ข้ามไปเนื้อหา

จิตรวดี จุลานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรวดี จุลานนท์
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(1 ปี 120 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าพจมาน ณ ป้อมเพชร
ถัดไปสุรัตน์ สุนทรเวช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
จิตรวดี สันทัดเวช

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (75 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
บุตรสันต์ จุลานนท์
จุล จุลานนท์
บุพการี
  • อุดม สันทัดเวช (บิดา)
  • สำอางค์โฉม สันทัดเวช (มารดา)
อาชีพทหาร
เป็นที่รู้จักจากภริยานายกรัฐมนตรี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย ประเทศไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2534 – 2552
ยศ พันเอก

พันเอกหญิง ท่านผู้หญิง จิตรวดี จุลานนท์ (เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) เป็นคู่สมรสของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 และประธานองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ (สกุลเดิม: สันทัดเวช; เกิด: 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) เป็นธิดาของพลตรี อุดม สันทัดเวช และสำอางค์โฉม สันทัดเวช ท่านผู้หญิงจิตรวดีสมรสกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทย ที่มาจากการรัฐประหาร โดยการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อดีตผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี มีบุตรชาย 2 คน คือ

  1. นายสันต์ จุลานนท์ (ข้าว)
  2. นายจุล จุลานนท์ (น้ำ)

ท่านผู้หญิง จิตรวดี จุลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ให้ใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง"

การศึกษา

[แก้]

จบการศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ (ม.ศ. 3) และโรงเรียนอัมพรไพศาล (ม.ศ. 5) จากนั้นศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนสำเร็จการศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.อ.หญิง ท่านผู้หญิง จิตรวดี ได้ชื่อว่ามีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยระหว่างรับราชการยังได้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม ในหลักสูตรภาษาอังกฤษหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตรครูสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรครูสอนภาษาอังกฤษ (ฟื้นฟู) หลักสูตรครูสอนภาษาอังกฤษ (ชั้นสูง) ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร ASLPR ประเทศออสเตรเลีย หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าสารบรรณ รุ่นที่ 4 และหลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าสารบรรณ รุ่นที่ 10

ยศทหาร

[แก้]
  • พันเอกหญิง พ.ศ. 2534

การทำงาน

[แก้]

เริ่มต้นชีวิตการทำงานที่กองภาษา กรมยุทธศึกษาทหารบก โดยเป็นอาจารย์ผู้ช่วยในปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งอาจารย์ในปี พ.ศ. 2525 สอนภาษาอังกฤษให้กับทหารที่ได้รับทุนไปเรียนต่างประเทศ ตามระเบียบของกองทัพบก และเป็นหัวหน้าแผนก เข้ารับการติดยศพันเอกหญิง ในปี พ.ศ. 2534

ปี พ.ศ. 2541 - 2544 ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมแม่บ้านทหารบก เนื่องจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้เป็นสามีได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และในปี พ.ศ. 2545 - 2546 รับตำแหน่ง นายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการทหารสูงสุด เนื่องจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

นอกจากนี้ยังปฏิบัติภารกิจพิเศษ ช่วยราชการ กอ.รมน.ภาค 2 โดยถวายงานในการรับเสด็จและตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างทรงแปรพระราชฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังเป็นกรรมการและกำกับดูแลการประกวดผ้าไหมและกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการศิลปาชีพ และโครงการพระราชดำริในพื้นที่ภาคอีสานอีกด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
ก่อนหน้า จิตรวดี จุลานนท์ ถัดไป
พจมาน ณ ป้อมเพชร คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 29 มกราคม พ.ศ. 2551)
สุรัตน์ สุนทรเวช