ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอโศกมหาราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FrameHotep (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
บันทึกโบราณของศาสนาพุทธศาสนาฮินดูและศาสนาเชนให้เรื่องราวชีวประวัติที่แตกต่างกัน ข้อความในอวทานบรรยายว่าราชมารดาของพระองค์คือพระนาง[[สุภัทรางคี]] Subhadrangī ตามบันทึกในอโศกาวทานพระนางเป็นลูกสาวของ Brahmin มาจากเมืองจำปา Champa พระนางตั้งชื่อให้พระองค์ว่า อโศก แปลว่า ผู้ไม่เศร้าโศก ในคัมภีร์ Divyāvadāna บอกเล่าเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน แต่ให้พระนามของพระราชินีว่า Janapadakalyānī พระเจ้าอโศกมีพี่น้องพี่อายุมากกว่าหลายพระองค์ ทั้งหมดเป็นพี่ชายครึ่งหนึ่งของพระองค์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีพระองค์อื่นของ Bindusara พระบิดา พระเจ้าอโศกได้รับการฝึกฝนทางทหารในพระราชวัง
บันทึกโบราณของศาสนาพุทธศาสนาฮินดูและศาสนาเชนให้เรื่องราวชีวประวัติที่แตกต่างกัน ข้อความในอวทานบรรยายว่าราชมารดาของพระองค์คือพระนาง[[สุภัทรางคี]] Subhadrangī ตามบันทึกในอโศกาวทานพระนางเป็นลูกสาวของ Brahmin มาจากเมืองจำปา Champa พระนางตั้งชื่อให้พระองค์ว่า อโศก แปลว่า ผู้ไม่เศร้าโศก ในคัมภีร์ Divyāvadāna บอกเล่าเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน แต่ให้พระนามของพระราชินีว่า Janapadakalyānī พระเจ้าอโศกมีพี่น้องพี่อายุมากกว่าหลายพระองค์ ทั้งหมดเป็นพี่ชายครึ่งหนึ่งของพระองค์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีพระองค์อื่นของ Bindusara พระบิดา พระเจ้าอโศกได้รับการฝึกฝนทางทหารในพระราชวัง


pire Map.gif|thumb|250px|จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278]]
===ขึ้นสู่อำนาจ===
[[ไฟล์:Mauryan Empire Map.gif|thumb|250px|จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278]]
ข้อความในพุทธศาสนาอธิบายว่า พระเจ้าอโศกไปปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกบฏอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่ชั่วร้ายให้สงบลง เหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าพินทุสาร บันทึกของนักบวชลามะชื่อ Taranatha บอกว่า [[ชานัคยา]] Chanakya หัวหน้าที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร ทำลายล้างขุนนางและกษัตริย์ของเมือง 16 เมืองและตั้งพระเจ้าอโศกเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านั้นทั้งหมดระหว่างดินแดนจากฝั่งทะเลตะวันออกกับฝั่งทะเลตะวันตก นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า นี่เป็นข้อบ่งชี้ถึงการพิชิตที่ราบ[[เดคคาน]](Deccan) ของพระเจ้าพิทุสาร ในขณะที่คนอื่น ๆ พิจารณาว่าเป็นการปราบปรามการจลาจล ตามดังกล่าวนี้ พระเจ้าอโศกถูกส่งไปประจำการอยู่ที่เมือง[[อุชเชน]] Ujain เมืองหลวงของ [[มัลวา]] Malwa ในฐานะเจ้าเมือง
ข้อความในพุทธศาสนาอธิบายว่า พระเจ้าอโศกไปปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกบฏอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่ชั่วร้ายให้สงบลง เหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าพินทุสาร บันทึกของนักบวชลามะชื่อ Taranatha บอกว่า [[ชานัคยา]] Chanakya หัวหน้าที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร ทำลายล้างขุนนางและกษัตริย์ของเมือง 16 เมืองและตั้งพระเจ้าอโศกเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านั้นทั้งหมดระหว่างดินแดนจากฝั่งทะเลตะวันออกกับฝั่งทะเลตะวันตก นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า นี่เป็นข้อบ่งชี้ถึงการพิชิตที่ราบ[[เดคคาน]](Deccan) ของพระเจ้าพิทุสาร ในขณะที่คนอื่น ๆ พิจารณาว่าเป็นการปราบปรามการจลาจล ตามดังกล่าวนี้ พระเจ้าอโศกถูกส่งไปประจำการอยู่ที่เมือง[[อุชเชน]] Ujain เมืองหลวงของ [[มัลวา]] Malwa ในฐานะเจ้าเมือง



รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:06, 17 กรกฎาคม 2563

พระเจ้าอโศกมหาราช
จักรพรรดิ[1][2]
จักรพรรดิแห่งโมริยะ องค์ที่ 3
ครองราชย์พ.ศ. 270–311 [3]
ราชาภิเษกพ.ศ. 275 [3]
ก่อนหน้าพระเจ้าพินทุสาร
ถัดไปพระเจ้าทศรถ
ประสูติพ.ศ. 239 ณ ปัฏนา
สวรรคตพ.ศ. 311 (ชันษา 72) ณ ปัฏนา
อัครมเหสีพระนางอสันธิมิตรา
พระสนม4 นาง
พระราชบุตร11 พระองค์
ราชวงศ์โมริยะ
พระราชบิดาพระเจ้าพินทุสาร
พระราชมารดาพระนางสุภัทรางคี

พระเจ้าอโศกมหาราช (สันสกฤต: अशोकः; พ.ศ. 239 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ) พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล

ประมาณ พ.ศ. 283 หรือ 260 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าอโศกทำสงครามทำลายล้างอย่างยืดเยื้อกับแคว้นกาลิงคะ(รัฐโอริศาในปัจจุบัน) พระองค์เอาชนะแคว้นกาลิงคะได้ซึ่งไม่เคยมีบรรพบุรุษของพระองค์ทำได้มาก่อน เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าพระองค์ยอมรับศาสนาพุทธ ตำนานบอกว่าพระองค์เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธหลังจากประสบพบเห็นกับคนตายที่มากมายในสงครามแคว้นกาลิงคะ พระองค์เองหมดความรู้สึกยินดีกับความต้องการชัยชนะ พระเจ้าอโศกทรงตระหนักถึงสงครามแคว้นกาลิงคะ ซึ่งผลของสงครามมีคนตายมากกว่า 100,000 คน และ 150,000 คนถูกจับเป็นเชลยศึก สุดท้ายตายประมาณ 200,000 คน พระเจ้าอโศกเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธประมาณ 263 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ให้บันทึกพระบรมราชโองการไว้บนเสาศิลาเรียกว่าเสาอโศก และส่งสมณทูตเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศศรีลังกาและเอเชียกลาง ให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าสถานที่นี้เป็นสถานสำคัญในช่วงชีวิตของพระพุทธเจ้าขึ้นมากมายซึ่งเรียกว่าสังเวชนียสถาน

นอกจากพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศก การให้รายละเอียดถึงชีวประวัติของพระองค์อาศัยตำนานซึ่งเขียนขึ้นในหลายร้อยปีต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้แก่อาศัยตำนานอโศกาวทาน (เรื่องราวของพระเจ้าอโศกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของติวิยาวทาน Divyavadana) และในประเทศศรีลังกา อาศัยข้อความในคัมภีร์มหาวงศ์ สัญลักษณ์ของสาธารณรัฐอินเดียก็ดัดแปลงมาจากสิงโต 4 ตัวหันหลังเข้าหากันหันหน้าไปยังทิศทั้ง 4 ของพระเจ้าอโศก พระนามของพระเจ้าอโศก หมายความว่า ไม่มีความทุกข์ หรือไม่มีความเศร้าโศกในภาษาสันสกฤต แยกศัพท์ออกเป็น น ปฏิเสธ แปลงเป็น อ แปลว่า ไม่ และคำว่า โสกะ แปลว่า ความโศกเศร้า หรือความทุกข์ใจ ในพระบรมราชโองการของพระองค์ พระองค์ได้ใช้พระนามว่าเทวานัมปริยะ (Devānāmpriya) บาลีเป็น เทวานมฺปิย (Devānaṃpiya) แปลว่า ผู้เป็นที่รักของทวยเทพ และพระนามว่า ปริยทรรศศิน (Priyadarśin) บาลีเป็น ปิยทัสสี (Piyadasī) แปลว่า ผู้เห็นทุกคนด้วยความรัก พระนามของพระองค์มีความสัมพันธ์กับต้นอโศก เพราะพระองค์ชอบต้นไม้ชื่อว่าต้นอโศกซึ่งเป็นการอ้างอิงในคัมภีร์อโศกาวทาน เอช. จี. เวลส์ H.G. Wells ได้เขียนถึงพระเจ้าอโศกในหนังสือของเขาชื่อ The Outline of History ว่าในจำนวน 10,000 พระนามของพระมหากษัตริย์มากมายในตารางของประวัติศาสตร์ การได้รับการยกย่อง ความเป็นผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ สันติสุข การได้รับความจงรักภักดีและความชื่นชมของพระมหากษัตริย์เหล่านั้น พระนามของพระเจ้าอโศกส่องสว่าง เจิดจรัสเป็นดาวดวงเดียวที่โดดเด่นทึ่สุด

พระเจ้าอโศกมหาราชเดิมมีพระอัธยาศัยโหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธ พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

พระเจ้าอโศกเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพินทุสาร กับพระนางสุภัทรางคี (Subhadrangī) มีพระราชโอรสธิดา 11 พระองค์ พระเจ้าอโศกเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้าจันทรคุปต์ประสูติในครอบครัวที่ต่ำต้อย พระองค์ถูกทอดทิ้งและเป็นลูกเลี้ยงเติบโตในครอบครัวอื่น แล้วพระองค์ได้รับการฝึกฝนอบรมและคำสอนของ ชานัคยาหรือจาณักยะ Chanakya จาก Arthashastra ผู้มีชื่อเสียง ถึงจุดสูงสุดสามารถสร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณได้ พระเจ้าจันทรคุปต์ผู้เป็นพระอัยกาเจ้า (ปู่) ของพระเจ้าอโศกทรงละทิ้งทั้งหมดและมาบวชเป็นนักบวชในศาสนาเชน ตามบันทึกของ Appian นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันว่า พระเจ้าจันทรคุปต์พระอัยกาของพระเจ้าอโศกได้ผูกมิตรกับพระเจ้าเซลลูคัส I นิเคเตอร์ Seleucus ด้วยการแต่งงานกับพระธิดาของพระเจ้า Seleucus ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า พระเจ้าอโศกมีพระอัยยิกา (ย่า) เป็นชาว Seleucid กรีก ต้นฉบับข้อมูลทางโบราณ Puranic ของอินเดีย บทว่าด้วย Pratisarga Parva แห่ง Bhavishya Purana บรรยายว่า พระเจ้าจันทรคุปต์แต่งงานกับเจ้าหญิงชาวยะวะนะหรือโยนก (Yavana) (ชาวอินเดียเรียกพวกกรีกว่า "ชวนะ" หรือ ยวนเยาวนะ ต่อมากลายเป็น "โยนก" เพี้ยนมาจากคำ Ionia)[4] ผู้เป็นธีดาของพระเจ้าเซลิวคัส (Seleucus)

บันทึกโบราณของศาสนาพุทธศาสนาฮินดูและศาสนาเชนให้เรื่องราวชีวประวัติที่แตกต่างกัน ข้อความในอวทานบรรยายว่าราชมารดาของพระองค์คือพระนางสุภัทรางคี Subhadrangī ตามบันทึกในอโศกาวทานพระนางเป็นลูกสาวของ Brahmin มาจากเมืองจำปา Champa พระนางตั้งชื่อให้พระองค์ว่า อโศก แปลว่า ผู้ไม่เศร้าโศก ในคัมภีร์ Divyāvadāna บอกเล่าเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน แต่ให้พระนามของพระราชินีว่า Janapadakalyānī พระเจ้าอโศกมีพี่น้องพี่อายุมากกว่าหลายพระองค์ ทั้งหมดเป็นพี่ชายครึ่งหนึ่งของพระองค์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีพระองค์อื่นของ Bindusara พระบิดา พระเจ้าอโศกได้รับการฝึกฝนทางทหารในพระราชวัง

pire Map.gif|thumb|250px|จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278]] ข้อความในพุทธศาสนาอธิบายว่า พระเจ้าอโศกไปปราบปรามการลุกฮือขึ้นของกบฏอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของรัฐมนตรีที่ชั่วร้ายให้สงบลง เหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าพินทุสาร บันทึกของนักบวชลามะชื่อ Taranatha บอกว่า ชานัคยา Chanakya หัวหน้าที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร ทำลายล้างขุนนางและกษัตริย์ของเมือง 16 เมืองและตั้งพระเจ้าอโศกเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านั้นทั้งหมดระหว่างดินแดนจากฝั่งทะเลตะวันออกกับฝั่งทะเลตะวันตก นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า นี่เป็นข้อบ่งชี้ถึงการพิชิตที่ราบเดคคาน(Deccan) ของพระเจ้าพิทุสาร ในขณะที่คนอื่น ๆ พิจารณาว่าเป็นการปราบปรามการจลาจล ตามดังกล่าวนี้ พระเจ้าอโศกถูกส่งไปประจำการอยู่ที่เมืองอุชเชน Ujain เมืองหลวงของ มัลวา Malwa ในฐานะเจ้าเมือง

เมื่อพระเจ้าพินทุสารสวรรคตในปี 272 ก่อนคริสตกาลก็นำไปสู่สงครามแย่งชิงราชบัลลังก์ของรัชทายาท ตามที่บันทึกใน Divyavadana พระเจ้าพินทุสารต้องการที่จะให้พระโอรสองค์โตของพระองค์พระนามว่า สุสิมะ Susima เป็นรัชทายาทของพระองค์ แต่พระเจ้าอโศกได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอำมาตย์รัฐมนตรีของพระราชบิดาของพระองค์ เพราะบรรดารัฐมนตรีที่ปรึกษาเห็นว่าพระเจ้าสุสิมะ Susima เป็นคนหยิ่งและไม่สุภาพต่อพวกเขา รัฐมนตรีชื่อ Radhagupta ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญในการขึ้นครองบัลลังก์ของพระเจ้าอโศก คัมภีร์อโศกาวทานบันทึกว่า Radhagupta ได้เสนอมอบช้างหลวงแก่พระเจ้าอโศกเพื่อเป็นพาหนะนั่งไปสู่สวนแห่งศาลาทองคำสถานที่ซึ่งพระเจ้าพินทุสารกำหนดเลือกผู้สืบทอดราชบัลลก์ ต่อมาพระเจ้าอโศกได้กำจัดองค์รัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎมณเฑียรบาลลงจากบัลลังก์ โดยการหลอกล่อองค์รัชทายาทให้เข้าไปยังหลุมเป็นหลุมที่เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ส่วน Radhagupta นั้น อโศกาวทานบันทึกว่า ต่อมาภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีที่สำคัญโดยพระเจ้าอโศกในฐานะที่ครั้งหนึ่งได้ให้การช่วยเหลือพระองค์ในการขึ้นครองบัลลังก์ คัมภีร์ทีปวงศ์ Dipavansa และคัมภีร์มหาวงศ์ Mahavansa ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกได้สังหารพี่น้องไป 99 พระองค์ เหลือไว้เพียงแค่คนเดียว ชื่อว่า วิทาโศก หรือ ทิสษา Vitashoka or Tissa แม้ว่าเรื่องนั้นยังไม่ชัดเจนที่จะพิสูจน์ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ (บันทึกดังกล่าวเต็มไปด้วยองค์ประกอบทางตำนาน) พิธีราชาภิเษกมีขึ้นเมื่อ 269 ปีก่อน ค.ศ. สี่ปีหลังจากการสำเร็จรัชกาลของพระองค์เพื่อขึ้นครองบัลลังก์

รัฐตำนานชาวพุทธบอกว่า พระเจ้าอโศกเป็นคนอารมณ์ร้อนและเป็นคนโหดร้าย พระองค์สร้างนรกอโศก Ashoka's Hell หรือเรียกว่า นรกาลัย และสร้างห้องทรมานอันซับซ้อนให้เป็นเหมือนนรกบนสวรรค์เรียกว่า "Paradisal Hell" อันมีความแตกต่างระหว่างภายนอกอันสวยงามกับการกระทำข้างในที่ดำเนินการโดยเพชฌฆาตผู้ที่พระองค์แต่งตั้ง Girikaa เพราะเหตุนี้ทำให้พระองค์ได้รับนามว่า จัณฑาโศก (Caṇḍa Aśoka) แปลว่า อโศกพูดผู้ดุร้าย ในภาษาสันสกฤต ศาสตราจารย์ Charles Drekmeier อ้างว่า ตำนานของชาวพุทธโน้มเอียงออกไปทางแนวละครเป็นการใส่สีใส่ไข่ที่พระพุทธศาสนาใส่เข้าไปให้แก่พระองค์ อันได้แก่ ความโหดร้ายที่ผ่านมาของพระเจ้าอโศกและศรัทธาที่แก่กล้าของพระองค์หลังจากการเปลี่ยนศาสนาจึงดูเกินจริง เมื่อขึ้นครองราชย์ พระเจ้าอโศกทรงแผ่ขยายจักรวรรดิของพระองค์ออกไปกว้างขวางในอีกแปดปีข้างหน้า จากแคว้นอัสสัมในตะวันออกไปจนถึงบาลูจิสถาน Balochistan ทางตะวันตก จากหุบเขา Pamir Knot ในอัฟกานิสถานทางเหนือไปจนถึงคาบสมุทรภาคใต้ของอินเดีย ยกเว้นรัฐทมิฬนาฑูและรัฐเกรละในปัจจุบันนี้ซึ่งถูกปกครองโดย 3 อาณาจักรทมิฬโบราณ

การพิชิตรัฐกาลิงคะ

ในขณะที่ช่วงต้นของการครองราชย์ของพระเจ้าอโศกเห็นได้ชัดว่าค่อนข้างกระหายเลือด พระองค์กลายมาเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหลังจากการพิชิตแคว้นกาลิงคะทางชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ปัจจุบันนี้คือรัฐโอริสสาและทางตอนเหนือของอันตรประเทศ Andhra Pradesh แคว้นกลิงคะเป็นรัฐที่หยิ่งทรนงบนอำนาจอธิปไตยและประชาธิปไตยของพวกเขาพร้อมด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐสภาและสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นรัฐที่ค่อนข้างเป็นที่หลีกเลี่ยงของชาวอินเดีย (ภารตะ) โบราณ รัฐนั้นรับแนวคิดของ Rajdharma ซึ่งเป็นแนวคิดการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำ รัฐนั้นถูกปลูกฝังอยู่ภายใต้ด้วยแนวคิดแห่งความกล้าหาญและธรรมะ สงครามแคว้นกาลิงคะเกิดขึ้นเป็นเวลา 8 ปี หลังจากการราชาภิเษกของพระองค์ จากจารึกในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของพระองค์ ทำให้พวกเราถึงรู้ว่าการรบมีขนาดใหญ่โตและทำให้มีทหารและราษฎรผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านตายมากกว่า 1 แสนคน มากกว่า 150,000 คนถูกเนรเทศ เมื่อพระองค์เสด็จเดินผ่านทุ่งของแคว้นกาลิงคะ หลังจากการพิชิตของพระองค์ ความดีใจแห่งชัยชนะของพระองค์ก็มลายหายไป เพราะจำนวนของซากศพที่กองระเกะระกะและความสะอื้นจากความสูญเสีย

อัครศาสนูปถัมภก

ศิลาแห่งกาลสี โองการของพระเจ้าอโศก, ซึ่งกล่าวถึงกษัตริย์กรีกทั้งหลายมีพระนามดังนี้ อันทิคัส ที่ 2 เธออส Antiochus II Theos, ปโตเลมี ที่ 2 แห่งอียิปต์Ptolemy II of Egypt, อันติโกนุส ที่ 2 โกนาอัส Antigonus II Gonatas, มาคัสแห่งไซรินี่ Magas of Cyrene และ อเล็คซานเดอร์ ที่ 2 แห่งอีปิรัส Alexander II of Epirus , ซึ่งเป็นผู้รับการเผยแผ่การสอนจากพระองค์

พระบรมราชโองการฉบับที่ 13 แห่งพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกบนศิลาจารึกสะท้อนถึงการสำนึกผิดที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอโศกทรงรู้สึกสำนึกผิดหลังจากการตรวจดูการทำลายล้างแคว้นกาลิงคะดังนี้

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกสำนึกผิดต่อผลของชัยชนะที่มีต่อแคว้นกาลิงคะ เพราะว่าในระหว่างการปราบปรามแคว้นที่ยังไม่เคยถูกพิชิตมาก่อนหน้านี้นั้น การสังหาร ความตาย และการจับประชาชนเป็นเฉลยศึกเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกโศกเศร้าพระทัยอย่างมากและเสียพระทัยอย่างมาก”

พระบรมราชโองการยังบอกกล่าวถึงระดับของความเศร้าโศกและความเสียใจอย่างมากมายอันเป็นผลมาจากการเข้าใจของพระเจ้าอโศกว่า บรรดาเพื่อนและครอบครัวของผู้ตายจะต้องทนทุกข์ทรมานมากเหมือนกัน ตำนานกล่าวว่า วันหนึ่งหลังจากสงครามจบลงพระเจ้าอโศกกล้าเสด็จออกไปเดินเตร่ในเมืองและพระองค์น่าจะทอดพระเนตรเห็นบ้านที่ถูกไฟไหม้และซากศพที่กระจัดกระจาย สงครามที่รุนแรงได้เปลี่ยนแปลงจักรพรรดิผู้เต็มไปด้วยความหึกเหิมให้มากลายเป็นจักรพรรดิผู้หนักแน่นมั่นคงและมุ่งสันติภาพ และพระองค์กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา

ตามที่ได้บันทึกในอินเดียวิทยาที่สำคัญกล่าวว่า ศาสนาส่วนตัวของพระเจ้าอโศกกลายมาเป็นศาสนาพุทธ ถ้าไม่ก่อนก็หลังสงครามแคว้นกลิงคะแน่นอน อย่างไรก็ตาม การบรรยายของ A. L. Bashamนักประวัติศาสตร์และนักอินเดียวิทยาบอกว่า ธรรมะที่เผยแผ่อย่างเป็นทางการโดยพระเจ้าอโศกไม่ใช่เป็นธรรมะในทางพระพุทธศาสนาเลย แม้กระนั้น การเผยแผ่ของพระองค์ก็นำไปสู่การขยายวงกว้างออกไปของพระพุทธศาสนาในจักรวรรดิโมริยะและอาณาจักรอื่นๆในยุคเดียวกับที่พระองค์ปกครอง และออกไปสู่ต่างประเทศมากมายจาก จากประมาณปี 250 ก่อนคริสตกาล บุคคลที่โดดเด่นในกรณีนี้คือพระโอรสของพระองค์พระนามว่า พระมหินทเถระ (Mahinda) และพระธิดาของพระองค์พระนามว่า สังฆมิตตาเถรี (สังฆมิตตา แปลว่า เพื่อนของสงฆ์) ผู้ที่สถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นในเกาะซีลอน (ทุกวันนี้คือประเทศศรีลังกา) คัมภีร์อรรถกถาสมันตปาสาทิกาบอกว่า เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง 2 องค์ผนวช พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกครองราชย์ได้ 6 ปี[5]

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใครไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริศา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ ศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาครั้งที่สามในศาสนาพุทธ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป เป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทานของฝ่ายมหายาน ในสมันตปาสาทิกา ทีปวงศ์ และมหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นับถือศาสนาเชนโดยการถวายถ้ำหลายแห่งให้แก่เชนศาสนิกเชนเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่งเป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41 ปี

การสิ้นพระชนม์และมรดก

พระเจ้าอโศกครองราชย์เป็นระยะเวลาประมาณ 36 ปีและสิ้นพระชนม์ในปี 232 ก่อนคริสตกาล ตำนานรัฐกล่าวว่า ในระหว่างพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระสรีระของพระองค์ได้ไหม้เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ ราชวงศ์เมารยะคงอยู่แค่ 52 ปี จนกระทั่งจักรวรรดิของพระองค์ขยายออกไปเกือบครอบคลุมชมพูทวีปทั้งหมด พระเจ้าอโศกทรงมีพระมเหสีหลายพระองค์และมีพระโอรสหลายพระองค์ แต่พระนามของพระองค์เหล่านั้นส่วนมากก็หายไปตามกาลเวลา พระอัครมเหสี ของพระองค์ผู้ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระบรมราชินีสำหรับการเคียงคู่ราชบัลลังก์ของพระองค์พระนามว่า อสันธิมิตรา ผู้ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีพระโอรส

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุมากขึ้น พระองค์ดูเหมือนจะตกอยู่ในมนต์สะกดของพระมเหสีสาวผู้มีอายุน้อยที่สุดพระนามว่า ติษยรักษา มีคนพูดว่า พระนางมีเสน่หาในพระโอรสของพระเจ้าอโศกพระนามว่า พระเจ้ากุณาล ผู้เป็นอุปราชในเมืองตักษศิลาและเจ้าชายก็มีความชอบธรรมในการขึ้นครองบัลลังก์ แต่ก็ต้องมาถูกทำให้พระเนตร (ตา) บอดเพราะโดนอุบายเล่ห์เหลี่ยม เจ้าหน้าที่เพฌชฆาตไว้ชีวิตเจ้าชายกุณาล และเจ้าชายกลายมาเป็นนักขับร้องเพลงและอยู่ร่วมกับองค์หญิงผู้เป็นที่รักพระนามว่ากาญจนมาลา ในเมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกทรงได้ยินเสียงเพลงของเจ้าชาย และทรงตระหนักว่า ความโชคร้าย (ที่ต้องตาบอดและกลายมาเป็นนักร้อง) ของเจ้าชายกุณาล อาจเป็นผลมาจากการที่พระองค์สั่งให้ลงโทษอันเกิดจากความผิดในอดีตของจักรพรรดิอย่างพระองค์เอง พระองค์สั่งประหารพระมเหสีสาวติษยรักษา และกลับมาแต่งตั้งเจ้าชายกุนนลาในตำแหน่งผู้พิพากษา ในอโศกาวทานบรรยายว่า เจ้าชายกุณาลได้ให้อภัยแก่ติษยรักษา และได้บรรลุความเห็นแจ้ง (ปัญญา) ด้วยการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ในขณะที่พระองค์อ้างว่าพระเจ้าอโศกทรงให้อภัยแก่พระนางเหมือนกัน พระเจ้าอโศกไม่ทรงตอบสนองด้วยการให้อภัยไร ๆ เลย พระเจ้ากุณาลได้รับการสือทอดทอดรัชกาลโดยพระเจ้าสัมประติ พระโอรสของพระองค์

ประวัติศาสตร์ช่วงสมัยของพระเจ้าอโศกเมารยะอาจจะหายไปไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เหมือนกันเวลาที่ผ่านเลยไปแล้ว พระองค์ก็ไม่เหลือบันทึกของรัชกาลของพระองค์ไว้ในเบื้องหลังเลย บันทึกเหล่านี้ได้มาจากจารึกเสาศิลาและจารึกแผ่นหินพร้อมด้วยกิจกรรมอันมากมายและการสอนที่พระองค์ต้องการที่จะให้เป็นสื่อไปถึงอาณาประชาราษฎร์ภายใต้พระนามของพระองค์ ภาษาที่ใช้ในการจารึกคือภาษาปรากฤต เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในยุคนั้น โดยใช้อักษรพราหมีในการเขียน

ในปี 185 ก่อนคริสตกาลประมาณ 50 ปีหลังจากพระเจ้าอโศกสิ้นพระชนม์ พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์เมารยะพระองค์สุดท้ายพระนามว่า พระเจ้าพฤหัทรถ ถูกลอบสังหารโดยนายพลผู้เป็นเสนาบดีของกองทัพแห่งราชวงศ์เมารยะ ปุษยมิตร ศุงคะ ในขณะที่พระองค์กำลังดำเนินตรวจทหารองครักษ์กองเกียรติยศเดินสวนสนาม ปุษยมิตร ศุงคะ แห่งราชวงศ์ศุงคะได้สถาปนาจักรวรรดิศุงคะในปี 185 - 75 ก่อนคริสตกาลและปกครองเพียงแค่ส่วนเมื่อเทียบกับราชวงศ์เมาระยะ คือส่วนมากของดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจักรวรรดิเมารยะ (ปัจจุบันนี้คือประเทศอัฟกานิสถานและประเทศปากีสถาน) ต่อมากลายเป็นอาณาจักรอินโดกรีก พระเจ้าอโศกเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดีย มีการพิจารณาว่าพระองค์เป็นหนึ่งในผู้ปกครองแบบอย่างผู้สูงส่ง ผู้เป็นอมตะตลอดกาล

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์

จารึกพระนาม 𑀅 = อะ, 𑀲𑁄 = โส, 𑀓 = ก, (a - so - k )ในศิลาจารึกอักษรพราหมีในพระบรมราชโองการแห่งไมน่าร์เมืองมาสกี้ (Minor Rock Edicts) รัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย
โองการแห่งกันดะฮาร์ของพระเจ้าอโศก, จารึกสองภาษา (ภาษากรีกและภาษาแอราเมอิก) โดยพระเจ้าอโศก, ถูกค้นพบที่ กันดะฮาร์ (พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอัฟกานิสถาน)

พระเจ้าอโศกเกือบจะถูกลืมโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษในช่วงต้น แต่เจมส์ปริ๊นเซส James Prinsep มีส่วนร่วมในการเปิดเผยแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์คนอื่นที่สำคัญคือนักโบราณคดีชาวอังกฤษ John Hubert Marshall ผู้เป็นอธิบดีแห่งกรมสำรวจโบราณสถานของอินเดีย ความสนใจหลักหลักของเขาคือสถูปสาญจี Sanchi และสารนาถ Sarnath รวมทั้งเมืองฮารับปา Harappa และโมเฮนโจดาโร Mohenjodaro เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม Sir Alexander Cunningham นักโบราณคดีชาวอังกฤษและวิศวกรกองทัพซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นบิดาแห่งการสำรวจโบราณคดีของอินเดียได้เปิดเผยชื่อสถานที่มรดกทางวัฒนธรรมเช่นสถูปบาร์ฮัต Bharhut สถูปสาญจี Sanchi และเจดีย์มหาโพธิ Mahabodhi Temple นักโบราณคดีชาวอังกฤษ Mortimer Wheeler ยังเปิดเผยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของพระเจ้าอโศกโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองตักสิลา Taxila

ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและการครองราชย์ของพระเจ้าอโศกมาจากแหล่งข้อมูลพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับพระองค์ โดยเฉพาะคัมภีร์สันสกฤตอโศกาวทาน(เรื่องราวของพระเจ้าอโศก)เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 2 และพงศาวดารบาลี 2 เล่มของประเทศศรีลังกาคือคัมภีร์ทีปวงศ์และคัมภีร์มหาวงศ์ (the Dipavamsaand Mahavamsa) ให้ข้อมูลที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบันเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก ข้อมูลเพิ่มเติมถูกเปิดเผยโดยศิลาจารึกที่เรียกว่า พระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศก Edicts of Ashoka เป็นการบันทึกที่น่าเชื่อถือในที่สุดถึงพระเจ้าอโศกกษัตริย์ตำนานชาวพุทธหลังจากการค้นพบบัญชีรายนามพระราชวงศ์ที่ปรากฏพระนามสำหรับลงพระนามในพระบรมราชโองการคือ ปริยทรรศี (Priyadarshi—พระองค์ผู้เป็นที่เคารพของทุก ๆ คนด้วยความรัก) อันเป็นพระนามที่ขึ้นต้นหรือพระนามสร้อยของพระเจ้าอโศกเมารยะ ซากโบราณสถานแห่งยุคของพระองค์ได้ถูกค้นพบที่ Kumhrar, Patna รวมไปถึงเสาศิลา 80 ต้นของหอประชุม (80-pillar hypostyle hall)

Edicts of Ashoka - พระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกเป็นจารึกมี 33 ชุด collection บนเสาศิลาของพระเจ้าอโศก Pillars of Ashoka เช่นเดียวกับบนแผ่นหินและบนผนังถ้ำ ซึ่งจารึกขึ้นในช่วงยุคของรัชกาลของพระองค์ จารึกเหล่านี้ถูกพบแพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศปากีสถานและประเทศอินเดียในทุกวันนี้ แสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีอยู่จริงครั้งแรกของพระพุทธศาสนา พระบรมราชโองการยังอธิบายรายละเอียดการออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางครั้งแรกผ่านการสนับสนุนจากหนึ่งในพระมหากษัตริย์ทรงอำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์ของชาวอินเดีย และแสดงข้อมูลที่มากมายของเจ้าหน้าที่ข้าราชการของพระเจ้าอโศกรวมไปถึงศีลธรรมคุณธรรมศีลธรรมทางศาสนาและพระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับสังคมและสวัสดิภาพความปลอดภัยของสัตว์

Ashokavadana – อโศกาวทานเป็นข้อความเกี่ยวกับตำนานของพระเจ้าอโศก ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตำนานถูกแปลเป็นภาษาจีนโดยหลวงจีนฟาเหียนในปี ค.ศ. 300 เป็นข้อความของนิกายหินยานเป็นหลัก โลกของตำนานคือเมืองมธุราและอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ ความสำคัญของข้อความที่รู้จักกันนิดหน่อยนี้ คือการบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และองค์กรคณะสงฆ์ การตั้งอุดมคติของชีวิตทางศาสนาสำหรับฆราวาส โดยการเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแสวงประโยชน์ทางศาสนา สิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดคือการเปลี่ยนศาสนาของพระเจ้าอโศกไม่ได้พูดถึงเกี่ยวกับสงครามแคว้นกาลิงคะ ซึ่งไม่เคยถูกบรรยายไว้ ที่น่าแปลกพอ ๆ กันคือการบันทึกการใช้อำนาจรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบที่แน่วแน่ ตำนานของ Veetashoka ให้ข้อมูลเชิงลึกถึงลักษณะของพระเจ้าอโศกแต่ไม่เป็นไปในทางเดียวกันกับบันทึกบาลีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

เหรียญเครื่องหมายหมัด(กำปั้น)ของพระเจ้าอโศก[6]
เหรียญเงิน กษาปณ์ (karshapana) จักรวรรดิ์เมารยะ, ยุคของพระเจ้าอโศก 272-232 ก่อน ค.ศ., โรงงานเมืองมถุรา. ด้านหัว: สัญลักษณ์รวมไปถึงพระจันทร์และสัตว์ ด้านก้อย: สัญลักษณ์ ขนาด: 13.92 x 11.75 มม. น้ำหนัก: 3.4 ก.
สัญลักษณ์คทางูไขว้บนเหรียญเครื่องหมายหมัด(กำปั้น)ของจักรวรรดิ์เมารยะในอินเดีย, ในศตวรรษที่ 3-2 ก่อน ค.ศ.

Mahavamsa - คัมภีร์มหาวงศ์ (มหาพงศาวดาร) เป็นบทกลอนทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาบาลีเป็นพงศาวดารของพระมหากษัตริย์แห่งศรีลังกา พงศาวดารนี้ครอบคลุมตั้งแต่ยุคการปรากฏขึ้นของกษัตริย์วิชัยแห่งแคว้นกาลิงคะ (รัฐโอริสสาโบราณ) ในปี 543 ก่อนคริสตกาลถึงการครองราชย์ของกษัตริย์มหาเสนา (134 - 361 ก่อนคริสตกาล) และคัมภีร์มหาวงศ์มักอ้างถึงราชวงศ์ของอินเดียบ่อย ๆ คัมภีร์มหาวงศ์ยังมีคุณค่าต่อนักประวัติศาสตร์ผู้ที่ต้องการวันที่และความสัมพันธ์ทางราชวงศ์ร่วมยุคร่วมสมัยกันในอนุทวีปของชาวอินเดีย และเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญมากในการกำหนดช่วงยุคเวลาของพระเจ้าอโศก

Dwipavamsa - คัมภีร์ทีปวงศ์ (พงศาวดารแห่งเกาะ(ลังกา)ในภาษาบาลี) เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศศรีลังกาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เป็นพงศาวดารที่เชื่อกันว่าถูกรวบรวมขึ้นจากอรรถกถาและแหล่งข้อมูลอื่น ในราวคริตศตวรรษที่ 3-4 พระมหากษัตริย์พระนามว่า Dhatusena ในคริตศตวรรษที่ 4 รับสั่งให้สาธยายคัมภีร์ทีปวงศ์ในงานเทศกาลพระมหินทร์ (ภิกษุผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศก) Mahinda festival ที่จัดขึ้นทุกปีในเมืองอนุราธปุระ Anuradhapura

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ของเหรียญเครื่องหมายหมัด (กำปั้น) Punch-marked coins แห่งจักรวรรดิเมารยะในอินเดียมองดูเหมือนสัญลักษณ์คทางูไขว้มากอายุ 200-300 ก่อนคริสตกาล การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเหรียญให้ข้อมูลว่าสัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าอโศก เรียกสัญลักษณ์ส่วนพระองค์ (ส่วนตัว) นี้ว่า มุทรา (Mudra) สัญลักษณ์นี้ยังไม่ถูกใช้บนเหรียญเครื่องหมายหมัด (กำปั้น) ของกษัตริย์ก่อนยุคราชวงศ์เมารยะ แต่ถูกใช้บนเหรียญของยุคราชวงศ์เมารยะเท่านั้น พร้อมกับด้วยสัญลักษณ์เนินเขาโค้งสามเนิน Three arched-hill symbol สัญลักษณ์นกยูงบนเนินเขา peacock on the hill สัญลักษณ์สามเกลียว Triskelis และสัญลักษณ์เมืองตักสิลา Taxila mark

การรับรู้และประวัติศาสตร์

การใช้แหล่งข้อมูลทางพระพุทธศาสนาในการประติดประต่อพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมีอิทธิพลอย่างมากต่อการรับรู้ถึงพระองค์ รวมไปถึงการตีความคำสั่งสอนของพระเจ้าอโศก นักวิชาการก่อนหน้านั้นยกย่องพระเจ้าอโศกในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ชาวพุทธที่สำคัญผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและรับภาระอย่างกระตือรือร้นในการช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา

นักวิชาการชื่อ Romila Thappar เขียนเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก ว่า พวกเราต้องการเห็นพระองค์ทั้งในฐานะรัฐบุรุษในบริบทของการสืบทอดและการคงไว้ซึ่งอาณาจักรในยุคประวัติศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงและในฐานะบุคคลที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการเผยแผ่ของ จริยธรรมทางสังคม โองการของพระเจ้าอโศกเป็นแหล่งข้อมูลแหล่งเดียวเท่านั้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและแหล่งข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าพระเจ้าอโศกเป็นชาวพุทธ ในพระบรมราชองการของพระองค์ พระเจ้าอโศกทรงแสดงออกถึงการสนับสนุนศาสนาใหญ่ใหญ่ทั้งหมดในยุคของพระองค์ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเชน และศาสนาอาชีวก Ajivikaism ในพระบรมราชโองการของพระองค์ที่ส่งไปยังพื้นที่ที่มีประชากรขนาดใหญ่ โดยทั่วไปพระองค์มุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางศีลธรรมที่สมาชิกของทุกศาสนายอมรับได้ และ Amartya Sen เขียนไว้ว่า จักรพรรดิชาวอินเดียพระนามว่าอโศกในปีที่ 300 ก่อนคริสตกาล นำเสนอจารึกทางการเมืองจำนวนมากในการสนับสนุนความอดทนและเสรีภาพของแต่ละบุคคล ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐและในความสัมพันธ์ของประชาชนที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามพระบรมราชโองการได้ระบุชี้ชัดลงไปว่าพระองค์เป็นชาวพุทธ ในพระบรมราชโองการหนึ่งบรรยายพิธีกรรมที่เล็กน้อยของพระองค์และพระองค์ทรงห้ามการบูชายัญด้วยสัตว์ตามคัมภีร์พระเวท ข้อมูลที่หนักแน่นเหล่านี้ทำให้เห็นว่าพระองค์อย่างน้อยก็ไม่ได้มองไปที่แนวทางตามคัมภีร์พระเวท นอกจากนั้นโองการจำนวนมากก็ได้แสดงถึงความเป็นชาวพุทธของพระองค์ หนึ่งในพระบรมราชโองการพระเจ้าอโศกทรงประกาศพระองค์เองว่าเป็นอุบาสก upasaka และในที่อื่นๆพระองค์แสดงให้เห็นถึงความสนิทสนมใกล้ชิดโดยข้อความทางพระพุทธศาสนา พระองค์สร้างศิลาจารึกเรียกว่าเสาอโศก ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสังเวชนียสถาน แต่ไม่ปรากฏว่าพระองค์ทำอย่างนั้นในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอื่น พระองค์ยังใช้คำว่าธรรมะ dhamma สำหรับการสั่งสอนอันจะนำไปสู่คุณภาพของจิตใจเพื่อจะรองรับการกระทำที่ประกอบด้วยศีลธรรม นี่เป็นการใช้คำของชาวพุทธอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างไรก็ตามพระองค์ใช้คำในด้านเชิงจิตวิญญาณมากกว่าวินัยที่เข้มงวด Romila Thappar เขียนว่าธรรมะของพระองค์ไม่ได้ส่งมาจากแรงบันดาลใจจากพระเจ้า ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการปฏิบัติตามพันธสัญญาจากสวรรค์ สวรรค์ ธรรมะของพระองค์สอดคล้องกับด้วยคุณธรรมแบบมีเหตุผลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตรรกะทางธรรมของพระองค์มุ่งประสงค์ไปที่ความเต็มใจปฏิบัติตามระเบียบวินัยของประชาชนในความปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ที่ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยกัน


ตำนานอโศก

จนกระทั่งจารึกของพระเจ้าอโศกถูกค้นพบและถูกถอดรหัส เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกอยู่บนฐานข้อมูลเชิงตำนานของพระชนม์ชีพของพระองค์และไม่เคร่งครัดตามความจริงทางประวัติศาสตร์ ตำนานเหล่านั้นถูกพบในแหล่งข้อมูลต้นฉบับทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นทำนองเดียวกับข้อความของอโศกาวทาน อโศกาวทานเป็นชุดย่อยของชุดใหญ่ของตำนานในติวิยาวทาน (Divyavadana) ต่อไปนี้คือตำนานเล่าเรื่องในอโศกาวทานเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก:

1) หนึ่งของเรื่องที่พูดถึงกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพระชนม์ชีพในอดีตชาติของพระเจ้าอโศก คือ เมื่อพระองค์เป็นกุมารน้อย นามว่า ชะยะ (Jaya) ในขณะนั้น ชยกุมารกำลังเล่นอยู่ที่ริมถนน พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง กุมารก็หยิบดินเต็มกำมือใส่ในชามขอทาน (บาตร) ของพระพุทธเจ้าถวายเป็นทานเพื่อประกาศความปรารถนาของตนที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่และเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า กล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์ การแย้มนั้น ได้ส่องสว่างทั่วจักรวาลพร้อมด้วยรัศมีแห่งแสงสว่าง รัศมีแห่งแสงสว่างเหล่านั้นมีแล้วก็กล่าวถึงการเข้าไปสู่อุ้มพระหัตถ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า มีความหมายว่าชยกุมารนี้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต พระพุทธเจ้าได้ทรงหันไปตรัสกับพระอานนท์ศิษย์ของพระองค์ และตรัสพยากรณ์ว่ากุมารนี้จะได้เป็นจักรพรรดิทรงธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ปกครองจักรวรรดิจากเมืองหลวงปาฏลีบุตร

2) เรื่องราวอื่น ๆ มุ่งพรรณนาพระเจ้าอโศกในแบบคนชั่วร้ายเพื่อถ่ายทอดความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของเขาให้เป็นคนดีเมื่อรับเอาพระพุทธศาสนา เริ่มต้นโดยระบุว่าความน่าเกลียดทางร่างกายของพระเจ้าอโศกทำให้พระองค์ไม่เป็นที่ชอบพระทัยของพระราชบิดาคือพระเจ้าพินทุสาร พระเจ้าอโศกต้องการที่จะเป็นพระมหากษัตริย์และดังนั้นพระองค์จึงกำจัดองค์รัชทายาทโดยการล่อลวงให้เข้าไปสู่หลุมที่เต็มด้วยถ่านเพลิง พระองค์กลายเป็นผู้ที่รู้จักในชื่อ จัณฑาโศก พระเจ้าอโศกผู้ดุร้าย เพราะธรรมชาติที่ดุร้ายและอารมณ์ที่ดุร้ายของพระองค์ กล่าวกันว่าจะต้องมีการอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีเพื่อทดสอบความจงรักภักดี แล้วมี 500 คนเสียชีวิตเพราะความล้มเหลว กล่าวกันว่าพระองค์ได้ให้เผาฮาเร็มทั้งหมดอันนำไปสู่ความตายเมื่อผู้หญิงบางคนในนั้นได้ดูถูกพระองค์ พระองค์อาจจะได้รับความสุขที่ซาดิสจากการมองดูคนอื่นที่ทุกข์ทรมาน และนี่ พระองค์สร้างพระองค์ห้องทรมานที่ลึกลับซับซ้อนและน่ากลัวของพระองค์เอง อันเป็นสถานที่ซึ่งพระองค์ทรงหัวเราะขบขันจากการมองดูการทรมานคน เรื่องราวเล่าต่อว่าเป็นอย่างไรหลังจากพบปะกับพระภิกษุสงฆ์ผู้เคร่งศาสนาคือพระเจ้าอโศกก็เปลี่ยนแปลงไปสู่พระเจ้าอโศกผู้เคร่งศาสนา หลวงจีนนักเดินทางชาวจีนผู้ได้ไปเยี่ยมเยียนประเทศอินเดียในปีคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ พระถังซัมจั๋งหรือเสวียนจั้งได้บันทึกในบันทึกความทรงจำของเขาว่าเขาได้ไปเยี่ยมเยียนสถานที่เป็นห้องทรมานซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่

3) เรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันนำไปสู่จุดอวสานแห่งช่วงเวลาของพระเจ้าอโศกในโลก กล่าวกันว่าพระเจ้าอโศกพระราชทานงบประมาณในท้องพระคลังเพื่อภิกษุสงฆ์ อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีของพระองค์เห็นว่า ความผิดปกติพระองค์อาจจะนำไปสู่ความตกต่ำของจักรวรรดิและ ดังนั้นจึงได้งดการเข้าถึงสมบัติในท้องพระคลังผลก็คือพระเจ้าอโศกได้เริ่มพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนตัวของพระองค์อย่างเป็นประจำและในท้ายที่สุดพระองค์ไม่ทรงเหลืออะไรไว้และเสด็จสวรรคตอย่างสงบ

ณ จุดนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่า Ashokavadana เป็นข้อความทางพุทธศาสนาในตัวเอง พยายามที่จะได้รับการเปลี่ยนศาสนาเป็นชาวพุทธใหม่ ๆ โดยอาศัยตำนานเหล่านี้ทั้งหมด ความจงรักภักดีต่อพระพุทธศาสนาและความจงรักภักดีต่อพระสงฆ์ถูกเน้นหนัก ตำราดังกล่าวเพิ่มความเข้าใจว่าอโศกเป็นพระมหากษัตริย์ที่เหมาะสำหรับชาวพุทธที่สมควรได้รับความชื่นชมและการเลียนแบบ

คุโณปการ

แนวทางเกี่ยวกับศาสนา

ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวอินเดีย Romila Thapar พระเจ้าอโศกเน้นความเคารพสำหรับอาจารย์สอนศาสนาทุกคน และประสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก อาจารย์สอนและลูกศิษย์ นายจ้างและลูกจ้าง ศาสนาของพระเจ้าอโศกเก็บตกจากทุกศาสนา พระองค์เน้นคุณธรรมข้ออหิงศา การเคารพต่ออาจารย์สอนทุกศาสนา เคารพอย่างเท่าเทียมกันสำหรับการศึกษาของแต่ละคัมภีร์ศาสนาอื่นๆและศรัทธาอย่างมีเหตุผล

การขยายตัวของพุทธศาสนาในโลก

จักรพรรดิ์อโศกทรงเชื่อว่าพุทธศาสนามีประโยชน์สำหรับมนุษย์ทุกคนเช่นเดียวกับสัตว์และพืชดังนั้นพระองค์จึงทรงสร้างจำนวนของ สถูป สังฆาราม วิหาร Chaitya และที่อยู่ของพระสงฆ์ ทั่วทั้งเอเชียใต้และเอเชียกลางตามบันทึก ในอโศกาวทานพระองค์ทรงสั่งให้สร้างสถูป 84000 แห่งเพื่อที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า อารยมันชุศรี มูลกัลป Aryamanjusrimulakalpa บันทึกไว้ว่าพระเจ้าอโศกทรงถวายรถม้าที่ประดับด้วยโลหะอันมีค่ามากในการเดินทางไปยังสถูปแต่ละแห่ง พระองค์ให้การบริจาคสำหรับวิหารและมัททะ Matha (มหาวิทยาลัยของฮินดู) พระองค์ทรงส่งพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือพระนางสังฆมิตตาเถรี Sanghamitra และพระราชโอรสคือพระมหินทเถระ Mahindra ไปเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา (ซึ่งรู้จักกันในสมัยนั้นว่าเกาะตัมพปัณณิ) พระเจ้าอโศกยังส่งพระภิกษุผู้เป็นสมณทูตที่สำคัญ เช่น

พระมัชฌันติกเถระ Madhyamik Sthavira เป็นหัวหน้าไปยังแคว้นแคชเมียร์ และอัฟกานิสถาน พระมหารักขิต Maharaskshit Sthavira ไปซีเรีย เปอร์เซีย หรืออิหร่าน อียิปต์ กรีก อิตาลี และตุรกี พระมัชฌิมะ Massim Sthavira ไปเนปาล ภูฏาน จีน และมองโกเลีย พระโสณะและพระอุตตระ Sohn Uttar Sthavira ไปกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (ชื่อในสมัยโบราณคือสุวรรณภูมิของพม่าและไทย) พระมหาธรรมรักขิต Mahadhhamarakhhita Sthavira ไปรัฐมหาราษฎร์ Maharashtra พระมหารักขิต และพระยะวะนะธรรมรักขิต  Maharakhhit Sthavira and Yavandhammarakhhita Sthavira ไปอินเดียใต้

พระเจ้าอโศกทรงเชิญชาวพุทธและผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธมาเพื่อประชุมเกี่ยวกับศาสนา พระองค์ทรงสร้างแรงบันดาลใจให้พระภิกษุรจนาคัมภีร์ทางศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงช่วยทุกประเภทในเรื่องนี้ พระเจ้าอโศกทรงช่วยพัฒนาวิหาร (ศูนย์กลางแห่งปัญญา) เช่นมหาวิทยาลัยนาลันทาและตักศิลา พระเจ้าอโศกยังทรงช่วยในการก่อสร้างสถูปสาญจี และวิหารมหาโพธิ พระเจ้าอโศกยังบริจาคแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธ พระเจ้าอโศกทรงให้ความช่วยเหลือและทรงเคารพทั้งสมณและพราหมณ์ เจ้าอโศกยังทรงช่วยเหลืออุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ในปี 250 ก่อนคริสตกาลที่เมืองปาฏลีบุตร (ทุกวันนี้คือเมืองปัตนะ) ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้ที่เป็นครูฝ่ายจิตวิญญาณของพระเจ้าอโศก

พระราชโอรสของจักรพรรดิอโศกคือพระมหินทเถระ ยังได้ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการแปลคัมภีร์ภาษาดั้งเดิม(ภาษาบาลี)ไปสู่ภาษาที่เข้าใจกันได้ของประชาชนชาวศรีลังกาคือภาษาสิงหล เป็นที่ทราบกันดีว่า พระเจ้าอโศกส่งสมณทูตให้นำพระราชสาส์นจดหมายหรือบอกปากต่อปากไปยังประชาชนในที่ต่างๆ พระบรมราชโองการที่เป็นศิลาจารึกแผ่นที่ 6 เกี่ยวกับพระบรมราโชวาทเปิดเผยสิ่งนี้ มันถูกยืนยันในเวลาต่อมาว่า คำสอนแบบมุขปาฐะก็ได้รับเขียนการบันทึกขึ้น และเนื้อหาส่วนที่เป็นเรื่องราวของพระเจ้าอโศกสามารถที่จะอนุมานได้จากพระบรมราชองการศิลาจารึกแผ่นที่ 13 ได้เช่นเดียวกัน จารึกเหล่านั้นถูกมุ่งหมายถึงการเผยแผ่หลักธรรมวิชัยของพระองค์ซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาถึงชัยชนะที่สูงสุดและพระองค์ทรงประสงค์ที่จะเผยแพร่ไปยังทุกหนทุกแห่ง ซึ่งรวมไปถึงนานาอารยประเทศไกลออกไปจากอินเดีย นั่นก็เป็นที่ประจักษ์และปฏิเสธไม่ได้ถึงร่องรอยแห่งวัฒนธรรมที่ติดต่อผ่านกันโดยการใช้จารึกอักษรขโรษฐีและแนวคิดการสร้างจารึกน่าจะถูกส่งไปพร้อมด้วยจารึกนี้ซึ่งได้รับอิทธิพลของจักรวรรดิอะคีเมนิดจะเห็นได้จากบางส่วนแห่งการวางกฎเกณฑ์โดยพระเจ้าอโศกในจารึกของพระองค์ นี่แสดงให้เราเห็นว่าพระเจ้าอโศกได้ทรงติดต่อกับวัฒนธรรมอื่นๆจริงแท้ และเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานและแนวคิดใหม่ๆข้ามกำแพงแห่งแนวคิดของพระองค์เอง

ในอาณาจักรของชาวกรีก

ในพระบรมราชโองการ ของพระองค์พระเจ้าอโศกทรงตรัสถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีกได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธและเป็นผู้รับการเผยแพร่จากทูตของพระองค์ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการบันทึกทางประวัติศาสตร์ของกรีกสำหรับเหตุการณ์นี้ในพระบรมราชโองการดังนี้:

สำหรับพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ชัยชนะที่ทรงถือว่า

ยิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ “ธรรมวิชัย” (ชัยชนะโดยธรรม) และธรรม วิชัยนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ทรงกระทำสำเร็จแล้ว ทั้ง ณ ที่นี้ (ในพระราชอาณาเขตของพระองค์เอง) และในดิน แดนข้างเคียงทั้งปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน์ ในดินแดนอัน เป็นที่ประทับแห่งกษัตริย์โยนก (Ionian Greek) พระนามว่า อันติโยคะ (Antiochus) และดินแดนต่อจากพระเจ้าอันติโยคะ นั้นไป (คือในทางตะวันตกเฉียงเหนือ) อันเป็นที่ประทับแห่ง กษัตริย์ ๔ พระองค์ พระนามว่า พระเจ้าตุรมายะ (หรือตุลมย - ทอเลมีที่ 2) พระเจ้าอันเตกินะ (Antigonos) พระเจ้ามคะ (Magas) และพระเจ้าอลิกสุนทระ (Alexander)[7]


ในทางใต้ ก็เช่นเดียวกันพระมหากษัตริย์แคว้นโจฬะ แคว้น Pandyas และไกลออกไปถึงเกาะตัมพปัณณิ (ศรีลังกา) สถานที่นี้อยู่ใน พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ชาวกรีกคือ กัมโพชะ the Kambojas, the Nabhakas, the Nabhapamktis, the Bhojas, the Pitinikas, the Andhras and the Palidas

ทุกหนทุกแห่ง (ประชาชนเหล่านี้) พากันประพฤติ ปฏิบัติตามคำสอนธรรมของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ แม้ ในถิ่นฐานที่ราชทูตของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพมิได้ไปถึง ประชาชนทั้งหลายเมื่อได้ทราบถึงธรรมวัตร ธรรมวิธาน และ ธรรมานุศาสน์ของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพแล้ว ก็พากัน ประพฤติปฏิบัติตามธรรม และจักประพฤติปฏิบัติตามธรรม

นั้นต่อไป

— โองการพระเจ้าอโศกแปลโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต) ฉบับธรรมเมกขสถูป ที่ ๑๓ พบที่สารนาถ[7]

มันไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลเกินกว่าที่จะจินตนาการว่า พระเจ้าอโศกได้รับจดหมายจากพระมหากษัตริย์ชาวกรีกและมีความคุ้นเคยสนิทสนมกับราชวงศ์ชาวกรีกอย่างไร บางทีพระองค์อาจจะรับรู้ได้จากจารึกของกษัตริย์อะคีเมนิด ที่ให้การแสดงทางการทูตของพระมหากษัตริย์ชาวกรีกในอินเดีย (เช่นเดียวกับราชทูตที่พระเจ้าอโศกทรงส่งไป) Dionysius ทุกรายงานว่าได้เป็นราชทูตชาวกรีกประจำอยู่ที่ศาลของพระเจ้าอโศกส่งไปโดยมหากษัตริย์พระนามว่า ปโตเลมีที่ 2 Ptolemy II Philadelphus ผู้ซึ่งถูกกล่าวถึงในโองการของพระเจ้าอโศกว่าเป็นผู้รับสมณทูตของพระเจ้าอโศกนักปรัชญาชาวกรีกบางคน เช่น Hegesias of Cyrene ผู้ที่อาจจะอาศัยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้ามาคัส Magas คนหนึ่งของผู้ที่น่าจะได้เป็นผู้รับสมณทูตจากพระเจ้าอโศก บางครั้งคิดว่าได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพุทธศาสนา

ชาวกรีกจะมีบทบาทอย่างแข็งขันในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา บางท่านในคณะทูตพระเจ้าอโศกเช่นพระธัมมรักขิตผู้ที่ถูกอธิบายในต้นฉบับภาษาบาลีเป็นผู้นำคณะสมณทูตพระภิกษุชาวกรีกทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ชาวกรีกบางคนมีบทบาทในการปกครองดูแลหน้าที่ชายแดนซึ่งแต่งตั้งโดยพระเจ้าอโศก จารึกรัฐ Girnar ของ Rudradamanบันทึกไว้ว่าในระหว่างการปกครองของพระเจ้าอโศก ผู้ว่าราชการรัฐชาวกรีกโยนกเป็นผู้รับผิดชอบรัฐ Girnar, คุชราต Gujarat การกล่าวถึงการปกครองคลองพระองค์ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ

ในฐานะผู้ปกครองดูแล

กองกำลังทางทหารของพระเจ้าอโศกมีความแข็งแกร่งมากแต่หลังจากการเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาของพระองค์พระองค์ก็ฟื้นฟูปรับปรุงความสัมพันธ์แบบมิตรภาพกับ 3 อาณาจักรทมิฬใหญ่ ทางภาคใต้ คืออาณาจักร Cheras, Cholas and Pandyas Tamraparni, and Suvarnabhumi. ในโองการของพระองค์บอกว่าพระองค์จัดสร้างตระเตรียมยาการรักษาสำหรับประชาชนและสัตว์ในอาณาจักรของพระองค์เองเช่นเดียวกับรัฐที่อยู่ใกล้เคียงเหล่านั้นด้วยพระองค์ยังสั่งให้ขุดและปลูกต้นไม้ตลอดแนวสองข้างถนนเพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป

ด้านสวัสดิภาพของสัตว์

ศิลาจารึกพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกได้บอกอย่างชัดเจนว่าการทรมานเบียดเบียนและสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งไม่ดีและสัตว์จะต้องไม่ถูกฆ่าเพื่อการบูชายัญ อย่างไรก็ตามพระองค์ไม่ห้ามฆ่าปศุสัตว์ทั่วไปและเนื้อสำหรับการบริโภคพระองค์สั่งห้ามการฆ่าสัตว์ 4 เท้าสำหรับกรณีที่ไม่เกิดประโยชน์และไม่บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดของสัตว์รวมไปถึงนกหลายชนิดปลาและวัวบางชนิด ยังสั่งห้ามการฆ่าแพะตัวเมียแกะและหมูที่ยังเลี้ยงลูกอ่อนอยู่ เช่นเดียวกับลูกอ่อนของสัตว์เหล่านั้นที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน พระองค์ยังสั่งห้ามการฆ่าปลาทุกชนิดและการตอนสัตว์ในระหว่างบางช่วงเวลาเช่นฤดูเข้าพรรษาและวันอุโบสถ

พระเจ้าอโศกยังสั่งห้ามการล่าสัตว์ของราชวงศ์และข้าราชการและให้เป็นเขตสงวนอภัยทานเพื่อให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ในเขตพระราชวัง เพราะพระองค์ทรงห้ามการล่าสัตว์ จึงมีการสร้างคลินิกสัตวแพทย์และจำกัดการบริโภคเนื้อในวันหยุดมากมาย จักรวรรดิเมารยะภายใต้การปกครองของพระเจ้าอโศกได้ถูกบรรยายให้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เล็กมากๆในประวัติศาสตร์โลกของของรัฐบาลที่ปฏิบัติต่อสัตว์ของตนในฐานะพลเมืองที่สมควรได้รับการคุ้มครองในฐานะประชาชนผู้อยู่อาศัย

ธรรมจักรของพระเจ้าอโศก

ธรรมจักรของพระเจ้าอโศก (วงล้อของพระเจ้าอโศก) เป็นการสื่อถึงพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร(เรียกว่าวงล้อแห่งธรรม) วงล้อมี 24 ซี่ ซึ่งแสดงถึงกฎ 12 ข้อของปฏิจจสมุปบาทฝ่ายอนุโลม(ตามลำดับ)และกฎ 12 ข้อของของปฏิจจสมุปบาทฝ่ายปฏิโลม (ทวนกลับ) วงล้อของพระเจ้าอโศกได้ดูแกะสลักไว้อย่างมากมายทั่วจักรวรรดิอโศก ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาวงล้อเหล่านั้นคือธรรมจักรที่มียอดเป็นสิงโตแห่งสารนาถและเสาศิลาของพระเจ้าอโศกซึ่งพบเห็นได้บ่อยที่สุดเพราะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์อยู่ตรงกลางของธงแห่งประเทศสาธารณรัฐอินเดีย (ใช้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1947) ซึ่งมันจะเป็นปรากฏสีน้ำเงินครามบนพื้นหลังสีขาว โดยแทนที่สัญลักษณ์วงล้อปั่นด้ายของธงรุ่นเก่า วงล้อธรรมจักรพระเจ้าอโศกยังสามารถพบเห็นได้บนฐานเป็นหลังของสิงโตรองรับซึ่งก็ถูกนำไปใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำชาติอินเดียด้วย

วงล้อธรรมจักรของพระเจ้าอโศกถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกในรัชกาลของพระองค์วงล้อธรรมจักรในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า ล้อ หรือ กระบวนการหมุนวน กระบวนการสื่อถึงวัฏจักรของเวลา เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกตามเวลา

ไม่กี่วันก่อนที่ประเทศอินเดียจะได้รับอิสรภาพในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1947 การประชุมของสมาชิกผู้ก่อตั้งพิเศษได้ตัดสินใจว่าธงของประเทศอินเดียควรจะเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนและทุกชุมชนสังคม ธงสามสี สีเหลือง สีขาวและสีเขียว พร้อมด้วยธรรมจักรพระเจ้าอโศกได้ถูกเลือก

สถาปัตยกรรมหิน

พระเจ้าอโศกมักจะได้รับการเชื่อว่ายุคเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมหินในประเทศอินเดีย อาจจะเป็นไปได้ที่ได้เรียนรู้จากคำแนะนำในด้านเทคนิคการสร้างด้วยหินโดยชาวกรีกหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก่อนยุคของพระเจ้าอโศกการก่อสร้างอาจจะเป็นการก่อสร้างที่ใช้วัสดุที่ไม่คงทน เช่นไม้ไม้ไผ่ และหญ้าคาสำหรับมุม พระเจ้าอโศกอาจจะสร้างพระราชวังของพระองค์ขึ้นใหม่ไดเมืองปาฏลีบุตรขึ้นแทนที่วัสดุที่เป็นไม้ด้วยหิน และอาจจะได้รับการช่วยเหลือจากช่างฝีมือชาวต่างประเทศ พระเจ้าอโศกยังคิดค้นการใช้คุณสมบัติของหินที่คงทนถาวรสำหรับการเขียนพระบรมราชองการเช่นเดียวกับเสาศิลาพร้อมทั้งสัญลักษณ์ทางพระศาสนา

เสาศิลาของพระเจ้าอโศก (บาลี เป็น อโสกถมฺภ)

เสาศิลาของพระเจ้าอโศกเป็นชุดของเสา ที่กระจายอยู่ทั่วภาคเหนือของอนุทวีปอินเดียสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโศกในรัชกาลของพระองค์ในปีที่ 300 ก่อนคริสตกาล ในขั้นต้นน่าจะมีเสาอยู่หลายต้นของพระเจ้าอโศกถึงแม้ว่าจะเหลืออยู่เพียง 10 ต้นพร้อมกับจารึกที่เหลือรอด ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างสี่สิบห้าสิบฟุตและมีน้ำหนักถึงห้าสิบตัน เสาทุกต้นถูกเจาะสกัดขึ้นที่ Chunar ทางตอนใต้ของเมืองพาราณสีและถูกลากไปไกลหลายร้อยไมล์ไปยังที่ที่ประดิษฐานขึ้น เสาสิลาต้นแรกของพระเจ้าอโศกถูกค้นพบในปีคริตสศตวรรษที่ 16 โดย Thomas Coryat ในซากปรักหักพังของเมืองเดลีโบราณ วงล้อแสดงถึงเวลาแห่งพระอาทิตย์และกฎทางพระพุทธศาสนาขณะที่เครื่องหมายการยืนของสวัสติกะสำหรับการเต้นรำของจักรวาลรอบศูนย์กลางคงที่และป้องกันความชั่วร้าย

หัวเสาสิงโตของพระเจ้าอโศก (อโศกมุทรา)

ยอดเสาสิงโตของพระเจ้าอโศกเป็นประติมากรรมสิงโต 4 ตัวยืนหันหลังให้กัน ดั้งเดิมนั้นมันถูกวางอยู่บนยอดเสาศิลาพระเจ้าอโศกที่สารนาถ ทุกวันนี้อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ Uttar Pradesh ของอินเดียสักศิลาบางครั้งก็ถูกเรียกว่าคอลัมน์ของพระเจ้าอโศก ซึ่งมันก็ยังคงตั้งอยู่ ณ สถานที่เดิมของมัน แต่ว่าหัวเสาสิงโตตอนนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ สิงโตนี้น้ำมาจากสารนาถซึ่งถูกใช้เป็นตราของประเทศอินเดียและวงล้อธรรมจักรของพระเจ้าอโศกจากฐานของมันถูกนำไปวางอยู่ตรงกลางของธงของประเทศอินเดีย

หัวเสาที่มีสิงโต 4 ตัว (เป็นสิงโตเอเชีย ในอินเดีย) ยืนหันหลังเข้าหากันติดตั้งอยู่บนลูกบาศก์ทรงกระบอกสั้น พร้อมด้วยรูปแกะสลักปฏิมากรรมของช้าง ม้ากำลังควบ วัว และสิงโต แยกออกจากกันโดยการแทรกด้วยล้อรถม้าแบบมีซี่วางอยู่เหนือดอกบัวที่เป็นรูประฆัง แกะสลักออกมาจากบล็อกเดี่ยวของหินทรายมันเงา ยอดเสาเชื่อว่าน่าจะถูกสวมวงล้อธรรม (ธรรมจักรที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดียในฐานะธรรมจักรของพระเจ้าอโศก) เสาศิลาแห่งสารนาถบันทึกหนึ่งในโองการของพระเจ้าอโศก การจารึกการระงับความแตกแยกกันในภายในองค์กรของชาวพุทธ ดังนี้ “ไม่มีใครจะทำให้เกิดการแตกแยกในคำสั่งของพระภิกษุสงฆ์ สัตว์สี่ชนิดในบนหัวเสาแห่งสารนาถเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายเรื่องต่างๆของชีวิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

  • ช้างแสดงถึงแนวคิดแห่งความเป็นพุทธะโดยการอ้างถึงพระสุบินของพระนางสิริมหามายาคือมีช้างเผือกเข้าไปในพระครรภ์ของพระนาง
  • วัวแสดงถึงความปรารถนาในช่วงพระชนม์ชีพที่เป็นเจ้าชายของพระพุทธเจ้า
  • ม้าแสดงถึงการเสด็จเดินทางออกจากการดำรงชีวิตที่หรูหรา (เสด็จออกผนวช)
  • สิงโตแสดงถึงความสำเร็จของพระพุทธเจ้า

นอกจากการตีความในเชิงศาสนาแล้ว ยังมีการตีความที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์แห่งเสาศิลาหลักที่สำคัญของพระเจ้าอโศกที่สารนาถ คือ สัญลักษณ์สิงโต 4 ตัวหมายถึงการปกครองของพระเจ้าอโศกแผ่ออกไปตลอดสี่ทิศ สัญลักษณ์วงล้อหมายถึงการปกครองโดยธรรมของพระองค์ (จกฺกวตฺติน) สัญลักษณ์สัตว์ 4 ชนิดหมายถึงดินแดนที่อยู่ติดต่อกันทั้ง 4 ของอินเดีย

การก่อสร้างที่ได้รับการเชื่อถือในยุคพระเจ้าอโศก

การบูรณะโดยชาวอังกฤษได้กระทำสำเร็จภายใต้การแนะนำจากท่านพระเวลิกามา ศรี สุมังคละ Weligama Sri Sumangala พระเถระชาวศรีลังกา

  • สถูปสาญจี มัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย
  • ธัมเมกขสถูป สารนาถ อุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
  • มหาโพธิวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
  • ถ้ำบาราบา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
  • มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิหาร (บางจุดเช่น สารีบุตรสถูป) รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
  • มหาวิทยาลัยตักสิลา (บางจุดเช่น ธัมมราชิกสถูปและกุนาลาสถูป) เมืองตักสิลา ประเทศปากีสถาน
  • Bhir Mound เมืองตักสิลา ประเทศปากีสถาน
  • บาร์ฮัตสถูป มัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย
  • Deorkothar Stupa มัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย
  • บุตคาราสถูป เมืองสวัต ประเทศปากีสถาน
  • Sannati Stupa การ์นาตากา ประเทศอินเดีย ทราบเพียงรูปสลักที่แสดงถึงประเจ้าอโศก
  • Mir Rukun Stupa เมือง Nawabshah ประเทศปากีสถาน


หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ ที่สารนาถ ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้นำมาใช้เป็นรูปตราแผ่นดิน

เป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ

เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells; 1866 – 1946) นักเขียนชาวอังกฤษ ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราชว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่งใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระโคตมพุทธเจ้า โสกราตีส อาริสโตเติล รอเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในปัจจุบัน พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ถูกศิลปินจับนำมาทำเป็นละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ในชื่อเดียวกันว่า อโศกมหาราช

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Lars Fogelin (1 April 2015). An Archaeological History of Indian Buddhism. Oxford University Press. pp. 81–. ISBN 978-0-19-994823-9.
  2. Fred Kleiner (1 January 2015). Gardner’s Art through the Ages: A Global History. Cengage Learning. pp. 474–. ISBN 978-1-305-54484-0.
  3. 3.0 3.1 Upinder Singh 2008, p. 331.
  4. http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81
  5. ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ภาค ๑ - หน้าที่ 83 [[1]]
  6. Mitchiner, Michael (1978). Oriental Coins & Their Values: The Ancient and Classical World 600 B.C. - A.D. 650. Hawkins Publications. p. 544. ISBN 978-0-9041731-6-1.
  7. 7.0 7.1 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ จ.สมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๕๒ น.๑๖ ISBN 978-974-300-589-3 [[2]]

แหล่งข้อมูลอื่น

  • สุรพศ ทวีศักดิ์. (2560). ความคิดทางการเมืองของพุทธศาสนายุคต้น: กำเนิดและพัฒนาการรัฐพุทธศาสนายุคอโศกและยุคกลาง. ใน ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย. บรรณาธิการโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. น. 115-39. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2560.
ก่อนหน้า พระเจ้าอโศกมหาราช ถัดไป
พระเจ้าพินทุสาร กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ
(พ.ศ. 185 - พ.ศ. 322)
พระเจ้าทศรถ เมารยะ