โรเบิร์ต บอยล์
ดิออนะระเบิล โรเบิร์ต บอยล์ | |
---|---|
โรเบิร์ต บอยล์ (1627–91) | |
เกิด | 25 มกราคม ค.ศ. 1627 ลิสมอร์, เคาน์ตี วอเทอร์ฟอร์ด, ไอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | 31 ธันวาคม 1691 (อายุ 64) ลอนดอน, อังกฤษ |
สัญชาติ | ไอริช |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยอีตัน |
มีชื่อเสียงจาก | กฎของบอยล์ |
รางวัล | ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์, เคมี |
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียง | โรเบิร์ต ฮุก |
มีอิทธิพลต่อ | |
ได้รับอิทธิพลจาก | ไอแซก นิวตัน[2] |
โรเบิร์ต บอยล์ (อังกฤษ: Robert Boyle; FRS[3]; 25 มกราคม ค.ศ. 1627 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1691) เป็นชาวแองโกล-ไอริช[4] เป็นนักปรัชญาธรรมชาติ นักเคมี นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผลงานที่โดดเด่นของบอยล์คือ เป็นผู้คิดค้นกฎของบอยล์[5] ซึงอธิบายว่า ความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนจะผกผันระหว่างความดันสัมบูรณ์และปริมาตรของก๊าซ ถ้าอุณหภูมิถูกทำให้คงที่ภายในระบบปิด (ทางฟิสิกส์)
ชีวประวัติ
[แก้]โรเบิร์ต บอยล์เกิดที่ปราสาทลิสมอร์ เคานตี้วอเตอร์ฟอร์ด ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2170 เป็นบุตรคนที่ 7 ในครอบครัวที่มีฐานะดี บิดาชื่อริชาร์ด บอยล์ มีฐานะร่ำรวยที่สุดของอังกฤษในสมัยนั้น [ต้องการอ้างอิง] และมีฐานันดรศักดิ์สูง คือ เอิร์กแห่งคอร์ก (Eark fo Cork) บิดาเป็นคนที่เลี้ยงดูบุตรอย่างเข้มงวดมาก ในตอนเด็กบอยล์มีความจำที่ดีมาก สามารถสนทนาภาษาละตินและฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุ 8 ขวบ บิดาจึงส่งไปเรียนที่วิทยาลัยอีตัน และบอยล์ก็เรียนหนังสือเก่ง เมื่ออายุ 11 ขวบ บอยล์ถูกส่งไปเรียนต่อที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และใช้เวลาเรียนกับการเดินทาง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิตในยุโรปนาน 6 ปี จึงเดินทางกลับเพราะได้ข่าวบิดาเสียชีวิตและครอบครัวกำลังแตกแยก เนื่องจากพี่น้องบางคนสนับสนุนกษัตริย์และบางคนสนับสนุน โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) เมื่อกลับถึงอังกฤษ บอยล์เดินทางไปพำนักที่คฤหาสน์สตอลบริดจ์ในดอร์เซต ครั้นเมื่อพี่ชายชื่อโรเจอร์ และพี่สาว เลดี้ แรนเนอลาจ์ (Lady Ranelagh) เห็นบอยล์มีความสามารถทางภาษาจึงสนับสนุนให้เขาลองทำงานด้านวรรรกรรมกับกวี จอห์น มิลตัน แต่โดยไม่รู้สึกตื่นเต้นหรือสนุก จึงหันไปสนใจวิชาเกษตรศาสตร์และเบนความสนใจไปทางด้านแพทยศาสตร์ จน
กระทั่งวันหนึ่งบอยล์ได้ไปซื้อยาที่ร้านขายยาและเภสัชกรจ่ายยาผิดทำให้บอยล์ล้มป่วย การไม่สบายครั้งนั้นทำให้เขาหันมาสนใจธรรมชาติของสารอย่างจริงจัง เมื่อบอยล์อายุ 18 ปี ที่ Gresham College ในลอนดอนมีแพทย์นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักอุตสาหกรรม มาประชุมพบปะกัน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อฟังการบรรยายความรู้วิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ โคเปอร์นิคัส และเบคอน เรื่องต่าง ๆ ที่มีเนื้อหา ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ แพทย์ ฯลฯ และบอยล์ก็เดินทางมาประชุมด้วยในปี พ.ศ. 2193 สมาชิกหลายคนของสมาคมได้ย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากที่เมืองออกซฟอร์ดนานถึง 14 ปี เพราะเป็นที่มีปราชญ์หลายคน เช่น จอห์น วอลลิส (John Wallis) คริสโตเฟอร์ เรน และโรเบิร์ต ฮุก จนกระทั่งวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2203 สมาชิก 12 คน ของสมาคม รวมทั้งบอยล์ก็ร่วมกันจัดตั้งสมาคมวิชาการ ชื่อ วิทยาลัยเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้การทดลองคณิตศาตร์และฟิสิกส์ ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society of London) และได้รับการรับรองอย่างถูกกฎหมายในปี พ.ศ. 2205 สมาคมเป็นสมาคมวิทยาศาตร์แห่งแรกของโลกที่ยังดำรงสถานภาพอยู่ได้จนทุกวันนี้
ขณะอยู่ที่ออกซฟอร์ด บอยล์ได้อ่านตำราวิทยาศาสตร์ของเบคอนและกาลิเลโอ และหนังสือ Principles of Philosophy ของเรอเน เดการ์ต ความคิดของปราชญ์เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีคิดของบอยล์ในภายหลังมาก เมื่อบอยล์อ่านผลการทดลองของ เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (Evangelista Torricelli) เมื่อปี พ.ศ. 2187 เรื่องความดันปรอทในหลอดแก้วคว่ำ เขารู้สึกสนใจประเด็นที่เตอร์รีเชลลีอ้างว่าบริเวณเหนือปรอทมีสุญญากาศตามรูปแบบที่ออตโต ฟอน กูริค (Otto von Guericke) เคยสร้างไว้ ความสามารถในการทำอปกรณ์ของฮุกช่วยให้บอยล์พบว่า เสียงต้องการอากาศในการเคลื่อนที่ เพราะเขาได้ยินเสียง ลูกตุ้มกว่งแผ่วลงๆ เวลาอากาศถูกสูบออกจากขวดแก้วที่บรรจุเทียนไขที่กำลังลุกไหม้จนหมด เทียนไขจะดับ ส่วนนกและแมวที่อยู่ในภาชนะที่สูบอากาศออกจนหมดก็จะตาย บอยล์จึงสรุปได้ว่าอากาศคือองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสันดาปและสำหรับการหายใจของสิ่งมีชีวิตในปี พ.ศ. 2204
แม้งานวิจัยส่วนใหญ่ของบอยล์จะมีรากฐานอยู่กับวิชาเล่นแร่แปรธาตุแบบดั้งเดิม แต่ปัจจุบันเขาได้รับยกย่องให้เป็นนักเคมียุคใหม่คนแรก เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเคมีแห่งยุคใหม่
ผลงานที่สำคัญ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Marie Boas, Robert Boyle and Seventeenth-century Chemistry, CUP Archive, 1958, p. 43.
- ↑ Newton, Isaac (February 1678). Philosophical tract from Mr Isaac Newton. Cambridge University.
But because I am indebted to you & yesterday met with a friend Mr Maulyverer, who told me he was going to London & intended to give you the trouble of a visit, I could not forbear to take the opportunity of conveying this to you by him.
- ↑ "Fellows of the Royal Society". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16.
- ↑ "Robert Boyle". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
- ↑ Acott, Chris (1999). "The diving "Law-ers": A brief resume of their lives". South Pacific Underwater Medicine Society journal. 29 (1). ISSN 0813-1988. OCLC 16986801. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 17 April 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- จากอดีต โรเบิร์ต บอยล์ (ไทย)
- Robert Boyle and Robert Hooke เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Readable versions of Excellence of the mechanical hypothesis and Origin of forms and qualities
- Robert Boyle Project, Birkbeck, University of London
- The Boyle's Educational Foundation เก็บถาวร 2009-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Summary juxtaposition of Boyle's The Sceptical Chymist and his The Christian Virtuoso
- The Relationship between Science and Scripture in the Thought of Robert Boyle
- Robert Boyle and His Alchemical Quest : Including Boyle's "Lost" Dialogue on the Transmutation of Metals, Princeton University Press, 1998, ISBN 0-691-05082-1