ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2553
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว18 มกราคม พ.ศ. 2553
ระบบสุดท้ายสลายตัว20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเมกี
 • ลมแรงสูงสุด230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด885 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด29 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมดทางการ 14 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก
(สถิติน้อยที่สุด)
พายุไต้ฝุ่น7 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น1 ลูก (เป็นทางการ)
1 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด384 คน
ความเสียหายทั้งหมด2.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2010)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2551, 2552, 2553, 2554, 2555

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2553 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2553 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด โดยมีพายุโซนร้อนเพียง 14 ลูก และในจำนวนนั้น 7 ลูกทวีกำลังแรงเป็นถึงพายุไต้ฝุ่น และมีเพียงลูกเดียวที่เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2553 เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยกว่า ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงแค่สองครั้ง โดยอีกครั้งหนึ่งคือในปี พ.ศ. 2548 ในปีเดียวกันนี้ ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแปซิฟิกก็ยังทำลายสถิติการก่อตัวน้อยที่สุดในทำนองเดียวกันนี้ด้วย ในฤดูกาลนี้ ไม่มีพายุใดที่พัดขึ้นฝั่งแผ่นดินใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นเลย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง นับตั้งแต่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 นอกจากนี้ พายุทั้ง 14 ลูกที่ได้รับชื่อนั้น ล้วนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันออกทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น ดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุนเขตร้อน (ACE) นั้นมีค่าเพียง 115 หน่วยเท่านั้น ซึ่งน้อยที่สุดเป็นอันดับที่สอง รองจากในปี พ.ศ. 2542 โดยเป็นปีที่สี่ติดต่อกันแล้วที่มีค่าดัชนี ACE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

พายุลูกแรกของฤดูกาลที่ได้รับชื่อคือ โอไมส์ ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ส่วนพายุลูกสุดท้ายที่ได้รับชื่อคือ ชบา สลายตัวหรือกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ในระหว่างฤดูกาล มีพายุเพียงสองลูกที่มีความโดดเด่น นั่นคือ พายุไต้ฝุ่นคมปาซุ ซึ่งเป็นพายุที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้ในรอบ 15 ปี และในเดือนตุลาคม พายุไต้ฝุ่นเมกี ซึ่งเป็นพายุที่มีกำลังแรงที่สุดของฤดูกาล โดยมีความกดอากาศต่ำที่สุด 885 hPa ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่เคยบันทึกไว้ นอกจากนี้ ยังมีพายุกึ่งโซนร้อนที่ก่อตัวได้ยาก ก่อตัวขึ้นในเดือนตุลาคม และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนโอเมกา เมื่อเคลื่อนตัวข้ามแอ่งไปแล้ว

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ[แก้]

พายุโซนร้อนโอไมส์[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 มีนาคม – 26 มีนาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อากาโตน

วันที่ 18 มีนาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่ามีการก่อตัวของพายุโซนร้อนขึ้น ทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะชุก ประเทศไมโครนีเชีย[1]

พายุไต้ฝุ่นโกนเซิน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บาชัง

พายุไต้ฝุ่นจันทู[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 23 กรกฎาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาโลย

ในวันที่ 17 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น รายงานว่ามีก่อตัวของพายุดีเปรสชันเขตร้อนห่างจากกรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของ 220 กม. (135 ไมล์)[2]

พายุโซนร้อนโดเมง[แก้]

พายุโซนร้อน (PAGASA)
ระยะเวลา 3 – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเตี้ยนหมู่[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 สิงหาคม – 12 สิงหาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอสเตร์

พายุโซนร้อนมินดุลเล[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 25 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงไลออนร็อก[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 สิงหาคม – 3 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โฟลริตา

พายุไต้ฝุ่นคมปาซุ[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 สิงหาคม – 3 กันยายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เกลนดา

พายุโซนร้อนน้ำเทิน[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 สิงหาคม – 1 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงหมาเหล่า[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 10 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮนรี

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมอรันตี[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 10 กันยายน
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นฟานาปี[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 21 กันยายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อินได

พายุไต้ฝุ่นมาลากัส[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 25 กันยายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเมกี[แก้]

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 24 ตุลาคม
ความรุนแรง 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
885 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.13 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮวน

พายุไต้ฝุ่นชบา[แก้]

1014 (JMA)・16W (JTWC)・กาตริง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา
  • วันที่ 21 ตุลาคม ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งทำให้มีฝนตกลงมาที่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก และหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา พายุได้ก่อตัวขึ้นห่างอยู่ประมาณ 850 กิโลเมตร (530 ไมล์) ทางตอนใต้ของอิโวะจิมะ และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (30 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวดิ่งต่ำ และมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอุ่น
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่เหนือน่านน้ำเปิดทางตะวันตกเฉียงเหนือ และไม่มีภัยคุกคามต่อแผ่นดิน ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกข้อมูลอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านเหนืออวกาศ พายุตั้งอยู่ประมาณ 1,400 กิโลเมตร (870 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (15 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดเพื่อวัดอุณหภูมิของพายุ และดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพอุณหภูมิสูงสุดของเมฆพายุดีเปรสชันเขตร้อนเผยให้เห็นพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงบางแห่งที่อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ -53 องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางทิศใต้จุดศูนย์กลางของพายุ ข้อมูลดาวเทียมมีข้อบ่งชี้ว่าศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำถูกลมภายนอกพัดเข้ามา และนั่นเป็นสัญญาณว่าพายุอาจจะอ่อนกำลังลงมากขึ้นในระยะสั้น การพาความร้อนที่รุนแรงที่สุด หรือเมฆที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อน และอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์กลางการไหลเวียน
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า กาตริง
  • วันที่ 24 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และกำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 25 ตุลาคม พายุโซนร้อนชบาตั้งอยู่ประมาณ 970 กิโลเมตร (600 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 6 เมตร ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุเพื่อถ่ายภาพอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุด้วยเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศ และเผยให้เห็นว่าอุณหภูมิของเมฆมีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส นั้นแสดงว่ามีการหมุนเวียนของลมบริเวณทางทิศใต้ และทางทิศตะวันตก ยิ่งอุณหภูมิของเมฆเย็นลง พายุก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น และพายุฝนฟ้าคะนองก็รุนแรงขึ้นเช่นกัน ภาพถ่ายดาวเทียมไอน้ำแสดงให้เห็นว่าแถบพายุฝนฟ้าคะนองที่มีการพาความร้อนลึกตามแนวขอบทางทิศตะวันตกของการไหลเวียนศูนย์กลางของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา
  • วันที่ 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่ที่ทอดยาวตั้งแต่ประเทศฟิลิปปินส์ไปจนถึงจังหวัดโอกินาวะ มีการจัดระเบียบได้อย่างดี และมีกำลังแรงในขณะที่เคลื่อนตัวผ่านทะเลฟิลิปปิน พายุตั้งอยู่ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 11:50 น. (04:50 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 27 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นชบาถึงระดับความรุนแรงสูงสุดกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลา 17:53 น. (10:53 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นชบาตั้งอยู่ประมาณ 440 กิโลเมตร (270 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงเกือบประมาณ 7 เมตร พายุยังคงอยู่ในน่านน้ำเปิดของทะเลฟิลิปปิน และมีตาพายุที่อยู่ห่างออกไป 20 กิโลเมตร (10 ไมล์) แต่เมฆของพายุได้กระจายผ่านคาเดนาไปไกลถึงตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และพายุยังคงมีกำลังแรงไว้เพราะอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวตั้งต่ำ และมีการไหลออกที่ดี ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้กระแสลมกรดบริเวณขั้วโลกทำให้แรงลมเฉือนแนวตั้งมากขึ้น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะอ่อนกำลังลงระหว่างเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 28 ตุลาคม ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบาทำให้นักพยากรณ์สามารถมองเห็นความรุนแรงของพายุได้ดี ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกภาพอินฟราเรดของพายุ และแสดงให้เห็นตาพายุที่กว้าง 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงพายุลูกนี้มีกำลังแรงมาก ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศที่ได้บันทึกภาพอินฟราเรดไว้แสดงให้เห็นตาพายุของพายุได้อย่างชัดเจน อุณหภูมิของเมฆพายุฝนฟ้าคะนองที่มีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส ขณะที่พายุทำให้เกิดฝนตกหนักทางทะเลฟิลิปปินเมื่อเวลา 11:35 น. (04:35 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ให้ข้อมูลอินฟราเรดที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของเมฆพายุไต้ฝุ่นชบาแก่นักพยากรณ์ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) อุณหภูมิเหล่านั้นมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถบอกนักพยากรณ์ได้ว่าพายุฝนฟ้าคะนองมีอุณหภูมิสูงมากเท่าใด พายุก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเรดาร์ปริมาณน้ำฝนพบว่าพายุมีการจัดระเบียบได้เป็นอย่างดี และครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีฝนตกปานกลางกับฝนตกหนักมาก แต่ข้อมูลไม่ได้แสดงตาพายุได้อย่างชัดเจน และจุดศูนย์กลางของพายุได้ปรากฏให้เห็นแถบเมฆพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บริเวณศูนย์กลางการไหลเวียนของพายุไต้ฝุ่นชบาเมื่อเวลา 18:04 น. (11:04 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุตั้งอยู่ประมาณ 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 10 เมตร
  • วันที่ 29 ตุลาคม ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบาจากเหนืออวกาศ และเห็นพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงในพายุ ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเช่นกัน
  • วันที่ 30 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อเคลื่อนตัวผ่านเข้าไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น และส่วนเศษซากของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ แต่มีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าใกล้คาบสมุทรอะแลสกาจนกลายเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่โดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุดกลางของ 940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วของปรอท) และจนกระทั่งสลายไปอย่างสมบูรณ์ในวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณใกล้กับคอร์โดวา รัฐอะแลสกา แต่ยังไม่ทันที่จะถึงแม่น้ำ ความชื้นในบรรยากาศก็เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือฝั่งสหรัฐ และสร้างสถิติสำหรับวันที่ฝนตกในซีแอตเทิล
พายุฝนฟ้าคะนองจากพายุไต้ฝุ่นชบาได้ถล่มเมืองทำให้บ้านเรือนประมาณ 500 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 ราย ในจังหวัดโอกินาวะ[3] การแข่งขันรถในโตเกียวได้ถูกเลื่อนโดยสมาคมแข่งรถแห่งประเทศญี่ปุ่นไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นชบา[4]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 20 มกราคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 3[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 26 เมษายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 6[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 3 – 5 มิถุนายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 18 – 20 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 8[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 23 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 12[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 26 – 28 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 16[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 26 – 28 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 17[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 30 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 14W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 10 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 22[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 7 – 8 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 25[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 18 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1010 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.83 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 17W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 27 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 26[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 3 – 4 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 18W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 14 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 19W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 13 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนโอเมกา[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 20 ธันวาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[5] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[6] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[5] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[6] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[7] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[8] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2553 คือ โอไมส์ จากชุดที่ 4 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ ชบา จากชุดที่ 4 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 14 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2553
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 4 1001 โอไมส์
(Omais)
ชุดที่ 4 1005 มินดุลเล
(Mindulle)
ชุดที่ 4 1009 หมาเหล่า
(Malou)
ชุดที่ 4 1013 เมกี
(Megi)
1002 โกนเซิน
(Conson)
1006 ไลออนร็อก
(Lionrock)
1010 เมอรันตี
(Meranti)
1014 ชบา
(Chaba)
1003 จันทู
(Chanthu)
1007 คมปาซุ
(Kompasu)
1011 ฟานาปี
(Fanapi)
1004 เตี้ยนหมู่
(Dianmu)
1008 น้ำเทิน
(Namtheun)
1012 มาลากัส
(Malakas)

ฟิลิปปินส์[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[9] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ ซึ่งเป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ด้วย[9] โดยชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2553
อากาโตน (Agaton) (1001) โฟลรีตา (Florita) (1006) กาตริง (Katring) (1014) ปาเอง (Paeng) (ไม่ถูกใช้) อุสมัน (Usman) (ไม่ถูกใช้)
บาชัง (Basyang) (1002) เกลนดา (Glenda) (1007) ลุยส์ (Luis) (ไม่ถูกใช้) กวีนี (Queenie) (ไม่ถูกใช้) เบนุส (Venus) (ไม่ถูกใช้)
กาโลย (Caloy) (1003) เฮนรี (Henry) (1009) มารีโอ (Mario) (ไม่ถูกใช้) รูบี (Ruby) (ไม่ถูกใช้) วัลโด (Waldo) (ไม่ถูกใช้)
โดเมง (Domeng) อินได (Inday) (1011) เนเนง (Neneng) (ไม่ถูกใช้) เซเนียง (Seniang) (ไม่ถูกใช้) ยายัง (Yayang) (ไม่ถูกใช้)
เอสเตร์ (Ester) (1004) ฮวน (Juan) (1013) โอมโปง (Ompong) (ไม่ถูกใช้) โตมัส (Tomas) (ไม่ถูกใช้) เซนี (Zeny) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อากีลา (Agila) (ไม่ถูกใช้) ซีโต (Chito) (ไม่ถูกใช้) เอเลนา (Elena) (ไม่ถูกใช้) กุนดิง (Gunding) (ไม่ถูกใช้) อินดัง (Indang) (ไม่ถูกใช้)
บากวิส (Bagwis) (ไม่ถูกใช้) ดีเยโก (Diego) (ไม่ถูกใช้) เฟลีโน (Felino) (ไม่ถูกใช้) แฮร์เรียต (Harriet) (ไม่ถูกใช้) เจสซา (Jessa) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ[แก้]

ในการประชุมประจำปี พ.ศ. 2554 ของคณะกรรมการไต้ฝุ่น ได้มีการประกาศถอนชื่อ ฟานาปี ออกจากรายชื่อ และเลือกชื่อ ราอี ขึ้นมาแทนที่ ในขณะที่ PAGASA ได้ถอนชื่อ กาตริง และ ฮวน ออกจากรายชื่อทั้งสองชื่อ เนื่องจากส่งผลกระทบที่รุนแรงกับประเทศฟิลิปปินส์[10][11][12] โดยใช้ชื่อ โฮเซ แทนฮวน และ กาโนร์ แทนกาตริง ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนเป็น การ์ดิง อีกครั้งหนึ่ง ในรายชื่อที่จะใช้ในปี พ.ศ. 2557[12]

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2553 ประกอบด้วยชื่อพายุ ความรุนแรง บริเวณที่มีผลกระทบ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหาย ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตจากพายุนั้นรวมไปถึงตั้งแต่ครั้งเมื่อพายุยังเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเปลี่ยนผ่านไปเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
01W 18 – 20 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) เวียดนาม, กัมพูชา &0000000000243000000000243 พันดอลลาร์สหรัฐ 3 [13]
โอไมส์
(อากาโตน)
March 22 – 26 พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) เกาะโวเลอาย, เกาะฟาอิส, เกาะอูลิตี, เกาะยาป &000000000001000000000010 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 26 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) Mindanao &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 3 – 5 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โกนเซิน
(บาชัง)
11 – 18 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม &000000008197000000000082 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 106 [14][15][16]
จันทู
(กาโลย)
17 – 23 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ภาคใต้ของจีน &0000000817700000000000818 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 19 [17]
TD 18 – 20 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 23 – 24 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไต้หวัน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 26 – 28 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ภาคตะวันออกของจีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โดเมง 3 – 5 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) ตอนเหนือของเกาะลูซอน &0000000000000000000000 ไม่มี 3 [18]
เตี้ยนหมู่
(เอสเตร์)
6 – 12 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น &000000004200000000000042 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 37 [19][20][21]
มินดุลเล 22 – 25 สิงหาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) เวียดนาม &000000004330000000000043.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10 [22]
TD 26 – 28 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ไลออนร็อก
(โฟลรีตา)
27 สิงหาคม – 4 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ภาคใต้ของจีน &000000006510000000000065.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [23]
คมปาซุ
(เกลนดา)
28 สิงหาคม – 2 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ภาคตะวันออกของจีน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ &000000005830000000000058.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 29 [24]
น้ำเทิน 29 – 31 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ไต้หวัน, จีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 30 – 31 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หมาเหล่า
(เฮนรี)
1 – 10 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่ทราบ ไม่มี
เมอรันตี 7 – 10 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ไต้หวัน, ภาคตะวันออกของจีน &0000000118125000000000118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [25]
ฟานาปี
(อินได)
14 – 21 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ไต้หวัน, จีน &00000010047100000000001 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 105 [26][27][28]
มาลากัส 20 – 25 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
14W 5 – 10 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ภาคใต้ของจีน &000000001490000000000014.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 7 – 8 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1012 hPa (29.89 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เมกี
(ฮวน)
12 – 24 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 230 กม./ชม. 885 hPa (26.13 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน &0000000709000000000000709 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 69 [29][30][31]
17W 20 – 27 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่ทราบ ไม่มี
ชบา
(กาตริง)
20 – 31 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น เล็กน้อย ไม่มี
TD 3 – 4 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
18W 12 – 14 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) เวียดนาม, ลาว, ไทย ไม่ทราบ ไม่มี
19W 12 – 13 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โอเมกา 19 – 20 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
สรุปฤดูกาล
29 ลูก 18 มกราคม – 20 ธันวาคม   230 กม./ชม. 885 hPa (26.13 นิ้วปรอท)   &00000029553580000000002.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 384


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and Southern Pacific Oceans 2010-03-18 06z". Joint Typhoon Warning Center. 2010-03-18. สืบค้นเมื่อ 2010-03-22.[ลิงก์เสีย]
  2. "JMA WWJP25 Advisory 2010-07-17 00z". Japan Meteorological Agency. 2010-07-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-29. สืบค้นเมื่อ 2010-07-17.
  3. Staff Writer (2010-10-30). "Strong typhoon approaches rain-hit Amami region - The Mainichi Daily News" (ภาษาอังกฤษ). The Mainichi Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  4. Hur, Jae (2010-10-29). "Chaba Weakens Over Japan, Downgraded to Tropical Storm as It Nears Tokyo" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 October 2010.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  6. 6.0 6.1 The Typhoon Committee (2019-02-21). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  7. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  8. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
  9. 9.0 9.1 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
  10. La Viña, Dean T (January 5, 2013). "A new disaster management agency". Manila Standard Today Sunday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2013. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  11. Flores, Helen (September 4, 2014). "Kanor to Karding: Pagasa censors name of cyclone". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2015. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  12. 12.0 12.1 Speta, Robert (September 2, 2014). "What is a Typhoon Name? PAGASA Censors "Kanor"". Western Pacific Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2015. สืบค้นเมื่อ January 24, 2015.
  13. "Three dead in Binh Thuan as tropical depression makes landfall". Sài Gòn Giải Phóng. 21 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2010. สืบค้นเมื่อ 21 January 2010.
  14. 郑雪娇 (July 17, 2010). 台风"康森"给三亚造成直接经济损失1.2亿元(图) (ภาษาจีน). 新华网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ July 17, 2010.
  15. 南海网-南国都市报 (July 17, 2010). 台风"康森"16号晚登陆三亚给海南造成直接经济损失2.4亿元 (ภาษาจีน). 福建中金在线网络股份有限公司. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ July 17, 2010.
  16. 中央社 (July 17, 2010). 康森颱風造成海南省相當損失 (ภาษาจีน). UDN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2014. สืบค้นเมื่อ July 17, 2010.
  17. ""灿都"致3省9人死亡600万人受灾". 中国天气网. July 30, 2010.
  18. Staff Writer (August 6, 2010). "'Domeng' exits RP, leaves 3 people dead — NDCC". GMA News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2010. สืบค้นเมื่อ August 10, 2010.
  19. "Economic losses in เกาหลีใต้ amounted to be 5 billion won". media.paran.com. Korea Press. สืบค้นเมื่อ August 15, 2010.[ลิงก์เสีย]
  20. "Tropical Storm Ester leaves 1 dead, 15 missing in the ฟิลิปปินส์". CNN. August 9, 2010. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  21. Five Killed In เกาหลีใต้n Typhoon
  22. "Viet Nam: Tropical storm Mindulle kills at least 10, injures 64". Government of เวียดนาม. ReliefWeb. August 27, 2010. สืบค้นเมื่อ October 8, 2012.
  23. ""狮子山"致广东30万人受灾". 中国气象网. September 4, 2017.
  24. Staff Writer (September 3, 2010). 태풍 피해 1차 조사, 서산 149억, 당진 97억, 태안 323억3천만 원 (ภาษาเกาหลี). MSN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2010. สืบค้นเมื่อ September 3, 2010.
  25. ""莫兰蒂"致使福建百万人受灾 经济损失超8亿". 中国气象网. September 11, 2017.
  26. "ไต้หวัน typhoon kills 2". Agence France-Presse. Straits Times. 2010-09-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2010. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
  27. ""凡亚比"致粤百人死亡 直接经济损失51.5亿". ReliefWeb. Souhu. 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  28. "台风"凡亚比"携风带雨 刮走福建6.5亿无伤亡". ReliefWeb. ChinaDaily. 2010-09-22. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
  29. "Sitrep No. 27 re Effects for Typhoon "Juan" (Megi)" (PDF). National Disaster Coordinating Council. 29 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.
  30. "梅姬(MEGI)". 中央氣象局颱風警報發布概況表 (ภาษาจีน). Central Weather Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-09. สืบค้นเมื่อ 7 June 2013.
  31. Xinhua (25 October 2010). "Typhoon Megi Causes 2.8 Bln Yuan in Economic Losses in E. China". CRI English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]