ยังจิ๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยังจิ๋ว (หยางโจว)
อักษรจีนตัวเต็ม揚州
อักษรจีนตัวย่อ扬州

ยังจิ๋ว หรือ เอียงจิ๋ว ในภาษาจีนกลางเรียกว่า หยางโจว (จีน: 揚州) เป็นหนึ่งในเก้ามณฑลของจีนยุคโบราณที่ระบุในบันทึกประวัติศาสตร์เช่น ยฺหวี่ก้ง, เอ๋อร์หย่า และโจวหลี่

ชื่อ[แก้]

ตำแหน่งทางประวัติศาสตร์[แก้]

ตามตำนาน เมื่อต้า-ยฺหวี่ (ราว 2200–2100 ปีก่อนคริสตกาล) แก้ปัญหาน้ำท่วม พระองค์ได้แบ่งดินแดนจีนออกเป็นเก้ามณฑล ซึ่งยังจิ๋วเป็นมณฑลหนึ่ง บันทึกประวัติศาสตร์ยุคก่อนราชวงศ์ฉิน (221–206 ก่อนคริสตกาล) เช่น ยฺหวี่ก้ง, เอ๋อร์หย่า, โจวหลี่ และลฺหวี่ชื่อชุนชิวล้วนระบุถึงเก้ามณฑล ยังจิ๋วปรากฏในบันทึกเหล่านี้ทั้งหมดแม้ว่ารายชื่อของเก้ามณฑลจะมีความแตกต่างไปบ้างในแต่ละบันทึก อย่างไรก็ตามก็มีบันทึกถึงตำแหน่งของยังจิ๋วที่แตกต่างกันสามตำแหน่ง

บันทึกในยฺหวี่ก้ง[แก้]

ยฺหวี่ก้งบันทึกว่ายังจิ๋วตั้งอยู่ระหว่างหฺวายและทะเล[1] ข่ง อานกั๋ว (มีบทบาทเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล) อธิบายในช่างชูจฺว้าน (尚書傳) ว่าความในยฺหวี่ก้งมีความหมายว่ายังจิ๋วถูกขนาบด้วยแม่น้ำหฺวายทางเหนือและทะเลจีนใต้ทางใต้ ในประเทศจีนยุคปัจจุบัน พื้นที่ที่ครอบคลุมมณฑลยังจิ๋วในอดีตเทียบได้กับพื้นที่ของมณฑลเจียงซู, มณฑลอานฮุย (ภูมิภาคทางใต้ของแม่น้ำหฺวาย), นครเซี่ยงไฮ้, มณฑลเจ้อเจียง, มณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลเจียงซี และบางส่วนของมณฑลหูเป่ย์, มณฑลหูหนาน และมณฑลกวางตุ้ง นครหยางโจวในมณฑลเจียงซูปัจจุบันอยู่อาณาเขตของมณฑลยังจิ๋ว (หยางโจว) ในยุคโบราณ อย่างไรก็ตามในยุคราชวงศ์หลัง ๆ มีการพิสูจน์ว่าช่างชูจฺว้านไม่ได้เขียนโดยข่ง อานกั๋ว ความน่าเชื่อถือของบันทึกนี้จึงลดลงอย่างมาก

บันทึกในเอ๋อร์หย่า[แก้]

บันทึกในโจวหลี่ และลฺหวี่ชื่อชุนชิว[แก้]

โจวหลี่บันทึกว่า "ทางตะวันออกเฉียงใต้เรียกว่ายังจิ๋ว"[2] จากความดังกล่าว มณฑลยังจิ๋วโบราณจะครอบคลุมทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน พื้นที่ใหญ่กว่ายังจิ๋วที่ระบุในยฺหวี่ก้งและเอ๋อร์หย่า คำจำกัดความนี้ยังคลุมเครือมากกว่าสองบันทึกแรกเพราะไม่แน่ชัดว่านครหยางโจวในมณฑลเจียงซูปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของมณฑลยังจิ๋ว (หยางโจว) ในยุคโบราณหรือไม่ ความถูกต้องของโจวหลี่จึงเป็นที่กังขาเช่นกัน ในลฺหวี่ชื่อชุนชิวมีการระบุคล้ายคลึงกันว่า "ทางตะวันออกเฉียงใต้คือยังจิ๋ว"[3]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ราชวงศ์ฮั่น[แก้]

มณฑลจีนช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก, ค.ศ. 189

ยุคสามก๊ก[แก้]

ราชวงศ์จิ้นและยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้[แก้]

ราชวงศ์สุย[แก้]

ราชวงศ์ถังและภายหลัง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. (淮、海惟揚州。) ช่างชู บทที่ 6.
  2. (東南曰揚州) โจวหลี่ บทที่ 4.
  3. (東南為揚州) ลฺหวี่ชื่อชุนชิว เล่มที่ 13.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]