รายชื่อสมุหราชองครักษ์ของไทย
สมุหราชองครักษ์ | |
---|---|
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน ยกเลิกตำแหน่ง ตั้งแต่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตามพระราชอัธยาศัย |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) |
สถาปนา | พ.ศ. 2441 |
รอง | รองสมุหราชองครักษ์ |
เว็บไซต์ | http://www.radc.go.th/ |
สมุหราชองครักษ์ กำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเรียกว่า "นายทหารรักษาพระองค์" โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท พิทักษ์รักษาความปลอดภัยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ที่จะต้องมีราชองครักษ์ไว้ปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณโดยใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือก นายทหารรักษาพระองค์มาจากกรมทหามหาดเล็กรักษาพระองค์และทรงพระราชทานนามนายทหารเหล่านี้ว่า "ราช-แอด-เดอ-แกมป์" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2434 ได้เปลี่ยนนามเป็น "ราชองครักษ์" เมื่อจำนวนราชองครักษ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นระเบียบแบบแผนสืบไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติราชองครักษ์ ร.ศ. 117 ขึ้น เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2441 ให้ตั้งราชองครักษ์เป็นกรมหนึ่ง ขึ้นอยู่ในกรมยุทธนาธิการ มีสมุหราชองครักษ์เป็นผู้รับผิดชอบราชองครักษ์ทั้งปวง
ต่อมา ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[1] ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี "กรมราชองครักษ์" โอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์[2] สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และเปลี่ยนชื่อเป็น "สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์"[3] (Office of the Aide-de-Camp)[4] ทำให้ไม่มีการแต่งตั้ง "สมุหราชองครักษ์" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยคนสุดท้ายที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมุหราชองครักษ์ คือ พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์
รายพระนาม/รายนามสมุหราชองครักษ์
[แก้]ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) | พ.ศ. 2441 | พ.ศ. 2452 | |
2 | พระยาสุรเสนา(กลิ่น แสงชูโต) | พ.ศ. 2452 | พ.ศ. 2456 | |
3 | เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน(อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) | พ.ศ. 2456 | พ.ศ. 2460 | |
4 | เจ้าพระยารามราฆพ | พ.ศ. 2460 | พ.ศ. 2469 | |
5 | หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร[5] | พ.ศ. 2469 | พ.ศ. 2471 | |
6 | พลเอก พระยาเทพอรชุน (อุ่ม อินทรโยธิน)[6] | พ.ศ. 2471 | พ.ศ. 2475 | |
7 | พลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)[7] | พ.ศ. 2475 | พ.ศ. 2479 | |
8 | พันเอก พระสราภัยสฤษฏิการ[8] | พ.ศ. 2480 | พ.ศ. 2485 | |
9 | พลอากาศโท พระศิลปศัสตราคม | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2491 | |
10 | พลเอก หลวงสุรณรงค์[9] | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2507 | |
11 | พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล[10] | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2517 | |
12 | พลเอก จำเป็น จารุเสถียร | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2521 | |
13 | พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2526 | |
14 | พลเอก นวล จันทร์ตรี | พ.ศ. 2526 | พ.ศ. 2530 | |
15 | พลเอก ดำรง สิกขะมณฑล[11] | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2545 | |
16 | พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์[12] | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2560[13] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1
- ↑ "Organization Structure - Royal Office". www.royaloffice.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-16. สืบค้นเมื่อ 2023-11-16.
- ↑ ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์(หม่อมเจ้าอมรทัต กฤษดากร )[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์ (นายพลเอก พระยาเทพอรชุน)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ปลดสมุหราชองครักษ์
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งสมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ประจำ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและตั้งสมุหราชองครักษ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งสมุหราชองครักษ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ให้พลโท ดำรง สิกขะมณฑล เป็นสมุหราชองครักษ์และพลตรี เดชา บุนนาค เป็นรองสมุหราชองครักษ์
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-25.
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารลาออกจากราชการ (พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์)
- อดีตสมุหราชองครักษ์ เก็บถาวร 2016-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายชื่อสมุหราชองครักษ์ของไทยใน วิกิพีเดีย เก็บถาวร 2016-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน