กีรตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักเรียนชายซิกข์กำลังฝึกหัดเครื่องดนตรีอินเดียท่ใช้ในการประกอบกีรตัน

กีรตัน (สันสกฤต: कीर्तन; Kīrtana) เป็นคำสันสกฤต ที่แปลว่า "การพากย์, การท่องบทสวดมนต์, การเล่าเรื่องหรืออธิบาย"[1][2] ในขณะเดียวกัน กีรตัน หมายถึงรูปแบบหนึ่งของการแสดงและดนตรีในเชิงศาสนา ตั้งแต่การรายรำไปจนถึงการขับร้องบทสวดมนต์[1] กีรตันถือเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาซิกข์

กีรตันมีรากมาจาก "อนุกิรตัน" (Anukirtana) ในพระเวท กีรตันมีลักษณะเป็นดนตรีแบบ call-and-response หรือเป็นแบบทำนองสวดมนต์ ประกอบด้วยนักขับร้องหลายคน ร้องเล่าขานเรื่องราวต่าง ๆ ถึงตำนานหรือแสดงความรักและเคารพในเทพเจ้าหรือบุคคลสำคัญไปจนถึงการพูดคุยประเด็นเชิงสาสนาและความเชื่อ[3] บางทีมีการร่ายรำและแสดง "ภาวะ" (bhava) โดยนักร้องด้วย[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Anantha Lal (2009). Theatres of India: A Concise Companion. Oxford University Press. pp. 423–424. ISBN 978-0-19-569917-3.
  2. MacDonell, A. A. (2004). A practical Sanskrit Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass, pages 15, 382-383
  3. 3.0 3.1 Ananda Lal (2009). Theatres of India: A Concise Companion. Oxford University Press. pp. 422–424. ISBN 978-0-19-569917-3.