ข้ามไปเนื้อหา

เสือโคร่งมลายู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสือโคร่งมลายู
เสือโคร่งมลายูในสวนสัตว์ซินซิแนติ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. jacksoni
Trinomial name
Panthera tigris jacksoni
(Luo et al., 2004)
แผนที่แสดงที่อยู่ของเสือโคร่งมลายู
ชื่อพ้อง
  • P. t. malayensis Luo et al., 2004

เสือโคร่งมลายู (มลายู: Harimau Malaya; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera tigris jacksoni) เป็นประชากรเสือโคร่งของชนิดย่อย Panthera tigris tigris ที่มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียตะวันตก[2] ประชากรของเสือโคร่งชนิดนี้อาศัยอยู่ในคาบสมุทรมลายูทางตอนใต้ถึงตอนกลาง และในบัญชีแดงไอยูซีเอ็นจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์มาตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ข้อมูลเมื่อ เมษายน 2014 มีประชากรเสือโคร่งวัยผู้ใหญ่ชนิดที่ประมาณ 80 ถึง 120 ตัวที่มีโอกาสลดลงเรื่อย ๆ[3]

เสือโคร่งชนิดนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่าเสือโคร่งอินโดจีนตอนใต้ เพื่อแยกมันจากประชากรเสือโคร่งทางตอนเหนือของอินโดจีนที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับประชากรกลุ่มนี้[4]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

Felis tigris เป็นชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเสือโคร่งที่ตั้งโดยคาร์ล ลินเนียสใน ค.ศ. 1758[5] มีการเสนอชื่อ Panthera tigris corbetti ใน ค.ศ. 1968 โดย Vratislav Mazák สำหรับชนิดย่อยของเสือโคร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6][7] จากนั้นจึงมีการเสนอชื่อ Panthera tigris jacksoni ใน ค.ศ. 2004 ในฐานะชนิดย่อยจากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่ระบุความแตกต่างในดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียกับลำดับดีเอ็นเอของ P. t. corbetti[4] นับตั้งแต่การปรับปรุงศาสตร์ด้านอนุกรมวิธานใน ค.ศ. 2017 เสือโคร่งมลายูถูกจัดให้เป็นประชากร P. t. tigris[2] อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทางพันธุกรรมที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2018 สนับสนุนเคลดชาติพันธุ์เดียว 6 ชนิดจากการวิเคราะห์การตรวจวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมชนิดตัวอย่าง 32 ชนิด เสือโคร่งมลายูมีลักษณะแตกต่างจากขนิดตัวอย่างของเสือโคร่งเอเชียแผ่นดินใหญ่ชนิดอื่น ๆ ทำให้มีการสนับสนุนแนวคิด 6 ชนิดย่อย[8]

ชื่อ

[แก้]

เมื่อมีการยอมรับประชากรเสือในคาบสมุทรมลายูเป็นชนิดย่อยต่างหากใน ค.ศ. 2004 ประธาน Malaysian Association of Zoos, Parks and Aquaria โต้แย้งว่าเสือชนิดย่อยใหม่นี้ควรมีชื่อว่า Panthera tigris malayensis เพื่อสะท้อนถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในขอบเขตนี้[9] เพื่อเป็นการประนีประนอม ทำให้มีการตั้งชื่อทั่วไปว่า "เสือโคร่งมลายู" และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า jacksoni ซึ่งยกย่องปีเตอร์ แจ็กสัน นักอนุรักษ์เสือโคร่ง[10][11] ถึงกระนั้น ผู้เขียนคนอื่น ๆ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสือโคร่งชนิดย่อยนี้ว่า P. t. malayensis[12][13]

รูปลักษณ์

[แก้]
หัวเสือโคร่งระยะใกล้

ไม่มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างเสือโคร่งมลายูกับเสือโคร่งอินโดจีนที่มีการเปรียบเทียบชนิดตัวอย่างในสองภูมิภาคที่กระโหลกศีรษะหรือขนสัตว์ ทำให้ไม่มีการจัดชนิดต้นแบบ[14] เสือโคร่งมลายูมีขนาดเล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล โดยวัดจากขนาดเพศผู้ 11 ตัวและเพศเมีย 8 ตัว ความยาวเฉลี่ยของเสือชนิดนี้คือ 8 ฟุต 6 นิ้ว (259 เซนติเมตร) ส่วนเพศเมียอยู่ที่ 7 ฟุต 10 นิ้ว (239 เซนติเมตร)[15] ความยาวของร่างกายเสือเพศเมีย 16 ตัวในรัฐตรังกานูอยู่ในขอบเขต 70 ถึง 103 นิ้ว (180 ถึง 260 เซนติเมตร) และเฉลี่ยที่ 80.1 นิ้ว (203 เซนติเมตร) ความสูงของเสืออยู่ที่ 23 ถึง 41 นิ้ว (58 ถึง 104 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักร่างกายที่ 52 ถึง 195 ปอนด์ (24 ถึง 88 กิโลกรัม) ส่วนข้อมูลของเสือเพศผู้ 21 ตัว ระบุความยาวที่ 75 ถึง 112 นิ้ว (190 ถึง 280 เซนติเมตร) ซึ่งเฉลี่ยที่ 94.2 นิ้ว (239 เซนติเมตร) ความสูงของเสืออยู่ที่ 24 ถึง 45 นิ้ว (61 ถึง 114 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักร่างกายที่ 104 ถึง 284.7 ปอนด์ (47.2 ถึง 129.1 กิโลกรัม)[7]

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ระหว่างเสือโคร่งมลายูกับเสือโคร่งอินโดจีนยังไม่เป็นที่กระจ่าง เนื่องจากประชากรเสือโคร่งในมาเลเซียตอนบนมีความใกล้ชิดกับเสือโคร่งในภาคใต้ของประเทศไทย[3]

เสือโคร่งเคยมีชุกชุมบนเกาะสิงคโปร์ในคริสต์ทศวรรษ 1830 โดยอาศัยอยู่ในป่าทึบและมีผู้พบเห็นมันข้ามช่องแคบยะโฮร์ มีรายงานการโจมตีมนุษย์ของเสือโคร่งอย่างร้ายแรงครั้งแรกใน ค.ศ. 1831 ในช่วงนั้นการล่าเสือถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง[16] การขยายพื้นที่เพาะปลูกบนเกาะสิงคโปร์นำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างมนุษย์และเสือโคร่งมากขึ้น มีรายงานการโจมตีของเสือโคร่งเป็นรายวันในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1840 หน่วยงานท้องถิ่นจัดตั้งค่าหัวเสือโคร่ง และประชากรเสือโคร่งในสิงคโปร์จึงลดลงอย่างมาก[17] เสือโคร่งถูกกำจัดจากเกาะสิงคโปร์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และเสือตัวสุดท้ายถูกยิงใน ค.ศ. 1932[7]

ในประเทศมาเลเซีย มีรายงานสัญญาณเสือโคร่งในทุ่งพืชพันธุ์ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1991 ถึง 2003 พื้นที่เกษตรกรรมนอกป่าในรัฐกลันตัน, รัฐตรังกานู, รัฐปะหัง และรัฐยะโฮร์ กับที่อยู่อาศัยริมชายฝั่งหลายแห่งนอกป่าในรัฐปะหัง, รัฐเปรัก, รัฐกลันตัน, รัฐตรังกานู และรัฐยะโฮร์ แม่น้ำสายหลักส่วนใหญ่ที่ไหลลลงทะเลจีนใต้มีหลักฐานของเสือโคร่ง ในทางตรงกันข้าม แม่น้ำที่ไหลลงช่องแคบมะละกาทางตะวันตกกลับไม่พบหลักฐานนี้[18] ขนาดแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือทั้งหมดคือ 66,211 km2 (25,564 sq mi) ซึ่งประกอบด้วยที่อยู่อาศัยที่ยืนยันได้ 37,674 km2 (14,546 sq mi) บริเวณที่คาดว่าเป็นที่อยู่อาศัย 11,655 km2 (4,500 sq mi) และบริเวณที่มีความเป็นไปได้ 16,882 km2 (6,518 sq mi) พื้นที่คุ้มครองทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่กว่า 402 km2 (155 sq mi) มีเสือโคร่งในนั้น[18]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 องค์กรอนุรักษ์สองแห่งประกาศว่า ในการสำรวจด้วยกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า 7 กล้องในสถานที่ที่แยกต่างหาก 3 แห่งใน ค.ศ. 2010 ถึง 2013 ได้สร้างจำนวนประมาณการของประชากรที่หลงเหลืออยู่ที่ 250–340 ตัว การลดลงหมายถึงประชากรอาจเลื่อนไปอยู่ในระดับ "เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์" ในบัญชีแดงไอยูซีเอ็น[19] ณ ค.ศ. 2019 การรุกล้ำและการล่าเหยื่อทำให้ประชากรเสือโคร่งในป่าสงวนเบอลุม-เตอเมอโงร์ลดลงประมาณ 60% ภายในเวลา 7–8 ปี จากประมาณ 60 ตัว เหลือเพียง 23 ตัว[20][21][22]

ภัยคุกคาม

[แก้]

การกระจัดกระจายของถิ่นที่อาศัยจากโครงการพัฒนาและการเกษตรเป็นภัยคุกคามร้ายแรง[18] ในช่วง ค.ศ. 1988 ถึง 2012 พื้นที่ป่าตามธรรมชาติในมาเลเซียตะวันตกประมาณ 13,500 ตารางกิโลเมตร (5,200 ตารางไมล์) ถูกทำลาย โดยพื้นที่เกือบ 64,800 ตารางกิโลเมตร (25,000 ตารางไมล์) ถูกแปลงเป็นสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยหลักผลิตต้นปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่ประมาณ 8,300 ตารางกิโลเมตร (3,200 ตารางไมล์) เป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง[23]

การล่าสัตว์ทางการค้าเกิดขึ้นในระดับที่แตกต่างกันไปตามรัฐ ในประเทศมาเลเซียเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีตลาดภายในประเทศจำนวนมากที่ขายเนื้อเสือและยาที่ผลิตจากกระดูกเสือ [24] ในช่วง ค.ศ. 2001 ถึง 2012 มีการตรวจยึดส่วนร่างกายของเสือโคร่งอย่างน้อย 100 ตัวในประเทศมาเลเซีย ใน ค.ศ. 2008 ตำรวจพบลูกเสือโคร่งแช่แข็ง 19 ตัวในสวนสัตว์ ใน ค.ศ. 2012 มีการยึดหนังและกระดูกเสือโคร่ง 22 ตัว[25] ความต้องการส่วนร่างกายของเสือโคร่งที่ใช้ในแพทย์แผนจีนดึงดูดผู้ลอบล่าสัตว์จากเวียดนาม ไทย และกัมพูชา ในช่วง ค.ศ. 2014 ถึง 2019 หน่วยต่อต้านการล่าสัตว์ถอนกับดักประมาณ 1,400 อันในพื้นที่คุ้มครอง[20][21][22]

วัฒนธรรม

[แก้]

เสืองโคร่งมลายูเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย[26] ส่วนในซันโดกัน วรรณกรรมโจรสลัดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของ Emilio Salgari ตัวละครเอกมีฉายาว่า "The Tiger of Malaysia"[27]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Perhilitan (2017). Red List of Mammals For Peninsular Malaysia (PDF). Kuala Lumpur: Department of Wildlife and National Parks, Peninsular Malaysia.
  2. 2.0 2.1 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News. Special Issue 11: 66–68.
  3. 3.0 3.1 Kawanishi, K. (2015). "Panthera tigris subsp. jacksoni". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T136893A50665029.
  4. 4.0 4.1 Luo, S.-J.; Kim, J.-H.; Johnson, W. E.; van der Walt, J.; Martenson, J.; Yuhki, N.; Miquelle, D. G.; Uphyrkina, O.; Goodrich, J. M.; Quigley, H. B.; Tilson, R.; Brady, G.; Martelli, P.; Subramaniam, V.; McDougal, C.; Hean, S.; Huang, S.-Q.; Pan, W.; Karanth, U. K.; Sunquist, M.; Smith, J. L. D.; O'Brien, S. J. (2004). "Phylogeography and genetic ancestry of tigers (Panthera tigris)". PLOS Biology. 2 (12): e442. doi:10.1371/journal.pbio.0020442. PMC 534810. PMID 15583716.
  5. Linnaeus, C. (1758). "Felis tigris". Caroli Linnæi Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I (decima, reformata ed.). Holmiae: Laurentius Salvius. p. 41.
  6. Mazák, V. (1968). "Nouvelle sous-espèce de tigre provenant de l'Asie du sud-est". Mammalia. 32 (1): 104−112. doi:10.1515/mamm.1968.32.1.104. S2CID 84054536.
  7. 7.0 7.1 7.2 Khan, M.K.M. (1986). "Tigers in Malaysia". The Journal of Wildlife and Parks. V: 1–23.
  8. Liu, Y.-C.; Sun, X.; Driscoll, C.; Miquelle, D. G.; Xu, X.; Martelli, P.; Uphyrkina, O.; Smith, J. L. D.; O’Brien, S. J.; Luo, S.-J. (2018). "Genome-wide evolutionary analysis of natural history and adaptation in the world's tigers". Current Biology. 28 (23): 3840–3849. doi:10.1016/j.cub.2018.09.019. PMID 30482605.
  9. Peng, L. Y. (2004). "Research team: Malayan tiger a new subspecies". The Star Online. Malacca. สืบค้นเมื่อ 2019-08-10.
  10. O’Brien, S. J.; Luo, S.-J.; Kim, J.-H.; Johnson, W. E. (2005). "Molecular Genetic Analysis Reveals Six Living Subspecies of Tiger Panthera tigris". 42. Cat News: 6−8. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. McMullin, A. (2005). "IUCN tiger specialist Peter Jackson earns his stripes". International Union for Conservation of Nature, Gland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-01. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
  12. Schirmer, E. M. (2012). "4: When There Were Tigers In Singapore". When There were Tigers in Singapore: A family saga of the Japanese occupation. Singapore: Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. p. 50. ISBN 978-9-8144-0884-4.
  13. Jaafar, H. Z. E. & Ashraf, M. A. (2017). "1: Climate, Ecosystem, Flora, and Fauna". ใน Ashraf, M. A.; Othman, R. & Ishak, C. F. (บ.ก.). Soils of Malaysia. CRC Press. ISBN 978-1-3519-9857-4.
  14. Mazák, J. H.; Groves, C. P. (2006). "A taxonomic revision of the tigers (Panthera tigris)" (PDF). Mammalian Biology. 71 (5): 268–287. doi:10.1016/j.mambio.2006.02.007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13.{{cite journal}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. Locke, A. (1956). The tigers of Terengganu. London: Museum Press Ltd.
  16. Owen, G. P. (1921). "A Century of Sport: The Tigers of Singapore" (PDF). ใน Makepeace, W.; Brooke, G. & Braddell, R. (บ.ก.). One hundred years of Singapore. Vol. II. London: John Murray. pp. 368–374. ISBN 9789354033353.
  17. Buckley, C. (1902). "Section 2". An anecdotal history of old times in Singapore, from the foundation of the settlement under the honourable the East India company, on Feb. 6th, 1819, to the transfer to the colonial office as part of the colonial possessions of the crown on April 1st, 1867. Vol. II. Singapore: Fraser & Neave. pp. 407–622.
  18. 18.0 18.1 18.2 Kawanishi, K.; Yatim, S. H.; Abu Hashim, A. K. & Topani, R. (2003). "Distribution and potential population size of the tiger in Peninsular Malaysia". Journal of Wildlife Parks (Malaysia). 21: 29–50. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-06.
  19. Hance, J. (2014). "Malayan tiger population plunges to just 250-340 individuals". Mongabay.
  20. 20.0 20.1 "Poachers, limited prey push Malayan tiger to brink of extinction". Bernama. Kuala Lumpur: Free Malaysia Today. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2019-08-10.
  21. 21.0 21.1 Yahaya, A. M. (2019-07-30). "Poachers and limited prey driving Malayan Tiger to extinction". The Star Online. Kuala Lumpur. สืบค้นเมื่อ 2019-08-10.
  22. 22.0 22.1 Arif, Z. M. (2019-08-03). "Malayan tiger teetering on the brink of extinction; 23 left in Belum-Temenggor Forest Reserve". New Straits Times. Gerik. สืบค้นเมื่อ 2019-08-10.
  23. Shevade, V.S.; Potapov, P.V.; Harris, N.L. & Loboda, T.V. (2017). "Expansion of industrial plantations continues to threaten Malayan tiger habitat". Remote Sensing. 9 (7): 747. Bibcode:2017RemS....9..747S. doi:10.3390/rs9070747.
  24. Nowell, K. (2007). Asian big cat conservation and trade control in selected range States: evaluating implementation and effectiveness of CITES Recommendations (PDF). Cambridge, UK: Traffic International.
  25. Shepherd, C. R. S.; Khan, S.; Krishnasamy, K. (2013). "Largest Tiger seizure ever in Malaysia". Cat News (59): 11.
  26. DiPiazza, F. (2006). Malaysia in Pictures. Twenty-First Century Books. ISBN 978-0-8225-2674-2.
  27. Adami, S. (2006). "Emilio Salgari (1862–1911)". ใน Marrone, G.; Puppa, P. (บ.ก.). Encyclopedia of Italian Literary Studies. New York, London: Routledge. pp. 1654–1655. ISBN 9781135455309.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]