อรทาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายชาวซิกข์กำลังพนมมือแบบนมัสเตขณะประกอบพิธีสวดอรทาส

อรทาส (ละติน: Ardās, ปัญจาบ: ਅਰਦਾਸ) เป็นหมวดหมู่ของบทสวดในศาสนาซิกข์[1]ที่พบสวดในคุรุทวารา เป็นส่วนหนึ่งของบทสวดในพิธีประจำวัน เช่น พิธีเปิดคุรุกรันตสาหิบ สำหรับการ "ประกาศ" (Prakash - แสงยามเช้า) หรือพิธีปิดสำหรับการ "สุขสาน" (Sukhasan - ห้องบรรทมยามราตรี) พิธีตั้งชื่อบุตรหรือพิธีศพ[2]

อรทาสประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกจะกล่าวสรรเสริญคุณธรรมของคุรุซิกข์ทั้ง 10 ท่าน ตั้งแต่ คุรุนานักเทพ ถึง คุรุโควินทสิงห์ จากท่อนใน "จัณฑิทีวัร" (Chandi di Var) ในทสัมครันถ์ (Dasam Granth)[3] ส่วนที่สองกล่าวสรรเสริญความมานะบากบั่น ชัยชนะ และความสุขความเจริญของขาลสา รวมถึงการอ้อนวอน และส่วนที่สามกล่าวสรรเสริญพระนามของพระเป็นเจ้า[1][2] ส่วนแรกและส่วนที่สามนั้นต้องกล่าวเต็ม ๆ ไม่มีการแก้ไขบทสวด ในขณะที่ส่วนที่สองสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม หรือเพิ่มคำอ้อนวอน ขอพรเพิ่มเติมให้ช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิต อย่างไรก็ตามยังต้องคงอยู่ในรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับกันในศาสนิกชน ช่วงที่อยู่ระหว่างการสวด ศาสนิกชนผู้เข้าร่วมพิธีจะยืนและพนมมือแบบนมัสเต โค้ง และบางครั้งมีการกล่าวว่า "วาหิคุรุ" (Waheguru) หลังจบบางท่อน[3][2][1][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Gurdwara, Encyclopaedia Britannica
  2. 2.0 2.1 2.2 W. Owen Cole (2004). Understanding Sikhism. Dunedin Academic Press. pp. 8, 18, 104, 111–124, 166–175. ISBN 978-1-906716-91-2.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McLeod1990p103
  4. MacAuliffe, 1909, p. 331