อกาลตาคัต
อกาลตาคัต ਅਕਾਲ ਤਖ਼ਤ | |
---|---|
อกาลตาคัต | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาซิกข์ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เมืองอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
ที่ตั้งในปัญจาบ | |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 31°37′14″N 74°52′31″E / 31.620556°N 74.875278°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | คุรุหริโควินท์ (Guru Hargobind) |
เว็บไซต์ | |
เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการวิหาร |
อกาลตาคัต[1] หรือ อกาลตัชต์ (อังกฤษ: Akal Takht; ปัญจาบ: ਅਕਾਲ ਤਖ਼ਤ) เป็นคุรุทวาราหนึ่งในห้าตัขต์ (คุรุทวาราที่ทรงอำนาจที่สุดของซิกข์) เป็นหนึ่งในหมู่อาคารในหริมันทิรสาหิบ อมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ แปลว่า พระที่นั่งของผู้ที่ "อกาล" คือ ผู้ที่เป็นนิรันดร์[2] ตัขต์แห่งนี้ถูกสร้างโดยคุรุหริโควินท์ (Guru Hargobind) เพื่อเป็นศูนย์รวมของความยุติธรรมและพิจารณาปัญหาทางโลกที่เกิดขึ้นในหมู่ชาวซิกข์และเป็นที่อยู่ของโฆษกสูงสุดของซิกข์ที่เรียกว่า ชเถทาร (Jathedar)[3]
เดิมทัขต์แห่งนี้เรียกว่า "อกาลบูงา" (Akal Bunga)[4] สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1601 โดยท่านคุรุหริโกพินทะ ในพิธีวางศิลาฤษ์ท่านได้วางกริชสองอันไว้บนฐาน อันหนึ่งแสดงถึงการทำงานด้านจิตวิญญาณ (ปิรี; piri) อีกกริชหนึ่งแสดงถึงการทำงานทางโลก (มิรี; miri)[5][6]
อาคารถูกทำลายอย่างหนักในราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 หลังการบุกทำลายอกาลทัขต์และหริมันทิรสาหิบของพระเจ้าอาห์เม็ด ชาห์ อับดาลี (Ahmed Shah Abdali)[2] หลังจากการทำลายล้าง ท่านมหาราชา หริสิงห์นัลวะ (Hari Singh Nalwa) ได้ทรงบูรณะอาคารขึ้นใหม่ และตกแต่งอาคารด้วยทองคำ[7] อาคารถูกทำลายอย่างรุนแรงครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1984 ในการโจมตีหริมันทิรสาหิบของปฏิบัติการดาวน้ำเงิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพฯ
- ↑ 2.0 2.1 Fahlbusch E. (ed.) "The encyclopedia of Christianity." Eerdmans, Grand Rapids, Michigan, 2008. ISBN 978-0-8028-2417-2
- ↑ "Giani Harpreet Singh is acting jathedar of Akal Takht". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 23 October 2018.
- ↑ "Akal Bunga". The Sikh Encyclopedia. Gateway to Sikhism Foundation. สืบค้นเมื่อ 21 October 2016.
- ↑ Singh, Dr Kuldip. Akal Takht Ate Khalsa Panth. Chandigarh. p. 2.
- ↑ Dilgeer, Harjinder Singh (1980). The Akal Takht. Jalandhar: Sikh University Press.
- ↑ Sohan Lal Suri. 19th century. Umdat-ut-tawarikh, Daftar III, Part 2, trans. V.S. Suri, (1961) 2002, Amritsar: Guru Nanak Dev University, f. 260