ข้ามไปเนื้อหา

เมวาสแตติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมวาสแตติน
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • ไม่มีข้อมูล
ช่องทางการรับยายังไม่มีการผลิตเชิงการค้า
รหัส ATC
  • none
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • ยังไม่ได้วางตลาด
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลไม่มีข้อมูล
การจับกับโปรตีนไม่มีข้อมูล
การเปลี่ยนแปลงยาไม่มีข้อมูล
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพไม่มีข้อมูล
ตัวบ่งชี้
  • (1S,7R,8S,8aR)-8-{2-[(2R,4R)-4-Hydroxy-6-oxotetrahydro-2H-pyran-2-yl]ethyl}-7-methyl-1,2,3,7,8,8a-hexahydronaphthalen-1-yl (2S)-2-methylbutanoate
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.131.541
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC23H34O5
มวลต่อโมล390.513 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C(O[C@@H]1[C@H]3C(=C/CC1)\C=C/[C@@H]([C@@H]3CC[C@H]2OC(=O)C[C@H](O)C2)C)[C@@H](C)CC
  • InChI=1S/C23H34O5/c1-4-14(2)23(26)28-20-7-5-6-16-9-8-15(3)19(22(16)20)11-10-18-12-17(24)13-21(25)27-18/h6,8-9,14-15,17-20,22,24H,4-5,7,10-13H2,1-3H3/t14-,15-,17+,18+,19-,20-,22-/m0/s1 checkY
  • Key:AJLFOPYRIVGYMJ-INTXDZFKSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เมวาสแตติน (Mevastatin) (ชื่ออื่น Compactin, ML-236B) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มสแตติน ซึ่งคัดแยกได้จากเชื้อรา Penicillium citrinum ที่มักพบในพืชตระกูลส้ม, เครื่องเทศ, และธัญพืช[1]

ประวัติการค้นพบ

[แก้]
เอริกะ เอ็นโดะ (Akira Endo) นักชีวเคมีชาวญี่ปุ่น ผู้คนพบยาเมวาสแตติน

เมวาสแตตินเป็นยาที่ได้จากการคัดแยกสารที่ได้จากเชื้อรา Penicillium citrinum โดยเอริกะ เอ็นโดะ (Akira Endo) ในปี ค.ศ. 1970 จากนั้นเอ็นโดะได้ศึกษาคุณสมบัติของสารที่แยกได้นี้จนพบว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลที่มีชื่อว่า HMG-CoA reductase[1] ซึ่งเป็นกลไกการออกฤทธิ์ของยาลดไขมันในกระแสเลือดที่รู้จักกันดีในปัจจุบันภายใต้ชื่อ ยากลุ่มสแตติน  จากข้อมูลการศึกษาทางคลินิกที่ทำการศึกษาในญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1970 พบว่า เมวาสแตตินอาจถูกพิจารณาให้ใช้เป็นยาทางเลือกแรกในการรักษาภาวะไขมันในกระแสเลือดสูง[2] แต่ยาดังกล่าวก็ยังไม่เคยถูกวางจำหน่ายในท้องตลาดเลยจนกระทั่งปัจจุบัน[3] 

นอกจากนี้ ในปี คศ. 1976 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งก็สามารถแยกสารประกอบที่มีชื่อว่า คอมเพคติน (Compactin) ได้จากสารเมทาบอไลต์ของเชื้อรา Penicillium brevicompactum ซึ่งต่อมาทราบว่าสารดังกล่าวนั้นเป็นสารชนิดเดียวกันกับเมวาสแตติน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์กลุ่มดังกล่าวนั้นมุ่งเน้นศึกษาคุณสมบัติในการต้านเชื้อราของสารที่ค้นพบเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งเน้นศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase แต่อย่างใด[4] 

การศึกษาคลินิก

[แก้]

จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการทำการศึกษาถึงผลของเมวาสแตตินในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) พบว่า เมวาสแตตินมีคุณสมบัติในการต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์ (Antiproliferative properties)[5]

นอกจากนี้ ผลการศึกษาทางในหลอดทดลองพบว่า เมวาสแตตินในขนาดสูงมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์ของเซลล์เมลาโนมา (Melanoma cell) ได้.[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Endo, Akira; Kuroda M.; Tsujita Y. (December 1976). "ML-236A, ML-236B, and ML-236C, new inhibitors of cholesterogenesis produced by Penicillium citrinium". Journal of Antibiotics (Tokyo). 29 (12): 1346–8. doi:10.7164/antibiotics.29.1346. PMID 1010803.
  2. "The story of statins". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-12-14.[dead link]
  3. Endo, Akira (Oct 2004). "The origin of the statins". Atheroscler Suppl. 5 (3): 125–30. doi:10.1016/j.atherosclerosissup.2004.08.033. PMID 15531285.
  4. Brown, Allan G.; Smale, Terry C.; King, Trevor J.; Hasenkamp, Rainer; Thompson, Ronald H. (1976). "Crystal and molecular structure of compactin, a new antifungal metabolite from Penicillium brevicompactum". J. Chem. Soc., Perkin Trans. 1 (11): 1165–1170. doi:10.1039/P19760001165. PMID 945291.
  5. Wachtershauser, A.; Akoglu, B; Stein, J (2001). "HMG-CoA reductase inhibitor mevastatin enhances the growth inhibitory effect of butyrate in the colorectal carcinoma cell line Caco-2". Carcinogenesis. 22 (7): 1061–7. doi:10.1093/carcin/22.7.1061. PMID 11408350.
  6. Glynn, Sharon A; O'Sullivan, Dermot; Eustace, Alex J; Clynes, Martin; O'Donovan, Norma (2008). "The 3-hydroxy-3-methylglutaryl-coenzyme a reductase inhibitors, simvastatin, lovastatin and mevastatin inhibit proliferation and invasion of melanoma cells". BMC Cancer. 8: 9. doi:10.1186/1471-2407-8-9. PMC 2253545. PMID 18199328.