อำเภอสนามชัยเขต
อำเภอสนามชัยเขต | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sanam Chai Khet |
คำขวัญ: ผ้าไหมทอมือ เลื่องชื่อยางพารา ล้ำค่าหลวงปู่คง | |
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอสนามชัยเขต | |
พิกัด: 13°39′30″N 101°26′18″E / 13.65833°N 101.43833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,084.0 ตร.กม. (418.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 75,273 คน |
• ความหนาแน่น | 69.44 คน/ตร.กม. (179.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 24160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2408 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสนามชัยเขต หมู่ที่ 4 ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สนามชัยเขต [สะ-หฺนาม-ไช-เขด][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมชื่อกิ่งอำเภอสนามไชย
ประวัติ
[แก้]อำเภอสนามชัยเขตในสมัยโบราณมีฐานะเป็นหัวเมือง เรียกว่า เมืองสนามไชยเขต ขึ้นต่อมณฑลปราจีนบุรี เป็นหัวเมืองสมัยเดียวกันกับเมืองพนัสนิคม และเมืองพนมสารคาม จนมากระทั่งทุกวันนี้เมืองสนามไชยเขต ขึ้นตรงต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. 2448 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลักฐานว่าท้องที่อำเภอสนามชัยเขต มีฐานะเป็น "แขวงเมืองสนามไชยเขต"[2] และยุบแขวงเมืองสนามไชยเขตลงเป็น อำเภอสนามไชยเขต ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2460 มีหลักฐานว่าท้องที่อำเภอสนามชัยเขตได้ยกเลิกและยุบเป็นกิ่งอำเภอ และใช้ชื่อว่า "กิ่งอำเภอสนามไชย"[3] ขึ้นกับอำเภอพนมสารคาม มีเขตการปกครองได้แก่ ตำบลท่าตะเกียบ ตำบลคู้ยายหมี ตำบลท่ากระดาน และตำบลเกาะขนุน[4]
ต่อมากิ่งอำเภอสนามไชยก็ยุบลงเหลือฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพนมสารคาม เนื่องจากเป็นกิ่งอำเภอเล็ก มีปริมาณการงานไม่มากและจำนวนพลเมืองมีน้อย นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยให้โอนพื้นที่ตำบลเกาะขนุน กลับเข้าไปในเขตการปกครองของอำเภอพนมสารคามดังเดิมอีกด้วย ก่อนที่ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้แยกพื้นที่บางส่วนออกมาตั้งเป็น "กิ่งอำเภอสนามไชย"[5] อีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอสนามไชยเป็น "กิ่งอำเภอสนามชัยเขต" ในปีพ.ศ. 2515[6] เพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปัจจุบัน เป็นชื่อที่ราษฎรรู้จักเรียกชื่อกันอยู่อย่างแพร่หลาย และเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องที่ของ "แขวงเมืองสนามไชยเขต" เดิม ก่อนที่ต่อมาในพ.ศ. 2516 จึงได้ยกฐานะเป็น "อำเภอสนามชัยเขต"[7]
- วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลท่าตะเกียบ แยกออกจากตำบลเกาะขนุน ตั้งตำบลท่ากระดาน แยกออกจากตำบลคู้ยายหมี[8]
- วันที่ 18 มกราคม 2509 แยกพื้นที่ตำบลคู้ยายหมี ตำบลท่ากระดาน และตำบลท่าตะเกียบ จากอำเภอพนมสารคาม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสนามไชย[5] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอพนมสารคาม
- วันที่ 19 ธันวาคม 2515 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอสนามไชย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น กิ่งอำเภอสนามชัยเขต[6]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม ขึ้นเป็น อำเภอสนามชัยเขต[7]
- วันที่ 28 พฤษภาคม 2517 ตั้งตำบลทุ่งพระยา แยกออกจากตำบลท่ากระดาน[9]
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2520 จัดตั้งสุขาภิบาลสนามชัยเขต ในท้องที่บางส่วนของตำบลคู้ยายหมี[10]
- วันที่ 23 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลลาดกระทิง แยกออกจากตำบลคู้ยายหมี[11]
- วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลคลองตะเกรา แยกออกจากตำบลท่าตะเกียบ[12]
- วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลท่าตะเกียบ และตำบลคลองตะเกรา จากอำเภอสนามชัยเขต ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าตะเกียบ[13] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสนามชัยเขต
- วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต เป็น อำเภอท่าตะเกียบ[14]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสนามชัยเขต เป็นเทศบาลตำบลสนามชัยเขต[15] ด้วยผลของกฎหมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอสนามชัยเขตมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีมหาโพธิและอำเภอกบินทร์บุรี (จังหวัดปราจีนบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกบินทร์บุรี (จังหวัดปราจีนบุรี) และอำเภอเขาฉกรรจ์ (จังหวัดสระแก้ว)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าตะเกียบและอำเภอแปลงยาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแปลงยาวและอำเภอพนมสารคาม
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอสนามชัยเขตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 70 หมู่บ้าน[16] ได้แก่
1. | คู้ยายหมี | (Khu Yai Mi) | 17 หมู่บ้าน | |||
2. | ท่ากระดาน | (Tha Kradan) | 23 หมู่บ้าน | |||
3. | ทุ่งพระยา | (Thung Phraya) | 19 หมู่บ้าน | |||
4. | ลาดกระทิง | (Lat Krathing) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอสนามชัยเขตประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสนามชัยเขต ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคู้ยายหมี
- องค์การบริหารส่วนตำบลคู้ยายหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคู้ยายหมี (นอกเขตเทศบาลตำบลสนามชัยเขต)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระดาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากระดานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งพระยาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลาดกระทิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดกระทิงทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
- ↑ "ประกาศยกเว้นการเก็บค่าน้ำ ในเขตแขวงเมืองวัฒนาและในเขตแขวงเมืองสนามไชยเขต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (47): 1076–1077. February 18, 1905.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่มณฑลปราจีนบุรี มณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลนครราชสีมา มณฑลพายัพ มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ก): 40–48. June 26, 1927.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (6 ง): 254. January 18, 1966. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (195 ง): 3015. December 19, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. June 28, 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. September 30, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (90 ง): 1431–1433. May 28, 1974.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสนามชัยเขต อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (39 ง): 1994–1996. May 10, 1977.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปะกง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (181 ง): 3815–3819. October 23, 1979.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2693–2695. August 9, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าตะเกียบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): 1063. January 31, 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. November 20, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 8, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ.