อิมราน ข่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิมราน ข่าน
นายกรัฐมนตรีปากีสถาน
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม 2018 – 10 เมษายน 2022
ประธานาธิบดีมัมนูน ฮุสเซน
อารีฟ อัลวี
ก่อนหน้านาซิรุล มุลก์ (รักษาการณ์)
ถัดไปเชห์บาซ ชารีฟ
ประธานปากีสตานเตรีเกอินซัฟ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
25 เมษายน 1996
รองชาห์ เมห์มูด กุเรชี
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม 2018
ก่อนหน้าโอไบดุลลอฮ์ ชาดีเฆล
เขตเลือกตั้งเขต 95 (แมนวาลี 1)
คะแนนเสียง113,523 (44.89%)
ดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน 2013 – 31 พฤษภาคม 2018
ก่อนหน้าฮานีฟ อับบาซี
ถัดไปเชก ราชีด ชาฟีค
เขตเลือกตั้งเขต 56 (ราวัลปินดี 7)
คะแนนเสียง13,268 (8.28%)
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม 2002 – 3 พฤศจิกายน 2007
ก่อนหน้าประเดิมเขตเลือกตั้ง
ถัดไปนาวับซาดา มาลีก อามัด ข่าน
เขตเลือกตั้งเขต 71 (แมนวาลี 1)
คะแนนเสียง6,204 (4.49%)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยบราดฟอร์ด
ดำรงตำแหน่ง
7 ธันวาคม 2005 – 7 ธันวาคม 2014
ก่อนหน้าบารอเนส ล็อกวูด
ถัดไปเคท สวอนน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Imran Ahmed Khan Niazi

(1952-10-05) 5 ตุลาคม ค.ศ. 1952 (71 ปี)
ลาฮอร์ มลฑลปัญจาบตะวันตก ปากีสถาน
พรรคการเมืองปากีสตานเตหรีเกอินซัฟ
คู่สมรสเจมีมา โกลด์สมิธ (สมรส 1995; หย่า 2004)
เรฮาม ข่าน (สมรส 2015; หย่า 2015)
บูชรา บีบี (สมรส 2018)
บุตร3
บุพการีอีครามูลลอฮ์ ข่าน นิอาซี (บิดา)
ชาวกาต ข่านูม (มารดา)
ความสัมพันธ์ดูที่: ครอบครัวของอิมราน ข่าน
ที่อยู่อาศัยแมนชั่นบานีกาลา (ถึงเมษายน 2022)[1]
การศึกษาวิทยาลัยเคเบิล มหาวิทยาลัยออกซ์เฟิร์ด (BA)
รางวัลดูเพิ่ม
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์www.insaf.pk
ชื่อเล่นกัปตาน (Kaptaan)[2][3]
แม่แบบ:Infobox cricketer

อิมราน อาห์เมด ข่าน นิอาซี, HI PP (อูรดู/ปาทาน: عمران احمد خان نیازی, Imran Ahmed Khan Niazi; เกิดเมื่อ 5 ตุลาคม 1952) เป็นนักการเมืองและอดีตนักคริกเก็ต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปากีสถานคนที่ 22 ระหว่างปี 2018 ถึง 2022[4][5][6][7][8][9]

ข่านเกิดในครอบครัวชาวปาทาน ในเมืองลาฮอร์ เมื่อปี 1952[10][11] จบการศึกษาศิลปศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยเคเบิล มหาวิทยาลัยออกซ์เฟิร์ด ในปี 1975 และเริ่มเป็นนักกีฬาคริกเก็ตอาชีพตั้งแต่อายุ 18 จากซีรี่ส์การแข่งขันเทสต์ปี 1971 กับอังกฤษ[11] ข่านวางมือจากคริกเก็ตในปี 1992 และเคยเป็นกัปตันทีมหมุนเวียนไปหลายครั้งตั้งแต่ปี 1982 ถึง 1992[12] ข่านเคยชนะถ้วยคริกเก็ตโลกในปี 1992 ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งแรกและครั้งเดียวของปากีสถานในการแข่งขันนี้[13] ข่านได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในออลราวเดอร์ที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่ง[14][15] และมีชื่ออยู่ในหอเกียรติยศคริกเก็ตไอซีซี[12]

ข่านก่อตั้งโรงพยาบาลและศูนย์วิจัยโรคมะเร็งชาวกัต ข่านูมในลาฮอร์และเปศวร[16] กับ วิทยาลัยนามาลในแมนวาลี[17][18] ก่อนที่จะเริ่มต้นงานในสายการเมือง[19][20] ในปี 1996 เขาก่อตั้งพรรคปากีสตานเตหรีเกอินซัฟ (PTI)[21] ซึ่งมีที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากการเลือกตั้งปี 2002 และมีช่านเป็นสมาชิกฝ่ายค้านขากเขตเลือกตั้งแมนวาลีจนถึงปี 2007 พรรค PTI ทำการบอยคอตผลการเลือกตั้งปี 2008 แต่ในการเลือกตั้งรอบถัดมาในปี 2013 กลายมาเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในแง่ของคะแนนเสียง[22][23] ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2018 พรรคลงสมัครโดยเน้นนโยบายประชานิยมและได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในสภา ตั้งคณะพันธมิตรในรัฐบาล และมีอิมราน ข่าน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[24]

ข่านได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับวิกฤตสมดุลรายจ่าย โดยใช้ทุนกู้ยืมจากไอเอ็มเอฟ[25] และวางแผนเพื่อหาทางออกจากวิกฤตเงินคงคลังที่ถดถอย[26][27] รวมถึงลดงบประมาณกลาโหมเพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐ[28][29] ส่งผลให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจโดยทั่วไปในระดับหนึ่ง[30] ข่านเริ่มต้นแคมเปญต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายค้านว่าเป็นการล่าหัวมากกว่า[31] เขาผ่านนโยบายเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษี,[32][33] เพิ่มการลงทุน,[34] และการปฏิรูปสังคมโดยผ่านโครงการเอหซาส ในเชิงสิ่งแวดล้อม รัฐบาลของข่านได้ทำการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก, ริเริ่มโครงการปลูกป่า และขยายเขตอนุรักษ์ รวมถึงจบริหารจัดการภาวะการระบาดของโควิด-19 ในเชิงการต่างประเทศ ข่านจัดการกับการปะทะประปรายบนพรมแดนกับอินเดีย, สนับสนุนขบวนการสันติภาพในอัฟกานิสถาน[35] และสานสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีน และ รัสเซีย[36] ในชณะที่ความสัมพันธ์กับสหรัฐเย็นลง ในปี 2022 ข่านถูกลงคะแนนไม่ไว้วางใจอันเป็นผลจากวิกฤตรัฐธรรมนูญปี 2022 และเป็นผลให้เขาพ้นสภาพจากการเป็นนายกรัฐมนตรี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Imran Khan departs for Bani Gala from PM House". ARY News. 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
  2. "Kaptaan Khan's slog from sports icon to Pakistan's likely new leader". Dunya News. สืบค้นเมื่อ 3 August 2018.
  3. "Imran Khan: Forever the Kaptaan". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 3 August 2018.
  4. Sreemoy Talukdar (27 July 2018). "Imran Khan as Pakistan PM: India need not take PTI chief's insincere 'peace overtures' seriously". Firstpost. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018. The Pakistan Tehreek-e-Insaf (PTI) chief, who is poised to take over as Pakistan's 19th prime minister
  5. Naila Inayat (15 August 2018). "Famed cricketer turned prime minister faces widespread corruption in his effort to fix Pakistan". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018. ... Imran Khan, the legendary cricketer turned politician who is now slated to become Pakistan's 19th prime minister
  6. "Imran Khan elected 22nd Prime Minister of Pakistan". The News International. 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
  7. "Imran Khan sworn-in as 22nd Prime Minister of Pakistan". Dunya News. 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
  8. "Imran Khan takes oath as 22nd Prime Minister of Pakistan". The Times of India. 18 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
  9. "Imran Khan ousted as Pakistan's PM after key vote". BBC News. 9 April 2022.
  10. "Imran Khan | Biography, Cricketer, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 September 2021.
  11. 11.0 11.1 "Imran Khan". Cricinfo.
  12. 12.0 12.1 Pakistan Test Captaincy record เก็บถาวร 1 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cricinfo. Retrieved 18 December 2012.
  13. "Imran Khan". ESPNcricinfo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2014.
  14. "Cricket: The Top 10 All-Rounders of All Time". Bleacher Report.
  15. "Imran Khan is One of the Greatest Captains the Game Has Seen- Ravi Shastri".
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ times profile
  17. Thomas Fletcher (6 April 2012). "Imran Khan". ใน John Nauright; Charles Parrish (บ.ก.). Sports Around the World: History, Culture, and Practice. ABC-CLIO. p. 231. ISBN 978-1-59884-300-2. สืบค้นเมื่อ 30 August 2013.
  18. Kamila Hyat (2012). "Khan". ใน Ayesha Jalal (บ.ก.). The Oxford Companion to Pakistani History (ภาษาอังกฤษ). Karachi: Ameena Saiyid, Oxford University Press. p. 282. ISBN 978-0-19-547578-4.
  19. "Imran Khan". 13 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  20. "Imran Khan awarded honorary fellowship by Royal College of Physicians – The Express Tribune" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 July 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  21. "Imran Khan: From top cricketer to winning politician – Times of India". The Times of India.
  22. "Voting positions: PTI won more popular votes than PPP". Express Tribune. 25 December 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2013. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012.
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ resignation
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PTIleads
  25. "Pakistan to get $6bn IMF lifeline to ease economic crisis". Bbc.co.uk. 13 May 2019. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
  26. Sherani, Tahir (2 November 2019). "Trade deficit falls by 33.5% during July-Oct of FY19-20". dawn.com.
  27. Iqbal, Shahid (22 July 2020). "CAD shrinks 78pc in 2019–20". dawn.com.
  28. "In rare move, Pakistan military agrees to budget cut amid economic woes, PM says". uk.reuters.com. 5 June 2019.
  29. "Defence budget not increased to provide relief to masses: Qureshi". dawn.com. 14 June 2020.
  30. "Pakistan beats growth target as industries, services guide V-shaped recovery". 10 June 2021.
  31. "Imran Khan: A year facing Pakistan's harsh realities". BBC News. 24 August 2019. สืบค้นเมื่อ 23 June 2020.
  32. "FBR collects over one trillion revenues in 1st quarter". Dunya News.
  33. "FBR says tax revenue increased by 17 percent". 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
  34. "Saudi prince signs $20bn in Pakistan deals". Bbc.co.uk. 18 February 2019.
  35. "Pakistan fully supports Afghan peace process: PM Imran Khan". 27 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
  36. "Russia, Pakistan agree to build Pakistan Stream gas pipeline". Aa.com.tr.