สโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นอตติงแฮม ฟอเรสต์)
นอตทิงแฮมฟอเรสต์
Nottingham Forest F.C. logo.svg
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์
ฉายาThe Reds, The Garibaldi, เจ้าป่า, The Tricky Trees
ก่อตั้ง1865; 158 ปีที่แล้ว (1865)[1]
สนามซิตีกราวด์
Ground ความจุ30,446 ที่นั่ง
เจ้าของNF Football Investments Ltd
ประธานNicholas Randall QC[2]
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสตีฟ คูเปอร์
ลีกพรีเมียร์ลีก
2021–22ลีกแชมเปียนชิป, อันดับ 4 จาก 24 (เลื่อนชั้นผ่านการเพลย์ออฟ)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์ (อังกฤษ: Nottingham Forest Football Club) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ฟอเรสต์ เป็นสโมสรฟุตบอลประจำเมืองนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ มีฉายาในภาษาไทยว่า "เจ้าป่า" เป็นสโมสรที่เคยประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการได้แชมป์ดิวิชันหนึ่ง 1 สมัย รวมถึงได้แชมป์ยูโรเปียนคัพ (ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปัจจุบัน) ได้ถึง 2 สมัยติดต่อกัน คือใน ปี ค.ศ.1979 และ 1980 ก่อนจะตกต่ำถูกลดชั้นลงไปเล่นในลีกระดับรอง ปัจจุบันฟอเรสต์ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเตะในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022–23 หลังจากตกชั้นไปนานกว่า 23 ปี[3]

ฟอเรสต์คว้าแชมป์ลีกมาแล้ว 1 สมัย, เอฟเอ คัพ 2 สมัย, ลีกคัพ 4 สมัย, FA Charity Shield 1 สมัย, ยูโรเปียนคัพ 2 สมัย และ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ 1 สมัย ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือภายใต้การบริหารทีมของ ไบรอัน คลัฟ และ ปีเตอร์ เทย์เลอร์ ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งรวมถึงชัยชนะติดต่อกันใน ยูโรเปียนคัพ ในปี 1979 และ 1980

ในทศวรรษสุดท้ายของคลัฟที่สโมสร ทีมฟอเรสต์คว้าแชมป์ลีกคัพในปี ค.ศ. 1989 และ 1990 และแพ้ในรอบชิงเอฟเอ คัพ ปี ค.ศ. 1991 ก่อนตกชั้นจากพรีเมียร์ลีกในปี ค.ศ. 1993 เมื่อฟอเรสต์กลับมาก็ได้อันดับสามในพรีเมียร์ลีกทันทีในปี ค.ศ. 1995 ก่อนที่สโมสรจะตกชั้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1997 และกลับมาอีกครั้งช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1999

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 นอตทิงแฮม ฟอเรสต์ได้เลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกหลังจากเอาชนะ ฮัดเดอร์สฟิลด์ทาวน์ ไป 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศเพลย์ออฟที่ สนามเวมบลีย์[4]

ประวัติ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1865 กลุ่มนักกีฬาชินตีได้นัดพบกันที่ร้านคลินตันอาร์มส์บนถนนเชคสเปียร์ของเมืองนอตทิงแฮม และตกลงรับข้อเสนอของ เจ.เอส. สคริมชอว์ ในการเล่นฟุตบอลแทนชินตีและสโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์ก็ได้ก่อตั้งขึ้น และในการประชุมคราวเดียวกันก็ได้ตกลงกันว่าสโมสรจะซื้อหมวกพู่ 12 ใบที่มีสีแดงการิบัลดี (ตั้งชื่อตามผู้นำของกลุ่มนักสู้ 'เสื้อแดง' ของอิตาลีคือ จูเซ็ปเป การิบัลดี) ดังนั้นสีที่เป็นทางการของสโมสรจึงถูกสร้างขึ้น

ในปี ค.ศ. 2019 เมื่อนอตส์เคาน์ตีตกชั้นจากอิงกลิชฟุตบอลลีกไปสู่เนชันนัลลีก ทั้งนอตทิงแฮมฟอเรสต์และสโตกซิตีต่างก็อ้างว่าเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในลีก นักประวัติศาสตร์ฟุตบอล มาร์ค เมทคาล์ฟ ระบุว่าสโตกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1868 แทนที่จะเป็นปี ค.ศ. 1863 บนตราสโมสร ดังนั้นฟอเรสต์จึงเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในลีก อีเอฟแอลยังระบุด้วยว่านอตทิงแฮมฟอเรสต์เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุด

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นทีมชุดแรก[แก้]

ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 [5]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK อังกฤษ ดีน เฮนเดอร์สัน (ยืมตัวจาก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)
2 DF ฝรั่งเศส Giulian Biancone
3 DF อังกฤษ สตีฟ คุก
4 DF อังกฤษ โจ วอร์รัลล์ (กัปตันทีม)
6 MF อังกฤษ จอนโจ เชลวีย์
7 DF เวลส์ เนโก วิลเลียมส์
8 MF อังกฤษ แจ็ก คอลแบ็ก
9 FW ไนจีเรีย Taiwo Awoniyi
10 MF อังกฤษ Morgan Gibbs-White
11 MF อังกฤษ เจสซี ลินการ์ด
12 GK คอสตาริกา เกย์ลอร์ นาบัส (ยืมตัวจาก ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง)
13 GK เวลส์ เวย์น เฮนเนสซีย์
14 MF อังกฤษ Lewis O'Brien
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 DF อังกฤษ Harry Toffolo
16 FW อังกฤษ แซม เซอร์ริดจ์
17 FW สหรัฐ อเล็กซ์ ไมเทน
18 MF โปรตุเกส Cafú
19 DF ฝรั่งเศส Moussa Niakhaté
20 FW เวลส์ เบรนนัน จอห์นสัน
21 MF ปารากวัย Braian Ojeda
22 MF อังกฤษ ไรอัล เยตส์
23 MF สวิตเซอร์แลนด์ เรโม ฟร็อยเลอร์
26 DF สกอตแลนด์ สกอตต์ แม็กเคนนา
27 DF อังกฤษ โอมาร์ ริชาดส์
29 FW กาบูเวร์ดี Nuno da Costa
33 FW มอนต์เซอร์รัต Lyle Taylor
38 DF บราซิล เฟลีปี
39 FW นิวซีแลนด์ คริส วูด (ยืมตัวจาก นิวคาสเซิลยูไนเต็ด)

ผู้เล่นที่ปล่อยยืม[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
12 GK อังกฤษ จอร์แดน สมิท (ไป ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ จนถึง 30 มิถุนายน 2023)

สีของสโมสร[แก้]

นอตทิงแฮมฟอเรสต์ได้ใช้เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์นับตั้งแต่การก่อตั้งสโมสรเมื่อปี ค.ศ. 1865 ในการประชุมที่ Clinton Arms ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ คณะกรรมการในที่ประชุมได้ผ่านมติให้ใช้สีแดงที่เรียกว่าสี ‘Garibaldi Red’ เป็นสีประจำทีม[6] เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ จูเซปเป การิบัลดี ผู้รักชาติชาวอิตาลีซึ่งเป็นผู้นำของพรรค Camicie rosse (พรรคเสื้อสีแดง) ซึ่งเป็นพรรคที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวให้เกิดการรวมชาติอิตาลี ในเวลานั้นสโมสรยังได้ทำเครื่องหมายสำหรับระบุทีมของตนเพิ่มด้วยการทำเครื่องประดับศีรษะและหมวกแก๊ปสีแดงมีพู่ห้อยอีก 12 ใบ ทำให้ทีมนี้เป็นที่แรกที่ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาสีแดงก็ได้เป็นสีสำคัญที่ได้รับการยอมรับจากสโมสรฟุตบอลจำนวนมาก และทีมฟอเรสต์เองก็เป็นเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเลือกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของอาร์เซนอล จากการบริจาคคิลต์ (กระโปรงสำหรับผู้ชายชาวสก็อต) สีแดงแบบครบชุดให้แก่อาร์เซนอลเนื่องในวาระการก่อตั้งสโมสรดังกล่าวในปี ค.ศ. 1886

เกียรติประวัติ[แก้]

อังกฤษ ระดับประเทศ[แก้]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป[แก้]

โลก ระดับโลก[แก้]

รายการอื่น ๆ[แก้]

  • Anglo-Scottish Cup
    • ชนะเลิศ (1): 1977
  • Bass Charity Vase
    • ชนะเลิศ (3): 1899, 2001, 2002
  • Brian Clough Trophy
    • ชนะเลิศ (3): 2009 (29 August), 2010 (29 December), 2011 (22 January)
  • Dallas Cup
    • ชนะเลิศ (1): 2002
  • Football League Centenary Tournament
    • ชนะเลิศ (1): 1988
  • Nuremberg Tournament
    • ชนะเลิศ (1): 1982
  • Trofeo Colombino Cup
    • ชนะเลิศ (1): 1982

อ้างอิง[แก้]

  1. "History of NFFC". Nottingham Forest Football Club. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.
  2. "Who's Who". Nottingham Forest Football Club. สืบค้นเมื่อ 25 August 2019.
  3. เจ้าป่ามาแล้ว! ฟอเรสต์ทำได้ตบฮัดเดอร์สฟิลด์ตีตั๋วขึ้นพรีเมียร์ลีกรอบ 23 ปี
  4. "Nottingham Forest promoted to Premier League for first time since 1999". Sportsnet.ca (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  5. "Squad Numbers Confirmed". Nottingham Forest Football Club Official Website. สืบค้นเมื่อ 11 September 2020.
  6. [1] The Official History of Nottingham Forest
  7. Upon its formation in 1992, the Premier League became the top tier of English football; the First and ดิวิชัน 2s then became the second and third tiers, respectively. The First Division is now known as the Football League Championship and the Second Division is now known as Football League One.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]