ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาซิกข์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์เอกโองการบนร้านค้าแห่งหนึ่งในย่านพาหุรัด กรุงเทพมหานคร

ศาสนาซิกข์ เป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองโดยกรมการศาสนาของประเทศไทย ในปัจจุบันมีศาสนิกชนประมาณ 70,000 คน ถือว่าเป็นศาสนาส่วนน้อยในไทย[1] เชื่อกันว่าศาสนาซิกข์เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกกับพ่อค้าชาวอินเดียในปลายคริสต์ศตวรรศที่ 19 ปัจจุบันมีโบสถ์ซิกข์ (คุรุทวารา) ทั้งหมดราว 20 แห่งในประเทศไทย โดยมีคุรุทวาราหลักอยู่ที่สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันมีนายปินเดอร์ปาลซิงห์ มาดาน เป็นผู้นำศาสนาซิกข์ นายกสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สถาบันศาสนาซิกข์แห่งประเทศไทย[2]

ประวัติ

[แก้]

กิรปาราม มะดาน (Kirparam Madan) เป็นพ่อค้าชาวอินเดียหนึ่งในกลุ่มชาวซิกข์กลุ่มแรกที่เดินทางมาถึงประเทศไทยในปี 1884 กุระปารามเป็น "เสหัชธารี" (Sehajdhari; ศาสนิกชนชาวซิกข์ที่พึ่งเปลี่ยนมานับถือศาสนาซิกข์) จากหมู่บ้านพเทวาล (Bhadewal) ในเขต Sialkot ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน[3] เขาเดินทางมายังสยามพร้อมกับญาติพี่น้องตระกูลมะดาน คือ นารุลา และ เชาวลา ตระกูลมะดานถือเป็นชาวอินเดียโพ้นทะเลกลุ่มแรก ๆ ในประเทศไทย[4]

ในปี 1911 เริ่มมีครอบครัวซิกข์มาตั้งรกรากในสยามมากขึ้นโดยมีบางกอกเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามไม่มีศาสนสถาน (คุรุทวารา) สร้างขึ้นในสยามเลย การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจึงหมุนเวียนไปในบ้านของศาสนิกชนในเครือข่าย ทุก ๆ วันอาทิตย์และวันคุระปุรับ (Gurpurab) คุรุทวาราแห่งแรกสร้างขึ้นในปี 1912 ในอาคารไม้ทั้งหลังในย่านบ้านหม้อ ก่อนในปี 1913 จะย้ายไปยังอาคารไม้หลังใหญ่กว่าเดิมที่เช่าในระยะยาวบนหัวมุมพาหุรัด ถนนจักรเพชร หลังตกแต่งและปรับปรุงจนพร้อมแล้วก็ได้อัญเชิญคุรุกรันถสาหิบมาประดิษฐาน

อาคารได้รับการต่อเติมและขยายใหญ่ในปี 1979 วางศิลาฤกษ์โดยปัญจเปียร์ (Panj Piare; บุคคลอันเป็นที่รักยิ่งทั้งห้า) และสร้างเสร็จในปี 1981

อ้างอิง

[แก้]
  1. International Religious Freedom Report 2006, U.S. Department of State
  2. "อิ๊งค์" นำทีมเพื่อไทย ร่วมเทศกาลดิวาลี ชี้ภูมิใจ ไทยมีวัฒนธรรมหลากหลาย
  3. Surendra K. Gupta (1999). Indians in Thailand. Books India International. p. 48.
  4. Surendra K. Gupta (1999). Indians in Thailand. Books India International. p. 67.