ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตบางแค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


== ที่มาของชื่อเขต ==
== ที่มาของชื่อเขต ==
"บางแค" มาจากคำว่า "บาง" หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า "แค" นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูก[[แค|ต้นแค]]ไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย
"บางแค" มาจากคำว่า "บาง" หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า "แค" นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูก[[แค|ต้นแค]]ไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย

== ประวัติ ==
เขตบางแคในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของ[[เขตหนองแขม|อำเภอหนองแขม]] [[จังหวัดธนบุรี]] มีชื่อว่า '''ตำบลหลักหนึ่ง''' ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น '''ตำบลบางแค'''<ref>สำนักงานเขตหนองแขม. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001050&strSection=aboutus&intContentID=465 http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001050&strSection=aboutus&intContentID=465] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 31 มีนาคม 2555.</ref> ตามชื่อคลองสายหนึ่งที่ไหลผ่านพื้นที่และหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองนั้น ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2472]] สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยุบอำเภอหนองแขมมาขึ้นกับ[[เขตภาษีเจริญ|อำเภอภาษีเจริญ]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=45|issue=|pages=360-361|title=ประกาศ เรื่องยุบรวมอำเภอและเลิกกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/A/360.PDF|date=17 มีนาคม 2471|language=}}</ref> แต่ในช่วงแรกตำบลบางแคยังคงเป็นท้องที่ปกครองของกิ่งอำเภอหนองแขมอยู่ จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2473]] ทางการจึงโอนตำบลนี้มาขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญโดยตรง เนื่องจากอยู่ใกล้กันและติดต่อกันได้สะดวกกว่า<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=47|issue=|pages=226-228|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอ เปลี่ยนชื่อและย้ายอำเภอกับโอนตำบล|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/226.PDF|date=19 ตุลาคม 2473|language=}}</ref>

เมื่อมีผู้คนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในปี [[พ.ศ. 2498]] กระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วน เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงท้องถิ่น<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=72|issue=74 ง ฉบับพิเศษ|pages=3-5|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางแค อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/074/3.PDF|date=17 กันยายน 2498|language=}}</ref> และขยายเขตออกไปในปี [[พ.ศ. 2501]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=75|issue=72 ง|pages=2541-2542|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางแค จังหวัดธนบุรี|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/072/2541.PDF|date=16 กันยายน 2501|language=}}</ref> และ [[พ.ศ. 2513]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=87|issue=70 ง ฉบับพิเศษ|pages=10-11|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางแค อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2513/D/070/10.PDF|date=1 สิงหาคม 2513|language=}}</ref>

จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับ[[จังหวัดพระนคร]]เข้าด้วยกันเป็น[[นครหลวงกรุงเทพธนบุรี]]ในปี [[พ.ศ. 2514]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=88|issue=พิเศษ 144 ก|pages=816-824|title=ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/144/816.PDF|date=21 ธันวาคม 2514|language=}}</ref> และเปลี่ยนรูปแบบเป็น[[กรุงเทพมหานคร]]ในปี [[พ.ศ. 2515]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=89|issue=พิเศษ 190 ก|pages=187-201|title=ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/190/187.PDF|date=13 ธันวาคม 2515 |language=}}</ref> โดยให้ยุบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลบางแคจึงเปลี่ยนฐานะเป็น '''แขวงบางแค''' ขึ้นกับเขตภาษีเจริญ ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น ในปี [[พ.ศ. 2538]] กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในแขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่<ref>สำนักงานเขตบางแค. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://office.bangkok.go.th/bangkhae/ http://office.bangkok.go.th/bangkhae/] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 31 มีนาคม 2555.</ref>

ในที่สุดจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย แบ่งพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 รวมกับพื้นที่แขวงหลักสองของสำนักงานเขตหนองแขมมาจัดตั้งเป็น '''เขตบางแค''' เมื่อวันที่ [[14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2540]] และในวันที่ [[7 พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงแนวเขตและพื้นที่แขวงทั้งสี่ของเขตบางแคใหม่ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ [[6 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2541]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=114|issue=พิเศษ 108 ง|pages=44–50|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตหนองแขม เขตภาษีเจริญ และตั้งเขตบางแค กรุงเทพมหานคร|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/108/44.PDF|date=18 พฤศจิกายน 2540|language=}}</ref><ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=114|issue=พิเศษ 121 ง|pages=95–101|title=ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงหลักสอง เขตบางแค|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/121/95.PDF|date=24 ธันวาคม 2540|language=}}</ref>

และเมื่อวันที่ [[20 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2552]] ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงทั้งสี่ในเขตบางแคใหม่ เพื่อความสะดวกและความชัดเจนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ [[3 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2552]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=126|issue=พิเศษ 137 ง|pages=66-70|title=ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง แขวงบางแค และแขวงบางไผ่ เขตบางแค|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/66.PDF|date=21 กันยายน 2552|language=}}</ref>


== การแบ่งเขตการปกครอง ==
== การแบ่งเขตการปกครอง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:12, 8 มกราคม 2560

เขตบางแค
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Khae
คำขวัญ: 
ลำคลองสี่ทิศ แหล่งเศรษฐกิจใหม่ สุขใจบ้านบางแค งามแท้สวนเพชรกาญจนารมย์ ชมวิถีเกษตรพอเพียง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางแค
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางแค
พิกัด: 13°41′31″N 100°24′26″E / 13.69194°N 100.40722°E / 13.69194; 100.40722
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด44.456 ตร.กม. (17.165 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2559)
 • ทั้งหมด192,413 [1] คน
 • ความหนาแน่น4,328.16 คน/ตร.กม. (11,209.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10160
รหัสภูมิศาสตร์1040
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ซอย 001 กาญจนาภิเษก 10 แยก 2 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
เว็บไซต์http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001028
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตบางแค เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตสายไหม[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาบริเวณติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต

"บางแค" มาจากคำว่า "บาง" หมายถึงทางน้ำเล็ก ๆ หรือทางน้ำที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า "แค" นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูกต้นแคไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย

การแบ่งเขตการปกครอง

แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง คือ

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(พฤศจิกายน 2559)
จำนวนบ้าน
(พฤศจิกายน 2559)
ความหนาแน่นประชากร
(พฤศจิกายน 2559)
บางแค Bang Khae
7.250
39,464
23,333
5,443.31
บางแคเหนือ Bang Khae Nuea
13.203
60,379
25,416
4,573.12
บางไผ่ Bang Phai
14.753
40,267
13,879
2,729.41
หลักสอง Lak Song
9.250
52,313
23,220
5,655.45
ทั้งหมด
44.456
192,423
85,848
4,328.39

ประชากร

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตบางแค[2]
ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด
2539 133,899 แบ่งเขต
2540 135,682 +1,783
2541 169,615 เพิ่มแขวงหลักสอง
2542 172,026 +2,411
2543 174,466 +2,440
2544 177,003 +2,537
2545 180,136 +3,133
2546 183,809 +3,673
2547 186,744 +2,935
2548 189,257 +2,513
2549 191,521 +2,264
2550 192,597 +1,076
2551 193,449 +852
2552 193,478 +29
2553 193,190 -288
2554 192,276 -914
2555 191,781 -495
2556 192,119 +338
2557 191,966 -153

การคมนาคม

ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางแค ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

สถานที่สำคัญ

สถานที่ราชการ

  • สำนักงานเขตบางแค

ปี 2538 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญสาขา 1 ขึ้น โดยใช้ที่ทำการเดียวกับสำนักงานเขตภาษีเจริญ ให้บริการเฉพาะประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่แขวงบางไผ่ แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ และปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายที่ทำการมาเช่าตึกแถว 4 ชั้น จำนวน 4 คูหา บนถนนกาญจนาภิเษกเป็นที่ทำการจนกระทั่ง วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตหนองแขมเฉพาะแขวงหลักสอง มารวมกับสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 และตั้งเป็นสำนักงานเขตบางแค แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง ประกอบด้วย แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ แขวงหลักสอง ซึ่งทางสำนักงานเขตยังคงเช่าตึกแถวดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่ง นางบาง กลีบบัวได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน 4 ไร่ ให้กับกรุงเทพมหานครเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างที่ทำการสำนักงานเขตบางแค เริ่มก่อสร้างอาคารเดือน มีนาคม 2547 ก่อสร้างแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2547 โดย สำนักงานเขตได้ดำเนินการย้ายเข้ามาปฏิบัติงานในอาคารใหม่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2547 และได้มีพิธีเปิดอาคารสำนักงานเขตบางแคและศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2548

  • สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม

สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจรับผิดชอบ และเขตปกครองพื้นที่การปกครองของหน่วยงานราชการในกรมตำรวจ (ฉบับที่ 20) พ . ศ .2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 17 ง . วันที่ 13 มิถุนายน 2539 เริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2539 เป็นต้นมา สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม ตั้งอยู่ เลขที่ 50 หมู่ 1 ซอยเพชรเกษม 63 ถนนเพชรเกษม แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุส่วนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ริมคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ ใกล้วัดม่วง ซอยเพชรเกษม 63

  • สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง

สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ .2473 ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ เสาปูน ยกพื้นสูง เป็นทรงปั้นหยา ตั้งอยู่ริมคลองขุดภาษีเจริญฝั่งทิศเหนือ ตรงระยะที่ 2 ตรงข้ามวัดม่วง ปลูกอยู่ในที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียน 3712 โฉนดที่ดินที่ 3881 ที่ดินเลขที่ 67 ระวาง 4 ต.7 ฎ.หมู่ที่ 1 ตำบลหลักสอง อำเภอหนองแขม (สมัยก่อน) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ดิน 420 ตารางวา มีสารวัตรเป็นหัวหน้าปกครองขึ้นตรงต่อ กองกำกับการ ตำรวจนครบาล 12 ขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2517 พ.ต.อ.ไพทูรย์ สุวรรณวิเชียร ผกก.น.12 ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ปริมาณงานและกิจการต่าง ๆ ของ สน.มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับ การยกฐานะขึ้นแล้ว ปรากฏว่าสถานที่ทำงาน คับแคบขึ้นอีก เนื่องจากมีกำลังตำรวจเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้ง ตัวอาคารเดิมอยู่ ริมคลองและอยู่ห่างจากถนน เพชรเกษมประมาณ 2 กม . เป็นสถานที่คับแคบไม่สามารถขยายให้กว้างได้ ทำให้การบริการประชาชนไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าที่ควร พ.ต.อ.ไพทูรย์ สุวรรณวิเชียร ผกก.น.12 จึงได้เสนอความต้องการและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อขอใช้ที่ร่วมกับศูนย์บรรเทา สาธารณภัยธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2517 ต่อมาได้รับงบประมาณให้จัดสร้าง สถานที่ทำการใหม่ ในซอยเพชรเกษม 98 ในที่ดินซึ่งได้รับบริจาคและได้สร้างเสร็จในปี 2529 จึงได้ย้ายสถานที่ทำการจากศูนย์บรรเทา สาธารณภัยธนบุรีมา อยู่ที่อาคาร สร้างใหม่ในซอยเพชรเกษม 98 เลขที่ 164/1 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 3 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 จนถึงปัจจุบัน ปริมาณงานได้ เพิ่มมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งพื้นที่ รับผิดชอบของ สน.หลักสอง แบ่งเป็น สน.เพชรเกษม ตั้งแต่ วันที่ 12 สิงหาคม 2539 สน.หลักสอง โดยรับผิดชอบเขตพื้นที่ 19.24 ตร.กม. โดยมีเขตพื้นที่ทิศเหนือด้านติดต่อ สน . บางเสาธงและ สน . ศาลาแดง ทิศตะวันตกติดต่อ สน . หนองค้างพลู ทิศใต้ติดต่อ สน . เพชรเกษม ทิศตะวันออกติดต่อ สน.ภาษีเจริญ

  • สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง

พ.ศ. 2478 ร.ต.ต.ขุนวิจารณ์ กิจชอบ หัวหน้ากิ่งสถานีได้ขออนุมัติกรมตำรวจซื้อที่ดินจากผู้ใหญ่ยิ่ง รอดทอง บริเวณหมู่ที่ 6 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร สร้างตัวอาคารเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวและบ้านพักเป็น ห้องแถวเรือนไม้ 2 หลัง จำนวน 14 ห้อง บนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน พ.ศ. 2520 มีราชกิจจานุเบกษาให้ตั้งเป็นสถานีตำรวจชื่อ “สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง”แยกจากสถานีตำรวจนครบาลบางเสาธง และยกระดับผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสถานีเป็น ระดับสารวัตร พ.ศ. 2537 ได้รับการยกระดับหัวหน้าสถานีจากสารวัตรเป็นรองผู้กำกับการหัวหน้าสถานี มีสารวัตรป้องกันปราบปราม สารวัตรสอบสวนและ สารวัตรธุรการ พ.ศ. 2545 ได้รับการยกระดับสถานีจาก รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานี เป็น ผู้กำกับการเป็นหัวหน้าสถานี สถานที่ตั้ง ปัจจุบัน สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 128 ซอยบางแวก 158 ถนนทวีวัฒนา แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ขึ้นกับกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีพื้นที่รับผิดชอบ 26 ตารางกิโลเมตร

วัด

มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่

วัดนิมมานรดี

โบสถ์คริสต์

มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่

ศาลเจ้า

มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่

พิพิธภัณฑ์

มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่


โรงพยาบาล/สาธารณสุข

มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่

สถานศึกษา

มีจำนวนรวมทั้งหมด 31 โรงเรียน แบ่งเป็น

  1. ระดับอุดมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
    1. มหาวิทยาลัยธนบุรี
  2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 2 แห่ง
    1. โรงเรียนปัญญาวรคุณ
    2. โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ
  3. โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แห่ง
    1. โรงเรียนคลองหนองใหญ่
    2. โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
    3. โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
    4. โรงเรียนบางเชือกหนัง
  4. โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 แห่ง
    1. โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
    2. โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลอนุสรณ์)
    3. โรงเรียนเพชรเกษม
    4. โรงเรียนบางแคเหนือ
    5. โรงเรียนบางไผ่
    6. โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ
    7. โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
    8. โรงเรียนคลองหนองใหญ่
    9. โรงเรียนวัดศาลาแดง
    10. โรงเรียนบางเชือกหนัง
    11. โรงเรียนวัดม่วง
    12. โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
  5. โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 1 แห่ง
    1. โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค
  6. โรงเรียนเอกชน จำนวน 11 แห่ง
    1. โรงเรียนประทุมอนุสรณ์
    2. โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี
    3. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
    4. โรงเรียนสากลศึกษาบางแค
    5. โรงเรียนภูมิสุขศึกษา
    6. โรงเรียนมณีวัฒนา
    7. โรงเรียนอภิจิตอนุสรณ์
    8. โรงเรียนภาษานุสรณ์บางแค
    9. โรงเรียนพณิชยการภาษานุสรณ์บางแค
    10. โรงเรียนสารสาสน์ธนบุรี
    11. โรงเรียนกสิณธรวิทยา
    12. โรงเรียนพิชญ์ชนก

สถานที่สำคัญอื่น ๆ

ท่าเรือในเขตบางแค

แหล่งน้ำ/คลอง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php . สืบค้น 2 มกราคม 2560.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น