อัมมาร สยามวาลา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อัมมาร สยามวาลา (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482[1] ) นักเศรษฐศาสตร์ อดีตประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว เศรษฐศาสตร์การเกษตรกรรม และการพัฒนา [2]
บรรพบุรุษของอัมมาร สยามวาลา เป็นชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย เขาเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนสามคนของ นายตาเฮอร์ และนางคาดีจาฮ์ สยามวาลา [3] เจ้าของบริษัทดี เอช เอ สยามวาลา ตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าเครื่องเขียนจากต่างประเทศ [4] จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ศึกษาต่อที่โรงเรียน St. Paul เมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย ปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเยล และศาสตราจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[5][1]
เช่นเดียวกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และนักวิชาการอื่น ๆ ดร. อัมมาร ได้ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[8]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ประวัติ ดร. อัมมาร สยามวาลา
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
- ↑ พี่น้องสยามวาลา หน่วยที่แบ่งแยกไม่ได้ นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550
- ↑ "100 ปี บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-15. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายอัมมาร์ สยามวาลา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๗๕, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย
- มุสลิมชาวไทย
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์