โยเวรี มูเซเวนี
โยเวรี มูเซเวนี | |
---|---|
![]() | |
มูเซเวนี ในเดือนกันยายน 2015 | |
ประธานาธิบดีแห่งยูกันดา คนที่ 9 | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม 1986 | |
นายกรัฐมนตรี | George Adyebo Kintu Musoke Apollo Nsibambi Amama Mbabazi Ruhakana Rugunda |
รองประธานาธิบดี | Samson Kisekka Specioza Kazibwe Gilbert Bukenya Edward Ssekandi |
ก่อนหน้า | Tito Okello |
ประธานเครือจักรภพแห่งประชาชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน 2007 – 27 พฤศจิกายน 2009 | |
ก่อนหน้า | Lawrence Gonzi |
ถัดไป | Patrick Manning |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Yoweri Kaguta Museveni 15 กันยายน ค.ศ. 1944 (76 ปี) Ntungamo, ยูกันดา |
พรรคการเมือง | National Resistance Movement |
คู่สมรส | Janet Kainembabazi (1973–ปัจจุบัน) |
บุตร | Muhoozi Natasha Patience Diana |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยดาร์-เอส-ซาลาม |
ศาสนา | แองกลิคัน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ชื่อเล่น | M7 |
โยเวรี มูเซเวนี (อังกฤษ: Yoweri Museveni, เกิด 15 กันยายน c. 1944) เป็นนักการเมืองชาวยูกันดาและประธานาธิบดีแห่งยูกันดาตั้งแต่ 29 มกราคม 1986
มูเซเวนีมีส่วนร่วมในการก่อกบฎโค่นล้มอดีตผู้นำยูกันดา อีดี้ อามิน (1971–79) และ มิลตัน โอโบเต้ (1980–85) มูเซเวนีได้นำเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจมายังประเทศที่เคยเผชิญกับการก่อกบฏและสงครามกลางเมืองมาหลายทศวรรษ (ยกเว้นแต่ทางเหนือของยูกันดา) ภายใต้การปกครองของเขา ยูกันดาเป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการกับโรคเอดส์อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในแอฟริกา
ในกลางถึงปลายทศวรรษ 1990s มูเซเวนีได้รับการยกย่องจากตะวันตกในฐานะที่เป็นผู้นำแอฟริการุ่นใหม่ อย่างไรก็ตามการปกครองของเขาถูกทำให้เสื่อมเสียจากการที่ยูกันดาได้เข้าร่วมในสงครามคองโกครั้งที่สองและความขัดแย้งอื่นๆใน Great Lakes region การก่อกบฏทางเหนือโดย Lord's Resistance Army ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง การปราบปรามฝ่ายค้านทางการเมืองและการทำประชามติและการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญในปี 2005 ขยายวาระประธานาธิบดีออกไปทำให้เกิดความกังวลจากนักวิจารณ์ในประเทศและนอกประเทศ