ข้ามไปเนื้อหา

เชห์บาซ ชะรีฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชห์บาซ ชะรีฟ
شہباز شریف
เชห์บาซ ชะรีฟ ใน ค.ศ. 2022
นายกรัฐมนตรีปากีสถาน คนที่ 23 และ 24
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 มีนาคม ค.ศ. 2024
ประธานาธิบดีอารีฟ อัลวี
อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
ก่อนหน้าอันวาร์-อุล-ฮัค คาคาร์ (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน ค.ศ. 2022 – 13 สิงหาคม ค.ศ. 2023
ประธานาธิบดีอารีฟ อัลวี
อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
ก่อนหน้าอิมราน ข่าน
ถัดไปอัลวาร์-อัล-ฮัก คาคาร์ (รักษาการ)
ผู้นำฝ่ายค้าน
ดำรงตำแหน่ง
20 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 10 เมษายน ค.ศ. 2022
ประธานาธิบดีมัมนูน ฮุสเซน
อารีฟ อัลวี
อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
ก่อนหน้าฆูร์ซีด อาห์เมด ชาห์
ถัดไปราจา รีอาซ อาห์เมด ข่าน
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติปากีสถาน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม ค.ศ. 2018
เขตเลือกตั้งเขต 132 (ลาฮอร์ 10)
เสนาบดีแคว้นปัญจาบ คนที่ 13 และ 15
ดำรงตำแหน่ง
7 สิงหาคม ค.ศ. 2013 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 2018
ผู้ว่าการโมฮัมมัด ซาร์วาร์
มาลีก มุฮัมมัด ราฟีก ราชวานา
ก่อนหน้านาญาม เซตี (รักษาการ)
ถัดไปฮาซาน อัสการี รีซวี (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม ค.ศ. 2009 – 26 มีนาคม ค.ศ. 2013
ผู้ว่าการมาฆดูม อะห์เมด เมห์มูด
ลาตีฟ โฆซา
ซัลมาน ตาซีร์
ก่อนหน้าผู้ว่าราชการใช้อำนาจปกครองโดยตรง
ถัดไปนาญาม เซตี (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
8 มิถุนายน ค.ศ. 2008 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009
ผู้ว่าการซัลมาน ตาซีร์
รานา มุฮัมมัด อิกบาร์
ลาตีฟ โฆซา
ซัซยิด อาเหม็ด มะห์มูด
ก่อนหน้าโดสต์ มุฮัมมัด โฆซา
ถัดไปผู้ว่าราชการใช้อำนาจปกครองโดยตรง
ดำรงตำแหน่ง
20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1999
ผู้ว่าการชาฮิด ฮามิด
ซูร์ฟิกา อะลี โฆซา
ก่อนหน้ามิยัน มุฮัมมัด อัฟซัล ฮายยัด (รักษาการ)
ถัดไปจาวธรี เปร์เวซ เอลาฮี (ค.ศ. 2002)
ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน (เอ็น)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 มีนาคม ค.ศ. 2018
ก่อนหน้านาวาซ ชาริฟ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 2009 – ค.ศ. 2011
ก่อนหน้านีซาร์ อาลี ข่าน
ถัดไปนาวาซ ชาริฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1951-09-23) 23 กันยายน ค.ศ. 1951 (73 ปี)
ลาฮอร์ มณฑลปัญจาบตะวันตก ประเทศปากีสถาน
เชื้อชาติชาวปากีสถาน
พรรคการเมืองสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน (เอ็น)
คู่สมรส
บุตร4 คน รวมถึงฮัมซา เชห์บาซ
บุพการี
ความสัมพันธ์นาวาซ ชาริฟ (พี่ชาย)
ดูเพิ่มที่ตระกูลชารีฟ
การศึกษามหาวิทยาลัยวิทยาลัยรัฐบาล ลาฮอร์ (ศศ.บ.)
ลายมือชื่อ

มิยัน มุฮัมมัด เชห์บาซ ชะรีฟ (ปัญจาบ และ อูรดู: میاں محمد شہباز شریف, ออกเสียง: [miˈãː mʊˈɦəmːəd̪ ʃɛhˈbaːz ʃəˈriːf]; Mian Muhammad Shahbaz Sharif, เกิด 23 กันยายน 1951) เป็นนักการเมืองชาวปากีสถาน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปากีสถานคนที่ 23 ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2022[3] ชารีฟเป็นหัวหน้าพรรคปากีสถานมุสลิมลีก (เอ็น) (PML-N) และเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีแคว้นปัญจาบสามวาระ ถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของแคว้น[4] เชห์บาซเป็นน้องชายของนาวาซ ชาริฟ อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน 3 สมัย

เชห์บาซได้รับการเลือกตั้งขึ้นเป็นสมาชิกสภาแคว้นปัญจาบในปี 1988 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปี 1990 ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเข้าสภาแคว้นปัญจาบอีกครั้งในปี 1993 และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านแคว้นปัญจาบ เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นเสนาบดีแคว้นปัญจาบ แคว้นที่มีประชากรมากสุดของปากีสถาน เป็นวาระแรกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1997 หัลงเกิดการรัฐประหารปี 1999 เชห์บาซและครอบครัวลี้ภัยอยู่ในซาอุดิอาระเบีย จนกระทั่งเดินทางกลับปากีสถานในปี 2007 และได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีแคว้นปัญจาบเป็นวาระที่สองหลังพรรค PML-N ที่เขาสังกัดชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2008 ในแค้วนปัญจาบ เขาได้รับเลือกตั้งเป็นเสนาบดีแคว้นปัญจาบเป็นวาระที่สามในการเลือกตั้งปี 2013 และดำรงตำแหน่งจนเขาแพ้ในการเลือกตั้งปี 2018 ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีแคว้น เขามีชื่อเสียงในฐานะผู้บริหารที่มีฝีมือและทุ่มเทให้กับงาน[5] เขายังริเริ่มโครงการสาธารณูปโภคมากมายในแคว้นปัญจาบ และคณะทำงานของเขาก็ได้รับการยอมรับว่าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ[6][7][8] เขห์บาซได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรคหลังพี่/น้องชายของเขา นาวาซ ชารีฟ ถูกถอดถอนจากตำแหน่งเนื่องจากกรณีเอกสารปานามา และได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2018[9]

ในเดือนธันวาคม 2019 สำนักตรวจการแผ่นดิน (NAB) อายัดทรัพย์สิน 23 รายการของเขาและบุตรชาย ฮัมซา ชารีฟ ด้วยข้อกล่าวหาฟอกเงิน ในัวนที่ 28 กันยายน 2020 เขาถูกจับกุมโดย NAB ที่ศาลสูงลาฮอร์ และถูกยื่นฟ้องต่อศาลข้อหาฟอกเงิน ที่ซึ่งเขาถูกคุมขังขณะรอคำตัดสิน[10][11] ในวันที่ 14 เมษายน 2021 ศาลสูงลาฮอร์ปล่อยตัวเขาหลังได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ภายใต้ข้อหาการฟอกเงิน[12] ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเมืองปากีสถานปี 2020-2022 เขาได้รับการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีปากีสถาน เริ่มต้นวาระในวันที่ 11 เมษายน 2022 หลังนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ถูกถอดถอนจากตำแหน่งเนื่องจากผลการลงคะแนนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Khan, Omer Farooq (10 April 2010). "Muslim law and Pakistan". เดอะไทมส์ออฟอินเดีย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2024. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
  2. 2.0 2.1 Iqbal, Abdullah (February 7, 2005). "Shahbaz's wedding to top city socialite is talk of town". Gulf News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
  3. CNN, Sophia Saifi and Rhea Mogul. "Pakistan's parliament votes in opposition leader Shehbaz Sharif as Prime Minister". CNN.
  4. "Shehbaz Sharif: 10 things to know about 'hands on' PM frontrunner of Pakistan". Firstpost. 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 13 April 2022.
  5. "Shehbaz Sharif: the diligent administrator now PM of Pakistan". The Guardian. 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  6. "What to know about Shehbaz Sharif, Pakistan's new prime minister". Washington Post. 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  7. "Pakistan: Shehbaz Sharif chosen as PM after week-long uncertainty". BBC. 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  8. "Pakistan's Parliament Elects Shahbaz Sharif as Prime Minister After Khan Exit". Time. 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  9. "PML-N chief Shahbaz Sharif set to become leader of opposition in NA". The Asian Age. 19 August 2018. สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
  10. "Accountability court indicts PML-N President Shahbaz Sharif in money laundering case". www.thenews.com.pk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
  11. "Shehbaz Sharif arrested after LHC rejects bail in money laundering case". BOL News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 September 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
  12. "LHC grants bail to Shahbaz Sharif in money laundering reference". GNewsNetwork - Janta Hai (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.