ยุทธการที่ตังหิน
ยุทธการที่ตังหิน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
วุยก๊ก | ง่อก๊ก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
สุมาเจียว จูกัดเอี๋ยน บู๊ขิวเขียม อองซอง |
จูกัดเก๊ก เตงฮอง | ||||||
กำลัง | |||||||
70,000[1] | 40,000[2] |
ยุทธการที่ตังหิน | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 東興之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 东兴之战 | ||||||
| |||||||
ยุทธการที่ตงกวาน | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 東關之役 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 东关之役 | ||||||
|
ยุทธการที่ตังหิน (จีน: 東興之戰) หรือ ยุทธการที่ตงกวาน (จีน: 東關之役) เป็นการรบตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 253 ระหว่างรัฐวุยก๊กและง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ยุทธการสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะทางยุทธวิธีของง่อก๊ก
ภูมิหลัง
[แก้]ในช่วงต้นปี ค.ศ. 211 ซุนกวนขุนศึกซึ่งภายหลังเป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊ก ได้สั่งให้สร้างป้อมปราการป้องกันที่ยี่สู (濡須 หรูซฺวี; ทางเหนือของอำเภออู๋เหวย์ มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมการป้องกันการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นจากโจโฉที่เป็นขุนศึกอริ[3] ในปี ค.ศ. 230 จักรพรรดิซุนกวนทรงมีรับสั่งให้สร้างเขื่อนที่ตังหิน (東興 ตงซิง; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครเฉาหู มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อกักเก็บน้ำจากทะเลสาบเจาอ๋อ (巢湖 เฉาหู) ที่อยู่ใกล้เคียง[4] ซุนกวนสวรรคตในปี ค.ศ. 252 ซุนเหลียงพระโอรสขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊ก ในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 252 จูกัดเก๊กผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊กเริ่มงานก่อสร้างที่เขื่อนตังหิน โดยเพิ่มความยาวของเขื่อนจนเชื่อมกับเนินเขาที่อยู่ด้านหนึ่งของเขื่อน และให้สร้างป้อมปราการ 2 แห่งขึ้นตรงกลาง จูกัดเก๊กวางกำลังทหารประการ 1,000 นายในแต่ละป้อมปราการ และมอบหมายให้จวนตวน (全端 เฉฺวียน ตฺวาน) และเล่าเลียก (留略 หลิว เลฺว่) รักษาป้อมปราการทั้งสองแห่ง ส่วนตัวจูกัดเก๊กเองนำทหารที่เหลือกลับไป[5][6]
โหมโรง
[แก้]วุยก๊กรู้สึกว่าถูกง่อก๊กลูบคมเมื่อง่อก๊กเริ่มรุกล้ำอาณาเขตของวุยก๊กโดยการก่อสร้างเขื่อนที่ตังหิน จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเสนอแผนโต้ตอบง่อก๊กให้กับสุมาสูผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊ก สุมาสูยอมรับแผนของจูกัดเอี๋ยน[7] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 252 หรือมกราคม ค.ศ. 253 ราชสำนักวุยก๊กมอบหมายให้อองซอง, บู๊ขิวเขียม, จูกัดเอี๋ยน และอ้าวจุ๋นเข้าโจมตีง่อก๊กจาก 3 ทิศทาง โดยอองซองจะเข้าโจมตีกังเหลง (江陵 เจียงหลิง) บู๊ขิวเขียมจะเข้าโจมตีบู๊เฉียง (武昌 อู่ชาง; ปัจจุบันคือนครเอ้อโจว มณฑลหูเป่ย์)[8] จูกัดเอี๋ยนและอ้าวจุ๋นจะนำกองกำลัง 70,000 นายไปยังตังหินเพื่อโจมตีป้อมปราการ 2 แห่งและทำลายเขื่อน[1][9]
เมื่อข่าวการโจมตีของวุยก๊กมาถึงง่อก๊ก จูกัดเก๊กจึงนำกองกำลัง 40,000 นาย[2] ไปต้านข้าศึก[9] อ้าวจุ๋นสั่งให้ทหารสร้างสะพานลอยน้ำเพื่อไปยังเขื่อน แล้วแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 กลุ่มย้อยเพื่อโจมตีป้อมปราการ 2 แห่ง แต่ป้อมปราการทั้งสองตั้งอยู่บนที่สูงและเข้าถึงยาก[10]
เหล่าขุนพลง่อก๊กพูดว่า "เมื่อข้าศึกรู้ว่าท่านราชครู (จูกัดเก๊ก) มาที่นี่ด้วยตนเอง พวกเขาจะล่าถอยอย่างแน่นอนเมื่อเราไปถึงฝั่ง"[11] อย่างไรก็ตาม มีเพียงเตงฮองที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปโดยกล่าวว่า "ไม่ พวกเขาเคลื่อนไหวเอิกเกริกในอาณาเขตตน เตรียมการระดมพลใหญ่หลวงจากฮูโต๋และลกเอี๋ยง มีเหตุผลใดที่พวกเขาจะกลับไปมือเปล่าเล่า อย่าคิดว่าข้าศึกจะไม่ยกมา เราควรเตรียมพร้อมทำศึก"[12] เมื่อจูกัดเก๊กไปถึงตังหิน ได้มอบหมายให้เตงฮอง, เล่าเบา, ลิกี๋ และต๋องจูบัญชาการกองหน้า[13] และเคลื่อนกองกำลังไปทางตะวันตกตามภูมิประเทศที่เป็นภูเขา[14] เตงฮองเตือนว่า "เราเคลื่อนที่ช้าเกินไป หากข้าศึกยึดพื้นที่ที่เอื้ออำนวย ก็ยากจะจัดการพวกเขา" จากนั้นเตงฮองจึงนำทหาร 3,000 นายไปกับตน เดินผ่านเส้นทางที่แตกต่างจากกองกำลังหลักของทัพง่อก๊ก[15]
ยุทธการ
[แก้]เวลานั้นมีลมเหนือพัดหนัก เตงฮองและทหาร 3,000 นายมาถึงแนวหน้าภายใน 2 วันและเข้ายึดคันดินสฺวี (徐塘 สฺวีถาง) ในช่วงนั้นเป็นฤดูหนาวและมีหิมะตก เหล่านายทหารฝ่ายวุยก๊กไม่ได้ระแวดระวังแล้วรวมกลุ่มกันดื่มสุรา ดังนั้นแม้กำลังทหารของเตงฮองจะด้อยกว่า แต่เตงฮองก็ปลุกใจเหล่าทหารว่า "วันนี้เป็นวันที่เราจะได้รับตำแหน่งและบำเหน็จความชอบ!" จากนั้นจึงสั่งให้ทหารถอดเสื้อเกราะและหมวกเกราะ ทิ้งจี่และหอก ให้ถือเพียงโล่และอาวุธสั้นอย่างดาบ[16][17] เหล่าทหารวุยก๊กต่างหัวเราะเยาะที่เห็นการกระทำของทหารฝ่ายง่อก๊กเช่นนี้ และไม่เตรียมตัวพร้อมรบ เตงฮองและทหารเข้าต่อสู้อย่างกล้าหาญและทำลายค่ายของข้าศึกด้านหน้า ทันใดนั้นกองกำลังอื่น ๆ ของง่อก๊กนำโดยลิกี๋และคนอื่น ๆ ก็มาถึงและเข้าร่วมกับเตงฮองในการโจมตีค่ายข้าศึก[18] ทัพวุยก๊กตกตะลึงต่อการโจมตีดุดันกะทันหันของฝ่ายง่อก๊กจึงตกอยู่ในความสับสนอลหม่าน ทหารวุยก๊กหลายคนแย่งกันข้ามสะพานลอยน้ำแต่ก็สะพานก็หักพังลงไป ทหารวุยก๊กตกลงไปในน้ำและเริ่มตะเกียกตะกายเหยียบกันเองเพื่อจะหาทางขึ้นฝั่ง[19] หวนแกเจ้าเมืองเล่ออาน (樂安) ถูกสังหารในที่รบ[20][21] ฮั่นจ๋งขุนพลง่อก๊กที่แปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊กและนำกองหน้าวุยก๊กในยุทธการนี้ก็เสียชีวิตในยุทธการเช่นกัน จูกัดเก๊กตัดศีรษะของศพฮั่นจ๋งและส่งศีรษะไปถวายยังศาลของซุนกวน[22][23]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]เมื่ออองซองและบู๊ขิวเขียมได้ยินความพ่ายแพ้ของฝ่ายวุยก๊กที่ตังหิน ทั้งสองก็เผาค่ายของคนและถอนทัพกลับไปเช่นกัน ย้อนกลับมาที่ราชสำนักวุยก๊ก ขุนนางหลายแย้งว่าแม่ทัพของวุยก๊กควรถูกลดขั้นหรือถูกปลดจากราชการฐานล้มเหลวในการบุก แต่สุมาสูกล่าวว่า "ข้าไม่ฟังกงซิว (公休; ชื่อรองของจูกัดเอี๋ยน) ผลจึงเป็นเช่นนี้ เป็นความผิดของข้าเอง ขุนพลทั้งหลายทำอะไรผิดเล่า" สุมาเจียวน้องชายของสุมาสูซึ่งเป็นผู้บัญชาการในการรบครั้งนี้ถูกถอดบรรดาศักดิ์[24][25]
อีกด้านหนึ่ง ทัพง่อก๊กยึดยุทโธปกรณ์และปศุสัตว์จำนวนมากที่ทัพวุยก๊กทิ้งไว้และเดินทัพกลับอย่างมีชัย จูกัดเก๊กได้รับบรรดาศักดิ์หยางตูโหว (陽都侯) และได้รับการแต่งตั้งเป็นเป็นเจ้ามณฑล (牧 มู่) ของมณฑลเกงจิ๋วและยังจิ๋ว ได้ทอง 1,000 ชั่ง (斤 จิน), ม้าชั้นดี 200 ตัว และผ้าไหมและเสื้อผ้าอย่างละ 10,000 ม้วน[26] เตงฮองได้เลื่อนยศเป็นขุนพลกำจัดโจร (滅寇將軍 เมี่ยโค่วเจียงจฺวิน) และได้บรรดาศักดิ์ระดับดูถิงโหว (都亭侯)[27]
บุคคลในยุทธการ
[แก้]
ทัพวุยก๊ก[แก้]
|
ทัพง่อก๊ก[แก้]
|
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 (魏以吳軍入其疆土,恥於受侮,命大將胡遵、諸葛誕等率眾七萬,欲攻圍兩塢,圖壞堤遏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ 2.0 2.1 (恪興軍四萬,晨夜赴救。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (十六年,權徙治秣陵。明年,城石頭,改秣陵為建業。聞曹公將來侵,作濡須塢。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
- ↑ (初,權黃龍元年遷都建業。二年築東興堤遏湖水。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (恪以建興元年十月會眾於東興,更作大堤,左右結山俠築兩城,各留千人,使全端、留略守之,引軍而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (漢晉春秋曰:初,孫權築東興堤以遏巢湖。後征淮南,壞不復修。是歲諸葛恪帥軍更於堤左右結山,挾築兩城,使全端、留略守之,引軍而還。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (諸葛誕言於司馬景王曰:「致人而不致於人者,此之謂也。今因其內侵,使文舒逼江陵,仲恭向武昌,以羈吳之上流,然後簡精卒攻兩城,比救至,可大獲也。」景王從之。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (冬十一月,詔征南大將軍王昶、征東將軍胡遵、鎮南將軍毌丘儉等征吳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ 9.0 9.1 (魏遣諸葛誕、胡遵等攻東興,諸葛恪率軍拒之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (遵等敕其諸軍作浮橋度,陳於堤上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (諸將皆曰:"敵聞太傅自來,上岸必遁走。") 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (奉獨曰:"不然。彼動其境內,悉許、洛兵大舉而來,必有成規,豈虛還哉?無恃敵之不至,恃吾有以勝之。") 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (恪遣將軍留贊、呂據、唐咨、丁奉為前部。) 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (及恪上岸,奉與將軍唐咨、呂據、留贊等,俱從山西上。) 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (奉曰:"今諸軍行遲,若敵據便地,則難與爭鋒矣。"乃辟諸軍使下道,帥麾下三千人徑進。) 'จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (時北風,奉舉帆二日至,遂據徐塘。天寒雪,敵諸將置酒高會,奉見其前部兵少,相謂曰:"取封侯爵賞,正在今日!"乃使兵解鎧著冑,持短兵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (時天寒雪,魏諸將會飲,見贊等兵少,而解置鎧甲,不持矛戟。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (敵人從而笑焉,不為設備。奉縱兵斫之,大破敵前屯。會據等至,魏軍遂潰。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (但兜鍪刀楯,夥身緣遏,大笑之,不即嚴兵。兵得上,便鼓噪亂斫。魏軍驚擾散走,爭渡浮橋,橋壞絕,自投於水,更相蹈藉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (嘉尚升遷亭公主,會嘉平中,以樂安太守與吳戰於東關,軍敗,沒,諡曰壯侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
- ↑ (樂安太守桓嘉等同時並沒,死者數萬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (東興之役。綜為前鋒,軍敗身死,諸葛恪斬送其首,以白權廟。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
- ↑ (故叛將韓綜為魏前軍督,亦斬之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (尋進號都督,統征東將軍胡遵、鎮東將軍諸葛誕伐吳,戰於東關。二軍敗績,坐失侯。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (漢晉春秋曰:毌丘儉、王昶聞東軍敗,各燒屯走。朝議欲貶黜諸將,景王曰:「我不聽公休,以至於此。此我過也,諸將何罪?」悉原之。時司馬文王為監軍,統諸軍,唯削文王爵而已。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ↑ (獲車乘牛馬驢騾各數千,資器山積,振旅而歸。進封恪陽都侯,加荊揚州牧,督中外諸軍事,賜金一百斤,馬二百匹,繒布各萬匹。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (遷滅寇將軍,進封都亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 55.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). พงศาวดารราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).