โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

พิกัด: 13°43′10″N 100°31′31″E / 13.719387°N 100.525207°E / 13.719387; 100.525207
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
Saint Louis Hospital
แผนที่
ชื่อย่อSLH
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
ที่ตั้ง27 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2441
วันเปิดทำการ15 กันยายน พ.ศ. 2438 (128 ปี) [1]
ผู้อำนวยการผศ.นพ. อนันต์ จงเถลิง
จำนวนเตียง387
เว็บไซต์โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ (อังกฤษ: Saint Louis Hospital) เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่บนถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ชื่อโรงพยาบาลตั้งตามพระนามนักบุญหลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส เพราะทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาต่อผู้ยากไร้ขาดที่พึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่มีคติว่า "เมตตากรุณาอยู่ที่ใด พระเจ้าสถิต ที่นั่น" (Ubi Caritas, Ibi Deus Est.)

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ถือเป็นโรงพยาบาลสำคัญของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ที่ผ่านมาโรงพยาบาลมีโอกาสได้รับเสด็จพระสันตะปาปาถึงสองพระองค์ คือ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2527 และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เนื่องในวโรกาสเสด็จเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2562[2]

บริการทางการแพทย์[แก้]

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประครอง[แก้]

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประครอง เป็นบริการนอกเหนือจากบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ที่ทำการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรคไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามมาตรฐานแล้ว และคาดการณ์การมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 6 เดือน การดูแลนั้นกระทำตาม "จิตตารมณ์ของนักบุญหลุยส์" โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแล บรรเทาอาการทางกายภาพและทางจิตใจ ผ่านทางกิจกรรมบำบัดทางต่าง ๆ การสนทนาบำบัดหรือเดธทอล์ก (Death Talk) และกิจกรรมทางศาสนา อาทิ พิธีมิสซา การทำบุญอุทิศส่วนกุศลตามหลักศาสนาของผู้ป่วย [3]

โบสถ์น้อยประจำโรงพยาบาล[แก้]

โบสถ์น้อยประจำโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ คือ โบสถ์น้อยพระจิตเจ้า

รางวัลและเอกสารรับรองคุณภาพ[แก้]

  • ใบรับรอง Spiritual Health Care Appreciation Certification จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)ในปี 2019, 2020
  • ใบรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
  • ใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ สภาเทคนิคการแพทย์
  • ได้รับรองมาตรฐาน ISO9002 เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย 18 เมษายน พ.ศ. 2540
  • ได้รับรองมาตรฐาน ISO14001 เป็น 1 ใน 4 โรงพยาบาลแรกของโลก 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541[4]
  • ได้รับการรับรอง HACCP 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ จากสมาคมเทคนิคการแพทย์ และได้รับการต่ออายุการรับรองอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
  • ได้รับการรับรอง มาตรฐานโรงพยาบาล(HA) 10 มกราคม พ.ศ. 2546 และได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA&HPH) 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน
  • รางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคารควบคุม พ.ศ. 2549 กระทรวงพลังงาน
  • รางวัลการจัดการระบบจ่ายกลางยอดเยี่ยม ปี 2549 สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
  • รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ ปี 2548-2552 กระทรวงแรงงาน
  • เกียรติบัตรยกย่องสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ปี 2551-2554 กระทรวงแรงงาน
  • เป็นแกนนำของชมรมโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มุ่งแสวงผลกำไร ในการร่วมพัฒนามาตรฐานโรงพยาบาล Advanced-HA กับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

13°43′10″N 100°31′31″E / 13.719387°N 100.525207°E / 13.719387; 100.525207