แยกไมตรีจิตต์

พิกัด: 13°44′17″N 100°30′55″E / 13.738175°N 100.515386°E / 13.738175; 100.515386
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้าแยก ไมตรีจิตต์
แยกไมตรีจิตต์มองเห็นถนนพระราม 4 และถนนไมตรีจิตต์
แผนที่
ชื่ออักษรไทยไมตรีจิตต์
ชื่ออักษรโรมันMaitri Chit
รหัสทางแยกN050 (ESRI), 093 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร

» แยกนพวงศ์
ถนนกรุงเกษม
ถนนพระราม 4
» ซอยโปริสภา
สะพานเจริญสวัสดิ์
» ถนนข้าวหลาม
วงเวียนโอเดียน
» ถนนมิตรภาพไทย-จีน
ถนนพระราม 4
ถนนไมตรีจิตต์
» วงเวียน 22 กรกฎาคม

แยกไมตรีจิตต์ (อักษรโรมัน: Maitri Chit Intersection) เป็นทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนไมตรีจิตต์, ถนนมิตรภาพไทย-จีน, ถนนพระราม 4, ถนนกรุงเกษม และซอยโปริสภา ซึ่งเป็นซอยหนึ่งของถนนข้าวหลาม

แยกไมตรีจิตต์ อยู่บริเวณเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในด้านที่มาจากแยกหัวลำโพง อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ถือได้ว่าเป็นจุดที่เริ่มต้นเข้าสู่ย่านเยาวราช หรือไชน่าทาวน์ของกรุงเทพมหานคร และยังเป็นจุดตัดระหว่างพื้นที่เขตสามเขตอีกด้วย คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตปทุมวัน

ชื่อ "ไมตรีจิตต์" มาจากชื่อของถนนไมตรีจิตต์ อันเป็นถนนสายหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม เช่นเดียวกับ วงเวียน 22 กรกฎาคม, ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ ที่สร้างขึ้นในวาระเดียวกัน[1]

บริเวณใกล้ทางแยก ทางฝั่งถนนไมตรีจิตต์ ยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสองแห่งในสองศาสนา สองความเชื่อที่แตกต่างกัน คือ คริสตจักรไมตรีจิต เป็นคริสตจักรแบบโปรเตสแตนต์แห่งแรกในประเทศไทยและของทวีปเอเชียด้วย โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2380 อีกทั้งยังเป็นคริสตจักรในชุมชนชาวจีน (ย่านเยาวราช)[2] และศาลเจ้าชิดเซี้ยม้า (จีน: 七聖媽廟; พินอิน: Qī shèng mā miào) ซึ่งหมายถึงศาลเจ้าแห่งพระแม่ที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งเจ็ดของชาวจีน[a] เช่น เทียนโหว天后 (เจ้าแม่ทับทิม), เต๋าบ้อ หรือ เต๋าบ้อหงวงกุง 斗姆元君, จู้แซเนี่ยเนี้ย 主生娘娘 เทพผู้ดูแลชะตาชีวิตคน, เจ้าแม่กวนอิมผู้เมตตา 慈悲娘娘 ฉือปุยเนี่ยเนี้ย เป็นต้น ซึ่งจะมีความคึกคักอย่างมากเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลกินเจ[3] และยังมีร้านข้าวต้มและอาหารตามสั่งที่ขึ้นชื่ออีกด้วย[4][5]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ตามจารึกด้านในทีระบุไว้ว่า 天后元君天地父母七聖夫人 ซึ่งคือองค์พระแม่ที่ประดิษฐานอยู่ด้านใน

อ้างอิง[แก้]

  1. ซูม (19 กรกฎาคม 2009). "วงเวียน 22 กรกฎา". ไทยรัฐ.
  2. "Thai Church History in Global Context ประวัติศาสตร์คริสตจักรไทยในบริบทสากล" (PDF). thaichurchhistory.com. p. 5.
  3. "เทศกาลกินเจ @ ศาลเจ้าชิดเซี้ยม้า (ตั้งอยู่ระหว่าง หัวลำโพง กับ เยาวราช". ไชน่าทาวน์เยาวราช. 19 กันยายน 2016.
  4. "ร้านข้าวต้มแปลงนาม 24 ชม. ย่านเยาวราช". ไชน่าทาวน์เยาวราช.
  5. ครัวคุณต๋อย (25 กันยายน 2014). "ดูรายการย้อนหลัง ครัวคุณต๋อย-กาน่าฉ่าย ร้าน ข้าวต้มแปลงนาม". ช่อง 3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′17″N 100°30′55″E / 13.738175°N 100.515386°E / 13.738175; 100.515386