ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ระบบสุดท้ายสลายตัว21 ธันวาคม พ.ศ. 2547
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเตี้ยนหมู่ และ ชบา
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด905 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด45 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด29 ลูก
พายุไต้ฝุ่น19 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น2 ลูก (เป็นทางการ)
4 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด2,435 ราย
ความเสียหายทั้งหมด≥ 1.85 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2547)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2545, 2546, 2547, 2548, 2549

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ในฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากกว่าปกติ ค่าดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) ในพายุหมุนเขตร้อนของฤดูกาลนี้ สูงกว่าค่าปกติของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกถึง 60% ที่ 480.6 หน่วย นับเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุมากที่สุดเป็นอันดับสองที่เคยบันทึกไว้ในฤดูกาลเดียว[1] รองจากฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2540 ซึ่งมีพายุดีเปรสชัน 45 ลูก, พายุโซนร้อน 29 ลูก, พายุไต้ฝุ่น 19 ลูก และพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 6 ลูก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัฏจักรประจำปีของการเกิดพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2547[2][3] โดยพายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน พายุลูกแรกของฤดูกาล และยังเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรก คือ พายุไต้ฝุ่นซูดัล ซึ่งพัฒนาเมื่อวันที่ 4 เมษายน ต่อมาถึงสถานะพายุไต้ฝุ่นในอีกสองวันต่อมา และกลายเป็นพายุซูปเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของปี และพายุลูกสุดท้ายของฤดูกาล คือ พายุโซนร้อนโนรูสลายไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม

ผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นนั้นสร้างความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต รวมถึงพายุไต้ฝุ่น 4 ลูก ติดต่อกันที่เคลื่อนตัวเข้าประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนสิงหาคมพายุไต้ฝุ่นรานานิมเข้าโจมตีประเทศไต้หวัน และประเทศจีนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง คร่าชีวิตผู้คนไป 169 ราย และเกิดความเสียหายประมาณ 2.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พายุไต้ฝุ่นแอรียังสร้างความเสียหายอย่างหนักในประเทศจีนหลังจากที่พายุไต้ฝุ่นรานานิมคร่าชีวิตผู้คนไป 107 ราย โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด พายุไต้ฝุ่นซงด่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทำลายล้างมากที่สุดในฤดูกาลที่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นโดยความเสียหายประมาณ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิต 28 ราย ในเดือนตุลาคมพายุไต้ฝุ่นโทกาเงะพัดถล่มประเทศญี่ปุ่นในฐานะพายุโซนร้อน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 95 ราย และสร้างความเสียหายทั้งหมดประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐพายุดีเปรสชันเขตร้อนวินนี่เคลื่อนตัวเข้าประเทศฟิลิปปินส์ คร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 1,593 ราย ทำให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนวินนี่เป็นพายุที่ร้ายแรงที่สุดของฤดูกาล นับตั้งแต่พายุโซนร้อนเทลมาในปี พ.ศ. 2534 กิจกรรมตามฤดูกาลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ซึ่งรวมถึงพายุไต้ฝุ่น 2 ลูก พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้าเคลื่อนตัวเข้าประเทศฟิลิปปินส์หลังจากพายุดีเปรสชันเขตร้อนวินนี่ คร่าชีวิตผู้คน 68 ราย และส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 ราย พายุไต้ฝุ่นลูกที่ 4 และเป็นลูกครั้งสุดท้ายที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ คือ พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล ซึ่งพัดขึ้นฝั่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในประเทศนั้น คร่าชีวิตผู้คนรวม 77 ราย

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออกกับเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มี 2 หน่วยงาน ที่กำหนดชื่อพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมี 2 ชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่ปากาซากำหนดชื่อพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าสู่ หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูดเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออกกับเส้นเมริเดียนที่ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูดเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือถึงเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือแม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลข และเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย[4]

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[แก้]

พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2547)
มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาถึงเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA, RSMC) ภายในภูมิภาคนี้พายุหมุนเขตร้อนจะถูกนิยามเป็นการเริ่มขึ้นของพายุหมุนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศเหนือทะเลเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ซึ่งมีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุนอย่างแน่นอน การจัดความรุนแรงขั้นต่ำที่สุดที่ใช้โดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาที อย่างน้อย 33 นอต (61 กม./ชม. หรือ 17 ม./ว. หรือ 38 ไมล์/ชม.) ถ้าหากพายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 33–47 นอต (61–87 กม./ชม. หรือ 17–24 ม./ว. หรือ 38–54 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะได้รับการตั้งชื่อและถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน ถ้าหากระบบยังทวีกำลังแรงต่อไปอีก โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 25–32 ม./ว. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ส่วนการจัดระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดตามมาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุไต้ฝุ่น โดยพายุจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (119 กม./ชม. หรือ 33 ม./ว. หรือ 74 ไมล์/ชม.)[nb 1]

มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2547)
มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (SSHWS)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)

พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ทางด้านตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติหรือศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง ภายในภูมิภาคนี้ พายุหมุนเขตร้อนถูกนิยามว่าเป็นแกนอากาศที่อบอุ่น การแปรปรวนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศก่อตัวขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน โดยมีการจัดระบบการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศ และมีศูนย์กลางการหมุนเวียนที่เหมาะสม ในภูมิภาคนี้ยังนิยามพายุหมุนกึ่งเขตร้อนด้วยว่าเป็น การแปรปรวนของหย่อมความกดอากาศต่ำแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ ซึ่งมีคุณลักษณะเป็นทั้งแบบพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนนอกเขตร้อน โดยเมื่อใดก็ตามที่พายุควรจะได้รับการจัดความรุนแรงตามหมวดเหล่านี้ จะมีการเริ่มออกคำแนะนำ และศูนย์เตือนภัยจะจัดความรุนแรงระบบในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อน หรือพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อความเร็วลมต่อเนื่องในหนึ่งนาทีอยู่ที่ประมาณหรืออย่างน้อย 33 นอต (62 กม./ชม. หรือ 38 ไมล์/ชม)[nb 2]

พายุหมุนเขตร้อน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นซูดัล[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 16 เมษายน
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โกสเม

พายุไต้ฝุ่นนิดา[แก้]

0402 (JMA)・04W (JTWC)・ดินโด (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 พฤษภาคม – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นนิดา
  • วันที่ 12 พฤษภาคม บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในร่องมรสุม และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศปาเลาประมาณ 350 กิโลเมตร (220 ไมล์) ภาพถ่ายดาวเทียมเผยให้เห็นการไหลเวียนในระดับต่ำที่อ่อนแอในขั้นต้น แต่สามารถมองเห็นความลาดเอียงได้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้คาดการณ์ว่าพายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้า ๆ
  • วันที่ 13 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในตอนเย็น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ถูกกำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 04W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ในช่วงเวลาของการก่อตัวหย่อมความกดอากาศต่ำตั้งอยู่ประมาณ 310 กิโลเมตร (190 ไมล์) ทางตะวันออกของประเทศปาเลา ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (3 ไมล์ต่อชั่วโมง) ภาพถ่ายดาวเทียมควิคเอสซีเอทีแสดงให้เห็นว่าลมของพายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่ใกล้ประมาณ 46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (29 ไมล์ต่อชั่วโมง) และลมแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพจากดาวเทียมในเวลาต่อมาพบว่ามีการพาความร้อนลึก ซึ่งจัดอยู่เหนือการหมุนเวียนในระดับต่ำ
  • วันที่ 14 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้า และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า นิดา
  • วันที่ 15 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในเช้าตรู่ และยังคงเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ด้วยเส้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ พายุโซนร้อนกำลังแรงนิดาเริ่มมีตาพายุที่มีลักษณะเป็นเกลียวค่อนข้างชัดเจน และสามารถมองเห็นบริเวณที่คล้ายตาพายุได้ ขณะนี้พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง พื้นที่เมฆหนาทึบตรงกลางของพายุไต้ฝุ่นนิดาก็เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โค้งมนมากขึ้น และโครงสร้างของผนังตาก็เริ่มมีการจัดระเบียบได้อย่างเต็มที่ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 3 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
  • วันที่ 16 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นนิดาได้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เนื่องจากมีความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ลมกระโชกแรงมาจากศูนย์กลางของพายุอยู่ที่ประมาณ 55 กิโลเมตร (35 ไมล์) และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าพายุได้พัฒนาตาพายุที่กำลังขยายกว้างประมาณ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) และพายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นนิดาได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดคาตันดัวเนส จึงทำให้พายุอ่อนกำลังลงในชั่วขณะหนึ่งแล้วเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือมากขึ้น และชะลอตัวลง เมื่อพายุเคลื่อนตัวกลับเข้าสู่น่านน้ำที่อุ่นขึ้นของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จึงทำให้ลมของพายุกลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในทางตะวันออกของเกาะลูซอน
  • วันที่ 18 พฤษภาคม พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นนิดาได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้งภายใต้อิทธิพลของลมเฉือนแนวตั้งแรงในทางตอนเหนือของประเทศไต้หวัน และพายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในตอนกลางคืน ภาพถ่ายดาวเทียมอินฟราเรดแสดงให้เห็นว่าตาพายุถูกบดบังด้วยเมฆเซอร์โรสเตรตัสสูง ซึ่งบ่งบอกถึงพายุไต้ฝุ่นนิดาได้อ่อนกำลังลง การพาความร้อนทางตอนเหนือของพายุได้ถูกแยกออกจากกัน แต่ศูนย์กลางยังคงมีการจัดระเบียบได้อย่างดี หลังจากนั้นพายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไต้หวัน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 20 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นนิดาได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในตอนเย็น หลังจากนั้นไม่นานก็อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเช้าวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 21 พฤษภาคม พายุโซนร้อนนิดาได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยังคงติดตามเศษซากของพายุในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประเทศญี่ปุ่น
พายุไต้ฝุ่นนิดาทำให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่มในเขตบีโคลของเกาะลูซอน จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย และมีผู้อพยพประมาณ 1,000 คน ขณะที่พายุอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น[7] โดยรวมแล้ว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 31 ราย และเกิดความเสียหายประมาณ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุโซนร้อนกำลังแรงโอไมส์[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 22 พฤษภาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอนเตง

พายุไต้ฝุ่นโกนเซิน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 11 มิถุนายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฟรันก์

พายุโซนร้อนกำลังแรงจันทู[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 15 มิถุนายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮเนร์

พายุไต้ฝุ่นเตี้ยนหมู่[แก้]

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 21 มิถุนายน
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮเลน

พายุไต้ฝุ่นมินดุลเล[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อิกเม

พายุไต้ฝุ่นเถ่งเถง[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 25 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนคมปาซุ[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 16 กรกฎาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮูเลียน

พายุไต้ฝุ่นน้ำเทิน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนหมาเหล่า[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 6 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเมอรันตี[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นรานานิม[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาเรน

พายุโซนร้อนมาลากัส[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 13 สิงหาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเมกี[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 20 สิงหาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลาวิน

พายุไต้ฝุ่นชบา[แก้]

0416 (JMA)・19W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 สิงหาคม – 5 กันยายน พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา
  • วันที่ 18 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ขณะที่พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พายุจัดกลายเป็นพอที่จะได้รับการจัดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันนั้น และพายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายใต้อิทธิพลที่อยู่ใกล้ ๆ เสริมกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 19 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้กำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 19W พายุอยู่ห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือในขณะนั้น พายุตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (10 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในแง่ของความรุนแรงของพายุได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 20 สิงหาคม ขณะที่พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนถึงระดับของพายุโซนร้อน อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์รูปแบบลมเกี่ยวกับพายุตลอดวันบ่งชี้ว่าการไหลเวียนในระดับบนของพายุโซนร้อนชบา และแยกออกจากการไหลเวียนของพื้นผิว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่พายุอยู่ห่างจากเกาะไซปันไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 345 กิโลเมตร (215 ไมล์) รูปแบบการทำให้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาช่องทางไหลออกคู่ระหว่างวันในขณะเดียวกันพายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือรอบขอบค่อนข้างแคบใกล้เคียง และได้เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 21 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้พัฒนาตาพายุระดับต่ำที่เด่นชัด มีขนาดใหญ่ และยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่กวม
  • วันที่ 22 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้สภาพอากาศที่มีความแปรปรวน พายุได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ที่มีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 927 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.37 นิ้วของปรอท) คืนนั้นพายุไต้ฝุ่นชบาได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ภายใต้การจัดหมวดหมู่ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) และพัฒนาเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 250 กิโลเมตร (155 ไมล์) และพื้นที่เมฆหนาทึบกลางขนาดใหญ่ พายุได้พัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) จากนั้นพายุก็รุนแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งปานกลาง และลมศูนย์กลางยังคงอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในอีกสองสามวันข้างหน้า พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 23 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้กลับมามีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง และได้ถึงจุดความหนาแน่นสูงสุด กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินว่าพายุมีความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) พายุไต้ฝุ่นชบามีขนาดปานกลางที่มีกำลังแรง แต่พายุยังคงระดับความรุนแรงนี้ไว้เป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่อากาศจะแห้ง และเริ่มส่งผลกระทบต่อพายุ
  • วันที่ 25 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกของสันเขาความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลมที่พายุยังคงเป็นความรุนแรงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 26 สิงหาคม ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นชบายังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่พายุจะเริ่มผันผวนในขณะที่เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 27 สิงหาคม ร่องคลื่นยาวที่เป็นส่วนหนึ่งที่พาพายุไต้ฝุ่นชบาไปทางทิศเหนือ และได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวช้าลงไปทางทิศตะวันตก และเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาส่งผลให้พายุอ่อนกำลังลงอีก ร่องคลื่นยาวพาพายุไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเคลื่อนตัวไปยังแผ่นดินใกล้คาโงชิมะเมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 28 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ โดยมีลมเฉือนแนวตั้งปานกลางในแง่ของเส้นทาง พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ ตาพายุด้านนอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) และตาพายุด้านในมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์)
  • วันที่ 29 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือภายใต้การไหลของอากาศทางทิศใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน
  • วันที่ 30 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่จังหวัดคาโงชิมะเมื่อเวลา 16:30 น. (09:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ข้ามเกาะคีวชู และในเวลาสั้น ๆ ก็โผล่ออกมาเหนือน้ำก่อนที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดยามางูจิเมื่อเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และอีก 6 ชั่วโมง ต่อมาพายุโซนร้อนชบาได้เคลื่อนตัวเข้าไปในทะเลญี่ปุ่นขึ้นแผ่นดินเป็นครั้งสุดท้ายในทางตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้กับจังหวัดฮกไกโด
  • วันที่ 31 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนชบาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน หลังจากนั้นก็สลายไปในทะเลโอค็อตสค์ และเคลื่อนตัวไปยังชายฝั่งของประเทศรัสเซีย
  • วันที่ 4 กันยายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้กลายเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนใกล้เกาะซาฮาลินก่อนจะสลายตัวไปในเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในวันรุ่งขึ้น
ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในประเทศญี่ปุ่นโดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 18 ราย และมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 105.4 พันล้านเยน (959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับที่ 14 จากบันทึกที่ผ่านมา บ้านเรือนประมาณ 8,627 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากผลกระทบของพายุ และบ้านเรือนอีกประมาณ 46,561 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ผลกระทบในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่เกาะคีวชู พายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรก จึงทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 821 มิลลิเมตร (32.32 นิ้ว) ในจังหวัดมิยาซากิ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และเกิดความล่าช้าในการขนส่งจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายโดยรวมประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุไต้ฝุ่นแอรี[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มาร์เซ

พายุไต้ฝุ่นซงด่า[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 สิงหาคม – 8 กันยายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: นีนา

พายุโซนร้อนกำลังแรงซาเระกา[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 9 กันยายน
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนไหหม่า[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 13 กันยายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โอเฟล

พายุไต้ฝุ่นเมอารี[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 29 กันยายน
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กินตา

พายุไต้ฝุ่นหมาอ๊อน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 10 ตุลาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: รอลลี

พายุไต้ฝุ่นโทกาเงะ[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โชนี

พายุไต้ฝุ่นนกเต็น[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โตนโย

พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 25 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ยูนดิง

พายุโซนร้อนเมอร์บก[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
ระยะเวลา 21 – 23 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บีโอเลตา

พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 29 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โยโยง

พายุโซนร้อนตาลัส[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 20 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โซซีโม

พายุโซนร้อนโนรู[แก้]

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 21 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชันเขตร้อน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเขตร้อนเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อัมโบ
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของชุก ทางเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากมะนิลาไปทางตะวันออกราว 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงลมเฉือนแนวตั้งที่คงอยู่
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อนดำเนินการวนตามเข็มนาฬิกา เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้อ่อนกำลังลงเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำทางเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ จากนั้นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W ก็สลายไป
เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ส่งผลกระทบต่อเกาะลูซอนโดยทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และฝนตกหนักในวันที่ 20 จนถึง 22 กุมภาพันธ์

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 02W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บุตโชย
  • วันที่ 13 มีนาคม ร่องน้ำใกล้เส้นศูนย์สูตรทำให้เกิดความปั่นป่วนในเขตร้อนชื้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์
  • วันที่ 18 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากมะนิลาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 1,100 กิโลเมตร (685 ไมล์) และเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็ว เนื่องจากน้ำอุ่น และการพาความร้อนปานกลางจึงทำให้มีรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหันไปทางตะวันตกเฉียงใต้ช่วงสั้น ๆ
  • วันที่ 19 มีนาคม พายุโซนร้อนรุนแรงถึงขีดสุด และได้ตั้งชื่อโดยปากาซาว่า บุตโชย ก่อนระบบอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 21 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือสู่เกาะลูซอน โดยเคลื่อนไปทางทิศเหนือ
  • วันที่ 23 มีนาคม ก่อนพายุจะพัดเข้าประเทศฟิลิปปินส์ รางน้ำที่อ่อนแอนำขึ้นไปทางเหนือ ซึ่งอากาศแห้งและแรงลมเฉือนแนวตั้งทำให้พายุอ่อนกำลังลงเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลทางตะวันออกของเกาะลูซอนในวันรุ่งขึ้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 05W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 12 พฤษภาคม ความปั่นป่วนเขตร้อนขนาดเล็กก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 15 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวเหนือทะเลจีนใต้ประมาณ 230 กิโลเมตร (140 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครโฮจิมินห์ ได้จัดประเภทเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 05W
  • วันที่ 16 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกทำให้กระทบประเทศเวียดนาม และรุนแรงจนถึงขีดสุดในฐานะพายุโซนร้อน
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนหันไปทางตะวันออก และอ่อนกำลังลง
  • วันที่ 18 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้สลายตัว เนื่องจากถูกดูดอย่างแรงจากพายุไต้ฝุ่นนิดาที่มีระดับความรุนแรงสูงสุด
  • วันที่ 20 พฤษภาคม เศษพายุได้เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และอ่อนกำลังลงเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำในวันรุ่งขึ้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 21W[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 24 สิงหาคม พื้นที่การพาความร้อนที่มีจุดศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำที่อ่อนแอได้พัฒนาไปประมาณ 1,125 กิโลเมตร (700 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกวม
  • วันที่ 26 สิงหาคม พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ และถูกกำหนดให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ไม่นานหลังจากนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) กำหนดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 27 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนค่อย ๆ รุนแรงขึ้น และได้ยกระดับเป็นสถานะพายุโซนร้อน ได้พัฒนาไปประมาณ 590 กิโลเมตร (365 ไมล์) ทางตะวันออกของกวม ในการวิเคราะห์หลังฤดูกาล ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ว่า 21W เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ความกดอากาศต่ำถึงระดับสูงสุดเมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยความเร็วลม 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (35 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 28 สิงหาคม ศูนย์กลางถูกเปิดออกอย่างเต็มที่ด้วยการพาความร้อนลึกซึ่งเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกวม เนืองจากกระแสลมพายุไต้ฝุ่นชบาไปทางเหนืออย่างแรง พายุโซนร้อนถูกลดระดับกลับไปเป็นสถานะพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รอบเที่ยงคืนของท้องถิ่นเมื่ออยู่ตรงกลางประมาณ 395 กิโลเมตร (245 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวม แม้ว่ากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะไม่ยกระดับเป็นสถานะพายุโซนร้อน
  • วันที่ 31 สิงหาคม ระบบอ่อนกำลังลงสลายไปเมื่อจุดต่ำสุดที่อ่อนแออยู่ห่างจากไซปันไป ทางตะวันตกประมาณ 1,210 กิโลเมตร (750 ไมล์)
ไม่มีความเสียหาย ผู้บาดเจ็บ หรือผู้เสียชีวิต เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่มีระบบที่สั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 30[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 15 – 17 กันยายน พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ปาโปล

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 41[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 27 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: วินนี

รายชื่อพายุ[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[8] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[9] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้า หรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[8] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และคณะกรรมการไต้ฝุ่น[9] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[10] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิก และดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[11] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2547 คือ ซูดัล จากชุดที่ 4 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ โนรู จากชุดที่ 5 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 29 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2547
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 4 0401 ซูดัล
(Sudal)
ชุดที่ 4 0409 คมปาซุ
(Kompasu)
ชุดที่ 4 0417 แอรี
(Aere)
ชุดที่ 5 0425 หมุ่ยฟ้า
(Muifa)
0402 นิดา
(Nida)
0410 น้ำเทิน
(Namtheun)
0418 ซงด่า
(Songda)
0426 เมอร์บก
(Merbok)
0403 โอไมส์
(Omais)
0411 หมาเหล่า
(Malou)
ชุดที่ 5 0419 ซาเระกา
(Sarika)
0427 นันมาดอล
(Nanmadol)
0404 โกนเซิน
(Conson)
0412 เมอรันตี
(Meranti)
0420 ไหหม่า
(Haima)
0428 ตาลัส
(Talas)
0405 จันทู
(Chanthu)
0413 รานานิม
(Rananim)
0421 เมอารี
(Meari)
0429 โนรู
(Noru)
0406 เตี้ยนหมู่
(Dianmu)
0414 มาลากัส
(Malakas)
0422 หมาอ๊อน
(Ma-on)
0407 มินดุลเล
(Mindulle)
0415 เมกี
(Megi)
0423 โทกาเงะ
(Tokage)
0408 เถ่งเถง
(Tingting)
0416 ชบา
(Chaba)
0424 นกเต็น
(Nock-ten)

ฟิลิปปินส์[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัว หรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[12] ชุดรายชื่อนี้มีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล พ.ศ. 2551 เนื่องจากเป็นชุดรายชื่อที่เริ่มใหม่ จึงไม่มีชื่อใดในรายการนี้ที่ถูกถอนเลย ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2547
อัมโบ (Ambo) ฟรันก์ (Frank) (0404) กาเรน (Karen) (0413) ปาโบล (Pablo) ยูนดิง (Unding) (0425)
บุตโชย (Butchoy) เฮเนร์ (Gener) (0405) ลาวิน (Lawin) (0415) กินตา (Quinta) (0421) บีโอเลตา (Violeta) (0426)
โกสเม (Cosme) (0401) เฮเลน (Helen) (0406) มาร์เซ (Marce) (0417) รอลลี (Rolly) (0422) วินนี (Winnie)
ดินโด (Dindo) (0402) อิกเม (Igme) (0407) นีนา (Nina) (0418) โชนี (Siony) (0423) โยโยง (Yoyong) (0427)
เอนเตง (Enteng) (0403) ฮูเลียน (Julian) (0409) โอเฟล (Ofel) (0420) โตนโย (Tonyo) (0424) โซซีโม (Zosimo) (0428)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาลักดัน (Alakdan) (ไม่ถูกใช้) กลารา (Clara) (ไม่ถูกใช้) เอสโตง (Estong) (ไม่ถูกใช้) เฮร์โด (Gardo) (ไม่ถูกใช้) อิสมาเอล (Ismael) (ไม่ถูกใช้)
บัลโด (Baldo) (ไม่ถูกใช้) เดนซีโย (Dencio) (ไม่ถูกใช้) เฟลีเป (Felipe) (ไม่ถูกใช้) เฮลิง (Heling) (ไม่ถูกใช้) ฮูลีโย (Julio) (ไม่ถูกใช้)

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือเคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2547 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหาย หรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
01W
(อัมโบ)
11 - 16 กุมภาพันธ์ 2547 พายุดีเปรสชัน 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
02W
(บุตโชย)
18 - 25 มีนาคม 2547 พายุดีเปรสชัน 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ไม่มี ไม่มี
ซูดัล
(โกสเม)
4 - 16 เมษายน 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ &000000001400000000000014 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี
นิดา
(ดินโด)
13 - 21 พฤษภาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000000013000000000001.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 31
05W 14 - 20 พฤษภาคม 2547 พายุดีเปรสชัน 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) เวียดนาม เวียดนาม ไม่มี ไม่มี
โอไมส์
(เอนเตง)
16 - 23 พฤษภาคม 2547 พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
โกนเซิน
(ฟรันก์)
4 - 11 มิถุนายน 2547 พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000000038000000000003.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 30
จันทู
(เฮเนร์)
8 - 15 มิถุนายน 2547 พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
กัมพูชา กัมพูชา
ลาว ลาว
ไทย ไทย
&00000000079000000000007.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 39
เตี้ยนหมู่
(เฮเลน)
13 - 21 มิถุนายน 2547 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&000000006850000000000068.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 6
มินดุลเล
(อิกเม)
21 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
ประเทศเกาหลี เกาหลี
&0000000833000000000000833 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 56
เถ่งเถง 25 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2547 พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา
&000000002370000000000023.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 12
คมปาซุ
(ฮูเลียน)
11 - 16 กรกฎาคม 2547 พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
ไม่มี ไม่มี
น้ำเทิน 24 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
TD 27 กรกฎาคม 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) จีน จีนตอนใต้ ไม่มี ไม่มี
หมาเหล่า 2 - 6 สิงหาคม 2547 พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
เมอรันตี 3 - 9 สิงหาคม 2547 พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) เกาะเวก เกาะเวก ไม่มี ไม่มี
รานานิม
(กาเรน)
6 - 15 สิงหาคม 2547 พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีนตะวันออก
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
&00000024400000000000002.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 169
TD 6 - 7 สิงหาคม 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 7 - 8 สิงหาคม 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
มาลากัส 9 - 13 สิงหาคม 2547 พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เมกี
(ลาวิน)
14 - 20 สิงหาคม 2547 พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ประเทศเกาหลี เกาหลี
ไม่มี 5
ชบา 18 - 31 สิงหาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
กวม กวม
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000020000000000000002 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 20
แอรี
(มาร์เซ)
18 - 31 สิงหาคม 2547 พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
&0000000000313000000000313 พันดอลลาร์สหรัฐ 107
21W 25 - 30 สิงหาคม 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
ซงด่า
(นีนา)
26 สิงหาคม – 7 กันยายน 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
&00000090000000000000009 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 28
ซาเระกา 3 - 9 กันยายน 2547 พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
TD 8 - 11 กันยายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว ไม่มี ไม่มี
ไหหม่า
(โอเฟล)
10 - 13 กันยายน 2547 พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
&00000000076400000000007.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี
TD 12 กันยายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน ไม่มี ไม่มี
ปาโปล 15 – 17 กันยายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
ไม่มี ไม่มี
TD 15 – 16 กันยายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) จีน จีนตะวันออก ไม่มี ไม่มี
เมอารี
(กินตา)
19 – 29 กันยายน 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&0000000798000000000000798 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 18
TD 20 กันยายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
หมาอ๊อน
(รอลลี)
3 – 10 ตุลาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น &0000000623000000000000623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7
TD 4 ตุลาคม 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 9 – 13 ตุลาคม 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
โทกาเงะ
(โชนี)
12 – 20 ตุลาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000023000000000000002.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 95
นกเต็น
(โตนโย)
14 – 26 ตุลาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
ไม่มี 3
หมุ่ยฟ้า
(ยูนดิง)
14 – 25 พฤศจิกายน 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
ไทย ไทย
มาเลเซีย มาเลเซีย
ประเทศพม่า พม่า
&000000001800000000000018 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 108
TD 16 – 19 พฤศจิกายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เมอร์บก
(บีโอเลตา)
21 – 23 พฤศจิกายน 2547 พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &00000000051000000000005.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 31
วินนี 27 – 29 พฤศจิกายน 2547 พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &000000001460000000000014.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,593
นันมาดอล
(โยโยง)
29 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2547 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
&000000006080000000000060.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 77
ตาลัส
(โซซีโม)
9 – 20 ธันวาคม 2547 พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์
&0000000000750000000000750 พันดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี
โนรู 17 – 21 ธันวาคม 2547 พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
45 ลูก 11 กุมภาพันธ์ -
21 ธันวาคม 2547
  205 กม./ชม.
(125 ไมล์/ชม.)
910 hPa (26.87 นิ้วปรอท)   18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(≈621 พันล้าน บาท)
2,435


ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[5]
  2. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Saunders, Mark; Lea, Adam (January 11, 2005). "Summary of 2004 NW Pacific Typhoon Season and Verification of Authors' Seasonal Forecasts" (PDF). Tropical Storm Risk.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
  4. Padgett, Gary; Boyle, Kevin; Chunliang, Huang (May 2003). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary May 2003". Summaries and Track Data. Australiansevereweather.com. สืบค้นเมื่อ 2013-10-06.
  5. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  6. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  7. "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2004-05-19. สืบค้นเมื่อ 19 May 2004.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2012. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
  9. 9.0 9.1 the Typhoon Committee (February 21, 2012). "Typhoon Committee Operational Manual 2012" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2013.
  10. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  11. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  12. "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]