ประเทศนิวซีแลนด์ในเครือจักรภพ
นิวซีแลนด์ในเครือจักรภพ Dominion of New Zealand | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1907-1947 | |||||||||||||
สถานะ | ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ | ||||||||||||
เมืองหลวง | เวลลิงตัน | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา | ||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||
• ค.ศ. 1907–1910 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 | ||||||||||||
• ค.ศ. 1910–1936 | พระเจ้าจอร์จที่ 5 | ||||||||||||
• ค.ศ. 1936 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 | ||||||||||||
• ค.ศ. 1936–1947 | พระเจ้าจอร์จที่ 6 | ||||||||||||
ผู้ว่าการ/ผู้สำเร็จราชการ | |||||||||||||
• ค.ศ. 1907–1910 (แรก) | วิลเลียม พลันเคท | ||||||||||||
• ค.ศ. 1946–1947 (สุดท้าย) | เบอร์นาร์ด เฟรย์เบิร์ก | ||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||
• ค.ศ. 1907–1912 (แรก) | โจเซฟ วาร์ด | ||||||||||||
• ค.ศ. 1940–1947 (สุดท้าย) | ปีเตอร์ เฟรเซอร์ | ||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา | ||||||||||||
• สภาสูง | สภานิติบัญญัติ | ||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• รับรองเป็นประเทศในเครือจักรภพ | 26 กันยายน ค.ศ. 1907 | ||||||||||||
• รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947[note 1] | ||||||||||||
สกุลเงิน | นิวซีแลนด์ปอนด์[note 2] | ||||||||||||
|
ประเทศนิวซีแลนด์ในเครือจักรภพ (อังกฤษ: Dominion of New Zealand) เป็นประเทศที่ก่อตั้งขึ้นต่อจากอาณานิคมนิวซีแลนด์ มีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นประเทศมีสิทธิในการปกครองตนเองภายในจักรวรรดิอังกฤษ
นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมในพระองค์เมื่อปีค.ศ. 1841 และได้มีรัฐบาลปกครองตนเองตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1852 นิวซีแลนด์ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมในสหพันธ์ออสเตรเลียและได้รับสถานะเป็นประเทศในเครือจักรภพเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1907 (Dominion Day) โดยเป็นประกาศพระบรมราชโองการโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งสถานะการเป็นประเทศนั้นได้เป็นสัญลักษณ์ของการมีเอกราชทางการเมืองซึ่งได้มีพัฒนาการมากว่าครึ่งศตวรรษผ่านทางรัฐบาลปกครองตนเองของนิวซีแลนด์
ด้วยประชากรต่ำกว่าหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ในปีค.ศ. 1907 โดยทั้งเมืองออคแลนด์ และเวลลิงตัน นั้นได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว[1] สถานะใหม่นี้ของประเทศนิวซีแลนด์นั้นยังคงให้สิทธิในรัฐบาลสหราชอาณาจักรต่อการกำหนดนโยบายการต่างประเทศได้และดังนั้นนิวซีแลนด์จึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมใหญ่จักรวรรดิในปีค.ศ. 1923 และ 1926 ได้มีมติร่วมกันว่านิวซีแลนด์ควรจะได้รับสิทธิในการต่อรองสนธิสัญญาทางการเมืองด้วยตัวเอง และจึงทำให้เกิดสนธิสัญญาการพาณิชย์ฉบับแรกกับญี่ปุ่นซึ่งลงสัตยาบันในปีค.ศ. 1928 และต่อมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1939 รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโดยตัวเอง
ต่อมาในยุคหลังสงคราม คำว่า "ประเทศในเครือจักรภพ" ได้ตกหล่นไป โดยนิวซีแลนด์ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ผ่านทางธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 และได้รับรองโดยรัฐสภานิวซีแลนด์เมื่อปีค.ศ. 1947 อย่างไรก็ตามจากประกาศพระบรมราชโองการในปีค.ศ. 1907 สถานะความเป็นประเทศในเครือจักรภพยังไม่ได้ถูกเรียกคืนและดังนั้นจึงยังคงมีสถานะที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน[2][3]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Whether New Zealand's status as a British Dominion came to an end in 1947 with the enactment of the Statute of Westminster Adoption Act 1947 is unclear. For a discussion, see the relevant section of this article.
- ↑ Before 1933 British and Australian coins circulated in New Zealand.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The New Zealand Official Year-Book 1907". stats.govt.nz. Statistics New Zealand. 1907. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
- ↑ "What changed? – Dominion status". nzhistory.govt.nz. Ministry for Culture and Heritage. สืบค้นเมื่อ 18 December 2016.
- ↑ "New Zealand 'still a colony'". Stuff.co.nz. 30 September 2007. สืบค้นเมื่อ 21 December 2016.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- McIntyre, David (1999). "The Strange Death of Dominion Status". Journal of Imperial and Commonwealth History: 193, 196.