มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ละติน: Universitas Oxoniensis | |
ชื่ออื่น | The Chancellor, Masters and Scholars of the University of Oxford[1] |
---|---|
คติพจน์ | ละติน: Dominus illuminatio mea |
คติพจน์อังกฤษ | The Lord is my Light (พระเจ้าเป็นนิมิตของข้า) |
ประเภท | รัฐ มหาวิทยาลัยวิจัย Ancient university |
สถาปนา | ป. 1096[2] |
สังกัดวิชาการ | |
ทุนทรัพย์ | £6.1 พันล้าน (รวมทั้งวิทยาลัย) (2019)[3] |
งบประมาณ | £2.145 พันล้าน (2019–20)[3] |
อธิการบดี | The Lord Patten of Barnes |
รองอธิการบดี | Louise Richardson[4][5] |
อาจารย์ | 6,995 (2020)[6] |
ผู้ศึกษา | 24,515 (2019)[7] |
ปริญญาตรี | 11,955 |
บัณฑิตศึกษา | 12,010 |
ผู้ศึกษาอื่น | 541 (2017)[8] |
ที่ตั้ง | , ประเทศอังกฤษ 51°45′18″N 01°15′18″W / 51.75500°N 1.25500°W |
วิทยาเขต | เมืองมหาวิทยาลัย |
สี | น้ำเงินออกซฟอร์ด[9] |
เครือข่ายกีฬา | บลู |
เว็บไซต์ | ox |
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (อังกฤษ: University of Oxford หรือ Oxford University) หรือชื่อเรียกอย่างง่ายว่า ออกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีบันทึกเป็นหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096[2] ทำให้ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเก่าแก่เป็นอันดับสองในบรรดามหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังเปิดสอน[2][10] ออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส[2] ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองออกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น[11] ทั้งสอง "มหาวิทยาลัยโบราณ" มักจะถูกเรียกว่า "ออกซบริดจ์"
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 39 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก[12] แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง[13] มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่ออกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก[14] และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน[15] ออกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก[16] ออกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดไม่มีช่วงเวลาการก่อตั้งที่แน่นอน[17] การสอนที่ออกซฟอร์ดบางส่วนปรากฏอย่างน้อยที่สุดใน ค.ศ. 1096 แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยตั้งขึ้นเมื่อไร[2] ออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วใน ค.ศ. 1167 เมื่อนักศึกษาชาวอังกฤษกลับมาจากมหาวิทยาลัยปารีส[2] นักประวัติศาสตร์เจอรัลด์แห่งเวลส์ทำการบรรยายให้กับนักวิชาการต่าง ๆ ใน ค.ศ. 1188 และนักวิชาการชาวต่างชาติคนแรกที่รู้จักคืออีโมแห่งฟรีสลันด์มาที่ออกซฟอร์ดใน ค.ศ. 1190 ผู้นำของมหาวิทยาลัยใช้ชื่อตำแหน่งว่าอธิการบดี (อังกฤษ: Chancellor) อย่างน้อยที่สุดใน ค.ศ. 1201 และได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยหรือบรรษัทใน ค.ศ. 1231 มหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตใน ค.ศ. 1248 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 3[18]
ภายหลังจากข้อพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองออกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1209 นักวิชาการบางส่วนได้หลบหนีจากความรุนแรงไปยังเคมบริดจ์ และได้ก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[11][19]
นักศึกษามีความเกี่ยวข้องบนพื้นฐานของพื้นเพทางภูมิศาสตร์แบ่งเป็นสอง "ชาติ" ประกอบด้วยทางเหนือ (ชาวเหนือ หรือ โบเรียลิส หมายถึงชาวอังกฤษที่อยู่ทางเหนือของแม่น้ำเทรนต์และชาวสกอต) และทางใต้ (ชาวใต้ หรือ ออสเตรลีส หมายถึงชาวอังกฤษที่อยู่ทางใต้ของแม่น้ำเทรนต์ ชาวไอริช และชาวเวลส์)[20][21] ในหลายศตวรรษต่อมาพื้นเพทางภูมิศาสตร์ยังคงมีอิทธิพลต่อความเชื่อมโยงของนักศึกษาจำนวนมากผ่านการเข้าเป็นสมาชิกของวิทยาลัยหรือฮอลล์ซึ่งกลายเป็นขนบธรรมเนียมของออกซฟอร์ด นอกจากนี้สมาชิกของคณะนักบวชจำนวนมากรวมถึงดอมินิกัน ฟรันซิสกัน คาร์เมไลท์ และออกัสติเนียนเข้ามายังออกซฟอร์ดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งมีอิทธิพลและดูแลบ้านหรือฮอลล์ต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา[22] ในเวลาเดียวกันผู้อุปถัมภ์ต่าง ๆ ได้จัดตั้งวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นชุมชนวิชาการอิสระไม่มีสังกัด ในบรรดาผู้ก่อตั้งกลุ่มแรก ๆ เช่น วิลเลียมแห่งเดอรัมผู้ก่อตั้งวิทยาลัยยูนิเวอซิตีใน ค.ศ. 1249[22] และจอห์น แบเลียน บิดาของกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ในอนาคตได้ก่อตั้งวิทยาลัยแบเลียนตามชื่อของเขา[20] วอลเตอร์ เดอ เมอร์ตันผู้ก่อตั้งอีกคนซึ่งเป็นลอร์ดชานเซลเลอร์แห่งอังกฤษและภายหลังเป็นบิชอปแห่งรอเชสเตอร์ได้ยกร่างกฎระเบียบสำหรับการดำรงชีวิตในวิทยาลัย[23][24] ด้วยเหตุนี้วิทยาลัยเมอร์ตันได้กลายเป็นตัวอย่างของการใช้กฎปฏิบัติในออกซฟอร์ด[25] รวมถึงมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ภายหลังจากนั้นนักศึกษาที่มีจำนวนมากขึ้นได้อาศัยอยู่ในวิทยาลัยมากกว่าฮอลล์และบ้านของกลุ่มศาสนา[22]
ใน ค.ศ. 1333-34 ความพยายามจากนักวิชาการออกซฟอร์ดบางส่วนที่ไม่พอใจต่อการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ที่สแตมฟอร์ด, ลิงคอล์นเชอร์ได้ยุติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ร้องฎีกาต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3[26] ภายหลังจากนั้นจนกระทั่งทศวรรษที่ 1820 ไม่มีมหาวิทยาลัยใหม่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งขึ้นในอังกฤษแม้แต่ในลอนดอน เพราะฉะนั้นออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์จึงมีลักษณะผูกขาดเพียงสองแห่งซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตะวันตก[27][28]
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
[แก้]การเรียนรู้แบบใหม่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยามีอิทธิพลต่อออกซฟอร์ดอย่างมากตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นต้นไป นักวิชาการของมหาวิทยาลัยในสมัยนั้นคือวิลเลียม โกรซินผู้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูการศึกษาภาษากรีก และจอห์น โคเล็ตผู้เป็นนักวิชาการทางคัมภีร์ไบเบิล
การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษและยุติความสัมพันธ์กับคริสตจักรโรมันคาทอลิก ทำให้นักวิชาการที่ไม่เข้าร่วมกิจการของคริสตจักรแห่งอังกฤษจากออกซฟอร์ดหนีไปยังทวีปยุโรป โดยตั้งหลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยดูแอ[29] วิธีการสอนที่ออกซฟอร์ดถูกเปลี่ยนจากอัสสมาจารย์นิยมในยุคกลางเป็นการศึกษาแบบฟื้นฟูศิลปวิทยาแม้ว่าสำนักต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจะต้องสูญเสียที่ดินและรายได้ จากที่เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และทุนการศึกษา ชื่อเสียงของออกซฟอร์ดเสื่อมลงในยุคเรืองปัญญา การลงทะเบียนเรียนลดลงและการเรียนการสอนถูกละเลย
ใน ค.ศ. 1637 วิลเลียม ลอดจ์ อธิการบดีและอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขึ้น กฎระเบียบเหล่านี้ยังคงอยู่จนถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ลอดยังเป็นผู้รับผิดชอบต่อการให้สิทธิ์พิเศษแก่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย และเขามีส่วนสำคัญต่อห้องสมุดบอดเลียนซึ่งเป็นห้องสมุดหลักของมหาวิทยาลัย จากการเริ่มต้นของคริสตจักรแห่งอังกฤษในฐานะคริสตจักรที่ถูกสถาปนาขึ้นจนถึง ค.ศ. 1866 สมาชิกของคริสตจักรถูกกำหนดให้ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (BA) จากมหาวิทยาลัย และ"ผู้คัดค้าน"ได้รับอนุญาตให้รับแต่เพียงปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (MA) ใน ค.ศ. 1871[30]
มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของฝ่ายนิยมเจ้าในระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ค.ศ. 1642–1649) ในขณะที่เมืองได้รับการสนับสนุนจากผู้ต่อต้านคือฝ่ายรัฐสภา[31] ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดมีส่วนร่วมเล็กน้อยในความขัดแย้งทางการเมือง
วิทยาลัยวอแดมได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1610 เป็นวิทยาลัยระดับปริญญาตรีของเซอร์คริสโตเฟอร์ เรน เรนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชั้นนำของนักวิทยาศาสตร์เชิงทดลองที่ออกซฟอร์ดในทศวรรษที่ 1650 หรือชมรมปรัชญาออกซฟอร์ดซึ่งรวมถึงรอเบิร์ต บอยล์และรอเบิร์ต ฮุกมักพบปะกันเป็นประจำที่วอแดมภายใต้การแนะนำของผู้อำนวยการวิทยาลัยจอห์น วิลกินส์และกลุ่มนี้ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การก่อตั้งราชสมาคม
วิทยาลัยที่สังกัดมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในปัจจุบัน
[แก้]ปัจจุบันนี้ มีวิทยาลัยที่สังกัดมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด 39 แห่ง ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกเข้าไปอยู่ได้ ถ้ามีคุณสมบัติตรงตามที่วิทยาลัยต้องการ วิทยาลัยต่างๆ
เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
[แก้]ออกซฟอร์ดเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เยล พรินซ์ตัน ฯลฯ ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในแคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ ล้วนแต่เคยใช้มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเป็นต้นแบบในการพัฒนา ไม่ว่าจะในรูปสถาปัตยกรรม ระบบการศึกษา วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาและครูอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย และระบบจัดการศึกษา ตึกเรียนของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ และเจมส์ บอนด์
วารสาร Research Forthnight ซึ่งเป็นนิตยสารที่เชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรป ได้ยกให้ออกซฟอร์ดเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในอังกฤษด้านกำลังการวิจัย (Research Power) ออกซฟอร์ดยังมีภาควิชาหลายภาควิชาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ภาควิชาเคมี และ ภาควิชาคลาสสิกส์ (ภาษาและวรรณคดีกรีกและละติน) ส่วนสถาบันบริหารธุรกิจซาอิด (Said Business School) ของออกซฟอร์ดได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาบันบริหารธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดของยุโรป และสามารถจัดหลักสูตรบริหารจัดการทางธุรกิจหลักสูตรปีเดียวได้ดีที่สุดในสหราชอาณาจักร ส่วนการจัดการเรียนการสอนวิชาบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรีในออกซฟอร์ดได้รับการยกย่องจาก Times Good University Guides ว่าดีที่สุดในสหราชอาณาจักรทุกปี ล่าสุด หนังสือแนะแนวมหาวิทยาลัยสำหรับนักเรียนมัธยมอังกฤษของหนังสือพิมพ์ไทมส์ชื่อ Good University Guides และหนังสือพิมพ์ The Guardian ได้จัดอันดับให้ออกซฟอร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของอังกฤษ
ศิษย์เก่าที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
[แก้]ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจำนวนมากเป็นผู้มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ, ร่วมในคณะนักบวชพิวริตันก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ในสหรัฐอเมริกา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด คือ เจเรมี เบนทัม ผู้นำปรัชญาประโยชน์นิยมซึ่งเคยศึกษาที่วิทยาลัยควีนส์ในออกซฟอร์ด เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยลอนดอน ในอังกฤษ, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยเยล, ผู้พิพากษาศาลสูงสุดของอินเดีย, พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ทรงปรับปรุงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนมหาดเล็ก ก็ทรงได้รับอิทธิพลความคิดจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดนั่นเอง
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดยังได้สร้างนายกรัฐมนตรีอังกฤษมาแล้ว 25 คน เคยมีบุคคลสำคัญมาศึกษาที่ออกซฟอร์ดก่อนได้ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง อาทิ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, อินเดียและนายกรัฐมนตรีอินเดีย, นายกรัฐมนตรีไทย, นายกรัฐมนตรีจาไมกา, นายกรัฐมนตรีแคนาดา, นายกรัฐมนตรีศรีลังกา, นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย, วุฒิสมาชิกในรัฐสภาคองเกรส, ประธานาธิบดีกานา เป็นต้น
นอกจากนี้ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในสาขาอื่นที่โดดเด่นได้แก่
- สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน
- สตีเฟน ฮอว์คิง (นักฟิสิกส์)
- อดัม สมิท (นักเศรษฐศาสตร์การเมือง)
- ศาตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อมร วาณิชวิวัฒน์ กรรมการและอดีตโฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กรธ 2558
- อองซาน ซูจี นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า
- ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ (นักกฎหมายระหว่างประเทศชาวไทย)
- กิลอัด สุขเคอร์แมน (นักภาษาศาสตร์)
มหาวิทยาลัยคู่แข่งในอังกฤษ
[แก้]มหาวิทยาลัยที่เป็นคู่แข่งขันของออกซฟอร์ด คือ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทั้งสองมหาวิทยาลัยนี้เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ จึงจับคู่กันพัฒนา มีหลายนโยบายที่ทำไปในทิศทางเดียวกัน จึงเรียกนักศึกษาและครูอาจารย์ของสองมหาวิทยาลัยนี้รวม ๆ ว่าพวก ออกซบริดจ์ เพราะคนเหล่านี้โดยพื้นฐานแล้วมาจากระบบการศึกษาที่เหมือนกัน เมื่อนโยบายชัดเจนแล้วก็แข่งขันกันด้านคุณภาพวิชาการในหมู่ครูอาจารย์ และการกีฬาในหมู่นักศึกษา โดยเฉพาะกีฬาแข่งเรือจัดเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงที่สุดที่นักศึกษาสองมหาวิทยาลัยแห่งนี้จัดกันขึ้น สถานีโทรทัศน์บีบีซีถ่ายทอดสดการแข่งขันในช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายนของทุกปี
การแข่งขันทางวิชาการของสองมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่แห่งนี้ ได้เป็นต้นตำรับของการแข่งขันกันทางวิชาการของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ตามมา อาทิ ฮาร์วาร์ด-เยล ในสหรัฐอเมริกา, เคโอ-วาเซดะ ในญี่ปุ่น, เมลเบิร์น-ซิดนีย์ ในประเทศออสเตรเลีย, ปักกิ่ง-ชิงหฺวา ในประเทศจีน เอ็มกู (มหาวิทยาลัยมอสโก)-เซนปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย หรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในประเทศไทย
ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
[แก้]ออกซฟอร์ดมีสำนักหอสมุดกลางชื่อว่าบ๊อดเลียน (Bodlean Library) และมีห้องสมุดในเครือข่ายกระจายไปตามภาควิชาต่างๆ มากมาย สำนักหอสมุดของออกซฟอร์ดเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งที่สองที่จดทะเบียนเป็นห้องสมุดสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright Library) ถัดจากสำนักหอสมุดแห่งชาติของอังกฤษ (The British Library) หมายความว่า หนังสือที่จัดพิมพ์ทุกเล่มในสหราชอาณาจักรจะต้องส่งไปยังห้องสมุดของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าห้องสมุด ด้วยเหตุนี้ สำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจึงมีหนังสือที่จัดพิมพ์ใหม่ให้ค้นคว้ามากมาย นอกเหนือจากต้นฉบับคัมภีร์โบราณ (Old manuscripts) ที่บันทึกด้วยภาษาต่างๆ อาทิ กรีก ฮิบรู ฮิทไทท์ สันสกฤต ฯลฯ ที่หามิได้ที่อื่น
เพราะมีคัมภีร์ต้นฉบับดั้งเดิมมากมาย คณาจารย์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจึงสามารถจัดทำพจนานุกรมฉบับตั้งโต๊ะออกมาเผยแพร่ได้สำเร็จ เช่น พจนานุกรมภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาฮิบรู ภาษาอังกฤษ ฯลฯ หนังสือเหล่านี้สร้างชื่อให้อ๊อกซฟอร์ดมาหลายศตวรรษ มีจัดแสดงที่ร้านหนังสือสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ถนนไฮสตรีต ย่านใจกลางเมือง ออกซฟอร์ด ดังนั้น สำนักหอสมุดออกซฟอร์ดจึงมีการถ่ายเทหนังสือวิชาการเก่าที่มีเนื้อหาล้าสมัยออกจากห้องสมุดทุกๆปี แล้วเอาหนังสือใหม่ที่ผ่านการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยเข้าไปแทน
ออกซฟอร์ดไม่ได้เน้นปริมาณหนังสือว่าจะต้องมากที่สุด แต่มุ่งเน้นคุณภาพของหนังสือที่นำเข้าเก็บในห้องสมุด ตามข้อมูลมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดมีหนังสือไม่ต่ำกว่า 10 ล้านเล่ม หนังสือเหล่านี้ล้วนแต่ผ่านการคัดเลือกอย่างดี มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาได้ค้นอ่านข้อเขียนของนักวิชาการระดับท็อปของโลก หนังสือไหนที่มีชื่อเสียงล้วนแต่มีให้ค้นอ่านที่ออกซฟอร์ด ถึงไม่มี สำนักหอสมุดก็สามารถขอยืมจากภายนอกมาให้อ่านได้ นอกจากนี้ ยังมีสาระสังเขป (abstract) วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเด่นๆ จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่างๆ ทั่วโลกให้นักศึกษาได้ค้นคว้าศึกษาและยังมีระบบอำนวยความสะดวก กล่าวคือมีเจ้าหน้าที่ไว้ช่วยบริการให้นักศึกษาและครูอาจารย์ค้น คว้าทำวิจัยได้อย่างรวดเร็วด้วย
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ สำหรับนักศึกษา
[แก้]แม้ว่าการใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจะได้ชื่อว่าเครียด แต่ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง บัตรนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ออกซฟอร์ดสามารถช่วยได้ส่วนลดจากการซื้อสินค้าตามร้านต่างๆ หลายรายการถ้าหากใช้ซื้อสินค้าที่ตั้งอยู่ในเมืองออกซฟอร์ด ลดค่าตั๋วเข้าชมการแสดงหรือละเล่นต่างๆ ได้ส่วนหนึ่ง
สถานที่เล่นกีฬาซึ่งมหาวิทยาลัยเตรียมไว้ให้นักศึกษาปรกติจะได้มาตรฐานโอลิมปิก เช่น สนามเล่นฟุตบอล สนามเล่นสคว็อช สระว่ายน้ำ สถานีสำหรับฝึกพายเรือของวิทยาลัยต่างๆ สนามฝึกแบดมินตัน สนามฝึกเทนนิส สนามฝึกคริเกต นอกจากนี้ ยังมีสำนักหรือกลุ่มผู้ฝึกมวยจีน อันได้แก่มวยไท้เก๊ก (Tai Chi Chuan) เพลงมวยหย่งชุน (Wing Chun Kung Fu) ซึ่งแตกแขนงมาจากเส้าหลินใต้ จัดกิจกรรมกันเป็นระยะๆ เพื่อดึงดูดให้นักศึกษาเข้าร่วม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The University as a charity". University of Oxford. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Introduction and History". University of Oxford. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2014. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ 3.0 3.1 "Finance and funding". ox.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 3 April 2020.
- ↑ "Declaration of approval of the appointment of a new Vice-Chancellor". Oxford University Gazette. University of Oxford. 25 June 2015. p. 659. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.
- ↑ "New Vice-Chancellor pledges 'innovative, creative' future for Oxford". News and Events. University of Oxford. 4 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
- ↑ "Who's working in HE?". HESA. สืบค้นเมื่อ 23 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "University of Oxford – Student Statistics". Tableau Software.
- ↑ "Student Numbers". University of Oxford. University of Oxford. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2017. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
- ↑ "The brand colour – Oxford blue". Ox.ac.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
- ↑ Sager, Peter (2005). Oxford and Cambridge: An Uncommon History. p. 36.
- ↑ 11.0 11.1 "Early records". University of Cambridge.
- ↑ "Oxford divisions". University of Oxford. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-20. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
- ↑ "Colleges and Halls A-Z". University of Oxford. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-25. สืบค้นเมื่อ 4 October 2008.
- ↑ Balter, Michael (16 February 1994). "400 Years Later, Oxford Press Thrives". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 June 2011.
- ↑ "Libraries". University of Oxford. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2017.
- ↑ "Famous Oxonians". University of Oxford. 30 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
- ↑ "Preface: Constitution and Statute-making Powers of the University". University of Oxford. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-04. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.
- ↑ Adolphus Ballard, James Tait. (2010.) British Borough Charters 1216–1307, Cambridge University Press, 222.
- ↑ Davies, Mark (4 November 2010). "'To lick a Lord and thrash a cad': Oxford 'Town & Gown'". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ 3 January 2014.
- ↑ 20.0 20.1 H. E. Salter and Mary D. Lobel (editors) (1954). "The University of Oxford". A History of the County of Oxford: Volume 3: The University of Oxford. Institute of Historical Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
{{cite web}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ H. Rashdall, Universities of Europe, iii, 55–60.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Christopher Brooke, Roger Highfield. Oxford and Cambridge.
- ↑ Edward France Percival. The Foundation Statutes of Merton College, Oxford.
- ↑ Henry Julian White. Merton College, Oxford.
- ↑ G. H. Martin, J. R. L Highfield. A history of Merton College, Oxford.
- ↑ May McKisack, The Fourteenth Century, Oxford History of England, p. 501
- ↑ Daniel J. Boorstin. (1958.) The Americans; the Colonial Experience, Vintage, pp. 171–184 เก็บถาวร 24 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Christopher Nugent Lawrence Brooke. (1988.) Oxford and Cambridge, Cambridge University Press, Cambridge, p. 56.
- ↑ "Early Modern Ireland, 1534-1691", editors: T. W. Moody, Theodore William Moody, Francis X. Martin, Francis John Byrne, Oxford University Press (1991), p. 618,
- ↑ "Universities Tests Act 1871". UK Parliament. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ "Civil War: Surrender of Oxford". Oxfordshire Blue Plaques Scheme. Oxfordshire Blue Plaques Board. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-01. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวประจำเมืองออกซฟอร์ด เก็บถาวร 2006-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชมภาพตึกวิทยาลัยและห้องประชุมของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- วิทยาลัยธุรกิจซาอิด (Said Business School)
- ออกซฟอร์ดได้รับยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของอังกฤษ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน