ดาร์จีลิง
ดาร์จีลิง | |
---|---|
เมือง | |
![]() | |
สมญา: ราชินีแห่งขุนเขา | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 27°3′N 88°16′E / 27.050°N 88.267°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 27°3′N 88°16′E / 27.050°N 88.267°E | |
ประเทศ | ![]() |
รัฐ | เบงกอลตะวันตก |
อำเภอ | ดาร์จีลิง |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1815: สนธิสัญญาสุเคาลี |
ผู้ก่อตั้ง | บริษัทอินเดียตะวันออก |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาล |
• หน่วยงาน | เทศบาลดาร์จีลิง |
• นายกเทศมนตรี | ประติภา ราย[1] |
• รองนายกเทศมนตรี | สาคาร ตามาง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 10.57 ตร.กม. (4.08 ตร.ไมล์) |
ความสูง[2] | 2,042.16 เมตร (6,700.00 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 132,016 คน |
• ความหนาแน่น | 12,000 คน/ตร.กม. (32,000 คน/ตร.ไมล์) |
ภาษา | |
• ราชการ | เบงกอลและเนปาล[3] |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
รหัสไปรษณีย์ | 734101 |
รหัสโทรศัพท์ | 0354 |
ทะเบียนพาหนะ | WB-76 WB-77 |
เขตเลือกตั้งโลกสภา | ดาร์จีลิง |
เขตเลือกตั้งวิธานสภา | ดาร์จีลิง |
เว็บไซต์ | www |
ดาร์จีลิง (เนปาล: दार्जीलिङ्ग; เบงกอล: দার্জিলিং; ทิเบต: རྡོ་རྗེ་གླིང༌།) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่งในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยน้อยบนความสูง 6,700 ฟุต (2,042.2 เมตร) มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิตชา จากตัวเมืองสามารถมองเห็นยอดเขากันเจนชุงคาซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่สามของโลก รวมทั้งเป็นที่ตั้งของทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยซึ่งได้รับการจดบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ถือเป็นรถจักรไอน้ำเพียงไม่กี่สายที่ยังให้บริการในประเทศอินเดีย
ชื่อเมืองมาจากคำทิเบตสองคำคือ "ดอร์เจ" แปลว่า "วัชระ – อาวุธของพระอินทร์" กับคำว่า "ลิง" แปลว่า "สถานที่หรือดินแดน"[4]
เมืองถูกก่อตั้งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุคอาณานิคมบริติชราช มีการตั้งสถานพักฟื้นผู้ป่วยและค่ายทหารในพื้นที่ ต่อมาได้พัฒนาพื้นที่สำหรับปลูกชา โดยเกษตรกรได้พัฒนาชาดำลูกผสมและใช้เทคนิคการบ่มชาแบบใหม่ จนชาดำดาร์จีลิงกลายเป็นชาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและเป็นหนึ่งในชาดำที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก[5]
นอกจากนี้ดาร์จีลิงยังมีชื่อเสียงจากการเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแบบอังกฤษหลายแห่ง ซึ่งดึงดูดนักเรียนทั้งจากในและต่างประเทศเข้าไปร่ำเรียน และเมืองนี้เป็นสังคมพหุลักษณ์มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันได้แก่ เลปชา คามปา กุรข่า เนวาร เศรปา ภูเตีย และเบงกอล[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Pratibha Rai Takes Over As Chairperson Of Darjeeling Municipal Corporation". Siliguri Times. 17 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 November 2018.
- ↑ "District Profile". Official webpage. Darjeeling district. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 17 August 2015. สืบค้นเมื่อ 30 September 2015. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India: 50th report (delivered to the Lokh Sabha in 2014)" (PDF). National Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. p. 95. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "Pre-Independence [Darjeeling]". Government of Darjeeling. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 31 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Srivastava 2003, p. 4024.
- ↑ "People And Culture". Official webpage of Darjeeling District. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 25 December 2008. สืบค้นเมื่อ 26 November 2009. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help)