. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
  152. 152.0 152.1 152.2 "East, South still fighting floods". The Sunday Nation. Bangkok, Thailand. September 20, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ September 20, 2015.
  153. 153.0 153.1 "Phetchaburi fishermen's bodies found". Bangkok Post. Phetchaburi, Thailand. September 19, 2015. สืบค้นเมื่อ September 19, 2015.
  154. http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=768405[ลิงก์เสีย]
  155. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-14.
  156. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/665560
  157. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/665543
  158. http://www.thairath.co.th/content/525333
  159. http://www.dailynews.co.th/regional/348457
  160. http://www.dailynews.co.th/regional/348945
  161. "ABPW10 PGTW 131600". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  162. "WWJP25 RJTD 131800". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  163. "WTPN21 PGTW 131930". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  164. "Tropical Depression 20W (Twenty) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  165. "Prognostic reasoning for Tropical Storm 20W (Twenty) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  166. "TS 1520 KROVANH (1520) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  167. "Prognostic reasoning for Tropical Storm 20W (Krovanh) Warning Nr 06". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  168. "STS 1520 KROVANH (1520) UPGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  169. "Prognostic reasoning for Tropical Storm 20W (Krovanh) Warning Nr 08". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  170. "TY 1520 KROVANH (1520) UPGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  171. "Typhoon 20W (Krovanh) Warning Nr 009". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  172. "Prognostic reasoning for Typhoon 20W (Krovanh) Warning Nr 10". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  173. "Prognostic reasoning for Typhoon 20W (Krovanh) Warning Nr 12". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  174. "ABPW10 PGTW 170600". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-13. สืบค้นเมื่อ September 17, 2015.
  175. http://www.usno.navy.mil/NOOC/nmfc-ph/RSS/jtwc/warnings/wp9715.tcw[ลิงก์เสีย]
  176. "WTPQ20 RJTD 211200". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-13. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015.
  177. "Tropical Depression 21W (Twentyone) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015.[ลิงก์เสีย]
  178. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 21W (Twentyone) Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-13. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015.
  179. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 21W (Twentyone) Warning Nr 03". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 22, 2015.[ลิงก์เสีย]
  180. "TS 1521 DUJUAN (1521) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-13. สืบค้นเมื่อ September 22, 2015.
  181. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 21W (Dujuan) Warning Nr 06". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2015.[ลิงก์เสีย]
  182. "Tropical Storm 'Jenny' enters PH, to enhance 'habagat'". Inquirer.net. สืบค้นเมื่อ September 23, 2015.
  183. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 21W (Dujuan) Warning Nr 07". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-13. สืบค้นเมื่อ September 23, 2015.
  184. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 21W (Dujuan) Warning Nr 08". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2015.[ลิงก์เสีย]
  185. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 21W (Dujuan) Warning Nr 11". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 24, 2015.[ลิงก์เสีย]
  186. "STS 1521 DUJUAN (1521) UPGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-13. สืบค้นเมื่อ September 24, 2015.
  187. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 14". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.[ลิงก์เสีย]
  188. "TY 1521 DUJUAN (1521) UPGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.[ลิงก์เสีย]
  189. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 18". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 26, 2015.[ลิงก์เสีย]
  190. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 19". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 26, 2015.[ลิงก์เสีย]
  191. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 20". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 26, 2015.[ลิงก์เสีย]
  192. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 21". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 26, 2015.[ลิงก์เสีย]
  193. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 22". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 27, 2015.[ลิงก์เสีย]
  194. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 23". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 27, 2015.[ลิงก์เสีย]
  195. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 27". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 28, 2015.[ลิงก์เสีย]
  196. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 28". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 28, 2015.[ลิงก์เสีย]
  197. "海上陸上颱風警報第12-2報" (ภาษาจีน). Central Weather Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2015. สืบค้นเมื่อ September 28, 2015.
  198. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 29". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 28, 2015.[ลิงก์เสีย]
  199. "Typhoon 21W (Dujuan) Warning Nr 030". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.[ลิงก์เสีย]
  200. "中央气象台9月29日10时发布台风黄色预警" (ภาษาจีน). National Meteorological Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-29. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.
  201. "STS 1521 DUJUAN (1521) DOWNGRADED FROM TY". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.[ลิงก์เสีย]
  202. "TS 1521 DUJUAN (1521) DOWNGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.[ลิงก์เสีย]
  203. "TD 1521 DUJUAN (1521) DOWNGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.[ลิงก์เสีย]
  204. "WWJP25 RJTD 300000". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ September 30, 2015.[ลิงก์เสีย]
  205. "Tropical depression 'Kabayan': Signal No. 1 up in parts of Luzon". Inquirer.net. October 1, 2015.
  206. "Tropical Depression 22W (Twentytwo) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 1, 2015.[ลิงก์เสีย]
  207. http://tmd.go.th/programs/%5Cuploads%5Cannounces%5C2015-10-03_11070.pdf[ลิงก์เสีย]
  208. "TS 1522 MUJIGAE (1522) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ October 1, 2015.
  209. "Tropical Storm 22W (Twentytwo) Warning Nr 003". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ October 1, 2015.
  210. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-01. สืบค้นเมื่อ 2015-10-01.
  211. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 22W (Twentytwo) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 2, 2015.[ลิงก์เสีย]
  212. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 22W (Mujigae) Warning Nr 06". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ October 2, 2015.
  213. "STS 1522 MUJIGAE (1522) UPGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ October 2, 2015.
  214. "Typhoon 22W (Mujigae) Warning Nr 011". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ October 3, 2015.
  215. "TY 1522 MUJIGAE (1522) UPGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ October 3, 2015.[ลิงก์เสีย]
  216. "SitRep No.06 re Preparedness Measures and Effects of TS KABAYAN (MUJIGAE)" (PDF). NDRRMC. October 4, 2015. สืบค้นเมื่อ October 4, 2015.
  217. "China says death toll from Typhoon Mujigae reaches 20". The Jakarta Post. October 7, 2015.
  218. "WTPQ21 RJTD 011200". Joint Typhoon Warning Center. Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ October 1, 2015.[ลิงก์เสีย]
  219. "TS 1523 CHOI-WAN (1523) UPGRADED FROM TD0". Joint Typhoon Warning Center. Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ October 2, 2015.[ลิงก์เสีย]
  220. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2015-10-02.
  221. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-12. สืบค้นเมื่อ 2015-10-12.
  222. "WWJP25 RJTD 111800". Japan Meteorological Agency. October 11, 2015.[ลิงก์เสีย]
  223. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-12. สืบค้นเมื่อ 2015-10-12.
  224. "WTPQ20 RJTD 121800". Japan Meteorological Agency. October 12, 2015.[ลิงก์เสีย]
  225. "Tropical Depression 24W (Twentyfour) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  226. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 24W (Twentyfour) Warning Nr 01". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  227. "TS 1524 KOPPU (1524) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. October 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  228. "Tropical Storm 24W (Koppu) Warning Nr 003". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 13, 2015.[ลิงก์เสีย]
  229. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 24W (Koppu) Warning Nr 05". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  230. "Severe Weather Bulletin #1 on Tropical Storm "LANDO"". Philippine Atmospheric, Geophysical, Astronomical and Services Administration. October 14, 2015.[ลิงก์เสีย]
  231. "STS 1524 KOPPU (1524) UPGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. October 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  232. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 24W (Koppu) Warning Nr 10". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  233. "TY 1524 KOPPU (1524) UPGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. October 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  234. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Koppu) Warning Nr 10". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 15, 2015.[ลิงก์เสีย]
  235. "Typhoon 24W (Koppu) Warning Nr 014". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 16, 2015.[ลิงก์เสีย]
  236. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Koppu) Warning Nr 17". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  237. "Typhoon 24W (Koppu) Warning Nr 018". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  238. "Prognostic Reasoning for Super Typhoon 24W (Koppu) Warning Nr 19". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  239. "TY 1524 KOPPU (1524)". Japan Meteorological Agency. October 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  240. "Super Typhoon 24W (Koppu) Warning Nr 019". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ October 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  241. 241.0 241.1 RSMC Tokyo — Typhoon Center (October 25, 2015). Typhoon Champi Best Track 2015-11-25T09:00:00Z (Report). Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-21. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  242. Jason Samenow (October 22, 2015). "The large and amazing eye of Pacific Typhoon Champi". Washington Post. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  243. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-16. สืบค้นเมื่อ 2015-11-16.
  244. "WTPQ20 RJTD 170600". Japan Meteorological Agency. November 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  245. "Tropical Depression 27W (Twentyseven) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. November 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  246. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 27W (Twentyseven) Warning Nr 02". Joint Typhoon Warning Center. November 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  247. "TS 1526 IN-FA (1526) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. November 17, 2015.[ลิงก์เสีย]
  248. "STS 1526 IN-FA (1526) UPGRADED FROM TS". Japan Meteorological Agency. November 18, 2015.[ลิงก์เสีย]
  249. "Prognostic Reasoning for Typhoon 27W (In-fa) Warning Nr 06". Joint Typhoon Warning Center. November 18, 2015.[ลิงก์เสีย]
  250. "Typhoon 27W (In-fa) Warning Nr 006". Joint Typhoon Warning Center. November 18, 2015.[ลิงก์เสีย]
  251. Alvarez, Kathrina Charmaine (18 December 2015). "PNoy declares state of national calamity due to Nona". GMA News Online. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
  252. 252.0 252.1 Tropical Storm Jangmi (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. January 19, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-19. สืบค้นเมื่อ January 19, 2014.
  253. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 2, 2015 06z". Japan Meteorological Agency. January 2, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ January 2, 2015.
  254. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans January 2, 2015 01z". United States Navy, United States Airforce. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ January 2, 2015.
  255. Joint Typhoon Warning Center. "Tropical Cyclone Formation Alert Cancellation January 3, 2015 06z". United States Navy, United States Airforce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-03. สืบค้นเมื่อ January 5, 2015.
  256. Joint Typhoon Warning Center. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans January 4, 2015 06z". United States Navy, United States Air force. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ January 2, 2015.
  257. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 4, 2015 06z". Japan Meteorological Agency. January 4, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-04. สืบค้นเมื่อ January 5, 2015.
  258. "JMA WWJP25 Warning and Summary January 4, 2015 12z". Japan Meteorological Agency. January 4, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-05. สืบค้นเมื่อ January 5, 2015.
  259. Ellis, Donald. "Philippine 1st Weather Watch & Helpful Information – EGAY Chan-hom 97W ROUGH SEAS". Westpacwx. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-07. สืบค้นเมื่อ July 7, 2015.
  260. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-07-15.
  261. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-07-15.
  262. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-07-15.
  263. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-16. สืบค้นเมื่อ 2015-07-16.
  264. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
  265. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
  266. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
  267. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
  268. "JMA WWJP25 Warning and Summary August 1, 2015 06z". Japan Meteorological Agency. August 1, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-02. สืบค้นเมื่อ August 4, 2015.
  269. "WTPN21 PGTW 011930". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 1, 2015.[ลิงก์เสีย]
  270. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 14W (Fourteen) Warning Nr 02". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ August 2, 2015.[ลิงก์เสีย]
  271. "Tropical Depression 14W Warning Nr 010 (Final) 041500z". Joint Typhoon Warning Center. August 4, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-04. สืบค้นเมื่อ August 4, 2015.
  272. "Tropical Storm Loke Advisory 24". Central Pacific Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 26, 2015.
  273. "JMA WWJP25 Warning and Summary October 6, 2015 18z". Japan Meteorological Agency. October 6, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-08. สืบค้นเมื่อ October 10, 2015.
  274. "JMA WWJP25 Warning and Summary October 19, 2015 18z". Japan Meteorological Agency. October 19, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-20. สืบค้นเมื่อ November 15, 2015.
  275. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans October 19, 2015 13z". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ November 15, 2015.
  276. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans October 20, 2015 23z". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-12. สืบค้นเมื่อ 2015-03-10.
  277. "JMA WWJP25 Warning and Summary October 22, 2015 06z". Japan Meteorological Agency. October 22, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ November 15, 2015.
  278. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-20. สืบค้นเมื่อ 2015-10-20.