สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี
Prime Minister Delivery Unit
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง22 เมษายน พ.ศ. 2560
สำนักงานใหญ่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงานสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์www.pmdu.go.th

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (อังกฤษ: Prime Minister's Delivery Unit , ชื่อย่อ: สบนร. หรือ PMDU) เป็นหน่วยงานพิเศษในสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่มิใช่หน่วยราชการ และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีภารกิจหลัก คือ การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในการดำเนินภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงบูรณาการ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชาชนที่ทำตามระบบราชการปกติไม่สำเร็จ หรือมีความล่าช้า จนอาจเกิดความเสียหายต่อประชาชนในวงกว้าง การทำงานของ สบนร. หรือ PMDU จึงเน้นการเพิ่มการทำงานแบบเป็นบูรณาการระหว่างหน่วยงานในทุกภาคส่วน มิใช่เพียงระหว่างหน่วยงานราชการ เพิ่มการเร่งรัดและติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ

นอกจากนี้ สบนร. ยังมีหน้าที่รวบรวมข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็น ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ตลอดจนสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลแก่ประชาชน

ประวัติ[แก้]

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรีจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2560 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ [1] โดยก่อนหน้านั้นสำนักงานแห่งนี้เคยอยู่ใน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๐ ต่อมาได้มีการโอนย้ายสำนักงานแห่งนี้มาอยู่ในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๘/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐

ต่อมา ตั้งแต่วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สบนร. ได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ปัจจุบันมีนาย อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นรักษาผู้อำนวยการ

อำนาจและหน้าที่[แก้]

สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในการดำเนินภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงบูรณาการ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชาชนที่ทำตามระบบราชการปกติไม่สำเร็จ หรือมีความล่าช้า จนอาจเกิดความเสียหายต่อประชาชนในวงกว้าง ตลอดจนรวบรวมข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็น ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ตลอดจนสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลแก่ประชาชน


อ้างอิง[แก้]

  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๑๑๐ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐