สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5
ยังดีเปอร์ตวนอากง
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
Sultan Muhammad V dari Kelantan pada tahun 2013.jpg
ยังดีเปอร์ตวนอากง ลำดับที่ 14
ครองราชย์13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 6 มกราคม พ.ศ. 2562
ราชาภิเษก24 เมษายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าอับดุล ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์
ถัดไปอัลดุลละฮ์แห่งปะหัง
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
ครองราชย์13 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าสุลต่านอิสมาอิล เปตรา
คู่อภิเษก
พระราชบิดาสุลต่านอิสมาอิล เปตรา
พระราชมารดาเติงกูอานิซ
พระราชสมภพ6 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (53 พรรษา)
โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 (พระนามเดิม เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตรา; พระราชสมภพ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ที่ 14 และสุลต่านแห่งรัฐกลันตันพระองค์ปัจจุบัน พระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นสุลต่านแห่งกลันตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553 สืบราชบัลลังก์จากสมเด็จพระราชบิดาของพระองค์ สุลต่านอิสมาอิล เปตราแห่งกลันตัน ผู้ซึ่งถือว่าไร้ความเจ็บป่วย พระองค์ได้รับการประกาศให้เป็นยังดีเปอร์ตวนอากง (ประมุขแห่งรัฐมาเลเซีย) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อย่างไรก็ตามทนายความที่ทำหน้าที่แทนสุลต่านอิสมาอิล เปตรา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางเพื่อให้การแต่งตั้งมกุฎราชกุมารของสุลต่านแห่งกลันตันเป็นโมฆะโดยอ้างว่าเป็นผลมาจากการยกเลิกรัฐธรรมนูญ[1]

พระชนม์ชีพในวัยเด็กและการสำเร็จราชการ[แก้]

เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตราเป็นพระโอรสของสุลต่านอิสมาอิล เปตรา พระราชสมภพที่โกตาบารู พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร (Tengku Mahkota) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 พระองค์เข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยเซนต์ครอสส์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และศูนย์อิสลามศึกษาออกซฟอร์ด เพื่อการศึกษาทางการทูต และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2534

วิกฤติสันตติวงศ์[แก้]

ในเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ. 2552 พระราชบิดาของพระองค์ สุลต่านอิสมาอิล เปตราได้รับบาดเจ็บสาหัส สุลต่านอิสมาอิล เปตราทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมาท์ เอลิซาเบธในสิงคโปร์และพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม[2] เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 เติงกู มูฮัมมัด ฟาริสทรงปลดพระอนุชา เติงกู มูฮัมมัด ฟาหร์กี เปตรา Tengku Temenggong แห่งกลันตันออกจากสภาสันตติวงศ์ซึ่งมีอำนาจที่จะกำหนดให้บัลลังก์สุลต่านไรเสถียรภาพอย่างถาวร[2]

เติงกู มูฮัมมัด ฟาหร์กียื่นคำร้องต่อศาลสูงแห่งมาลายาเพื่อประท้วงการไล่พระองค์ออกในเดือนธันวาคม[3] และได้ส่งจดหมายไปยังเลขาธิการรัฐโดยอ้างว่าสุลต่านได้ยกเลิกการกระทำทั้งหมด และการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการเติงกู ฟาริส[2] ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2553 ศาลสูงปฏิเสธคำร้องของฟาหร์กี[4]

ในอีกแง่หนึ่งเลขานุการส่วนพระองค์ของสุลต่านอิสมาอิล เปตราได้ประกาศว่าประธานสภาสันตติวงศ์ เติงกู อับดุล อาซิซ เติงกู โมห์ด ฮัมซา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การแต่งตั้งนั้นถูกคัดค้านโดย เติงกู ฟาริสในศาล[5]

สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน[แก้]

ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553[6] เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตราได้สืบราชบัลลังค์เป็นสุลต่านแห่งรัฐกลันตันพระองค์ที่ 29 ตามมาตราที่ 29A ของรัฐธรรมนูญของรัฐ ระบุว่าสุลต่านจะไม่สามารถเป็นกษัตริย์ได้ถ้าพระองค์ยังไม่ครองบัลลังก์ได้เกินกว่าหนึ่งปี[7] พระองค์ใช้พระนามว่า มูฮัมมัดที่ 5[8] อย่างไรก็ตามพระราชบิดาของพระองค์สุลต่านอิสมาอิล เปตราได้ทรงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางว่าการดำรงตำแหน่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ[9] สุลต่านอิสมาอิล เปตรายังคงฟื้นตัวจากพระโรคหลอดเลือดสมองที่พระองค์ประสบในปีพ.ศ. 2552[10]

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ทรงเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ 222 ในการประชุมเจ้าผู้ปกครอง เป็นครั้งแรกในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเข้าเป็นภาคีของสุลต่านโดยผู้ปกครองพระองค์อื่น ๆ[11]

รองยังดีเปอร์ตวนอากง[แก้]

สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ได้รับการเลือกเป็นรองยังดีเปอร์ตวนอากง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 พระองค์ดำรงตำแหน่งจาก 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 จนกระทั่งเลือกตั้งเปอร์ตวนอากงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559[12]

ยังดีเปอร์ตวนอากง[แก้]

สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมเจ้าผู้ปกครองเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เพื่อจะเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐมาเลเซียพระองค์ต่อไป รัชกาลของพระองค์เริ่มเมื่อ 13 ธันวาคม 2559 ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์พระองค์ที่ 47[13] สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดถัดจาก สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปุตราแห่งปะลิส สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดินแห่งตรังกานู และสมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์[14]

พระองค์เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ที่จะปกครองโดยไม่มีสมเด็จพระราชินีหรือรายา ประไหมสุหรี อากง[15]

พระอนุชาของพระองค์ เติงกู มูฮัมมัด ฟาอิส เปตรา เติงกู มาห์โกตา จะทรงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกลันตัน ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 ขณะที่ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากง[16]

ในฐานะที่เป็นยังดีเปอร์ตวนอากง พระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพมาเลเซีย[17] นอกจากนี้พระองค์ยังมีหน้าที่ในฐานะ พันเอก - หัวหน้ากองปืนใหญ่กองทัพมาเลเซีย และทรงเข้าร่วมกิจกรรมและพิธีการทุกครั้ง[18]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Proclamation Of Tuanku Muhammad Faris Petra As Sultan Unconstitutional, Says Former Sultan
  2. 2.0 2.1 2.2 "Younger prince downplays talk of discord in Kelantan palace". The Star. 4 January 2010. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  3. "Kelantan royal 'tussle': Prince to know Friday". The Star. 27 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  4. "Tengku Fakhry loses case against Regent". The Star. 30 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  5. "Tengku Faris files to declare Regent's appointment invalid". The Star. 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
  6. "Genealogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14.
  7. "Tuanku Muhammad Faris Petra is new Sultan of Kelantan". Sin Chew Daily. 13 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  8. "Sultan Muhammad V Official Name of New Kelantan Sultan". Bernama. 22 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.
  9. "Proclamation of Tuanku Muhammad Faris Petra As Sultan Unconstitutional, Says Former Sultan". Bernama. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  10. A. Letchumanan (21 September 2010). "Kelantan's Tuanku Ismail wants court to declare him rightful Sultan". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-23. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  11. "Conference of Rulers welcomes Sultan Muhammad V". New Straits Times. Bernama. 14 October 2010. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  12. User, Super. "Pejabat Penyimpan Mohor Besar Raja-Raja – Senarai Timbalan Yang di-Pertuan Agong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-14. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. "Kelantan Sultan will be new King". The Star. 14 October 2016. สืบค้นเมื่อ 14 October 2016.
  14. "Youngest Ruler selected". The Star Online. 15 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  15. Aina Nasa (16 October 2016). "Having a consort not compulsory to become Yang di-Pertuan Agong, says expert". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 3 April 2017. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |dead-url= (help)
  16. "Tengku Dr Muhammad Faiz Petra appointed as Regent of Kelantan". 8 December 2016.
  17. The Federal Constitution of Malaysia เก็บถาวร 2016-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Article 41
  18. "Kelantan's Sultan Muhammad V begins his reign as Agong". Free Malaysia Today. 13 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |dead-url= (help)
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู อับดุล ฮาลิม 2leftarrow.png Flag of the Supreme Head of Malaysia.svg
ยังดีเปอร์ตวนอากง
(13 ธันวาคม 2559 – 6 มกราคม 2562)
2rightarrow.png สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ชาห์
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ตวนกู อิสมาอีล อิบนี อัลมาร์ฮูม สุลต่าน ยะห์ยา เปตรา 2leftarrow.png Flag of Kelantan.svg
สุลต่านแห่งรัฐกลันตัน
(13 กันยายน พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน)
2rightarrow.png ยังอยู่ในราชสมบัติ