เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม | |
---|---|
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน 2531 – 31 พฤษภาคม 2534 | |
ก่อนหน้า | นงเยาว์ ชัยเสรี |
ถัดไป | นรนิติ เศรษฐบุตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กันยายน พ.ศ. 2480 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (86 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม (Krirkkiat Phipatseritham) (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2480-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566) ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก[1], อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
เกริกเกียรติ ได้ชื่อว่าเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทั้งยังยึดมั่นในความเป็นนักวิชาการ ไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เช่นเดียวกับศาสตราจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้เป็นที่เคารพ ในอดีตได้เคยปฏิเสธการดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี อาทิรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รวมทั้งคำชักชวนร่วมงานการเมืองอื่น ๆ
เกริกเกียรติถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 สิริอายุได้ 86 ปี โดยได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 26 พฤศจิกายน[2]
ประวัติการทำงาน
[แก้]- นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก[3]
- ประธานคณะกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย Thai PBS (2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553)[4]
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2546)
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2542)
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2534)
- คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527)
- นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2523)
- ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2524)
- กรรมการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2536)
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. 2525)
- กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
- ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2529)
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. 2534)
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) (พ.ศ. 2539)
- กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2549)
- รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) (พ.ศ. 2550)
เกียรติคุณ
[แก้]- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2539)
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประจำปีการศึกษา 2550
- เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2552
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาสังคมศาสตร์[9]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เล่ม 130 ตอนพิเศษ 64 ง วันที่ 29 พฤษภาคม 2556
- ↑ "สิ้น 'ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม' ราชบัณฑิต อดีตอธิการฯ มธ. สิริอายุ 86 ปี". มติชน. 2023-11-17. สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เล่ม 130 ตอนพิเศษ 64 ง วันที่ 29 พฤษภาคม 2556
- ↑ บอร์ดทีวีไทยจับสลากลากออก-หลังครบวาระ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐, ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม[ลิงก์เสีย] ประวัติบุคคล สำนักข่าวไทย
- สารจากประธานกรรมการนโยบาย[ลิงก์เสีย] จากเว็บอย่างเป็นทางการของ คณะกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
ก่อนหน้า | เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี | อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534) |
รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ราชบัณฑิต
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์