โหลา โมหัลลา
โหลา โมหัลลา | |
---|---|
ชาวขาลสากำลังเฉลิมฉลองโหลา โมหัลลา | |
ประเภท | ซิกข์ |
การเฉลิมฉลอง | งานสามวัน[1]ที่อนันตปุระสาหิบ การแสดงศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว |
วันที่ | วันที่สองของเดือนจันทรคติ "Chet" ตามปฏิทินนานักชาฮี |
ความถี่ | รายปี |
โหลา โมหัลลา (ปัญจาบ: ਹੋਲਾ ਮਹੱਲਾ, ฮินดี: होला मोहल्ला, Hola Mohalla) เป็นเทศกาลในศาสนาซิกข์ซึ่งจัดในช่วงเดือนมีนาคม[2][3] ตรงกับวันที่ 2 ของเดือนจันทรคติ "Chet" ตามปฏิทินนานักชาฮี หรือคือหนึ่งวันหลังโฮลี เทศกาลเฉลิมฉลองของศาสนาฮินดู[4] และอาจมีบางปีที่ตรงกับโฮลีพอดี[5]
เทศกาลทั้งโฮลีและโหลาโมหัลลา จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดที่เมืองอานันทปุรสาหิบ งานจะจัดเป็นเวลาสามวัน โดยวันที่สามจะเป็นวันโหลา โมหัลลา กระนั้น ผู้มาร่วมงานบางคนถึงกับมาตั้งเต็นต์เป็นสัปดาห์ และเพลิดเพลินกับการแสดงศิลปะป้องกันตัวและการต่อสู้ที่ห้าวหาญ การแสดงดนตรี อ่านหรือแต่งบทกลอน และกิรทาน[6] อาหารจะมีบริการเป็นมังสวิรัตในโรงครัวพระศาสดาหรือ ลังกัร ในคุรุทวารา ซึ่งผู้คนมานั่งรวมกันและรับประทานอาหารร่วมกัน[7] เหตุการณ์จะสรุปในวันโหลา โมหัลลา คือวันที่สาม โดยจะมีการแสดงแบบกองทัพเป็นเวลายาวนาน ใกล้ ตัขตศรีเกศครหสาหิบ หนึ่งในตัขตะสำคัญทั้งห้า[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfestival1
- ↑ Ahluwalia, M.S. (November 2004). "Tourism: The Festival of Hola Mohalla". SikhSpectrum.com Quarterly (18). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-09-14.
- ↑ Amolak Singh. "Sikh Calendar". SikhWorld.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ Yang, Ananad. A. (1998) Bazaar India: Markets, Society, and the Colonial State in Gangetic Bihar University of California Press [1]
- ↑ Fieldhouse, Paul (2017) Food, Feasts, and Faith: An Encyclopedia of Food Culture in World Religions [2 volumes]. ABC-CLIO [2]
- ↑ Amolak Singh. "Sikh Ceremonies". SikhWorld.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ "The Hola Mohalla Festival". SikhChic.com. March 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ T. Singh (15 August 2008). "Celebrating Holi". Reflections On Gurbani. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.