ประเทศตูวาลู

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตูวาลู

Tuvalu (อังกฤษ)
Tuvalu (ตูวาลู)
ตราแผ่นดินของตูวาลู
ตราแผ่นดิน
คำขวัญTuvalu mo te Atua
("แปดยืนยงเพื่อพระเจ้า")
ที่ตั้งของตูวาลู
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ฟูนาฟูตี
8°31′S 179°12′E / 8.517°S 179.200°E / -8.517; 179.200
ภาษาราชการภาษาตูวาลูและภาษาอังกฤษ
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
โตฟีงา วาเอวาลู ฟาลานี
กาอูเซอา นาตาโน
พื้นที่
• รวม
26 ตารางกิโลเมตร (10 ตารางไมล์) (193)
น้อยมาก
ประชากร
• 2021 ประมาณ
11,900 (อันดับที่ 225)
• สำมะโนประชากร 2017
10,645
475.88 ต่อตารางกิโลเมตร (1,232.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 27)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2016 (ประมาณ)
• รวม
39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (อันดับที่ 226)
3,566 ดอลลาร์สหรัฐ[1] (อันดับที่ 156)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (อันดับที่ 194)
2,970 ดอลลาร์สหรัฐ[1] (อันดับที่ 118)
จีนี (ค.ศ. 2010)Steady 39.1[2]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.641[3]
ปานกลาง · อันดับที่ 130
สกุลเงินดอลลาร์ตูวาลู
ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
เขตเวลาUTC+12
รหัสโทรศัพท์688
โดเมนบนสุด.tv

ตูวาลู (ตูวาลูและอังกฤษ: Tuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ: Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีวเวซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

ประวัติศาสตร์

ภาพชาวตูวาลู วาดโดย Alfred Agate เมื่อ ค.ศ. 1841

ชาวสเปนเป็นพวกแรกที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทางเพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษเดินเรือเข้ามาพบและได้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ

ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นที่มั่นสำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียดระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ตกับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซจึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2521

การเมือง

ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขรวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาเป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาลมีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

การแบ่งเขตการปกครอง

ตูวาลูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะและหมู่เกาะ มีอยู่ 5 แห่งที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่

ส่วนเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะมากกว่าหนึ่งเกาะ ได้แก่

ภูมิศาสตร์

ชายหาดในตูวาลู

ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่

เศรษฐกิจ

สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv

ประชากร

ชาวตูวาลูสานไม้

ประเทศตูวาลูมีประชากร 10,441 คน (พ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลูมีประชากรหนาแน่นพอๆกันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่าประเทศนาอูรู

วัฒนธรรม

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Tuvalu". International Monetary Fund.
  2. Gini index (World Bank estimate). Washington, DC: World Bank Group. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
  3. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.