เชห์บาซ ชะรีฟ
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ (มีนาคม 2567) |
เชห์บาซ ชะรีฟ | |
---|---|
شہباز شریف | |
เชห์บาซ ชะรีฟ ใน ค.ศ. 2022 | |
นายกรัฐมนตรีปากีสถาน คนที่ 23 และ 24 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 4 มีนาคม ค.ศ. 2024 | |
ประธานาธิบดี | อารีฟ อัลวี อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี |
ก่อนหน้า | อันวาร์-อุล-ฮัค คาคาร์ (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน ค.ศ. 2022 – 13 สิงหาคม ค.ศ. 2023 | |
ประธานาธิบดี | อารีฟ อัลวี อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี |
ก่อนหน้า | อิมราน ข่าน |
ถัดไป | อัลวาร์-อัล-ฮัก คาคาร์ (รักษาการ) |
ผู้นำฝ่ายค้าน | |
ดำรงตำแหน่ง 20 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 10 เมษายน ค.ศ. 2022 | |
ประธานาธิบดี | มัมนูน ฮุสเซน อารีฟ อัลวี อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี |
ก่อนหน้า | ฆูร์ซีด อาห์เมด ชาห์ |
ถัดไป | ราจา รีอาซ อาห์เมด ข่าน |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติปากีสถาน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม ค.ศ. 2018 | |
เขตเลือกตั้ง | เขต 132 (ลาฮอร์ 10) |
เสนาบดีแคว้นปัญจาบ คนที่ 13 และ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 สิงหาคม ค.ศ. 2013 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 2018 | |
ผู้ว่าการ | โมฮัมมัด ซาร์วาร์ มาลีก มุฮัมมัด ราฟีก ราชวานา |
ก่อนหน้า | นาญาม เซตี (รักษาการ) |
ถัดไป | ฮาซาน อัสการี รีซวี (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม ค.ศ. 2009 – 26 มีนาคม ค.ศ. 2013 | |
ผู้ว่าการ | มาฆดูม อะห์เมด เมห์มูด ลาตีฟ โฆซา ซัลมาน ตาซีร์ |
ก่อนหน้า | ผู้ว่าราชการใช้อำนาจปกครองโดยตรง |
ถัดไป | นาญาม เซตี (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 8 มิถุนายน ค.ศ. 2008 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 | |
ผู้ว่าการ | ซัลมาน ตาซีร์ รานา มุฮัมมัด อิกบาร์ ลาตีฟ โฆซา ซัซยิด อาเหม็ด มะห์มูด |
ก่อนหน้า | โดสต์ มุฮัมมัด โฆซา |
ถัดไป | ผู้ว่าราชการใช้อำนาจปกครองโดยตรง |
ดำรงตำแหน่ง 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1999 | |
ผู้ว่าการ | ชาฮิด ฮามิด ซูร์ฟิกา อะลี โฆซา |
ก่อนหน้า | มิยัน มุฮัมมัด อัฟซัล ฮายยัด (รักษาการ) |
ถัดไป | จาวธรี เปร์เวซ เอลาฮี (ค.ศ. 2002) |
ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน (เอ็น) | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 มีนาคม ค.ศ. 2018 | |
ก่อนหน้า | นาวาซ ชาริฟ |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 2009 – ค.ศ. 2011 | |
ก่อนหน้า | นีซาร์ อาลี ข่าน |
ถัดไป | นาวาซ ชาริฟ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ลาฮอร์ มณฑลปัญจาบตะวันตก ประเทศปากีสถาน | 23 กันยายน ค.ศ. 1951
เชื้อชาติ | ชาวปากีสถาน |
พรรคการเมือง | สันนิบาตมุสลิมปากีสถาน (เอ็น) |
คู่สมรส |
|
บุตร | 4 คน รวมถึงฮัมซา เชห์บาซ |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | นาวาซ ชาริฟ (พี่ชาย) ดูเพิ่มที่ตระกูลชารีฟ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยวิทยาลัยรัฐบาล ลาฮอร์ (ศศ.บ.) |
ลายมือชื่อ | |
มิยัน มุฮัมมัด เชห์บาซ ชะรีฟ (ปัญจาบ และ อูรดู: میاں محمد شہباز شریف, ออกเสียง: [miˈãː mʊˈɦəmːəd̪ ʃɛhˈbaːz ʃəˈriːf]; Mian Muhammad Shahbaz Sharif, เกิด 23 กันยายน 1951) เป็นนักการเมืองชาวปากีสถาน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปากีสถานคนที่ 23 ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2022[3] ชารีฟเป็นหัวหน้าพรรคปากีสถานมุสลิมลีก (เอ็น) (PML-N) และเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีแคว้นปัญจาบสามวาระ ถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของแคว้น[4] เชห์บาซเป็นน้องชายของนาวาซ ชาริฟ อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน 3 สมัย
เชห์บาซได้รับการเลือกตั้งขึ้นเป็นสมาชิกสภาแคว้นปัญจาบในปี 1988 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปี 1990 ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเข้าสภาแคว้นปัญจาบอีกครั้งในปี 1993 และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านแคว้นปัญจาบ เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นเสนาบดีแคว้นปัญจาบ แคว้นที่มีประชากรมากสุดของปากีสถาน เป็นวาระแรกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1997 หัลงเกิดการรัฐประหารปี 1999 เชห์บาซและครอบครัวลี้ภัยอยู่ในซาอุดิอาระเบีย จนกระทั่งเดินทางกลับปากีสถานในปี 2007 และได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีแคว้นปัญจาบเป็นวาระที่สองหลังพรรค PML-N ที่เขาสังกัดชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2008 ในแค้วนปัญจาบ เขาได้รับเลือกตั้งเป็นเสนาบดีแคว้นปัญจาบเป็นวาระที่สามในการเลือกตั้งปี 2013 และดำรงตำแหน่งจนเขาแพ้ในการเลือกตั้งปี 2018 ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีแคว้น เขามีชื่อเสียงในฐานะผู้บริหารที่มีฝีมือและทุ่มเทให้กับงาน[5] เขายังริเริ่มโครงการสาธารณูปโภคมากมายในแคว้นปัญจาบ และคณะทำงานของเขาก็ได้รับการยอมรับว่าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ[6][7][8] เขห์บาซได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรคหลังพี่/น้องชายของเขา นาวาซ ชารีฟ ถูกถอดถอนจากตำแหน่งเนื่องจากกรณีเอกสารปานามา และได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2018[9]
ในเดือนธันวาคม 2019 สำนักตรวจการแผ่นดิน (NAB) อายัดทรัพย์สิน 23 รายการของเขาและบุตรชาย ฮัมซา ชารีฟ ด้วยข้อกล่าวหาฟอกเงิน ในัวนที่ 28 กันยายน 2020 เขาถูกจับกุมโดย NAB ที่ศาลสูงลาฮอร์ และถูกยื่นฟ้องต่อศาลข้อหาฟอกเงิน ที่ซึ่งเขาถูกคุมขังขณะรอคำตัดสิน[10][11] ในวันที่ 14 เมษายน 2021 ศาลสูงลาฮอร์ปล่อยตัวเขาหลังได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ภายใต้ข้อหาการฟอกเงิน[12] ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเมืองปากีสถานปี 2020-2022 เขาได้รับการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีปากีสถาน เริ่มต้นวาระในวันที่ 11 เมษายน 2022 หลังนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ถูกถอดถอนจากตำแหน่งเนื่องจากผลการลงคะแนนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Khan, Omer Farooq (10 April 2010). "Muslim law and Pakistan". เดอะไทมส์ออฟอินเดีย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2024. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
- ↑ 2.0 2.1 Iqbal, Abdullah (February 7, 2005). "Shahbaz's wedding to top city socialite is talk of town". Gulf News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
- ↑ CNN, Sophia Saifi and Rhea Mogul. "Pakistan's parliament votes in opposition leader Shehbaz Sharif as Prime Minister". CNN.
- ↑ "Shehbaz Sharif: 10 things to know about 'hands on' PM frontrunner of Pakistan". Firstpost. 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 13 April 2022.
- ↑ "Shehbaz Sharif: the diligent administrator now PM of Pakistan". The Guardian. 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
- ↑ "What to know about Shehbaz Sharif, Pakistan's new prime minister". Washington Post. 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
- ↑ "Pakistan: Shehbaz Sharif chosen as PM after week-long uncertainty". BBC. 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
- ↑ "Pakistan's Parliament Elects Shahbaz Sharif as Prime Minister After Khan Exit". Time. 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
- ↑ "PML-N chief Shahbaz Sharif set to become leader of opposition in NA". The Asian Age. 19 August 2018. สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
- ↑ "Accountability court indicts PML-N President Shahbaz Sharif in money laundering case". www.thenews.com.pk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
- ↑ "Shehbaz Sharif arrested after LHC rejects bail in money laundering case". BOL News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 September 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
- ↑ "LHC grants bail to Shahbaz Sharif in money laundering reference". GNewsNetwork - Janta Hai (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.