ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก | |
---|---|
Austro-Asiatic | |
ภูมิภาค: | เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | ออสโตรเอเชียติกดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-5: | aav |
กลอตโตลอก: | aust1305[1] |
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (อังกฤษ: Austroasiatic languages) [note 1] เป็นตระกูลภาษาขนาดใหญ่ที่มีผู้พูดทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นดิน เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ประชากรส่วนใหญ่ที่พูดภาษานี้อยู่ในประเทศเวียดนามและกัมพูชา ส่วนชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษานี้กระจายไปทั่วพื้นที่ในประเทศไทย, ลาว, อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, บังกลาเทศ, เนปาล และจีนตอนใต้ มีประชากรที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกประมาณ 117 ล้านคน โดยในจำนวนมากกว่าสองในสามเป็นผู้พูดภาษาเวียดนาม[2] ในบรรดาภาษาทั้งหมด มีเพียงเฉพาะภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญที่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน โดยมีเพียงสองภาษาเท่านั้นที่เป็นภาษาราชการของประเทศ คือ ภาษาเวียดนามในประเทศเวียดนาม และภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา ภาษามอญเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับในประเทศพม่าและไทย ส่วนภาษาว้าเป็น 'ภาษาประจำชาติที่ได้รับการยอมรับ' ในรัฐว้า เขตปกครองตนเองโดยพฤตินัยในประเทศพม่า ภาษาสันถาลีเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาที่กำหนดในประเทศอินเดีย ส่วนภาษาที่เหลือในตระกูลนี้มีผู้พูดเป็นชนกลุ่มน้อยและไม่มีสถานะทางการ
เอทโนล็อกระบุภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกถึง 168 ภาษา แบ่งออกเป็น 13 กลุ่มย่อย (อาจเพิ่มShompen เป็นกลุ่มที่ 14 แต่เป็นภาษาที่ไม่ได้รับการรับรอง) ซึ่งเดิมเคยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ มอญ–เขมร[3] และมุนดา อย่างไรก็ตาม การจัดจำแนกล่าสุดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย (มุนดา, มอญ-เขมร และคาซี-ขมุ)[4] ในขณะที่อีกกลุ่มและกลุ่มย่อยมอญ–เขมรให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ทำให้เป็นชื่อพ้องกับตระกูลใหญ่[5]
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกดูเหมือนจะเป็นภาษาพื้นเพดั้งเดิมเท่าที่มีอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นดิน โดยตระกูลภาษาขร้า-ไท, ม้ง-เมี่ยน, ออสโตรนีเซียน และจีน-ทิเบตเข้ามาในบริเวณผ่านการอพยพในภายหลัง[6]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า Austroasiatic ได้รับการประดิษฐ์โดย Wilhelm Schmidt (เยอรมัน: austroasiatisch) โดยอิงจาก auster ศัพท์ภาษาละตินที่แปลว่า "ใต้" (แต่ Schmidt ใช้เรียกตะวันออกเฉียงใต้) กับ "Asia"[7] แม้ว่าชื่อมีความหมายตรงตัวเป็นเช่นนั้น มีเพียง 3 สาขาเท่านั้นที่มีผู้พูดในเอเชียใต้ คือ กลุ่มภาษาคาซี, กลุ่มภาษามุนดา และกลุ่มภาษานิโคบาร์
การจัดจำแนก
[แก้]นักภาษาศาสตร์โดยทั่วไปจัดภาษานี้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือภาษากลุ่มมุนดาที่พบในอินเดียตะวันออกและอินเดียกลางกับบางส่วนของบังกลาเทศและภาษากลุ่มมอญ-เขมร ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและหมู่เกาะนิโคบาร์ จากภาษาในตระกูลนี้ทั้งหมด 168 ภาษา อยุ่ในกลุ่มมอญ-เขมร 147 ภาษาและอยู่ในกลุ่มมุนดา 21 ภาษา การแบ่งย่อยลงไปอีกมีความแตกต่างกันดังนี้
Grérard Diffloth (1974)
[แก้]เป็นการจัดแบ่งที่มีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุด แต่ภาษาที่ยังไม่พบในขณะนั้นไม่ได้รวมไว้ด้วย
- มุนดา
- มุนดาเหนือ
- กอร์กู
- เคอร์วาเรียน
- มุนดาใต้
- คาเรีย-จวา
- โกราปุต มุนดา
- มุนดาเหนือ
- มอญ-เขมร
- มอญ-เขมรตะวันออก
- ภาษาเขมร
- ปอร์
- ภาษากลุ่มบัฮนัร
- ภาษากลุ่มกะตู
- ภาษากลุ่มเวียตติก (รวมภาษาเวียดนาม)
- มอญ-เขมรเหนือ
- ภาษาคาซี (รัฐเมฆาลัย, อินเดีย)
- ปะหล่อง
- ขมุ
- มอญ-เขมรใต้
- ภาษามอญ
- อัสเลียน
- นิโคบาร์ (หมู่เกาะนิโคบาร์)
- มอญ-เขมรตะวันออก
Ilia Peiros (2004)
[แก้]เป็นการแบ่งโดยใช้ข้อมูลจากการใช้คำศัพท์ร่วมกัน
- นิโคบาร์
- มุนดา-เขมร
- มุนดา
- มอญ-เขมร
- ภาษาคาซี
- มอญ-เขมรศูนย์กลาง
- ม้ง (ม้งและปยู)
- เวียตติก
- มอญ-เขมรเหนือ ประกอบด้วยกลุ่มปะหล่องและขมุ
- มอญ-เขมรกลาง
- ภาษาเขมรสำเนียงต่างๆ
- ปอร์
- อัสลี-บัฮนัร
- อัสเลียน
- มอญ-บัฮนัร
- มอญ
- กะตู-บัฮนัร
- กะตู
- บัฮนัร
Grérard Diffloth (2005)
[แก้]- มุนดา
- กลุ่มโกวาปุต
- กลุ่มมุนดาแกนกลาง
- กลุ่มคาเรีย-จวา 2 ภาษา
- กลุ่มมุนดาเหนือ
- กลุ่มกอร์กู, กลุ่มคาวาเรีย 12 ภาษา
- กลุ่มคาซี-เขมร
- กลุ่มคาซี 3 ภาษาในอินเดียและบังกลาเทศ
- กลุ่มปะหล่อง-ขมุ
- กลุ่มขมุ มี 13 ภาษาในลาวและไทย
- กลุ่มปะหล่อง-ปะกัน
- กลุ่มปะกันหรือปยู มี 2 ภาษาในจีนตอนใต้
- กลุ่มปะหล่อง มี 21 ภาษาในพม่า จีนตอนใต้และไทย รวมภาษาม้งในเวียดนาม
- กลุ่มมอญ-เขมรศูนย์กลาง
- กลุ่มเขมร-เวียตติก
- กลุ่มเวียต-กะตู
- กลุ่มเวียตติก มี 10 ภาษาในเวียดนามและลาวรวทั้งภาษาเวียดนามซึ่งเป็นภาษาเดียวในตระกูลออสโตรเอเชียติกที่มีเสียงวรรณยุกต์
- กลุ่มกะตู มี 19 ภาษาในลาว เวียดนามและไทย
- กลุ่มเขมร-บัฮนัร
- กลุ่มบัฮนัร มี 40 ภาษาในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
- กลุ่มเขมร ซึ่งได้แก่ภาษาเขมรสำเนียงต่าง ๆ ในไทย กัมพูชา เวียดนามและกลุ่มปอร์ที่มี 6 ภาษาในกัมพูชา
- กลุ่มเวียต-กะตู
- กลุ่มนิโคบาร์-มอญ
- กลุ่มนิโคบาร์ มี 6 ภาษาในหมุ่เกาะนิโคบาร์
- กลุ่มอัสลี-มอญ
- กลุ่มอัสเลียน มี 19 ภาษาในไทยและมาเลเซีย
- กลุ่มมอญ มี 2 ภาษาคือภาษามอญในพม่าและภาษาญัฮกุรในไทย
- กลุ่มเขมร-เวียตติก
และยังมีอีกหลายภาษาที่ยังจัดแบ่งไม่ได้ในจีนตอนใต้
ระบบการเขียน
[แก้]นอกจากชุดตัวอักษรฐานละตินแล้ว ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกหลายภาษาเขียนด้วยอักษรเขมร, อักษรไทย, อักษรลาว และอักษรพม่า ภาษาเวียดนามเคยมีอักษรของตนเอง โดยอิงจากตัวหนังสือคำของจีน ภายหลังจึงแทนที่ด้วยชุดตัวอักษรละตินในคริสต์ศตวรรษที่ ตัวอย่างข้างล่างคือชุดตัวอักษรในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกที่เคยมีผู้ใช้งานและและยังคงมีผู้ใช้งานอยู่
- จื๋อโนม[8]
- อักษรเขมร[9]
- อักษรขอม (ใช้เพียงระยะสั้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำหรับภาษาพื้นเมืองในประเทศลาว)
- อักษรมอญ
- พ่าเฮ่าม้องเคยใช้เขียนภาษาขมุ ภายใต้ชื่อ "พ่าเฮ่าขมุ"
- อักษรไทใต้คง (ภาษาปะหล่อง, ภาษาปลัง)
- อักษรธรรมล้านนา (ภาษาปลัง)
- อักษรโอลสิกิ (ชุดตัวอักษรสันถาลี)[10]
- Mundari Bani (ชุดตัวอักษรมุนดารี)
- อักษรวารังกสิติ (ชุดตัวอักษรโฮ)[11]
- Ol Onal (ชุดตัวอักษร Bhumij)
- อักษรโสรัง สมเป็ง (ชุดตัวอักษรโสรา)[12]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บางครั้งเขียนเป็น Austro-Asiatic หรือ Austroasian
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Austroasiatic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ "Austroasiatic". www.languagesgulper.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
- ↑ Bradley (2012) notes, MK in the wider sense including the Munda languages of eastern South Asia is also known as Austroasiatic.
- ↑ Diffloth 2005
- ↑ Sidwell 2009
- ↑ Sidwell, Paul, and Roger Blench. 2011. "The Austroasiatic Urheimat: the Southeastern Riverine Hypothesis เก็บถาวร 18 พฤศจิกายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Enfield, NJ (ed.) Dynamics of Human Diversity, 317–345. Canberra: Pacific Linguistics.
- ↑ Schmidt, Wilhelm (1906). "Die Mon–Khmer-Völker, ein Bindeglied zwischen Völkern Zentralasiens und Austronesiens ('[The Mon–Khmer Peoples, a Link between the Peoples of Central Asia and Austronesia')". Archiv für Anthropologie. 5: 59–109.
- ↑ "Vietnamese Chu Nom script". Omniglot.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2012. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
- ↑ "Khmer/Cambodian alphabet, pronunciation and language". Omniglot.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2012. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
- ↑ "Santali alphabet, pronunciation and language". Omniglot.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2010. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
- ↑ Everson, Michael (19 April 2012). "N4259: Final proposal for encoding the Warang Citi script in the SMP of the UCS" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 20 August 2016.
- ↑ "Sorang Sompeng script". Omniglot.com. 18 June 1936. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Swadesh lists for Austro-Asiatic languages (from Wiktionary's Swadesh-list appendix)