ทัสตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายชาวซิกข์โพกทัสตาร์และสวมชุดสูทแบบตะวันตก

ทัสตาร์ หรือ ดัสตาร์(ปัญจาบ: ਦਸਤਾਰ, dastār มาจาก เปอร์เซีย: دستار) หรือ ปักรี (ปัญจาบ: ਪਗੜੀ; pagṛi) หรือ ปักก์ (ปัญจาบ: ਪੱਗ; pagg) คือเครื่องสวมศีรษะที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซิกข์ และเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมซิกข์ การสวมทัสตาร์หรือผ้าโพกศีรษะนั้นถือเป็นข้อบังคับพื้นฐานที่ทั้งบุรุษและสตรีชาวซิกข์ต้องปฏิบัติตาม ทัสตาร์เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ความรักและเคารพในตนเอง ความกล้าหาญ ความกตัญญู และความผูกพันและเคารพในศาสนา ในชาวซิกข์ขาลสา (ซิกข์ที่ผ่านการอมฤตสัญชร หรือ ปาหุลแล้ว) จะต้องไว้ผมยาว (เกศ (ศาสนาซิกข์)) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อบังคับ "ก 5 ประการ" ชาวซิกข์ถือว่าการสวมทัสตาร์นั้นเป็นส่วนสำคัญของเอกลักษณ์ชาวซิกข์ที่ไม่เหมือนศาสนิกชนศาสนอื่น ๆ (unique Sikh identity) นอกจากนี้การสวมทัสตาร์ยังเป็นเหมือนการเตือนใจไม่ให้ทำความผิด เพราะด้วยการโพกทัสตาร์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวซิกข์ การทำผิดนั้นจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อศาสนิกชนทั้งมวล

ประวัติ[แก้]

ทัสตาร์เป็นส่วนสำคัญของซิกข์มาตั้งแต่สมัยของศรีคุรุนานักเทพจิ ทั้งคุรุอมรทาส และคุรุอรชุน ล้วนได้รับทัสตาร์พิเศษเมื่อแต่งตั้งเป็นคุรุศาสดา

คุรุโควินทสิงห์เคยระบุไว้ว่า "Kangha dono vaqt kar, paag chune kar bandhai." อันแปลว่า "จงกังฆา (หวี) ผมของท่านวันละสองครั้ง และพันม้วนผ้าโพกศีรษะ (ทัสตาร์) ของท่านอย่างระมัดระวัง ค่อย ๆ ทำ"

อ้างอิง[แก้]