ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2558

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2558
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว7 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ระบบสุดท้ายสลายตัว10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อจาปาลา
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 3 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด940 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชัน8
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว7
พายุไซโคลน4
พายุไซโคลนกำลังแรง2
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก2
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด>363 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2015)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ
2556, 2557, 2558, 2559, 2560

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558 คือรอบในอดีตของพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ในซีกโลกเหนือ ทางทิศตะวันออกของจะงอยแอฟริกาและทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรมลายู โดยมีสองทะเลหลักอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ คือ ทะเลอาหรับ ไปทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ถูกเรียกอย่างย่อว่า ARB โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD); และอ่าวเบงกอล ไปทางตะวันออก เรียกอย่างย่อว่า BOB โดย IMD

ผู้ที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแอ่งนี้ตามศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาค คือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยแล้วแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัว 4-6 ลูกในทุกฤดูกาล[1]

สรุปฤดูกาล[แก้]

พายุ[แก้]

พายุไซโคลนอโชบา[แก้]

พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

ในขณะที่พายุยังคงเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะหันไปทางทิศตะวันตก และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากลมเฉือนระดับปานกลางถึงสูงและการมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นดิน

เนื่องจากความชื้นส่วนใหญ่ที่ถูกพายุดึงเข้าไป ภายใต้การโจมตีของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงอนุทวีปอินเดียจนมีลักษณะจนตรอก[3] ฝนที่ตกกระหน่ำลดลงเมื่อพายุผ่านทางตะวันออกของประเทศโอมาน โดยที่เกาะมาซิราฮ์วัดปริมาณน้ำฝนได้ในหนึ่งวัน 225 มิลลิเมตร (8.9 นิ้ว) และโดยรวมมากกว่า 250 มิลลิเมตร (9.8 นิ้ว)[4][5] เกิดน้ำท่วมอย่างมีนัยสำคัญได้รับการแจ้งเตือนไปในหลายพื้นที่ มีการอพยพในขณะที่เกิดลมแรงและกระแสไฟฟ้าขัดข้อง[6] ข้อมูลอากาศจากกัลบาและรัฐฟุญัยเราะฮ์ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่ามีสภาพอากาศแปรปรวนจากอโชบา[7]

ดีเปรสชัน BOB 01[แก้]

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา 20 – 22 มิถุนายน
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 17 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวและพัฒนาขึ้นทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอินเดีย ใกล้กับวิสาขปัตนัม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้กึ่งใต้ ที่ระยะ 135 ไมล์ทะเล (250 กม., 155 ไมล์)[8]
  • วันที่ 20 มิถุนายน มีการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วไปทางแนวขอบด้านทิศตะวันตกและด้านทิศใต้ของศูนย์กลางระบบ ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่กำลังจะมาถึง[9] แต่เนื่องจากลมเฉือนปานกลางถึงแรงที่เกิดขึ้นจากมรสุม ได้เข้ารบกวนระบบและทำให้การพัฒนาล้มเหลว และ JTWC ได้รายงานว่าระบบได้เหือดหายไปในวันที่ 20 มิถุนายน[10] อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน IMD ได้เริ่มต้นการติดตามระบบเป็นดีเปรสชัน และรายงานว่ามีลมกระโชกถึง 35 นอต (65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[11][12]
  • วันที่ 21 มิถุนายน ดีเปรสชันได้เคลื่อนตัวขึ้นที่ชายฝั่งรัฐโอฑิศา ระหว่างกอปัลปูร์และปูรี[13] โดยไม่มีข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม
  • วันที่ 22 มิถุนายน IMD ได้หยุดติดตาม BOB 01[14]

ในวันที่ 21 มิถุนายน ทะเลที่มีคลื่นจากดีเปรสชันทำให้เรือประมงจำนวนมากต้องจอดอยู่ที่ฝั่ง และมีผู้สูญหายอย่างน้อย 150 คน นอกชายฝั่ง[15] ซึ่งส่วนใหญ่จะกลับเข้าไปที่ฝั่งได้อย่างปลอดภัยหรือได้รับการช่วยเหลือภายในวันนั้น อย่างไรก็ตาม ชาวประมงจำนวน 9 คน กลัวว่าจะจมน้ำเสียชีวิต[16] ทั้งรัฐโอฑิศาถูกแจ้งเตือนตั้งแต่วันที่ 21 - 23 มิถุนายน ซึ่งระบบพายุนี้นำมาซึ่งฝนตกหนักที่สุดของรัฐโอฑิศา โดยการตรวจวัดที่มัลกันคีรี มีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 320 มิลลิเมตร (13 นิ้ว)[17] การเข้าถึงเมืองหลายเมืองในย่านมัลกาคีรีถูกตัดขาดเนื่องจากภาวะน้ำท่วม[18] และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คน เกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วม[15]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว ARB 02[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
ระยะเวลา 22 – 24 มิถุนายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
988 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.18 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 มิถุนายน ตามลักษณะอากาศที่แปรปรวนของมรสุม ทำให้พื้นที่ของพายุฝนฟ้าคะนอง พัฒนาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ในทะเลอาหรับ ใกล้ชายฝั่งของรัฐคุชราต[19] การหมุนเวียมลมยังคงไปทางทิศตะวันตกของระบบ และยังคงมีการพัฒนาของระบบต่อไปอีก 24 ชั่วโมง[20]
  • วันที่ 22 มิถุนายน IMD เริ่มติดตามดีเปรสชัน และให้รหัสเรียกขาน ARB 02[14] และมันยังคงพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงช่วงกลางคืน ส่วน JTWC เริ่มออก TCFA กับระบบในขณะที่ระบบอยู่ห่างจากมุมไบ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกึ่งตะวันตกที่ระยะ 285 ไมล์ทะเล (528 กิโลเมตร; 328 ไมล์)[21]

ฝนที่ตกกระหน่ำในรัฐคุชราต และมีปริมาณฝนสะสมสูงสุดในบากาซาราที่ 636 มิลลิเมตร (25.0 นิ้ว), ในธารีที่ 511 มิลลิเมตร (20.1 นิ้ว) และในวารียาที่ 400 มิลลิเมตร (16 นิ้ว) เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค หมู่บ้านหลายแห่งในภูมิภาคเซารัชทรา และยังมีการแจ้งเตือนของหน่วยงานแจ้งเตือนภัยพิบัติแห่งชาติกองทัพอากาศอินเดีย[22] เกิดน้ำท่วมในอำเภออำเรลี ซึ่งเป็นครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 90 ปี, โดยจากเหตุการณ์นี้กว่า 838 หมู่บ้านใน 600 อำเภอได้รับความเดือดร้อน กว่า 400 แห่ง ไม่สามารถเข้าถึงโดยโดยการเดินทางทางบก[23] มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 80 คน[24] สิงโตอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ซึ่งไดรับการยืนยันว่ามีเพียง 523 ตัวตามเอกสารยืนยันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 ในจำนวนนี้เกินสิบตัวได้เสียชีวิตและสูญหายในระหว่างน้ำท่วม[25][26]

พายุไซโคลนโกเมน[แก้]

พายุไซโคลน (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
986 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.12 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 30 กรกฎาคม IMD ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบ เป็นพายุโซโคลน และใช้ชื่อ โกเมน[27]

ประเทศพม่าได้รับผลกระทบจากฝนตกจากพายุ ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างกว้างขวาง ผู้คนกว่า 100,000 คนได้รับผลกระทบ และอย่างน้อย 20 คนเสียชีวิต นอกจากนี้ บ้านเรือนกว่า 170,000 หลังถูกทำลาย[28] และยังเกิดน้ำท่วมในลักษณะบังกลาเทศ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน และอีกว่า 130,400 คนได้รับผลกระทบ[29] ส่วนน้ำท่วมในรัฐโอฑิศา, อินเดีย คร่าชีวิตผู้คนกว่า 3 คน และผู้คนอีกกว่า 398,000 คน[30] ผู้คนอย่างน้อย 39 คน เสียชีวิตในรัฐเบงกอลตะวันตก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งโดยตรง และทางอ้อมจากพายุ เช่น ไฟฟ้าดูด และ ถูกงูกัด[31]

พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ARB 03[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 12 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากจาปาลา[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากเมฆ[แก้]

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 10 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
964 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.47 นิ้วปรอท)

ดีเปรสชันหมุนเร็ว BOB 03[แก้]

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
ระยะเวลา 8 – 10 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
991 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.26 นิ้วปรอท)

ชื่อพายุ[แก้]

ภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาคในนิวเดลีได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 หากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ ท่านสามารถดูชื่อพายุที่เหลือทั้งหมดได้ที่รายชื่อพายุในมหาสมุทรอินเดียเหนือ

  • อโชบา
  • โกเมน
  • จาปาลา
  • เมฆ
  • โรอานู (ยังไม่ใช้)
  • จั่น (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะระบุชื่อของพายุ, วันที่พายุเริ่มก่อตัว, ความรุนแรง (ตามสเกลของ IMD), ข้อมูลพื้นฐานของพายุ, พื้นที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากพายุ โดยตัวเลขที่แสดงความเสียหายจะถูกระบุเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2015 และความเสียหาย การสูญเสียจากพายุ จะนับตั้งแต่พายุเริ่มรวมตัวจนถึงพายุถึงความรุนแรงสูงสุด

ชื่อ วันที่ ระดับความรุนแรง ความเร็วลม ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
เสียชีวิต อ้างอิง
อโชบา 7 – 12 กรกฎาคม พายุไซโคลน 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) โอมาน, สหรัฐอาหรับเอมิเรส เล็กน้อย ไม่มี
BOB 01 20 – 22 มิถุนายน ดีเปรสชัน 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) 994 hPa (29.36 นิ้วปรอท) รัฐโอฑิศา เล็กน้อย 15
ARB 02 22 – 24 มิถุนายน ดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 988 hPa (29.18 นิ้วปรอท) รัฐคุชราต, รัฐมหาราษฏระ &0000000257867115000000258 ล้าน 80
โกเมน 26 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม พายุไซโคลน 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 986 hPa (29.12 นิ้วปรอท) บังกลาเทศ, พม่า, อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, อินเดียตะวันออก ไม่ทราบ 170
ARB 03 9 – 12 ตุลาคม ดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 1001 hPa (29.56 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
จาปาลา 28 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) โอมาน, เยเมน, โซมาเลีย ไม่ทราบ 9
เมฆ 5 – 10 พฤศจิกายน พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) 964 hPa (28.47 นิ้วปรอท) เยเมน, โซมาเลีย ไม่ทราบ 14
BOB 03 8 – 10 พฤศจิกายน ดีเปรสชันหมุนเร็ว 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 991 hPa (29.26 นิ้วปรอท) อินเดีย, ศรีลังกา ไม่ทราบ 9
สรุปฤดูกาล
8 ลูก 7 กรกฎาคม – 10 พฤศจิกายน   215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท)   &0000000257867115000000258 ล้าน
(ประมาณ 9.17 พันล้านบาท)
297


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "IMD Cyclone Warning Services: Tropical Cyclones". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2015-07-28.
  2. Joint Typhoon Warning Center (JTWC). "Tropical Cyclone Formation Alert WTIO21 Issued on 06 June 2015 at 1100 UTC". Joint Typhoon Warning Center (JTWC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
  3. Madaan, Neha (11 June 2015). "Ashobaa stalls monsoon's advance". The Times of India. The Times of India. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  4. Eric Leister (June 12, 2015). "Rainstorm Ashobaa Slams Oman With Historic Flooding". Accuweather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-28. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.
  5. Fahad Al Mukrashi (June 12, 2015). "Heavy rains cause flooding in southern Oman". Muscat, Oman: Gulf News. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.
  6. "Widespread flooding as Ashobaa brings heavy rains to Oman". Muscat, Oman: The National. June 12, 2015. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.
  7. Rai, Bindu. "Ashobaa Latest: Gale winds to strike Muscat; Waterlogging in Fujairah". Emirates247. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  8. "Tropical Weather Advisory for Indian Ocean - 18/1800z". NOAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  9. "Tropical Weather Advisory for Indian Ocean - 19/1800z". NOAA. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.[ลิงก์เสีย]
  10. "Tropical Weather Advisory for Indian Ocean - 20/1800z". NOAA. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.[ลิงก์เสีย]
  11. "Tropical Weather Outlook - 20/0600z". India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  12. "Tropical Weather Outlook - 20/1500z". India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  13. "Tropical Weather Outlook - 21/0600z". India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  14. 14.0 14.1 "Tropical Weather Outlook - 22/0600z". India Meteorological Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  15. 15.0 15.1 "Heavy rains throw life out of gear in Andhra and Telangana". Hyderabad, India: Nyoooz. June 21, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ June 24, 2015.
  16. "9 fishermen go missing". Hyderabad, India: Times of India. June 24, 2015. สืบค้นเมื่อ June 24, 2015.
  17. "Depression off Coast: All Districts on Alert". The New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-21. สืบค้นเมื่อ June 21, 2015.
  18. "Rains disrupt life in many parts of Odisha". Business Standard. สืบค้นเมื่อ June 21, 2015.
  19. "Special Tropical Weather Outlook - 21/0600z". USNO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  20. "Special Tropical Weather Outlook - 22/0600z". USNO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  21. "Tropical Cyclone Formation Alert - 22/2100z". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 23 June 2015.
  22. "Flood-like situation in Gujarat due to heavy rains; 34 dead". Ahmedabad, India: News Nation. Press Trust of India. June 24, 2015. สืบค้นเมื่อ June 24, 2015.
  23. "Gujarat's Amreli battles worst flood in 90 years". Rajkot, India: Times of India. June 26, 2015. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  24. "Gujarat death toll touches 80, four lakh ex gratia for kin". Ahmedabad, India: Hinudstan Times. June 27, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  25. Mahesh Langa (June 28, 2015). "Gujarat floods kill 7 lions, more than a dozen still missing". Ahmedabad, India: Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ June 28, 2015.
  26. "Rains Kill Four More Lions in Gujarat, Toll Climbs to 9". Ahmedabad, India: The New Indian Express. Press Trust of India. June 28, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ June 28, 2015.
  27. "Tropical Cyclone Advisory Bulletin" (PDF). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 July 2015. สืบค้นเมื่อ 30 July 2015.
  28. "20 killed in Myanmar floods". Yangon, Myanmar: The Hindu. July 28, 2015. สืบค้นเมื่อ July 29, 2015.
  29. Stephan Uttom (July 28, 2015). "At least 7 die in Bangladesh floods". Dhaka, Bangladesh: UCA News. สืบค้นเมื่อ July 29, 2015.
  30. "Odisha issues fresh flood alert, death toll at 3". Bhubaneswar, India: Niti Central. Press Trust of India. July 30, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.
  31. "West Bengal flood toll 39, Met predicts heavy rains". Kolkata, India: India Today. Indo-Asian News Service. July 31, 2015. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]