ประเทศคูเวต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐคูเวต

دولة الكويت (อาหรับ)
ที่ตั้งของ ประเทศคูเวต  (สีเขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศคูเวต  (สีเขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คูเวตซิตี
29°22′N 47°58′E / 29.367°N 47.967°E / 29.367; 47.967
ภาษาราชการภาษาอาหรับ[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
  • 57.65% อาหรับ
  • 40.42% เอเชีย
  • 1.02% แอฟริกา
  • 0.39% ยุโรป
  • 0.52% อื่น ๆ
[2]
ศาสนา
74.36% อิสลาม (ทางการ)

18.17% คริสต์

7.47% อื่น ๆ
เดมะนิมชาวคูเวต
การปกครองรัฐเดี่ยว กึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบรัฐสภา[3]
มิชอัล อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์
มุฮัมมัด เศาะบาห์ อัสซาลิม อัศเศาะบาห์
มัรซูก อะลี อัลฆอนิม
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
การก่อตั้ง
ค.ศ. 1613
• ได้รับเอกราชจากเชคแห่งคูเวต
ค.ศ. 1752
23 มกราคม ค.ศ. 1899
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1913
• สิ้นสุดสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักร
19 มิถุนายน ค.ศ. 1961
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1963
• วันชาติคูเวต
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961
• วันปลดปล่อยคูเวต
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991
พื้นที่
• รวม
17,818 ตารางกิโลเมตร (6,880 ตารางไมล์) (อันดับที่ 152)
น้อยมาก
ประชากร
• ค.ศ. 2019 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 4,420,110[2] (อันดับที่ 127)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2005
2,213,403[4]
200.2 ต่อตารางกิโลเมตร (518.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 61)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
303 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 57)
ลดลง 67,891 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 8)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
118.271 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 57)
28,199 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 23)
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)ลดลง 0.806[6]
สูงมาก · อันดับที่ 64
สกุลเงินดีนาร์คูเวต (KWD)
เขตเวลาUTC+3 (AST)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป (CE)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+965
โดเมนบนสุด.kw
เว็บไซต์
www.e.gov.kw
  1. Nominal succession within the House of Sabah.
  2. Emirate

คูเวต (อาหรับ: الكويت) หรือชื่อทางการคือ รัฐคูเวต (อาหรับ: دولة الكويت) เป็นประเทศปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐที่มีขนาดเล็กและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก คูเวตมีความยาวชายฝั่งประมาณ ประมาณ 500 กม. (311 ไมล์) ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมืองซึ่งรวมตัวกันกลายเป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศในชื่อคูเวตซิตี ใน ค.ศ. 2023 คูเวตมีประชากรราว 4.8 ล้านคน ทว่ามีเพียง 1.5 ล้านคนที่ถือสัญชาติคูเวต ในขณะที่ประชากรที่เหลือจำนวน 3.29 ล้านคนเป็นชาวต่างชาติซึ่งเป็นผู้พลิดถิ่นมาจากประเทศต่าง ๆ มากถึง 100 ประเทศ[7]

พื้นที่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันของคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมโสโปเตเมีย[8] ก่อนจะมีการค้นพบน้ำมัน คูเวตถือเป็นหนึ่งในท่าเรือที่สำคัญในภูมิภาค น้ำมันสำรองถูกพบครั้งแรกใน ค.ศ. 1938 และเริ่มมีการส่งออกน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1946 ประเทศคูเวตได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1946–1982 ส่งผลให้มีความเจริญและทันสมัยยิ่งขึ้น เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยมีรายได้หลักมาจากการผลิตและส่งออกน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1980 คูเวตต้องประสบกับช่วงเวลาของความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ และวิกฤตเศรษฐกิจภายหลังการล่มของตลาดหุ้น ต่อมาใน ค.ศ. 1990 คุูเวตต้องเผชิญข้อพิพาทในด้านการผลิตน้ำมันกับประเทศเพื่อนบ้าน นำไปสู่การบุกครองโดยอิรักและดินแดนส่วนหนึ่งถูกผนวกเข้าเป็นหนึ่งในเขตการปกครองของอิรักภายใต้ซัดดัม ฮุสเซนเป็นเวลาเจ็ดเดือน ก่อนที่การยึดครองโดยอิรักจะสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 จากการแทรกแซงทางการทหารนำโดยสหรัฐ และประเทศชั้นนำอื่น ๆ

คูเวตมีสถานะเป็นเอมิเรตเช่นเดียวกับรัฐอาหรับอื่น ๆ ในอ่าวเปอร์เซีย เจ้าผู้ครองรัฐคูเวตมีฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐโดยตระกูลอัลซาบาห์เป็นตระกูลผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อสังคม และครอบงำระบบการเมืองของประเทศ ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลาม คูเวตเป็นประเทศกำลังพัฒนาพร้อมด้วยระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงและรายได้ต่อหัวสูง โดยมีแหล่งน้ำมันสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลก วัฒนธรรมประชานิยมของประเทศปรากฎให้เห็นในรูปแบบละคร, วิทยุ ดนตรี และโทรทัศน์ คูเวตเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ, สันนิบาตอาหรับ, โอเปก และ องค์การความร่วมมืออิสลาม

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของคูเวตเริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 19 คูเวตพยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษเพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย ในปี 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษเสียก่อน ส่วนอังกฤษก็ได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต

ในช่วงต้นปี 2504 อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเองซึ่งยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์ คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือ (exchange of notes) กับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปี 2535 โดยสนธิสัญญา Uqair หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย (Kuwaiti – Saudi Arabia Neutral Zone) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางใต้ของคูเวต ในเดือนธันวาคม 2512 คูเวตและซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง (ปัจจุบันเรียกว่า Divided Zone) และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone อย่างเท่าเทียมกัน ในปี 2533-2534 เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักได้ยึดครองคูเวตทั้งหมดภายใน 3 วัน สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจึงร่วมกันปลดปล่อยคูเวตออกจากยึดครองของอิรัก จนกระทั่งคูเวตได้อิสระจนถึงปัจจุบัน

แผนที่คูเวต

การเมือง[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่เขตการปกครองของคูเวต

ประเทศคูเวตแบ่งออกเป็น 6 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่

พายุทรายเหนือประเทศคูเวต เมษายน 2003

ภูมิศาสตร์[แก้]

คูเวตมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 29 - 30องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 47 - 48องศาตะวันออก คูเวตมีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 17,818 ตารางกิโลเมตร คูเวตเป็นประเทศขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณก้นอ่าวเปอร์เซีย

คูเวตซิตี เศรษฐกิจหลักของคูเวต

เศรษฐกิจ[แก้]

คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการขายน้ำมัน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก (คูเวตมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึงร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก)

ประชากร[แก้]

ประชากร ประมาณ 2 ล้านคน (2000) เป็นชาวคูเวต 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ 35% เอเชียใต้ 9% อิหร่าน 4%

วัฒนธรรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kuwait's Constitution of 1962, Reinstated in 1992" (PDF). Constitute Project. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  2. 2.0 2.1 "Nationality by Religion in Kuwait 2018". Statistic PACI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2014. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  3. "Kuwait". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 10 April 2015.
  4. "الإدارة المركزية للإحصاء - الإحصاءات و النشرات". www.csb.gov.kw.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "IMF Report for Selected Countries and Subjects : Kuwait". International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2018. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
  6. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  7. Jabr, Ahmad (2024-02-22). "Expats still make up two thirds of population as some communities grow". kuwaittimes (ภาษาอังกฤษ).
  8. Pryke, Louise (2018-04-22). "In ancient Mesopotamia, sex among the gods shook heaven and earth". The Conversation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]