มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล
ชื่อย่อ | UOL |
---|---|
คติพจน์ | วันแห่งสันติภาพทั้งหลายเหล่านี้ได้อุปถัมภ์การเรียนรู้ These days of peace foster learning |
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ |
สถาปนา | 1903 – มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool)[1] 1884 – เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย (Victoria University)[2] 1882 – มหาวิทยาลัยวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University College Liverpool)[3] |
ทุนทรัพย์ | £121 ล้าน [4] |
อธิการบดี | Professor Sir David King |
รองอธิการบดี | Sir Howard Newby |
Visitor | Lord President of the Council |
ปริญญาตรี | 16,805 คน [5] |
บัณฑิตศึกษา | 3,860 คน [6] |
ที่ตั้ง | , 53°24′22″N 2°58′01″W / 53.406°N 2.967°W |
วิทยาเขต | เมือง |
เครือข่าย | กลุ่มรัสเซล, สมาคมมหาวิทยาลัยแห่งยุโรป (European University Association; EUA), กลุ่มความร่วมมือ N8 (N8 Group), สมาคมมหาวิทยาลัยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (North West Universities Association; NWUA) |
เว็บไซต์ | www.liv.ac.uk |
ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล |
มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (อังกฤษ: University of Liverpool) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ในสหราชอาณาจักรที่มีเปิดสอนในระบบที่อิงฐานการเรียนการสอนในห้องเรียนและบนพื้นฐานของการทำวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1881 ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย (University College) โดยเปิดสอน 3 คณะ (Faculty) ที่ประกอบด้วยภาควิชา (Department) และสำนักวิชา (School) ต่างๆรวมแล้ว 35 สาขาวิชา มหาวิทยาลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้านนวัตกรรมงานวิจัย [7] โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) [8]ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ใน 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มความร่วมมือด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของสหราชอาณาจักรอีกด้วย มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยอิสระในประเทศจีนและเป็นมหาวิทยาลัยจีน-บริติชแห่งแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่เปิดสอนสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ (Oceanography) การออกแบบเมือง (Civic Design) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) และชีวเคมี (Biochemistry)[9] ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมีเงินสนับสนุนรายปีกว่า 410 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วบงบประมาณที่สนับสนุนด้านงานวิจัยถึง 150 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง [10]
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1881 โดยเป็น มหาวิทยาลัยวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University College Liverpool) ที่เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882 [11] ต่อมา ในปี ค.ศ. 1884 ก็ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ซึ่งในปี ค.ศ. 1894 ศาสตราจารย์โอลิเวอร์ ลอร์ดจได้ทำการส่งวิทยุสาธารณะเป็นครั้งแรกของโลกและอีก 2 ปีถัดมา ก็มีการผ่าตัดด้วยรังสีเอ็กซ์ ครั้งแรกของสหราชอาณาจักรที่นี่ สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (Liverpool University Press)ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1899 ทำให้เป็นสำนักพิมพ์ที่เก่าแก่เป็นอันดับสามของอังกฤษ ในช่วงต้นนี้ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะได้รับประสาธน์ปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยภายนอกได้แก่มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) [12] หลังจากนั้น ได้มีพระราชบัญญัติออกโดยรัฐสภาอังกฤษให้มหาวิทยาลัยสามารถให้ปริญญาแก่นักศึกษาได้โดยมีชื่อว่า มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool)ไม่กี่ปีต่อมาก็ได้เห็นการพัฒนาที่สำคัญในมหาวิทยาลัย อาทิ เซอร์ ชาร์ลส์ เชอร์ริงตัน (Sir Charles Sherrington) ได้ค้นพบ จุดประสานประสาท (Synapse) รวมถึงงานของศาสตราจารย์วิลเลียม แบลร์-เบลล์ (Professor William Blair-Bell)เกี่ยวกับเคมีบำบัด (chemotherapy) ในการรักษาโรคมะเร็ง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1930 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1940 ศาสตราจารย์เซอร์ เจมส์ แชดวิก (Professors Sir James Chadwick) และเซอร์ โจเซฟ รอตเบลต (Sir Joseph Rotblat) ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระเบิดปรมาณู โดยเป็นผู้ที่ค้นพบอนุภาคนิวตรอน และในระหว่างปี ค.ศ.1943–1966 อัลลัน ดาวนี ศาสตราจารย์ด้านวิทยาแบคทีเรีย(Bacteriology) ได้ส่วนในการกำจัดโรคไข้ทรพิษ
มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการจัดตั้งกลุ่มรัสเซลในปี ค.ศ.1994 ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีการสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างสูง และกลุ่ม N8 ในปี ค.ศ.2004 ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นักฟิสิกส์ วิศวกร และช่างเทคนิคหลายคนจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้มาส่วนร่วมในการก่อสร้างเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider; LHC) ขององค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือ เซิร์น (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire) [13] อีกด้วย
มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลในปัจจุบัน
[แก้]มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเงินทุนสนับสนุนมากเป็นอันดับหกในบรรดามหาวิทยาลัยต่างๆในสหราชอาณาจักร [14] และมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในระดับ 1% บนของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกตาม Academic ranking of world universities [15] และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มรัสเซล
มหาวิทยาลัยเปิดสอนโดยอิงฐานงานวิจัยแก่นักเรียนมากกว่า 27,000 คน ครอบคลุมมากกว่า 400 โปรแกรมใน 54 สาขาวิชา โดยมีการเรียนการสอนและงานวิจัยทั้งทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลที่ก่อตั้งในปี ค.ศ.1835 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสำนักวิชาการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร
มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมีสหภาพนักศึกษา (Students' union) หรือรู้จักกันในนาม "University of Liverpool Guild of Students" สำหรับประสานงานกิจกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
[แก้]มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้ผลิตผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลหลายท่านในหลากหลายสาขาทั้งทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ทางการแพทย์ และสาขาสันติภาพ ได้แก่
ที่ | ปี | ชื่อ | สาขา | หัวข้อ |
---|---|---|---|---|
1. | ค.ศ. 1902 | เซอร์ โรนัลด์ รอสส์ (Sir Ronald Ross) | สรีรวิทยาหรือการแพทย์ | สำหรับงานเกี่ยวกับมาลาเรีย |
2. | ค.ศ. 1917 | ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ บาร์กลา (Professor Charles Barkla) | ฟิสิกส์ | สำหรับการค้นพบสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของรังสีเอ็กซ์ |
3. | ค.ศ. 1932 | เซอร์ ชาร์ลส์ เชอร์ริงตัน (Sir Charles Sherrington) | สรีรวิทยาหรือการแพทย์ | สำหรับงานด้านระบบประสาท |
4. | ค.ศ. 1935 | ศาสตราจารย์เซอร์ เจมส์ แชดวิก (Professors Sir James Chadwick) | ฟิสิกส์ | สำหรับการค้นพบอนุภาคนิวตรอน |
5. | ค.ศ. 1947 | เซอร์ โรเบิร์ต โรบินสัน (Sir Robert Robinson) | เคมี | สำหรับงานเกี่ยวกับแอนโทไซยานินและอัลคาลอยด์ |
6. | ค.ศ. 1968 | ศาสตราจารย์ฮาร์ กอบินด์ โครานา (Professor Har Gobind Khorana ) | สรีรวิทยาหรือการแพทย์ | สำหรับงานเกี่ยวกับการแปลผลของรหัสทางพันธุกรรมและหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์โปรตีน |
7. | ค.ศ. 1972 | ศาสตราจารย์รอดนีย์ พอร์เตอร์ (Professor Rodney Porter) | สรีรวิทยาหรือการแพทย์ | สำหรับการค้นพบโครงสร้างของแอนติบอดี |
8. | ค.ศ. 1995 | ศาสตราจารย์โจเซฟ รอตบลาต (Professor Joseph Rotblat) | สันติภาพ | สำหรับการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ |
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
[แก้]2011 | 2010 | 2009 | 2008 | 2007 | 2006 | 2005 | 2004 | 2003 | 2002 | 2001 | 2000 | 1999 | 1998 | 1997 | 1996 | 1995 | 1994 | 1993 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Times Good University Guide | 28th[16] | 28th[17] | 28th[18] | 39th[19] | 41st | 41st[20] | 42nd[21] | 38th | 37th | 40th | 40th | 38th[22] | 32nd | 38th | 24th | 22nd | 28th | 19th | |
Guardian University Guide | 39th[23] | 47th[23] | 44th[24] | 36th[25] | 47th | 47th[26] | 45th[27] | 43rd[28] | 37th[29] | ||||||||||
Sunday Times University Guide | 30th[30] | 27th[31] | 31st[32] | 29th[32] | 36th[33] | 31st[33] | 33rd[33] | 31st[33] | 34th[33] | 32nd[33] | 29th[33] | ||||||||
Daily Telegraph | 41st[34] | 33rd | |||||||||||||||||
The Independent / Complete | 32nd[35] | 34th[35] | 42nd[36] | 41st[36] | |||||||||||||||
The Financial Times | 35th[37] | 32nd[38] | 36th[39] | 36th[40] | |||||||||||||||
QS World University Rankings [41] | 123rd[42] | 121st[43] | 137th | 133rd | 101st | 139th | 139th |
ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง
[แก้]- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549
- พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช ร. สุขยางค์) อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร และผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ที่ต่อมาพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร สำเร็จการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการวางผังเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2463
- นารถ โพธิประสาท ผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาแห่งแรกของประเทศไทยที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 แขนงการก่อสร้างและได้เป็นอับดับหนึ่ง ปี พ.ศ. 2472
- ศ.ดร. แถบ นีละนิธิ อดีตราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน, อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาเคมี เมื่อปี พ.ศ. 2473
- ศ.ดร. บัวเรศ คำทอง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเคมี ได้รับปริญญา B.Sc. (Honours) และ Ph.D. ในปี พ.ศ. 2481 โดยมีผลการศึกษาดีเด่น จึงได้รับการจารึกชื่อที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอังกฤษ
- ศ.ดร. กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อดีตเลขาธิการพระราชวัง และอดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญา M.Sc. เมื่อ พ.ศ. 2481 และ Ph.D. เมื่อปี พ.ศ. 2483
- ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข คณบดีผู้ก่อตั้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จบปริญญาเอกทางเคมีอินทรีย์ปี พ.ศ. 2493
- ศ.ดร. กำจร มนุญปิจุ ราชบัณฑิต สาขาเคมี จบปริญญาเอกทางเคมีอินทรีย์ปี พ.ศ. 2497
- ศ.ดร. สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ ผู้ช่วยประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิจัยและอธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จบปริญญาตรีและปริญญาเอกทางเคมีอินทรีย์ปี พ.ศ. 2512
- ศ.ดร. คุณหญิง มธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิจัยและวิชาการ จบปริญญาตรีทาง life science ปี พ.ศ. 2513
- ศ.ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ อดีตรองผู้อำนวยการ สวทช. จบปริญญาเอกทางเคมีอินทรีย์ปี พ.ศ. 2515
- ผศ.ดร. กฤษฎา สุชีวะ อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จบปริญญาตรีทางเคมีปี พ.ศ. 2518
อ้างอิง
[แก้]- ↑ University of Manchester Act 2004. legislation.gov.uk (4 July 2011). Retrieved on 14 September 2011.
- ↑ University of Manchester Act 2004. legislation.gov.uk (4 July 2011). Retrieved on 14 September 2011.
- ↑ History of the University". University of Liverpool. 27 March 2007. Retrieved 10 September 2007.
- ↑ http://www.liv.ac.uk/finance/Attachments/Annual_Accounts_2009-2010.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ Table 0a – All students by institution, mode of study, level of study, gender and domicile 2006/07" (Microsoft Excel spreadsheet). Higher Education Statistics Agency. Retrieved 10 April 2008.
- ↑ Table 0a – All students by institution, mode of study, level of study, gender and domicile 2006/07" (Microsoft Excel spreadsheet). Higher Education Statistics Agency. Retrieved 10 April 2008.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ http://www.liv.ac.uk/about/history/
- ↑ Accessed 25 September 2009. Liverpool University. Retrieved on 14 September 2011.
- ↑ "History of the University". University of Liverpool. 27 March 2007. Retrieved 10 September 2007.
- ↑ Student lists". Retrieved 11 October 2010.
- ↑ Accessed 12 May 2009. Liverpool University. Retrieved on 14 September 2011.
- ↑ "University Fundraising – an Update" (PDF). The Sutton Trust. 2006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-28. สืบค้นเมื่อ 22 November 2007.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ The Times Good University Guide 2011
- ↑ The Times Good University Guide 2009
- ↑ The Times Good University Guide 2008
- ↑ The Times Good University Guide 2007 – Top Universities 2007 League Table
- ↑ The Times Top Universities
- ↑ "The Daily Telegraph Table of Tables". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 13 October 2008.
- ↑ "The Times Top Universities 1999". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-08.
- ↑ 23.0 23.1 "University ranking by institution". The Guardian. London. 8 June 2010. สืบค้นเมื่อ 5 Aug 2010.
- ↑ "University ranking by institution". The Guardian. London. 10 February 2008. สืบค้นเมื่อ 7 May 2008.
- ↑ "University ranking by institution". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
- ↑ "University ranking by institution". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
- ↑ "University ranking by institution". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
- ↑ "University ranking by institution 2004". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 January 2009.
- ↑ "University ranking by institution". The Guardian 2003 (University Guide 2004). London. สืบค้นเมื่อ 9 April 2010.
- ↑ Naughton, Philippe; Costello, Miles (13 September 2009). "The Sunday Times Good University Guide 2008 League Tables". The Sunday Times. London. สืบค้นเมื่อ 2008-10-03.
- ↑ Naughton, Philippe; Costello, Miles. "The Sunday Times Good University Guide 2008 League Tables". The Sunday Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-22. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ 32.0 32.1 "The Sunday Times University League Table" (PDF). The Sunday Times. London. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 33.6 "University ranking based on performance over 10 years" (PDF). The Times. London. 2007. สืบค้นเมื่อ 28 April 2008.
- ↑ ="University league table". The Daily Telegraph. London. 30 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
- ↑ 35.0 35.1 "The main league table 2011". The Independent. London. 5 Aug 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-23. สืบค้นเมื่อ 5 Aug 2010.
- ↑ 36.0 36.1 "The main league table 2009". The Independent. London. 24 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 April 2008.
- ↑ "The FT 2003 University ranking". Financial Times 2003.
- ↑ "FT league table 2001". FT league tables 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ "FT league table 1999-2000" (PDF). FT league tables 1999–2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-24. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ "FT league table 2000". FT league tables 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-12. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28.
- ↑ http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2011
- ↑ http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2011?page=2
- ↑ [1]